• Tidak ada hasil yang ditemukan

สนามความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงในยุคก่อนทันสมัย

4.1 สนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในยุคก่อนทันสมัย

4.1.2 สนามความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงในยุคก่อนทันสมัย

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูง เป็นถิ่นฐานของชาวกะเหรี่ยง ที่เรียก ตัวเองว่า “ปกาเกอะญอ” มีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย จากค าบอก เล่าของชาวบ้านในพื้นที่มีการสันนิษฐานว่าชุมชนแห่งนี้มีประวัติการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่มาไม่น้อย กว่า 200 ปี สภาพทั่วไปของชุมชนตั้งอยู่บนดอยสูงล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์

ระยะทางจากด้านล่างขึ้นไปยังชุมชนประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นเส้นทางถนนลูกรังสลับคอนกรีต สลับคดเคี้ยวผ่านภูเขา ปัจจุบันมีการแบ่งพื้นที่ชุมชนออกเป็น 6 หมวด จ านวน 74 หลังคาเรือน มี

ประชากรทั้งหมด 270 คน ชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงด ารงวิถีวัฒนธรรมตามความเชื่อดั้งเดิม ผสมผสานกับการนับถือศาสนาคริสต์ที่เผยแพร่เข้ามาในภายหลัง อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตปกติทั่วไป ยังคงด ารงความเชื่อ และยึดถือแนวปฏิบัติ ประเพณี พิธีกรรม การใช้ภาษา และการแต่งกายที่สืบ ทอดมาจากบรรพบุรุษมาอย่างต่อเนื่อง เช่น พิธีสักการะด าหัวดอยช้าง (ดอยศักดิ์สิทธิ์ที่ชาว กะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงให้ความเคารพมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ), พิธีกรรมในไร่หมุนเวียน เพื่อ แสดงให้เห็นการเคารพ สักการะธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติในการปกป้องคุ้มครองผู้คน พืช และสัตว์เลี้ยงให้ด ารงชีวิตอย่างปกติสุข เป็นต้น

ด้วยลักษณะพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ท ากินของชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงอยู่ใน พื้นที่ดอยสูง ท าให้ชาวกะเหรี่ยงมีการเรียนรู้ สั่งสมภูมิปัญญาในการด ารงชีวิตโดยพึ่งพา ทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐานทั้งในด้านการเก็บหาของป่า ล่าสัตว์ “หากินกันในป่าแบบเป็นสัตว์

ป่าที่เป็นหนู นกอะไรพวกนี้เพราะว่ามันเยอะ เป็นหนูเป็นนก สัตว์ป่านี่เขามันมีทุกชนิดอยู่นะพี่

เป็นหมูป่าเป็นเก้ง อะไรพวกนี้ก็มี” (สัมภาษณ์พี่จรัญ, 3 มกราคม 2565) นอกจากนี้ยังมีการท าไร่

หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีการท าเกษตรแบบดั้งเดิมในลักษณะหมุนเวียน สลับพื้นที่เพาะปลูก โดยจะมี

วงรอบของการใช้พื้นที่ประมาณ 5-7 ปี จึงจะกลับมาท าซ ้าในพื้นที่เดิม ในช่วงเวลาที่หมุนไปท าใน พื้นที่ใหม่จะปล่อยให้พื้นที่ที่ถูกใช้ได้พักฟื้นตามธรรมชาติ ซึ่งเรียกพื้นที่นั้นว่า “ไร่ซาก” หรือ “ไร่

เหล่า” วิถีปฏิบัติของชาวกะเหรี่ยงจึงไม่ปลูกพืชในพื้นที่ซ ้าเดิม หากแต่จะปล่อยให้พื้นที่ได้พักฟื้น คืนความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้วิถีการท าไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงยังเป็น พื้นที่ของการปฏิบัติทางพิธีกรรมตามความเชื่อที่แสดงให้เห็นความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งจะมี

ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกพื้นที่ การเริ่มหยอดข้าวไร่ ไปจนถึงพิธีเกี่ยวข้าวไร่ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดของฤดู

เพาะปลูกในปีนั้นๆ

อย่างไรก็ตามชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงต่างเผชิญกับเหตุการณ์ที่

ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในวิถีการด ารงชีวิตมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความสัมพันธ์กับ กระบวนการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่ การพัฒนาและ ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีการท ากินของชาวกะเหรี่ยงจากหน่วยงานภายนอกและ ความสัมพันธ์กับระบบตลาดเพื่อจ าหน่ายและแลกเปลี่ยนสินค้า ตลอดจนการประกาศใช้นโยบาย และกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดังปรากฏเหตุการณ์ในปี พ.ศ.2538 ที่ได้เริ่ม มีเจ้าหน้าที่รัฐมาส ารวจพื้นที่ไร่หมุนเวียนของชาวบ้าน และได้บอกให้ชาวบ้านตัดต้นไม้ภายใน พื้นที่ไร่หมุนเวียนออก เพื่อแสดงให้เห็นขอบเขตการครอบครองพื้นที่ท ากินที่แน่นอนชัดเจน หากมา ตรวจพบภายหลังว่ามีการเพาะปลูกและท ากินในพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าจะถือเป็นการบุกรุกพื้นที่

และตัดท าลายป่าไม้ จากนั้นไม่นานจึงได้มีประกาศให้พื้นที่ชุมชน พื้นที่ท าไร่หมุนเวียนและพื้นที่ป่า โดยรอบบริเวณเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.

2535 ท าให้ชาวกะเหรี่ยงเกิดความหวาดระแวงและไม่มั่นใจต่อการด ารงวิถีชีวิตดั้งเดิม เนื่องจาก พื้นที่ที่เคยท ากินได้ถูกประกาศและควบคุมด้วยกฎหมายจากหน่วยงานรัฐภายนอก ดังบท สัมภาษณ์ที่ว่า “การถูกคุกคามแบบนี้มันทวีความรุนแรงขึ้นมาทีละขั้นๆ แต่ละปีเขาก็ต้องอยู่กัน อย่างหวาดระแวง ไร่ตรงนั้นฉันจะท าได้ไหมฉันจะเผาไร่ได้หรือเปล่า ฉันจะต้องถูกจับอีกไหม ฉัน ต้องอยู่แบบความกังวลตลอดเวลาอย่างนี้เหรอ ก็เลยบอกถ้าอย่างนั้น เรามาประชุมกันนะเรามา วิเคราะห์ร่วมกัน หาทางออกร่วมกันว่าคุณจะมีข้อมูลการจัดการแบบไหน คุณจะสื่อสารออกมา ยังไง คุณจะมีกิจกรรมพื้นที่เวทีสาธารณะยังไงครับผม” (สัมภาษณ์ประเสริฐ, 1 มกราคม 2565) ขณะเดียวกันภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและที่ดิน ท ากิน ได้ปรากฏความไม่เข้าใจและยอมรับต่อวิถีการท าไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่า สูงจากชุมชนรอบข้าง เนื่องจากพื้นที่ไร่หมุนเวียนบางแปลงอยู่ในเขตซ้อนทับของพื้นที่ต าบลและ หมู่บ้านอื่นๆ ท าให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ขณะเดียวกันด้วยการเผชิญกับเหตุการณ์ความรุนแรง ของไฟป่าที่เพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลจากกรเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและการกระท าของมนุษย์

ท าให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงเกิดการเรียนรู้และค้นหาแนวทางที่จะจัดการและป้องกันไฟป่าจึง ท าให้มีการเริ่มท าแนวกันไฟป่าที่ขยายขอบเขตจากพื้นที่ไร่หมุนเวียนเป็นพื้นที่ป่าโดยรอบของ หมู่บ้าน มีการท ากิจกรรมบวชป่าเพื่อแสดงให้เห็นความเชื่อ พิธีกรรมของชาวกะเหรี่ยงที่เคารพ สักการะต่อธรรมชาติ โดยเป็นการผสมผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธ คริสต์ และความเชื่อ ดั้งเดิม พิธีกรรมบวชป่าของชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงจึงกลายเป็นพื้นที่ทางสังคมที่ท าให้ผู้คนทั้ง จากภายในชุมชนที่มีความเชื่อที่แตกต่างรวมถึงคนภายนอกชุมชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการ แสดงออกต่อการเคารพสักการะและขอขมาธรรมชาติ รวมถึงการแสดงให้เห็นการมห้ค ามั่นสัญญา ที่จะดูแลปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติบนฐานความเชื่อ อย่างไรก็ตามในช่วงปี พ.ศ.2557 ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงก็ได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงส าคัญที่เป็นผลมาจากการ ก าหนดแนวนโยบายและมาตาการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากรัฐ ภายใต้การประกาศ นโยบายทวงคืนผืนป่า ซึ่งน ามาสู่ปฏิบัติการการยึดคืนที่ดิน พื้นที่ท ากินดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ “กุมภา 58 เจ้าหน้าที่ก็เอา เสาหลักปูน มติครม30 มิ.ย 2541 เขาบอกว่ามากันพื้นที่ชุมชนคือมีการ มาจ้างชุมชนด้วย ชาวบ้านก็เลยเอาเสาพวกนี้ไปปักๆ ตาม รอบไร่หมุนเวียนตามรอบทุ่งนาอะไรพวกนี้ ซึ่งเขาบอกว่าเฮ้ยเจ้าหน้าที่ มากันพื้นที่ท ากินให้ ซึ่งเขา ไม่ได้ศึกษาชาวบ้านเขาไม่ได้ศึกษา ระเบียบลึกๆนั้นว่ากฎหมายอะไรบ้างมันมี เงื่อนไขมันมี

