• Tidak ada hasil yang ditemukan

การเข้าสู่ระบบการศึกษาเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย

4.2 กระบวนการสร้างสนามความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในยุคการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย 104

4.2.2 การเข้าสู่ระบบการศึกษาเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย

การศึกษาที่แผ่ขยายไปในทุกพื้นที่ การมีโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ถือเป็นกระบวนการที่จะท าให้ผู้คนที่

อยู่ในพื้นที่ชุมชนห่างไกล มีความแตกต่างของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการใช้ภาษาได้ถูกหล่อ หลอมให้กลายเป็นพลเมืองคนไทยที่มีทักษะ ความรู้อ่านออกและเขียนภาษาไทยได้ ซึ่งเป็น พื้นฐานตามเป้าหมายการพัฒนา อย่างไรก็ตามกระบวนการจัดการเรียนการสอนในระบบ การศึกษาสมัยใหม่ได้เริ่มแผ่ขยายเข้าไปในชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในยุคที่ประเทศก าลังพัฒนา ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขส าคัญที่ท าให้การใช้ภาษากะเหรี่ยงในกลุ่มเด็กและเยาวชนรุ่นหลังลดน้อยลง เนื่องจากการเรียนการสอนในโรงเรียนจะใช้ภาษาไทยกลางเป็นพื้นฐาน ท าให้เด็กและเยาวชน กะเหรี่ยงต้องเรียนรู้และปรับตัวเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในการพูดและเขียนเป็นภาษาหลักมากขึ้น รวมถึงแบบแผนการปฏิบัติตนด้านอื่นๆ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากเพื่อนนักเรียนและคุณครูใน โรงเรียน ดังบทสัมภาษณ์ของชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่ว่า "ตอนนั้นย้ายมาจากสวนผึ้งแค่ปีก็มาเรียน หนังสือที่นี่ แต่ที่สวนผึ้งเขาก็จะพูดกะเหรี่ยงตลอด แต่พอมาอยู่ที่นี่แหละ ได้พูดไทยเนี่ย แล้วครูก็

บอกถ้าเธอไม่พูดไทยนะเธอก็ไม่ได้ขึ้นชั้นนะอะไรอย่างนี้ ก็เลยต้องยอมพูดต้องยอมอ่อน”

(สัมภาษณ์พี่วันดี, 24 พฤศจิกายน 2564)

การเข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนถือเป็นการเปลี่ยนแปลงภายใต้ยุคการพัฒนา ไปสู่ความทันสมัยที่ส่งผลให้ชาวกะเหรี่ยงต้องปรับตัวเองในหลายๆ ด้าน เนื่องจากสนามการศึกษา

สมัยใหม่มีกฎเกณฑ์ กติกาของความเป็นสนามที่แตกต่างออกไป ดังปรากฏระบบการศึกษา สมัยใหม่ที่ก าหนดให้มีหลักสูตรการเรียนรู้จากส่วนกลาง ทั้งรูปแบบการจัดการเรียนการสอน รายละเอียดเนื้อหารายวิชา และเป้าหมายของการศึกษาที่มุ่งไปสู่การสร้างและผลิตคนให้มีทักษะ ความรู้พื้นฐานที่จะน าไปใช้ประกอบอาชีพในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเปรียบเทียบระหว่าง ความรู้ดั้งเดิมกับความรู้สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในหลักสูตรการศึกษาจึงสะท้อนให้เห็นความแตกต่าง และเบียดขับให้สิ่งที่เป็นความรู้ ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งเป็นคนกลุ่มย่อยของ สังคมกลายเป็นสิ่งที่ล้าหลังและต้องได้รับการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการ พัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย เช่น ความรู้เกี่ยวกับการท าไร่ข้าวหรือไร่หมุนเวียนของชาว กะเหรี่ยงได้ถูกน าเสนอให้เห็นว่าเป็นวิถีการเกษตรที่ก่อให้เกิดการตัดไม้ท าลายป่า ดังปรากฏบท สัมภาษณ์ที่ว่า “แม้กระทั่งท าข้อสอบ อย่างเช่น ท าลายป่า คือใครท าลายป่าจะมีหัวข้อ มีช้อยให้

