• Tidak ada hasil yang ditemukan

วิธีการสอนการอ่านเขียน

บทที่ 2

ตาราง 6 ต่อ)

2.2.2 วิธีการสอนการอ่านเขียน

ในประเทศไทยได้เห็นถึงความส าคัญของทักษะการอ่านเขียนซึ่งเป็นทักษะ เบื้องต้นในการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาเป็นอย่างมาก ได้มีการจัดท าคู่มือ การสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดค า ซึ่งเป็นวิธีการสอนการอ่านเขียนเบื้องต้นที่ได้รับการ ยอมรับว่าเป็นวิธีสอนที่สร้างความเข้าใจทางภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพส าหรับนักเรียนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่แบ่งการสอนเป็นหน่วย จ านวน 10 หน่วย เริ่มต้นจากการสอนเขียน อ่าน รูปและเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การแจกลูกสะกดค าในแม่ ก กา การผันวรรณยุกต์ค าในแม่

ก กา การแจกลูกสะกดค าที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา การผันวรรณยุกต์ค าที่มีตัวสะกดตรงตาม มาตรา การแจกลูกสะกดค าที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา การแจกลูกสะกดค าที่มีอักษรควบ และ การแจกลูกสะกดค าที่มีอักษรน า ซึ่งมีรายละเอียดในการสอนดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559)

สอนโดยวิธีประสมอักษร เป็นการสอนที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แสดง ถึงภูมิปัญญาการสอนอ่านแบบไทยซึ่งท าให้เด็กอ่านหนังสือไทยได้แตกฉานวิธีหนึ่ง โดยการน า พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มาประสมกัน แล้วฝึกอ่านแบบแจกลูก การอ่านแบบสะกดค า เป็นการ สอนอ่านที่เน้นการฟังเสียงของพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ที่น ามาประสมกันเป็น ค าเมื่อฝึกฝนบ่อย ๆ จนชินหูก็จะอ่านได้ถูกต้องแม่นย า

การอ่านแบบแจกลูก เป็นการอ่านโดยยึดพยัญชนะต้นเป็นหลัก ยึดสระเป็นหลัก หรือยึดสระและ ตัวสะกดเป็นหลัก

การอ่านแบบสะกดค า เป็นการอ่านโดยสะกดค า หรือออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์

การันต์ ที่ประกอบเป็นค า

สอนด้วยการเดาค าจากภาพ หรือการสอนอ่านจากภาพ โดยการเด็กเริ่มหัดอ่านจากรูปภาพก่อน แล้วจึงน าไปสู่การอ่านจากตัวอักษร รูปภาพจะเป็นสิ่งที่ชี้แนะให้เด็กอ่านค านั้นได้

สอนอ่านจากรูปร่างของค า เมื่อเด็กเห็นรูปร่างของค าโดยส่วนรวมก็จะสามารถจ าได้แล้วน าไป เปรียบเทียบกับค าที่เคยอ่านออก ค าใดที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกันก็จะสามารถเดาและเทียบเสียงได้

ว่าอ่านอย่างไร การสอนแบบนี้ครูต้องตีกรอบค าที่ท าให้เด็กสามารถมองเห็นรูปร่างค าได้อย่าง ชัดเจน เน้นการฝึกให้เด็กสังเกตรูปร่างของค า

สอนด้วยการเดาค าจากบริบท หรือค าที่อยู่แวดล้อม ส าหรับเด็กมักจะใช้บริบทที่เป็นปริศนาค าทาย หากครูต้องการให้เด็กอ่านค าใดก็สร้างปริศนาค าทาย เมื่อเด็กทายค าได้ถูก ก็สามารถอ่านค านั้น ออก

