• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความรู้ที่สร้างขึ้นจากการศึกษาความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในฐานะสนามที่ถูกประกอบ

ตลอดระยะเวลาของการพัฒนาที่ผ่านมาชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงต่างเผชิญกับ กระบวนการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่น าพาความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็น พลวัต จากข้อมูลสถานการณ์ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงท าให้พบว่ามีหลายชุมชนที่ถูกการพัฒนารุก คืบเข้าไปส่งผลให้เกิดการสูญหายทางอัตลักษณ์ วัฒนธรรม มีการผสมกลืนและปรับเปลี่ยนวิถี

ชีวิตวัฒนธรรมเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังปรากฏในหลายชุมชนที่มีการต่อสู้ ต่อรองเพื่อที่จะด ารง อยู่ภายใต้กรอบความคิด ความเชื่อและวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน ซึ่งแสดงให้เห็นการรักษาฮา บิทัสภายในที่เป็นความดั้งเดิมของตนไว้ได้ การศึกษาวิจัยนี้จึงเป็นส่วนส าคัญที่แสดงให้เห็นผล

ของการพัฒนาประเทศที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งในด้านที่ถูกผสมกลมกลืนและ น าเสนอให้เห็นกระบวนการต่อสู้ต่อรองเพื่อสร้างทางเลือกในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยสามารถน าเสนอให้เห็นองค์ความรู้ใหม่ได้ดังนี้

6.3.1 มุมมองด้านภววิทยาต่อการด ารงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

การศึกษานี้ได้น าเสนอให้เห็นว่า สภาวะการด ารงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้นมี

ความซับซ้อนและมีความพลวัต เราไม่อาจที่จะท าความเข้าใจและน าเสนอมุมมองที่มีต่อกลุ่มชาติ

พันธุ์กะเหรี่ยงในรูปแบบเดิมเหมือนที่เป็นมาได้ เนื่องจากภายใต้การใช้กรอบแนวคิดสนาม (field) ของบูร์ดิเยอร์ได้แสดงให้เห็นว่าความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้นถูกประกอบสร้างขึ้นในรูปแบบของ สนามที่มีกฎ กติกา มีความเป็นสถาบันที่คอบควบคุมก ากับ และภายในสนามต่างก็มีผู้กระท าการ (Actor) หรือผู้เล่นในต าแหน่งที่หลากหลาย กระท าการต่อรอง แข่งขันช่วงชิงด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่าง สอดคล้องกับทุน (capital) ที่ตนครอบครอง

การปรากฏขึ้นของสนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงท าให้เห็นว่า ภายใน สนามแห่งนี้ไม่ใช่พื้นที่ของการเอื้อเฟื้อ หรือการท าความเข้าใจอย่างเห็นอกเห็นใจเพียงอย่างเดียว แต่เป็นพื้นที่ของการแข่งขันที่ผู้เล่นในทุกต าแหน่งต่างใช้ทุนและกลยุทธ์มากมายเพื่อที่จะได้

ประโยชน์สูงสุดหรือท าให้สามารถด ารงอยู่ได้ เช่น ชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงที่มีปฏิบัติการ เกี่ยวกับการท าแนวกันไฟ แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงได้มีการเรียนรู้ที่จะแสวงหาความรู้

และปรับใช้ทุนความรู้จนสามารถพัฒนาแนวกันไฟที่มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา ช่วยจัดเก็บน ้า ปฏิบัติการดังกล่าวถือเป็นการน าทุนทางวัฒนธรรมมาปรับใช้และก่อให้เกิดทุนสัญ ลักษ์แบบใหม่ของชาวกะเหรี่ยงเพื่อน ามาใช้ในการต่อสู้ ต่อรองกับโครงสร้างอ านาจรัฐที่มีกฎและ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การท าแนวกันไฟของชาวกะเหรี่ยงจึงเป็น ปฏิบัติการของการใช้ทุนทางวัฒนธรรม และสร้างทุนสัญลักษณ์แบบใหม่ที่ปรากฏขึ้นในสนาม ที่

ชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยป่าสูงได้น ามาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการต่อรองกับอ านาจรัฐ ที่แสดงใหเห็น การเป็นชุมชนที่มีการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดเป็นการยอมรับและให้สิทธิในการ อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ได้อย่างมั่นคง