เลือก ก็จะมีว่า กะเหรี่ยงท าลายป่าเป็นข้อที่ถูกต้อง ตอนนั้นเราก็สังเกตอยู่นะว่า เราท าลายป่า อย่างไร เราก็เห็นแต่เราก็พูดเรียบเรียงไม่เป็นเราเป็นเด็ก คือเราจะบอกเขาว่าอย่างไรทั้งๆ ที่เรารู้ว่า พ่อแม่เราท าอย่างนี้นะ มันคือการท าลายป่าหรา ก็มีค าถามแต่เราก็เป็นเด็ก” (สัมภาษณ์พี่ทอง ล้อม, 16 กุมภาพันธ์ 2564) ขณะเดียวกันระเบียบแบบแผนภายใต้ระบบโรงเรียนยังก าหนดให้ต้อง มีเครื่องแบบนักเรียนที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่แตกต่างไปจากวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีเสื้อผ้าแต่งกายที่ต้องซื้อจากข้างนอกชุมชน เนื่องจากชาวกะเหรี่ยงจะมีภูมิ

ปัญญา ทักษะในการถักทอเครื่องแต่งกายของตน ดังนั้นระเบียบกฎเกณฑ์ของระบบโรงเรียน สมัยใหม่ที่แพร่ขยายเข้าไปสู่ชุมชนจึงก าหนดให้ชาวกะเหรี่ยงต้องอยู่ในต าแหน่งของผู้เสียเปรียบ ภายในสนาม กลายเป็นบุคคลที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือจากสังคมภายนอก และต้อง พยายามดิ้นรนเพื่อให้มีรายได้ที่ส่งลูกหลานเข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนตามเกณฑ์ที่ถูก ก าหนดไว้ เมื่อไม่มีเงินหรือรายได้มากพอที่จะส่งให้ลูกไปโรงเรียน เด็กชาวกะเหรี่ยงหลายคนจึง ต้องหลุดจากระบบการศึกษา และถูกมองว่าเป็นผู้มีการศึกษาน้อย ดังบทสัมภาษณ์ชาวกะเหรี่ยง ที่ว่า“ผมนี่เรียนไม่สูงนะ จบแค่ประถม แค่ป.6นี้เอง ศึกษาหน่อยเดียวเองพ่อแม่ผมมันไม่มีตังค์ไง พอไม่มีเงินก็เรียนแค่ประถม” (สัมภาษณ์พี่จรัญ, 2 มกราคม 2565) อย่างไรก็ตามในระยะหลังการ จัดการศึกษาในระบบโรงเรียนได้มีความพยายามปรับตัวแสดงให้เห็นการยอมรับความแตกต่าง ทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่หลากหลายในสังคม ดังปรากฏการก าหนดให้มีการแต่งกายด้วยชุด เครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีแสดงให้เห็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะตน รวมถึงการจัด ให้การเรียนการสอนภาษากะเหรี่ยงสัปดาห์ละครั้ง “ตอนที่พี่เรียน จะมีอยู่วันนึงที่ต้องแต่งชุด กะเหรี่ยงไป แต่ว่าก็จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ไม่ให้เรียนเกี่ยวกับกะเหรี่ยง ตอนแรกเค้าจะมีงบประมาณให้

สอนภาษากะเหรี่ยง แต่ตอนนี้ไม่ให้มี กะเหรี่ยงไม่ให้พูดกะเหรี่ยงไม่ให้ใส่ชุดกะเหรี่ยง” (สัมภาษณ์

