• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความเป็นกะเหรี่ยงภายใต้ประชาธิปไตยของรัฐไทย

5.3 ความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในยุคการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย

5.3.3 ความเป็นกะเหรี่ยงภายใต้ประชาธิปไตยของรัฐไทย

แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยอ้างว่ามาเป็นแบบ ประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ.2475 แต่ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลา 90 ปีที่ผ่านมาประเทศไทย มีความเป็นประชาธิปไตยที่ต่อเนื่อง หากพิจารณาจากรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับกันว่ามี

รัฐธรรมนูญเพียงไม่กี่ฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตย กระนั้นในทางปฏิบัติรัฐธรรมนูญที่เป็น ประชาธิปไตยที่มีเพียงไม่กี่ฉบับก็ถูกยกร่างมาจากผู้มีอ านาจ มากด้วยบารมีเพียงไม่กี่คน โดย ประชาชนไม่เคยมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญเหล่านั้นเลย และท าให้ใน ภาคปฏิบัติรัฐธรรมนูญเหล่านั้นก็ไม่ได้ถูกใช้อย่างเป็นประชาธิปไตยจริง ประกอบกับภาวะ บ้านเมืองที่ผู้คนยังมีความสนใจในการเมืองการปกครองไม่มากนักก็ท าให้ความสนใจในผลที่

แท้จริงในการส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพของรัฐธรรมนูญมีน้อยลงไปด้วย

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้รับการ ยอมรับถึงความเป็นประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่การยกร่างมากที่สุดเท่าที่

เคยมีมาในประวัติศาสตร์ไทย และถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ใช้จริง มีผลต่อเนื่องจากบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญจริงหลายประการ นอกจากนี้ยังมีผลต่อเนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ อีกด้วย โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย ที่มีการให้ความเคารพและส่งเสริมความ หลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น สิ่งนี้ได้ส่งผลต่อความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โดยตรงกล่าวคือ ท าให้เกิดการเคลื่อนไหว ในด้านสิทธิชุมชน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

ฉบับปี 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิชุมชนไว้โดยตรงในมาตรา 46

“บุคคลซึ่งรวมตัวกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิ

ปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและการมีส่วนร่วมในการจัดการ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ตามที่

กฎหมายบัญญัติ”

การบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิง โครงสร้างของกฎหมายที่ส่งผลให้ชาวกะเหรี่ยงและเครือข่ายภาคประชาสังคมเกิดการเรียนรู้ที่จะ น ามาใช้เปิดพื้นที่แสดงตัวตนและพัฒนาการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อเป็นที่รับรู้และได้รับการ ยอมรับจากสังคมและแสดงให้เห็นการต่อสู้ ต่อรองกับอ านาจรัฐในฐานะชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จากนโยบายการพัฒนาโดยเฉพาะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งผลให้ชุมชนชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงเผชิญความยากล าบากในการด ารงชีวิต ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการ ทรัพยากร ส่งผลต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่เปลี่ยนไป ชุมชนชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงในหลายพื้นที่จึงเกิดการรวมกลุ่มและมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหา

“กะเหรี่ยงน่ะเนื้อแท้มันก็คือกลุ่มชาติติพันธ์ปกากะญอพี่น้องที่อยู่ในชุมชนที่เขาจัดการทรัพยากร แบบดั้งเดิมนั่นแหละตามจารีตวิถี ในช่วงที่มีการประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่ายุค 38 39 พวกเขา ก็ได้มีการต่อสู้ทางการเมืองมาร่วมกับสมัชชาคนจน ท าให้เขาเกิดการตื่นรู้ ได้วิชา ได้รัฐธรรมนูญ ได้กฎหมายกลับมาในพื้นที่” (สัมภาษณ์พี่สมชาย, 9 มกราคม 2565) จากนั้นในช่วงปี 2541 จึงได้

มีการจัดตั้งเครือข่ายกะเหรี่ยง ซึ่งในช่วงแรกของการรวมกลุ่มนั้นได้มีความพยายามหาข้อยุติ

เกี่ยวกับชื่อเรียก เนื่องจากมีความแตกต่างของการเรียกชื่อตนเอง โดยในภาคเหนือส่วนใหญ่จะ เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ส่วนภาคกลางและตะวันตกจะเรียกตนเองว่า “โผล่ว” ท าให้ต้องมี