การด ารงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงไม่ได้ด ารงอยู่อย่างแน่นิ่ง แต่มีการ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสภาวะความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง และถูก อธิบายภายใต้มุมมองด้านวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมเพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถที่จะ มองหรือพิจารณาความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงด้วยวิธีคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลตามกระบวนทัศน์การ พัฒนาสมัยใหม่ได้ เนื่องจากสนามความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้นมีความซ้อนทับกันระหว่างกฎ

ของความเป็นกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมยุคก่อนทันสมัยกับกฎของความทันสมัยที่สัมพันธ์กับโครงสร้าง สังคม เศรษฐกิจ การเมืองภายนอกโดยไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้ ดังนั้นภววิทยาที่มีต่อ การศึกษาความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงครั้งนี้น าเสนอให้เห็นว่า การด ารงอยู่ของความเป็นชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงมีลักษณะของการเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) และอัตวิสัย (subjectivity) แต่การศึกษา เฉพาะด้านที่มุ่งเน้นการอธิบายความเป็นชาติพันธุ์ในลักษณะที่เป็นวัตถุวิสัย (objectivity) เพียง อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการท าความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ เนื่องจาก เมื่อพิจารณาภายใต้กรอบแนวคิดสนาม (field) แล้วนั้น จะพบปฏิบัติการ (practice) ของมนุษย์ที่

ประกอบด้วยกฎเกณฑ์ กติกา ทุน และแบบแผนการปฏิบัติที่บูรณาการร่วมกันระหว่างอัตวิสัยและ วัตถุวิสัย การศึกษาท าความเข้าใจความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงไม่สามารถแยกขาดระหว่าง ความเป็นวัตถุวิสัยและอัตวิสัยได้ แต่ต้องพิจารณาทั้งสองส่วนไปพร้อมๆ กัน เพื่อท าให้การ ปฏิสัมพันธ์ที่มีระหว่าง ผู้กระท าการ (agency) กับ โครงสร้าง (structure) เพราะความจริงมิได้

ด ารงอยู่ในแบบวัตถุวิสัย เพียงอย่างเดียว ความจริงทางสังคมเกิดจาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัตถุวิสัย กับอัตวิสัย และเกิดขึ้นในปฏิบัติการทางสังคมของคน ดังนั้น การด ารงอยู่ของความเป็นชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงจึงสามารถพบได้ในปฏิบัติการทางสังคม ซึ่งมิใช่เฉพาะคนกะเหรี่ยงเท่านั้น แต่ใครก็ตามที่

เป็นผู้แสดงและอยู่ในสนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนี้ก็จะเป็นผู้ผลิต / ผลิตซ ้าความจริงชุด นี้อยู่เสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความเป็นชาติพันธุกะเหรี่ยงจึงเป็นการประกอบสร้างระหว่างผู้เล่นใน สนามกับโครงสร้างและเงื่อนไขเชิงวัตถุวิสัย

6.3.2 การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางญาณวิทยาต่อการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์

กะเหรี่ยง

สนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ซ้อนทับอยู่กับสนามของการพัฒนาไปสู่

ความทันสมัยได้สร้างความไม่ลงรอยระหว่างวิถีเก่ากับวิถีใหม่ที่ชาวกะเหรี่ยงต้องปรับตัว หากชาว กะเหรี่ยงยอมจ านนก็จะตกอยู่ในสถานะผู้ถูกกระท าจากโครงสร้างเพียงฝ่ายเดียวและต้อง กลายเป็นผู้เสียเปรียบในสนามที่ต้องรอคอยความช่วยเหลือ เนื่องวิถีการด าเนินชีวิตดั้งเดิมไม่

สอดคล้องกับกับกฎของสนามการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่ให้ความส าคัญกับความเป็นเหตุเป็น ผล ในทางตรงข้ามชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในปัจจุบันหลายชุมชนได้แสดงให้เห็นการไม่สยบยอม ต่อโครงสร้าง ด้วยการน าทุนที่มีอยู่ดั้งเดิมมาปรับใช้ ตลอดจนแสวงหาทุนใหม่ที่ปรากฏอยู่ในสนาม ของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมาต่อสู้ ต่อรองในสนามเพื่อแข่งขันช่วงชิงประโยชน์ที่พึงได้จาก การอยู่ในสนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง การแสดงให้เห็นปฏิบัติการทางวัฒนธรรมทั้งการ อนุรักษ์วิถีชีวิต ประเพ ณี การใช้ภ าษ าดั้งเดิม การปฏิบัติการเกี่ยวกับการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ดูแลปกป้องผืนป่าให้คงความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนปฏิบัติการทาง

วัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยวบนวิถีที่เรียบง่ายของชาวกะเหรี่ยง เหล่านี้ไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อด ารงอัตลักษณ์และตัวตนของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเพียงอย่างเดียว แต่แสดงให้เห็นกล ยุทธ์การปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางทรัพยาธรรมชาติมาปรับใช้เพื่อให้ได้รับการยอมรับ และ เปลี่ยนเป็นทุนชนิดอื่นที่ เช่น ทุนเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ ด ารงอยู่ ดังนั้นการท าความเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในปัจจุบันที่มองภายใต้กรอบของความ เป็นชาติพันธุ์ที่เป็นวัตถุวิสัยที่แน่นิ่งตายตัว จึงไม่เพียงพอ ครอบคลุม เท่าทันพลวัตการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะชาวกะเหรี่ยงได้แสดงให้เห็นกลยุทธ์ในการใช้ทุนรูปแบบต่างๆ ตาม โอกาส จังหวะเวลาที่เหมาะสมภายในสนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ดังนั้นในการศึกษาท าความเข้าใจความจริงทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติ

พันธุ์กะเหรี่ยงในด้านญาณวิทยา จึงไม่แยกระหว่างผู้ถูกศึกษากับผู้ศึกษา แต่เป็นการท าความ เข้าใจด้วยการตีความเชิงวิพากษ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อัตวิสัยและเงื่อนไขเชิงวัตถุ ทั้งโครงสร้าง ประวัติศาสตร์ การเมือง เป็นความเข้าใจที่มาจากข้างใน (ระเบิดจากข้างใน) มีเป้าหมายเพื่อการ ท าให้หลุดพ้นจากการครอบง าของความรู้ ความเชื่อ อุดมการณ์ ที่ผูกติดมากับการประกอบสร้าง ความทันสมัย ดังกรณีการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านห้วยน ้าใส ที่แสดงให้

เห็นการแนวทางการจัดการท่องเที่ยวที่ด าเนินไปภายใต้การยึดกรอบกฎเกณฑ์ กติกา ความเป็น ธรรมชาติดั้งเดิมของชุมชน โดยไม่มุ่งเน้นที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดการภายในที่มุ่งไปสู่การ ท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่แสดงให้เห็นการกลยุทธ์ในการเลือกปรับใช้กฎของ การตลาดท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่ต้องการสัมผัสความแปลกใหม่และความเป็นธรรมชาติของ สภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตมาเป็นจุดขาย ซึ่งสอดคล้องกับสภาพบริบทและกฎเกณฑ์ กติกาเดิม ของชุมชน ดังนั้นการศึกษาเพื่อท าความเข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงการก าหนดแนวทางการ พัฒนาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาติพันธุ์จึงไม่สามารถที่จะแยกขาดระหว่างผู้ถูกศึกษาและกับผู้ศึกษา ได้ เนื่องจากชาวกะเหรี่ยงต่างก็มีโครงสร้างความรู้ ความคิดพื้นฐานที่อยู่ภายในที่คอยก ากับแบบ แผนปฏิบัติดั้งเดิมอยู่ ขณะเดียวกันผู้ศึกษาที่มาจากภายนอกย่อมมีความรู้ ความคิดที่แตกต่างที่

น าเข้าไปสัมพันธ์กับชาวกะเหรี่ยง การมองความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอย่างเข้าอกเข้าใจ โดยให้

ความส าคัญจากการท าความเข้าใจจากภายในจึงเป็นส่วนส าคัญที่จะช่วยให้การด ารงอยู่ของกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายสามารถอยู่ร่วมกับพลวัตการเปลี่ยนแปลง ของสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข บนพื้นฐานของการก าหนดแนวทางการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่

เคารพสิทธิทางวัฒนธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

Garis besar

Dokumen terkait