พี่ทองล้อม, 16 กุมภาพันธ์ 2564) ทั้งนี้รูปแบบของการแสดงให้เห็นการยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางวัฒนธรรมดังกล่าวอาจเป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งที่ถูกท าให้ปรากฏในลักษณะชั่วครั้ง ชั่วคราว แต่สิ่งส าคัญคือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่ต้องมีพื้นที่การสื่อสาร ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอย่างเท่าเทียม เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การ เรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไปสู่การยอมรับและเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้คนและ กลุ่มคนในสังคมมากขึ้น

การเข้ามาของระบบการศึกษาแบบโรงเรียนซึ่งเป็นไปตามแนวคิดสมัยใหม่ที่มุ่งให้คน อ่านออกเขียนได้ตามเป้าหมายอุดมการณ์แห่งรัฐ จึงน าความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนชาติพันธุ์

กะเหรี่ยง พร้อมเปลี่ยนกฎกติกาและกระบวนการในการขัดเกลาให้ชาวกะเหรี่ยงต้องอ่านออกและ เขียนภาษาไทยได้ ระบบการศึกษาสมัยใหม่จึงเป็นอีกหนึ่งสนามทางการศึกษาที่ชาวกะเหรี่ยงต้อง เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ภายใต้ต าแหน่งของคนที่ไม่มีความรู้ ความถนัดต่อการใช้ภาษา เราจึงมักพบ เห็นภาพของชาวกะเหรี่ยงที่พูดภาษาไทยไม่ชัด ขณะเดียวกันการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารผ่าน การเขียนก็เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความถนัดเดิมของชาวกะเหรี่ยง แม้จะมีชาวกะเหรี่ยงสามารถ เข้ารับการศึกษาในระดับสูงขึ้น หากแต่ในสนามของการศึกษาที่มีกฎเกณฑ์กติกาและแนวโน้มของ การปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะ และการสะสมทุนและใช้ทุนที่แตกต่างจากสนามความเป็นชาติพันธุ์

กะเหรี่ยง ท าให้ไม่สามารถแข่งขัน ช่วงชิงประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากสนามการศึกษาสมัยใหม่

ได้ ดังบทสัมภาษณ์ที่ว่า “เด็กก็จบออกไปเรียนมหาลัยเยอะขึ้น แต่จบก็ยากอย่างหนึ่ง หางานท า ยาก เขามีวุฒิแต่ฐานะเขาไม่ถึง ก็กลับมาอยู่บ้านท าไร่เหมือน ตอนนี้หนี้ กยศ. บางคนกู้มาก็ต้อง ทยอยใช้ มีหลานคนหนึ่งลูกเข้าเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว หนี้ กยศ ยังไม่หลุดเลย” (สัมภาษณ์ลุง ทองค า, 8 เมษายน 2564) ชาวกะเหรี่ยงภายในสนามของการศึกษาสังคมสมัยใหม่จึงอยู่ใน ต าแหน่งของผู้ที่เสียเปรียบ เพราะกฎกติกาของสนามการศึกษามีเพียงเป้าหมายเดียวคือการอ่าน ออกและเขียนภาษาไทยได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษาที่ถูกก าหนดไว้แล้ว ชาวกะเหรี่ยงจึง ต้องพยายามฝึกพูดฝึกเขียนเพื่อให้ตนเองต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่ถูกก าหนดไว้

เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีการศึกษา ขณะเดียวกันก็เป็นเงื่อนไขให้การใช้ภาษากะเหรี่ยงใน ชีวิตประจ าวันต้องลดน้อยลง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โดยเฉพาะ ในด้านการจัดการศึกษา ซึ่งถือเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนจากที่เคยมีการ ถ่ายทอด สืบทอดความรู้ในวิถีชีวิตประจ าวัน ผ่านการสังเกต และการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้น

ภายใต้บริบทชุมชนที่อยู่ห่างไกลสังคม ชุมชนภายนอก การใกล้ชิดกับครอบครัว ชุมชน ท าให้วิถี

ปฏิบัติที่เป็นไปแบบแผนการด าเนินชีวิตได้ถูกสืบทอดและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการใช้