การท าความข้อตกลงร่วมกันและได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะใช้ชื่อ “เครือข่ายกะเหรี่ยงวัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อม” ดังบทสัมภาษณ์ที่ว่า “บทสรุปออกมาว่าใช้ค าว่าปกาเกอะญอไม่ได้ เพราะมันมีโผล่

วอยู่ด้วย ซึ่งเป็นกลุ่มกะเหรี่ยงเหมือนกัน ก็จะมีปะโอ ตองสู บะเว คะยาเนี่ยอยู่ แต่ในเมืองไทยมี

แค่ 2 กลุ่มใหญ่ คือปกาเกอะญอกับโผล่ว มันก็เลยกลับไปใช้ค าภาษากลางๆ คือสังคมรู้จักในนาม ว่ากะเหรี่ยง แต่ก็ยังหาความหมายของค าว่าโผล่วกับปกาเกอะญอที่เป็นจุดศูนย์รวม เป็นค าๆเดียว ไม่ได้ ก็เลยอาศัยค ากลางไว้ก่อน คือกะเหรี่ยง” (สัมภาษณ์พี่บุญเรือง, 6 มีนาคม 2564)

อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของเครือข่ายกะเหรี่ยงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมถือเป็นการ สร้างพื้นที่ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ปรากฏรูปธรรมต่อการน าเสนอตัวตนของชาว กะเหรี่ยงเป็นครั้งแรกเนื่องจากที่ผ่านมาชาวกะเหรี่ยงมักจะถูกรับรู้ในฐานะของการเป็นชาวเขาหรือ ผู้ที่ถิ่นที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูง ซึ่งมักจะอยู่ในสถานะของผู้ที่ประสบปัญหาที่รอคอยความช่วยเหลือ

จากรัฐ หากแต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกฎเกณฑ์ กติกาอันเป็นผลจากการพัฒนาไปสู่ความ ทันสมัย และการสร้างกฎเกณฑ์ กติกาทางการเมืองที่เอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มของภาคประชาชน จึง ท าให้ชาวกะเหรี่ยงเกิดการเรียนรู้และแสวงหาแนวทางที่ปรับใช้ทุนสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากตัวบท กฎหมายมาใช้เพื่อสร้างกลไกในการต่อรองกับอ านาจรัฐ กระทั่งในช่วงปี พ.ศ.2552 จึงได้เกิด การศึกษาประเด็นปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงร่วมกันระหว่างเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์

กะเหรี่ยง นักวิชาการด้านชาติพันธุ์และเจ้าหน้าที่รัฐ ท าให้พบว่าชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงต่างเผชิญ ปัญหาการสูญเสียอัตลักษณ์วัฒนธรรม การเข้าไม่ถึงและไม่มีส่วนร่วมในการจัดก าร ทรัพยากรธรรมชาติ การเผชิญปัญหาสิทธิสถานะบุคคล ตลอดจนปัญหาด้านการเข้าถึงสิทธิ

สวัสดิการและบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐ จึงท าให้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการก าหนด แนวนโยบายหรือมาตรการในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติ

พันธุ์ ในปี พ.ศ.2553 จึงได้มีการประกาศให้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วย แนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ซึ่งถือเป็นแนวนโยบายที่ถูกก าหนดขึ้นบนฐานข้อมูล การศึกษาจากนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ โดยก าหนดให้มี

โครงสร้างการท างานผ่านกลไกทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ ซึ่งด าเนินการโดย เครือข่ายภาคประชาสังคม และเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการฟื้นฟูวิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์ตามมติคณะรัฐมนตรีให้บรรลุผล โดยวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงครอบคลุมในทุกประเด็นปัญหาที่

เกี่ยวข้องกับการด าเนินชีวิต ทั้งในด้านการส่งเสริมการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนชาติพันธุ์และเคารพในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อน าไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินท ากินและอยู่อาศัยในพื้นที่ที่รัฐประกาศให้เป็น เขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างการยอมรับในวิถีการท าไร่หมุนเวียนของกลุ่มชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงให้สามารถด ารงอยู่ได้ โดยที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการขับเคลื่อนผ่านการประกาศ ให้มีพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ หรือพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อแสดงให้เห็นนัยยะของ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของการชุมชนชาติพันธุ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ที่ด ารงอยู่

