• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปและการสะท้อนคิด

บทที่ 6

บทสรุปและการสะท้อนคิดสู่การทางเลือกในสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ

กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ระเบียบแบบแผนการปฏิบัติในชีวิตประจ าวันของชาวกะเหรี่ยงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

การเกิดขึ้นและด ารงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นิ่งและตายตัว หากแต่มีการปรับเปลี่ยน และประกอบสร้างตัวตนใหม่อยู่เสมอ ซึ่งแสดงให้เห็นการต่อสู้ ต่อรอง ความหมายเพื่อให้ได้รับการยอมรับท่ามกลางการครอบง าของกลุ่มวัฒนธรรมหลักในฐานะเป็นผู้

เล่นในสนามของการพัฒนา อย่างไรก็ตามในภายใต้สนามของการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยก็ได้

ปรากฏกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเคารพในสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชนตลอดจนการส่งเสริม ระบอบประชาธิปไตยที่ต้องการให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการก าหนดแนวทางการพัฒนา ซึ่ง เปรียบเหมือนกรอบศีลธรรมหลักที่การพัฒนาต้องอ้างถึง และนั้นจึงเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์หนึ่งที่

อนุญาตให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสามารถหยิบยกมาใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ ต่อรอง บนฐาน ของการใช้การเมืองวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์มาเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวทาง สังคม เพื่อเสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ทั่วถึงและเป็นธรรม สามารถด ารงวิถีชีวิตตาม กรอบความคิดความเชื่อที่เป็นชุดคุณค่าหลักของตนได้อย่างสุขสบาย ส าหรับผู้วิจัยแล้ว การตั้ง ค าถามเกี่ยวกับการเกิดขึ้นและด ารงอยู่ของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงเป็นปรากฏการณ์ที่

น่าสนใจโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาภายใต้ความสัมพันธ์กับกระบวนการพัฒนาประเทศไปสู่ความ ทันสมัย ซึ่งจากงานวิจัยครั้งนี้ท าให้ผู้วิจัยพบว่าลักษณะของโครงสร้างสนามความเป็นชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนย้ายมาโดยตลอด ตั้งแต่ในยุคก่อนทันสมัยจะพบว่า ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในยุคดั้งเดิมจะมีกฎเกณฑ์ กติกาที่เป็นกรอบความคิดเชื่อและวิถีปฏิบัติที่

สัมพันธ์อยู่กับธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิเหนือธรรมชาติ ท าให้แนวโน้มการปฏิบัติของชาวกะเหรี่ยง ในยุคก่อนทันสมัยมีการด ารงอยู่อย่างเป็นอิสระ มีความสัมพันธ์กันเฉพาะภายในกลุ่มหรือชุมชน ของตน โดยจะมีผู้น าทางจิตวิญญาณท าหน้าที่ควบคุมกฎเกณฑ์ กติกา และแบบแผนการปฏิบัติ

ตามประเพณี พิธีกรรมให้ด ารงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการถ่ายทอดและสืบทอดความคิด ความเชื่อ แนวปฏิบัติก็มักจะเกิดขึ้นจากการสังเกต การเรียนรู้จากการลงปฏิบัติภายในครอบครัวและชุมชน เป็นส าคัญ สนามของความชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในยุคก่อนทันสมัยจึงเป็นพื้นที่ที่น าเสนอให้เห็น ตัวตนและอัตลักษณ์ของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงได้อย่างเด่นชัด

อย่างไรก็ตามภายใต้กระบวนการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่เคลื่อนมาอย่างเป็นพลวัต และมีความสัมพันธ์กับสนามความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้น ได้ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างภายในสนาม ระบบความสัมพันธ์ที่ปรากฏระหว่างผู้เล่น (actor) ในต าแหน่งต่างๆ ได้

ส่งผลให้เกิดการแข่งขัน ช่วงชิง และท าให้เกิดผู้เสียเปรียบในโครงสร้างสนามแบบใหม่ที่เกิดขึ้น

โดยเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ต้องอยู่ภายใต้ระบบความสัมพันธ์กับสังคม เศรษฐกิจ การเมืองภายนอก ซึ่งมีระเบียบ แบบแผนกฎเกณฑ์กติกาแบบใหม่ที่ก ากับอยู่ การต้องอยู่ภายใต้

โครงสร้างแบบใหม่ ซึ่งเป็นความไม่คุ้นชิน เนื่องจากชาวกะเหรี่ยงไม่ได้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถที่สอดคล้องกับโครงสร้างสนามของการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย ชาวกะเหรี่ยงจึงอยู่

ในต าแหน่งของผู้เสียเปรียบภายในสนาม ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถน าทุนดั้งเดิมที่มีอยู่มาปรับใช้

ให้สอดคล้องกับบริบทสนามใหม่ได้ ทั้งนี้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่ให้ความส าคัญ กับสิทธิเสรีภาพและการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในสังคม ซึ่งถือเป็นกรอบกฎเกณฑ์กติกาของ สนามแบบใหม่ที่ปรากฏขึ้น พร้อมกับทุนที่เอื้อต่อกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงให้สามารถน ามาปรับใช้

เป็นกลยุทธ์ในการต่อรอง แข่งขันภายในสนามของความชาติพันธุ์กะเหรี่ยงได้ ชุมชนชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงจึงไม่ได้ด ารงอยู่ในลักษณะของการสยบยอมหรือตกเป็นรองในสนามเสมอไป เนื่องจาก ชาวกะเหรี่ยงยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหยิบฉวยทุนต่างๆ ที่ครอบครอง และทุนอื่นๆ ที่

อยู่ภายในสนาม มาใช้ในการประกอบสร้างอัตลักษณ์หรือตัวตนใหม่ขึ้นมาภายใต้สนามของความ เป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในยุคทันสมัยได้เป็นอย่างดี ดังปรากฏชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ประสบ ความส าเร็จในการต่อรองภายใต้สนามความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่ได้แสดงให้เห็นกล ยุทธในการปรับใช้ทุนอย่างหลากหลายและสอดคล้องบริบทสังคมและนโยบายของรัฐจนได้รับการ ยอมรับและด ารงวิถีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข และไม่ได้ถูกเบียดขับให้อยู่ในต าแหน่งที่ตกรองภายใน สนาม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อโครงสร้างของสนามเปลี่ยน กฎ กติกา และทุนไม่เหมือนเดิม ฮาบิทัส ของชาวกะเหรี่ยงก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างของสนามที่เปลี่ยนไป กลายเป็นตัวตนใหม่ที่

มีการเรียนรู้ ยอมรับ ต่อสู้ ต่อรองกับโครงสร้างของสนาม ทั้งในลักษณะของการเป็นชุมชนอนุรักษ์

วิถีชีวิตวัฒนธรรม ชุมชนจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และชุมชนจัดการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นฮาบิทัส แบบใหม่ที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต

การท าความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์นั้น จึงไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าใน การพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์จะยึดถือหรือใช้กรอบความคิดใดสมบูรณ์ที่สุด มีเพียงสิ่ง ที่เรียกว่าความก ากวมหรือความอิหลักอิเหลื่อ กล่าวคือท่ามกลางบริบทสังคมที่ซับซ้อนการจะ เริ่มต้นท าความเข้าใจอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ด้วยแนวคิดที่เรียกว่าความผูกพันขั้นพื้นฐาน (primordial attachment) และผู้สืบเชื้อสายเดียวกันเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอต่อการท า ความเข้าใจความเป็นชาติพันธุ์อย่างครอบคลุมและรอบด้าน ขณะเดียวกันการจะปฏิเสธโดยไม่

สนใจพื้นฐานแนวคิดดังกล่าวที่ให้ความส าคัญกับความเป็นวัตถุวิสัย และหันมาใช้กรอบแนวคิดว่า ด้วยการประกอบสร้างทางชาติพันธุ์อย่างเดียว ก็ยากจะท าความเข้าใจสถานการณ์เฉพาะต่างๆ ที่