ภาษา การปฏิบัติตามความเชื่อ ค าสั่งสอน ส่งผลให้ความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความเข้มข้น ภายใน หากแต่เมื่อการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับชุมชน โดยมีเงื่อนไข การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาสัมพันธ์กับความคิด ความเชื่อ วิถีปฏิบัติ จึงท าให้ชาวกะเหรี่ยงต้อง ปรับตัวทั้งในลักษณะที่จ าเป็นและจ ายอมต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่

เปลี่ยนไป ดังปรากฏการเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่ปรากฏกฎเกณฑ์ กติกาที่แตกต่าง พร้อมกับ การจัดต าแหน่งภายในสนามการศึกษาที่ชาวกะเหรี่ยงกลายเป็นเพียงผู้เล่นที่ต้องคอยปฏิบัติตาม กฎเหล่านั้น ท าให้วิถีปฏิบัติดั้งเดิมค่อยๆ ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้รับการยอมรับในฐานะชุมชนที่มี

พัฒนามากขึ้น ขณะเดียวกันชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงก็ถูกลดทอนศักยภาพและความสามารถด้าน การเรียนรู้และการจัดการศึกษา เนื่องจากต้องพึ่งพิงและพึ่งพาทุนจากภายนอกมากกว่าที่จะจัด การศึกษาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองเหมือนอดีตที่ผ่านมา ส่งผลต่อการสูญหายของ ทักษะและศักยภาพด้านการเรียนรู้ภายในโดยเฉพาะการใช้ภาษาและการปฏิบัติตามวิถีวัฒนธรรม ดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงดังบทสัมภาษณ์นักวิชาการท่านหนึ่งที่ว่า “อย่างภาษาเขียนเขาอาจจะไม่

ค่อยมีเนอะ เพิ่งมารื้อฟื้น เด็กรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยเขียนแล้ว แม้แต่คนหนุ่มสาวก็ยังเขียนไม่เป็นแล้ว เพราะถูกท าลายไปแล้ว กับการศึกษาสมัยใหม่” (สัมภาษณ์อาจารย์ไพรวัลย์, 21 ธันวาคม 2564)

4.2.3 การพัฒนาของรัฐ การปรับเปลี่ยนความหมายชาวกะเหรี่ยงในยุคการ พัฒนาไปสู่ความทันสมัย

ภายใต้กระบวนการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่ก าหนดให้มีแผนและเป้าหมายการ พัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในทุกพื้นที่ได้กลายเป็นเป้าหมายที่

หน่วยงานรัฐต้องเข้าไปส ารวจ จัดระเบียบชุมชน เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามเป้าหมาย การพัฒนาประเทศ เนื่องจากรัฐได้ให้ความหมายชาวกะเหรี่ยงว่าเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับความ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนขั้นพื้นฐาน ด้วยการสงเคราะห์ความช่วยเหลือในรูปแบบ ต่างๆ ทั้งในด้านการจัดการศึกษา การดูแลปัญหาสุขภาพ การพัฒนาอาชีพและรายได้ที่มั่นคงและ แน่นอน ดังบทสัมภาษณ์นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งที่ว่า “เมื่อก่อนนี้จะอยู่ในส่วนของ การสงเคราะห์อย่างเดียว ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงหรือศูนย์ชาวเขาใช้วิธีการสงเคราะห์อย่าง เดียว เลี้ยงกบ เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ซึ่งไม่ได้ดูบริบทของความเป็นเจ้าวัตร ซึ่งไม่สามารถเลี้ยงสัตว์

เหล่านี้ได้ ก็เลยเป็นการสงเคราะห์อย่างเดียว” (สัมภาษณ์พี่ไพรพนา, 10 ธันวาคม 2564) ชาว กะเหรี่ยงในความหมายและการรับรู้ของรัฐจึงไม่ได้ถูกยอมรับในอัตลักษณ์ วิถีวัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นแต่เพียงบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ ท้องถิ่นที่ห่างไกล และต้องเข้าไปช่วยเหลือ จัดการภายใต้

Garis besar

Dokumen terkait