• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทวิเคราะห์ สังเคราะห์สนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

การน าเสนอให้เห็นพลวัตการเปลี่ยนแปลงของความชาติพันธุ์กะเหรี่ยงตั้งแต่ยุคก่อน ทันสมัยที่แสดงให้เห็นว่าชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้นต่างด ารงอยู่อย่างเป็นอิสระ บนพื้นฐานของ การพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีกฎ กติกา ระเบียบแบบแผนของสนามที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ

และสิ่งศักดิ์สิทธิเหนือธรรมชาติคอยควบคุมก ากับ ในยุคก่อนทันสมัยชาวกะเหรี่ยงจึงถือเป็นผู้เล่น เพียงหนึ่งในสนามที่สามารถควบคุม ก ากับ ระเบียบแบบแผนภายของสนาม กระทั่งเมื่อการ พัฒนาไปสู่ความทันสมัยได้แผ่ขยายเข้าสู่ชุมชน การเปลี่ยนแปลงของระเบียบ กฎเกณฑ์ภายใน สนามจึงได้ปรากฏขึ้น โดยมีรัฐซึ่งเป็นผู้เล่นในต าแหน่งสูงสุดของสนาม ที่ครอบครองทุนเศรษฐกิจ ทุนสัญลักษณ์ ทุนทางวัฒนธรรมในปริมาณสูง คอยควบคุมก ากับผู้เล่นในต าแหน่งอื่นๆ อย่างไรก็

ตาม ชาวกะเหรี่ยงก็ไม่ได้ถือเป็นผู้เล่นที่ครอบครองทุนสูงสุดที่จะสามารถไปควบคุม ก ากับผู้อื่นได้

เนื่องจากในบริบทของการพัฒนาไปสู่ความสมัย รัฐเป็นถือครองกฎ ควบคุมกฎของสนาม ชาว กะเหรี่ยงจึงต้องปรับตัว ปรับเปลี่ยนสถานะ และเรียนรู้กลยุทธ์ที่จะแปลงทุนที่ตนครอบครองและ แสวงหาทุนต่างๆ ที่เลื่อนไหลอยู่ภายในสนาม

การใช้กลยุทธ์เพื่อแสวงหา สะสมและใช้ทุนของชาวกะเหรี่ยงจึงท าให้มีการปฏิสัมพันธ์

กับผู้เล่นต าแหน่งอื่นๆ ภายในสนาม เช่น นักวิชาการ นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน เจ้าหน้าที่รัฐ เหล่านี้เป็นผู้เล่นในสนามชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ต่างครอบครองทุนที่จ าเป็นและสอดคล้องกับสนาม แห่งนี้ ซึ่งสามารถน ามาใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์สูงสุดให้แก่ตนเองได้ ขณะเดียวกันทุนเหล่านั้นก็

อาจจะเป็นสิ่งที่จ าเป็นส าหรับชาวกะเหรี่ยงหรือผู้เล่นในต าแหน่งอื่นๆ ที่จะร่วมแข่งขันช่วงชิง ประโยชน์จากสนามได้เช่นกัน ดังนั้นสนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจึงเป็นพื้นที่ของการมี

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับโครงสร้าง ที่มีการก าหนดสร้าง และถูกสร้างร่วมกันตลอดเวลา การ ท าความเข้าใจความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงภายใต้มุมมองของสนาม จึงน าเสนอให้เห็นความเป็น ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่แตกต่างไปจากการอธิบายภายใต้แนวคิดโครงสร้างหน้าที่นิยมที่จะอธิบาย ความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงว่าถูกสร้างมาจากกฎ เกณฑ์ วิถีวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็น ค าอธิบายในแนววัฒนธรรมดั้งเดิม การอธิบายด้วยแนวคิดสนามจึงท าให้เห็นการกระท าการของผู้

เล่นในสนามที่ต่างมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน และมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างที่สามารถต่อรอง ปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของโครงสร้างได้เสมอ ภายใต้การปรับใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการฉกฉวย ทุน สะสมทุน และใช้ประโยชน์จากทุนที่ตนครอบครองและที่ปรากฏอยู่ในสนาม

อย่างไรก็ตามแม้ผู้เล่นจะครอบครองทุนและสามารถแสวงหา สะสมทุน แต่ทุนจะไม่มี

ประโยชน์หากไม่มีกลยุทธ์ในการน าไปใช้ ดังนั้นผู้เล่นจะต้องเรียนรู้วิธีการโอนย้ายถ่ายเท สับเปลี่ยน แลกเปลี่ยนทุนดังปรากฏการน าเสนอให้เห็นปฏิบัติการและการต่อรองความหมายของ ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทยทั้ง 3 กรณีดังที่ได้กล่าวมานั้นท าให้เห็นว่า ชุมชนชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงไม่ได้ด ารงอยู่อย่างแน่นิ่งหรือสยบยอมต่อโครงสร้างของสนามที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะใน บริบทของการพัฒนาที่ให้ความส าคัญกับการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งส่งผล กระทบต่อการด ารงวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงทั้ง 3 ชุมชน ท าให้ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการท ามาหากิน ไม่

