• Tidak ada hasil yang ditemukan

การสังเคราะห์ตัวชี้วัดองค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้

54 1.2.1 สามารถจัดท าแผนการเรียนรู้และน าไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง 1.2.2 สามารถสร้างบรรยากาศการจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

55 3. ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ

4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

5. มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย

6. มีการใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีและเอกสารประกอบการสอน

7. มีการประเมินผลการจัดการเรียนการจัดการเรียนรู้เพื่อน าผลการประเมินมา ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ตัวชี้วัดองค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล

ได้มีนักวิชาการหลายท่านกล่าวถึงตัวชี้วัดขององค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล ไว้ดังนี้

สมบูรณ์ ตันยะ (2524) ได้เสนอสมรรถภาพของครูด้านการวัดและประเมินผลได้แก่

1. สมรรถภาพด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ได้แก่ ความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับการสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผล เพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนได้มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมหลังผ่านกระบวนการเรียนการสอนไปแล้วมากน้อยเพียงใด

Ministry Of National Education, Turkish Republic (2006) ได้ก าหนดกรอบ สมรรถนะของครูด้านการวัดและประเมินผลดังนี้

1. ตรวจสอบและประเมินผลการ เรียนรู้และพัฒนา (Monitoring and Evaluation of Learning and Development) ประกอบด้วยสมรรถนะ

1.1 ก าหนดวิธีการและเทคนิคในการทดสอบและประเมินผล 1.2 การทดสอบผลการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน

1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลแปลความหมาย สะท้อนผลการเรียนนของผู้เรียนและ พัฒนา

1.4 ทบทวนกระบวนการเรียนการสอนจากผลที่ได้

British Council (2009) ได้ก าหนดกรอบสมรรถนะการสอนของครูด้านการวัดและ ประเมินผล ประกอบด้วย

1. การวัดประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment and Evaluation of learning) หมายถึง มีความสามารถในการออกแบบ การวางแผน และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการ ประเมินในกระบวนการเรียนรู้ รวมถึงสะท้อนผลการประเมินให้ผู้เรียนได้รับทราบ

SEAMEO INNOTECH (2009) ได้เสนอกรอบสมรรถนะของครูแห่งเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 มีมติก าหนดกรอบสมรรถนะของครูแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน ศตวรรษที่ 21 ด้านการวัดและประเมินผลไว้ดังนี้

56 1. วัดและประเมินพฤติกรรมผู้เรียนประกอบด้วยภาระงานและความสามารถเฉพาะ ดังนี้

1.1 ค้นคว้าความรู้/ทักษะเกี่ยวกับการทดสอบและประเมินผล 1.2 พัฒนาความรู้และรวบรวมเครื่องมือส าหรับการประเมิน 1.3 ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสม 1.4 น าผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

ดวงกมล สินเพ็ง (2553) กล่าวว่า บทบาทของครูในการพัฒนาด้านการวัดและ ประเมินผล ได้แก่

1. ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ จากเดิมเป็นการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียน มาเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยประเมินผลตามสภาพจริง ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553) ได้ก าหนดสมรรถนะ

ประจ าสายงานของครูผู้สอนเพื่อใช้เป็นกรอบประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนตาม ขอบข่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในด้านการวัดและประเมินผลซึ่งมี

รายละเอียดดังนี้

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วยสมรรถนะ ดังนี้

1.1 ออกแบบวิธีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายเหมาะสมกับ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และผู้เรียน

1.2 สร้างและน าเครื่องมือวัดและประเมินผลไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม 1.3 วัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง

1.4 น าผลการประเมินการเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ส านักงานเลขาธิการคุรุสภา (2556) ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้

และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเกี่ยวกับด้านการวัดและประเมินผลประกอบด้วยสมรรถนะ ดังต่อไปนี้

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.1 สาระความรู้

1.1.1 หลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ของผู้เรียน

1.1.2 ปฏิบัติการวัดและการประเมินผล 1.2 สมรรถนะ

1.2.1 สามารถวัดและประเมินผลได้

57 1.2.2 สามารถน าผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

ตาราง 6 การสังเคราะห์ตัวชี้วัดองค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล

Garis besar

Dokumen terkait