สอนอ่านโดยให้รู้หลักภาษา วิธีนี้เด็กจะรู้หลักเกณฑ์ของภาษาเพื่อการอ่านการเขียน เช่น อักษร 3 หมู่ สระเสียงเดี่ยว สระเสียงประสม มาตราตัวสะกด การผันวรรณยุกต์ การอ่านค าควบกล ้า การ อ่านอักษรน า เป็นต้น วิธีนี้ต้องหาวิธีสอนที่หลากหลาย จัดกิจกรรมที่น่าสนใจให้เด็กเรียนรู้หลัก ภาษาที่ง่าย ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ท าให้เด็กสนุกสนาน กิจกรรมที่เด็กชอบเล่น เช่น เล่านิทาน ร้องเพลง เล่นเกม เป็นต้น

สอนอ่านตามครู วิธีนี้เป็นการสอนที่ง่าย ครูส่วนใหญ่น าไปใช้ แต่หากครูไม่พิจารณาให้ดีว่าเมื่อใด ควรสอนด้วยวิธีนี้จะเป็นอันตรายต่อเด็ก ครูจะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อเป็นค ายาก ค าที่มีตัวสะกดแปลก ๆ หรือครูได้ใช้วิธีอื่นแล้วเด็กยังอ่านไม่ได้ โดยส าหรับนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูสามารถใช้

วิธีนี้ได้เพื่อให้นักเรียนอ่านตาม เมื่อเด็กสามารถอ่านได้แล้ว จึงฝึกให้อ่านเป็นกลุ่ม เป็นรายบุคคล และในส่วนของบทร้อยกรองนั้น ครูจ าเป็นต้องอ่านน าก่อนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จังหวะ และลีลา การอ่านบทร้อยกรองตามประเภทของค าประพันธ์นั้น ๆ

การสอนอ่านมีหลากหลายวิธี ทั้งการอ่านแบบแจกลูก การสอนอ่านแบบเทียบเสียงโดย ยึดเสียง สระ หรือตัวสะกด การสอนอ่านแบบสอนอ่านเป็นค าโดยผู้เรียนดูภาพและอ่านค าใต้ภาพ และการสอนอ่านแบบเป็นประโยค ทั้งนี้การเลือกวิธีการสอนต้องค านึงถึงความเหมาะสมกับวัย และความสามารถของผู้เรียนเป็นส าคัญ โดยผู้สอนต้องบูรณาการวิธีการแต่ละวิธีให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนมากที่สุด (อัญชิสา ธนศิริกุล, 2559)

2.3 พัฒนาการทางภาษา

ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด นอกจาก ต้องค านึงถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดตามหลักสูตรและวิธีการสอนอ่านเขียนแล้ว ครูผู้สอนต้อง มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กในแต่ละช่วงวัย และ วางแผนการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม เนื่องจากพัฒนาการทางด้านภาษามีผลต่อความ พร้อม ความสามารถ และมีอิทธิพลต่อความสนใจในการเรียน ซึ่งเพียร์เจย์ (Piaget) ได้แบ่ง พัฒนาการทางด้านสติปัญญาตามช่วงวัยออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

1. Sensorimotor stage คือ เด็กในช่วงวัย 0-2 ปี เป็นช่วงที่เด็กเรียนรู้ต่อ ยอดจากการตอบสนองอัตโนมัติและอาศัยการเทียบเคียงกับประสบการณ์เดิม และหากสิ่งที่รับรู้

แตกต่างจากความเข้าใจเดิม เด็กจะปรับความคิดและความเข้าใจของตนเองใหม่ ซึ่งเป็นการต่อ ยอดพัฒนาการด้านสติปัญญา

2. Preoperational stage คือ เด็กในช่วงวัย 2-7 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีการพัฒนา ไปสู่ความเข้าใจในมุมมองหรือความคิดของคนอื่น และยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากยังไม่

เข้าใจมุมมองและความคิดของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเอง ซึ่งในช่วงนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางด้าน ความจ า สามารถจดจ าและบรรยายสิ่งที่ตนเห็นได้

3. Concrete operational stage คือ เด็กในช่วงวัย 7-12 ปี เป็นระยะที่เด็กมี

ความคิดเป็นรูปธรรม เข้าใจความเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างของสิ่งรอบตัว สามารถแสดงให้