เกิดขึ้นในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีพลังในการขับเคลื่อน ผลักดันจิตส านึกและการกระท าของคนใน ปัจจุบันให้ด ารงอยู่ ดังนั้นการท าความเข้าใจความเป็นชาติพันธุ์จึงเป็นปัญหาที่ยังไม่มีกรอบ แนวคิดในแนวทางใดทางหนึ่งที่สมบูรณ์ตายตัว การศึกษานี้จึงจะน าเสนอให้เห็นว่าความเป็นชาติ

พันธุ์ไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์ หากแต่เป็นการน าเสนอให้ตัวตนและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ลื่นไหล สัมพันธ์กับอัตลักษณ์ของชาติและบริบทสังคม การเมือง โดยให้ความส าคัญกับกระบวนการ สร้างอัตลักษณ์ (identification) มากกว่าการระบุแบบเฉพาะเจาะจงไปที่ตัวอัตลักษณ์ (identity) ของกลุ่มชาติพันธุ์ ดังปรากฏกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในสังคมไทยที่อัตลักษณ์ทาง ชาติพันธุ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐ ที่กระท าผ่านกระบวนการที่เป็นทางการ เพื่อสงวนและเก็บรักษาสิ่ง ที่เรียกว่าความหลากหลายทางชาติพันธุ์เอาไว้ ขณะเดียวกันกลุ่มชาติพันธุ์หากไม่ปฏิเสธ ต่อต้าน ก็ฉกฉวยประโยชน์จากอัตลักษณ์และสถานภาพอันเป็นทางการของความเป็นชาติพันธุ์ดังกล่าว ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยกันเองหรือระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐจึงเป็นไปอย่าง ซับซ้อน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในความหมายและการแสดงออกทางชาติพันธุ์ขึ้นภายใต้

กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่มีรัฐศูนย์กลางเป็นผู้ก าหนดที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์จึงถูกน าเสนอให้เห็นในมิติเดียวที่สอดคล้องกับเป้าหมายและอุดมการณ์

ของรัฐ หากแต่เมื่อพิจารณาในมุมมองจากต าแหน่งของกลุ่มชาติพันธุ์จะพบว่ากระบวนการ สร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์นั้นเป็นสิ่งที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือการสร้างอัตลักษณ์ทาง ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นไปทั้งในลักษณะหล่อหลอมเสริมแต่งวัฒนธรรมดั้งเดิมทีมีอยู่ หรืออาจจะ แตกหักกับสิ่งที่ด ารงอยู่ก่อน และในบางครั้งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่รัฐเป็นผู้สร้างและสวมทับลง ไปบนผู้คนก็อาจเป็นสิ่งที่มีพลัง สร้างความผูกพันแบบใหม่ที่มีอิทธิพลต่อทั้งชีวิตประจ าวันและต่อ การอ้างอิงทางการเมือง กลายเป็นอัตลักษณ์ประเภทหนึ่งที่มีความหมายในปฏิบัติการใน ชีวิตประจ าวันของกลุ่มชาติพันธุ์ไป

6.2 พัฒนศึกษาศาสตร์กับการสร้างทางเลือกปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกลุ่มชาติพันธุ์

กะเหรี่ยง

หากพัฒนศึกษาศาสตร์คือศาสตร์ว่าด้วยเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้เพื่อการพัฒนา ประเทศ ความสนใจต่อปรากฏการณ์ความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้ที่จะน ามาอธิบายเพื่อท าความเข้าใจภายใต้ความสัมพันธ์กับ กระบวนการพัฒนาประเทศที่ด าเนินไปอย่างเป็นพลวัต โดยเฉพาะการตั้งค าถามต่อชาวกะเหรี่ยงที่

เผชิญกับกระบวนการพัฒนาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการด ารงอยู่ตลอดเวลา ดังปรากฏผ่าน การประกาศใช้กฎหมาย แนวนโยบายทั้งด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาโครงสร้าง

Garis besar

Dokumen terkait