อะไรบ้าง และเจ้าหน้าที่ก็บอกให้ชาวบ้านตัดต้นไม้ในไร่หมุนเวียนออกเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ท า

กินที่ชัดเจน” (สัมภาษณ์ประเสริฐ, 1 มกราคม 2565) การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากการ ปฏิบัติการด้านการของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ค านึงถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง จึงเป็น เงื่อนไขที่น ามาสู่ความขัดแย้ง และเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญที่ท าให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงต้อง ปรับตัวเพื่อแสวงหาแนวทางต่อรอง ต่อสู้ เพื่อยืนยันสิทธิอยู่อาศัยและท ากินในพื้นที่ดั้งเดิมของตน โดยมีการแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานและองค์กรพัฒนาภายนอกเข้ามาช่วย สนับสนุน และด าเนินตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาว กะเหรี่ยง ซึ่งเป็นเงื่อนไขส าคัญที่ท าให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงเกิดการเรียนรู้ ต่อสู้ ต่อรอง ความหมายใหม่ของความชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ท าให้เกิดปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการและดูแล ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป้นรูปธรรมโดยได้มีการท าแนวกันไฟโดยรอบพื้นที่ เพื่อป้องกันไฟป่าที่

จะท าลายพื้นที่ป่าต้นน ้า มีการจัดท าพิธีบวชป่าป่าเป็นประจ าทุกปี เพื่อแสดงให้เห็นพิธีกรรมเคารพ ต่อธรรมชาติและสร้างกฎระเบียบใหม่ ตลอดจนได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เพื่อแสดงให้เห็นการปกป้องคุ้มครองวิถีชีวิต วัฒนธรรมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานภูมิปัญญาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์

ซึ่งเป็นที่ปรากฏและได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สนามความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูง

การด ารงอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ถูกสร้างและ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปรากฏผ่านคติความเชื่อ เรื่องเล่าและแนวปฏิบัติตาม ประเพณี พิธีกรรมในแต่ละช่วงเวลา กลายเป็นแบบแผนการด ารงชีวิตที่ก าหนดให้เห็นว่าสิ่งใดควร ท า สิ่งใดไม่ควรท า เป็นเสมือนกฎที่คอยควบคุมก ากับให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงด าเนินไปให้

สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมและเงื่อนไขทางสังคมที่ด ารงอยู่ โดยเฉพาะในยุคก่อนทันสมัยจะ ปรากฏความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิเหนือธรรมชาติที่เป็นกลไกในการก าหนดและ ก ากับกฎเกณฑ์ กติกาของชาวกะเหรี่ยงให้ด ารงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุลและเป็นปกติสุข อย่างไรก็

ตามการอธิบายภายใต้กรอบแนวคิดสนาม (field) จะชี้ให้เห็นว่าสนามความเป็นชาติพันธุ์บ้านดอย ป่าสูงนั้นประกอบไปด้วยโครงสร้าง กฎ สถาบัน และทุนที่ด ารงอยู่ในชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้าน ดอยป่าสูง ดังนี้

กฎและพิธีกรรมที่สัมพันธ์อยู่กับธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิเหนือ ธรรมชาติ

หากสนามคือพื้นที่ความสัมพันธ์ที่ประกอบไปด้วยผู้เล่นหรือตัวแสดงใน ต าแหน่งที่หลากหลาย การอยู่ภายในสนามจึงต้องมีกฎเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุม ก ากับ แบบพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปตามบริบทและเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่ด ารงอยู่ ดังปรากฏใน

Garis besar

Dokumen terkait