เห็นถึงความสามารถในการใช้เหตุผลแก้ปัญหาได้ดีและชัดเจนขึ้น จากการที่ได้สัมผัสและมี

ประสบการณ์มาก่อน

4. Formal operational stage คือ ช่วงวัย 12 ปี – ผู้ใหญ่ เป็นระยะที่เด็กพัฒนา จากความเข้าสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาเป็นความเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ชัดเจน และสามารถ คาดการณ์สิ่งที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์ด้วยตนเองมาก่อน และสามารถคิด ตัดสินใจ วางแผน หรือแก้ปัญหาด้วยข้อมูลรอบด้านอย่างเป็นระบบมากขึ้น

นอกจากนี้ วรรณี โสมประยูร (2553) ได้กล่าวถึงพัฒนาการทางภาษาของเด็กใน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (6-7 ขวบ) ดังนี้

- พูดมากขึ้น และมักใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการพูด บางครั้งก็ชอบบ่น - สามารถใช้ค าศัพท์ในชีวิตประจ าวันได้เพิ่มมากขึ้น

- ชอบฟังนิทานหรือนิยายที่ยาวขึ้น

- รู้จักใช้ภาษาแสดงอารมณ์รักใคร่หรือเกลียดชัง และแสดงความรู้สึกของตนเองเมื่อ เห็นหรือโต้แย้ง

- สนใจหนังสือที่มีภาพเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติ

- ชอบหัดอ่านหนังสือด้วยตัวเอง และชอบอ่านเสียงดัง

- เขียนรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้ เพราะสามารถควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมือให้

ประสานกับตา

แชล (Chall, 1983, อ้างถึงในกอบกุล สกุลแก้ว, 2553) ได้แบ่งพัฒนาการทางการอ่าน ออกเป็น 6 ขั้น คือ

ขั้นที่ 0 ขั้นเตรียมอ่าน (0-6 ขวบ) เป็นขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการสอนให้เด็กอ่าน อย่างเป็นทางการ ซึ่งควรเน้นการฟังเรื่องราวที่สนุกสนาน และควรเป็นค าที่อยู่ใกล้ตัว สามารถพบ เห็นได้บ่อย ๆ เพื่อเป็นการเตรียมให้เด็กมีความคุ้นเคยกับตัวอักษรและค ามากกว่าการสอนอย่าง จริงจัง

ขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มอ่าน (ระดับป. 1- ป. 2) เป็นขั้นหัดอ่านเบื้องต้น โดยเด็กในขั้นนี้จะ พยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงสระ พยัญชนะกับรูปของตัวอักษร ซึ่งเด็กอาจจะสามารถ อ่านเป็นค าหรืออ่านเป็นประโยคได้ แต่การอ่านยังช้าอยู่ ส าหรับการสอนในขั้นนี้ส่วนมากเป็นการ สอนเป็นค า วลี ประโยค มากกว่าการสอนแบบแจกลูก

ขั้นที่ 2 ขั้นอ่านคล่อง (ระดับป. 2 – ป. 3) พัฒนาการขั้นนี้เป็นระยะที่เด็กได้เรียนรู้และ มีประสบการณ์ในการอ่านมากขึ้น มีความคล่องแคล่วในการอ่านเพิ่มขึ้น เด็กบางมีความเร็วในการ อ่านประมาณ 140-160 ค าต่อนาที

ขั้นที่ 3 ขั้นอ่านเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ (ระดับป. 4 – ม. 2) เด็กในขั้นนี้มีทักษะในการ อ่านด้วยตนเองมากเพียงพอที่จะใช้การอ่านเพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ เด็กมี

ความสามารถในการอ่านในใจและอ่านเรื่องยาวได้ ส าหรับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ที่อยู่ในขั้นนี้