การเคลื่อนไหวของเครือข่ายกะเหรี่ยงที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายที่

สะท้อนให้เห็นการมีตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ตลอดจนการยอมรับจากรัฐในฐานะกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงเป็นส่วนส าคัญที่ท าให้ความเป็นชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงได้สถาปนาตัวตนและอัตลักษณ์ในสนามความเป็นชาติพันธุ์ได้ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการประกาศให้เป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษหรือพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ใน

บางชุมชน แม้ว่าจะมีอีกหลายชุมชนยังไม่ถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรมพิเศษ แต่สิ่ง นี้ได้กลายเป็นความหวังและเป็นทุนทางวัฒนธรรม/ทุนทางสัญลักษณ์ที่ กลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง สามารถน าไปใช้ในการต่อสู้ต่อรองเพื่อด ารงสถานะของตนได้และเป็นความหวังที่จะน าไปสู่ความ มั่นคงของชีวิตและชุมชนในอนาคต ดังบทสัมภาษณ์ที่ว่า “...แม่ก็หวังกับมติ ครม.ปี 53 นี่หล่ะ แล้วก็ พรบ.ที่ท ากันอยู่ ถ้ามันออกมาได้จริงเราก็จะมีความมั่นใจว่าจะได้อยู่ในผืนดินของบรรพ บุรุษ จะไม่ถูกเขาไล่ไปไหนอีก...” (สัมภาษณ์แม่ดวงใจ, 6 มีนาคม 2564)

อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2557 รัฐบาลได้มีแนวนโยบายทวงคืนผืนป่า ซึ่งมีต้นเหตุมา จากการบุกรุกเข้าไปสร้างรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ และโรงแรม ในพื้นที่อุทยานและเขตป่าสงวน ป่าเสื่อโทรมของกลุ่มทุนใหญ่และนายทุนรายย่อยจ านวนมาก ประกอบกับการที่รัฐบาลในยุคนั้นมี

ความเชื่อภายใต้กรอบแนวคิดแบบศาสตร์สมัยใหม่ที่ต้องแยกคนออกจากป่า และยึดอ านาจตาม กฎหมายเป็นหลัก ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวท าให้ความมั่นคงมั่นใจและความหวังของชาติพันธุ์

กะเหรี่ยงถูกสั่นคลอนอีกครั้ง การผสานความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐหลายฝ่ายในการทวงคืน ผืนป่า โดยเฉพาะการเข้ามาท าหน้าที่ของฝ่ายทหารได้สร้างความหวาดกลัวและภาพลักษณ์ที่มี

แนวโน้มการใช้ความรุนแรงของรัฐต่อประชาชนชาวกระเหรี่ยง จนเกิดการกระทบกระทั่งกันใน หลายพื้นที่ แต่ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวแม้ดูเหมือนว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจะตกเป็นรอง แต่

ก็ยังสามารถน าความเป็นรองในสถานการณ์นี้มาสร้างสถานะของตนเองในสนามอีกครั้งด้วยการ ผลักดันของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มร่วมกันกับองค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการที่ท างานใน พื้นที่ ผลักดันให้มีการบัญญัติค าว่า “กลุ่มชาติพันธุ์” ให้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ดังปรากฏในมาตรา 70 ซึ่งได้ระบุเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ว่า

“รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้มีสิทธิด ารงชีวิตในสังคมตาม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน ทั้งนี้เท่าที่

ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความ มั่นคงของรัฐ หรือสุขภาพอนามัย” การปรากฏขึ้นของค าว่ากลุ่มชาติพันธุ์ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ให้แสดงให้เห็นการยอมรับสถานะของกลุ่มชาติพันธุ์ใน สังคมไทยที่ต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ และนั้นจึงเป็นที่มาส าคัญที่ให้ปัจจุบันได้เกิดการ กระบวนการเคลื่อนไหวให้มีการจัดท ากฎหมายเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการน ามาใช้เป็นเครื่องมือและกลยุทธ์ในการต่อรอง และสร้างความหมาย ของความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงท่ามกลางบริบทของยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็น พลวัต

Garis besar

Dokumen terkait