สามารถด ารงวิถีการท าไร่ข้าวแบบสลับหมุนเวียนพื้นที่ได้อย่างมั่นคง แม้ในบางชุมชนจะยังคง สามารถด ารงวิถีดังกล่าวไว้ได้ แต่ก็อยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการถูกด าเนินการตามกฎหมายของรัฐ อย่างไรก็ตามชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงก็ได้แสดงให้เห็นปฏิบัติการเพื่อต่อสู้ ต่อรองความหมาย ภายในสนามที่รัฐเป็นผู้ควบคุม และก าหนดกติกาสูงสุด โดยได้มีการทบทวนสถานการณ์ภายใน ชุมชนของตน เพื่อค้นหาศักยภาพและโอกาสที่จะน าทุนที่มีและสอดคล้องกับกฎ กติกาของสนาม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของรัฐมาปรับใช้ให้สอดคล้องและเกิดประโยชน์ต่อการด ารงอยู่

ภายใต้กลยุทธ์ที่แตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะภายในสนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงใน ยุคปัจจุบันที่ได้ก าหนดให้มีกฎเกณฑ์ กติกาในลักษณะของการก าหนดแนวนโยบายที่มุ่งส่งเสริม และคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งถือเป็นทุนสัญลักษณ์ที่ชาวกะเหรี่ยงสามารถหยิบฉวยมาใช้

ประโยชน์เพื่อต่อรองกับรัฐได้ เนื่องจากทุนสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ก าหนดให้รัฐต้องมีแนวทางในการ ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นส่วนส าคัญที่ท าให้

ความหมายของชาวกะเหรี่ยงถูกรับรู้ในสถานะที่มีความชอบธรรมมากขึ้น เนื่องเป็นการประกาศ รับรองโดยรัฐที่มีกฎ เกณฑ์กติกาควบคุมเฉพาะ

อย่างไรก็ตามการน าทุนสัญลักษณ์ว่าด้วยแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงมาปรับ ใช้ เพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนของตนนั้น แม้ชาวกะเหรี่ยงได้ครอบครองทุนสัญลักษณ์

ดังกล่าว แต่ก็อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ไข เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ชุมชน เนื่องจากชาวกะเหรี่ยงยังขาดความรู้ ความเข้าใจและทักษะความสามารถในการปรับใช้

แนวนโยบายให้เกิดประโยชน์และได้รับการยอมรับ ซึ่งจ าเป็นต้องใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มี

ลักษณะเฉพาะเพื่อการประยุกต์ใช้แนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ดังนั้นชาวกะเหรี่ยงจึง

ต้องเรียนรู้เพื่อที่จะมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการสื่อสาร การจัดการท าข้อมูลเพื่อน าเสนอ ให้เห็นสถานการณ์ปัญหาและตัวตนที่ชัดเจน ตลอดจนต้องมีกลยุทธ์ในการประสานงานเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องซึ่งแสดงให้เห็นการความสัมพันธ์กับสังคมภายนอกที่ถือเป็น ทุนทางสังคม เพื่อมาร่วมปรับใช้ทุนสัญลักษณ์ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการ อนุรักษ์วิถีชีวิตวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการชุมชนท่องเที่ยว

ทั้งนี้เมื่อชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความรู้ความเข้าใจ และมีเครือข่ายที่เข้ามาร่วม สนับสนุนการด าเนินงานสอดคล้องตามศักยภาพหรือทุนที่มีอยู่ภายในชุมชนแล้ว สิ่งส าคัญคือกล ยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนและแปลงทุนเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนา ชุมชน และได้รับการยอมรับให้ด ารงอยู่ในพื้นที่ที่รัฐประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างชอบธรรม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภายในสนามของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้นไม่ได้ด ารงอยู่อย่างเป็นอิสระ หากแต่ยังมีสนามอื่นๆ เข้ามาสัมพันธ์ในลักษณะของการทับซ้อน ท าให้โครงสร้างและต าแหน่ง ภายในสนามเกิดการปรับเปลี่ยน ขณะเดียวกันภายในสนามก็เต็มไปด้วยทุนชนิดต่างๆ ที่เปิด โอกาสให้ผู้เล่นในทุกต าแหน่งได้ฉกฉวยมาปรับใช้เพื่อประโยชน์แก่ตน อย่างไรก็ตามในการปรับใช้

ทุนรูปแบบต่างๆ นั้น จ าเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่หลากหลาย เพราะหากผู้เล่นไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปรับใช้ทุนที่ดีพอ ทุนที่มีอยู่ก็ไม่อาจก่อให้เกิดประโยชน์ตามที่คาดหวังได้

บทที่ 6

บทสรุปและการสะท้อนคิดสู่การทางเลือกในสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ

กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

Garis besar

Dokumen terkait