อาจไม่สามารถเข้าใจเรื่องที่อ่าน อันเนื่องจากไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ จากเรื่องที่อ่านได้ โดย พัฒนาการของเด็กบางคนอาจอยู่ในขั้นที่ 3 หรือขั้นที่ 2 เท่านั้น

ขั้นที่ 4 ขั้นแนวความคิดหลากหลาย (ระดับม. 3 – ม. 6) เด็กที่อยู่ในขั้นนี้มี

ความสามารถในการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดและปรัชญาต่าง ๆ สามารถเปรียบเทียบ แนวคิดเดียวกันที่ได้จากการอ่านหลาย ๆ แหล่งได้ และสามารถประเมินคุณภาพของเรื่องที่อ่านได้

ขั้นที่ 5 ขั้นสร้างความรู้และแสวงหาความรู้ใหม่ ในขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้อ่านอยู่ในวัยผู้ใหญ่

สามารถอ่านต าราเรียนในระดับยาก ๆ ได้ และสามารถน าข้อมูลที่อ่านมาจัดระบบใหม่ให้

สอดคล้องกับความต้องการของตนและปรับให้เป็นแนวคิดของตนได้

กุลยา ก่อสุวรรณ (2553) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาการด้านการอ่านว่า เป็นทักษะที่

ต้องผ่านการเรียนรู้ในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 เด็กมีความสามารถด้านการอ่านตั้งแต่ช่วงก่อนอายุ 5 ปี คือเด็กเรียนรู้

พยัญชนะและเสียงของพยัญชนะนั้น ๆ

ระยะที่ 2 การเริ่มต้นการอ่าน เป็นระยะที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎพื้นฐานในการอ่าน ได้แก่ พยัญชนะ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปพยัญชนะ เสียงของพยัญชนะ และค าง่าย ๆ ใน ชีวิตประจ าวัน ซึ่งเด็กในระยะนี้คือเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่เด็กเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เด็กในระยะนี้จะมีทักษะ ความสามารถในการประสมค า และจ าค าต่าง ๆ ได้ สามารถอ่านได้ยาวขึ้น รวมถึงสามารถอ่าน ประโยคที่ซับซ้อนได้มากขึ้นกว่าระยะที่ผ่านมา ซึ่งเด็กในระยะที่ 3 คือ เด็กระดับประถมศึกษาปีที่

2-3

ระยะที่ 4 การอ่านเพื่อการเรียนรู้ เป็นระยะที่เด็กมีความรู้ความสามารถในการอ่าน สามารถน าทักษะการอ่านไปใช้เพื่อหาความรู้จากสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้ โดยเด็กระยะนี้คือเด็กระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4-6

ระยะที่ 5 เด็กเริ่มอ่านสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ซึ่งระยะนี้เด็กจะใช้การอ่านเพื่อรับรู้ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ และสามารถท าการประเมินเนื้อหาที่อ่านว่าดีหรือไม่ดี

อย่างไร

ผดุง อารยะวิญญู (2542) ได้กล่าวถึงการสอนเขียนตามพัฒนาการของเด็กไว้ตาม ระดับชั้นและช่วงอายุ ดังนี้

เตรียมอนุบาล (0-4 ขวบ)

ระยะเตรียมความพร้อมฝึกทักษะเกี่ยวกับการฟังเป็นหลัก เน้นการฝึกทักษะด้าน receptive language เป็นส าคัญ มุ่งเน้นให้เด็กน าประสบการณ์กับค าพูดมาสัมพันธ์กันเพื่อให้เด็ก เกิดมโนทัศน์เกี่ยวกับค าศัพท์

อนุบาล (5-6 ขวบ)

ส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับระบบการสื่อความหมาย ให้เด็กรู้จักการเปล่งเสียงและมี

ปฏิกิริยาโต้ตอบโดยการเปล่งเสียงและการพูด และให้สื่อความหมายได้โดยไม่ใช้ท่าทางประกอบ ฝึกการเปล่งเสียงฝึกความพร้อมในการพูด รวมทั้งฝึกการเปล่งเสียงสระและพยัญชนะ