• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความหมายเรื่องความพึงพอใจ

บทน า

ภาพประกอบ 3 กรอบแนวคิดในงานวิจัย

2. สื่อโซเชียลมีเดีย

3.2 ทฤษฎีความพึงพอใจ

3.2.1 ความหมายเรื่องความพึงพอใจ

Lajos Egri ได้มีนักวิชาการที่แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์ตัวละครไปในทิศทางเดียวกัน ที่จ าเป็นต้องประกอบด้วย ข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลทางสังคม และข้อมูลทางจิตวิทยา ซึ่งจาก ข้อมูลเหล่านี้จะท าให้ข้าพเจ้าสามารถวิเคราะห์ผู้ทรงอิทธิพลด้านความงามได้อย่างลึกซึ้ง มากยิ่งขึ้น

ปรียากร (2535) ได้มีการสรุปว่า ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ใช้เป็นเครื่องมือ บ่งชี้ถึงปัญหาที่เกี่ยวกับความพึงพอใจในการท างานนั้นมี 3 ประการ คือ

1. ปัจจัยด้านบุคคล (Personal Factors) หมายถึง คุณลักษณะส่วนตัว ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงาน ได้แก่ ประสบการณ์ในการท างาน เพศ จ านวนสมาชิกในความ รับผิดชอบ อายุ เวลาในการท างาน การศึกษา เงินเดือน ความสนใจ เป็นต้น

2. ปัจจัยด้านงาน (Factor in The Job) ได้แก่ ลักษณะของงาน ทักษะใน การท างาน ฐานะทางวิชาชีพ ขนาดของหน่วยงาน ความห่างไกลของบ้านและที่ท างาน สภาพทาง ภูมิศาสตร์ เป็นต้น

3. ปัจจัยด้านการจัดการ (Factors Controllable by Management) ได้แก่

ความมั่นคงในงาน รายรับ ผลประโยชน์ โอกาสก้าวหน้า อ านาจตามต าแหน่งหน้าที่ สภาพการ ท างาน เพื่อนร่วมงาน ความรับผิด การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา ความศรัทธาในตัวผู้บริหาร การ นิเทศงาน เป็นต้น

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเรื่องความหมายของความพึงพอใจผู้วิจัย ขอสรุปว่าความพึงพอใจหมายถึง เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองจากสิ่งที่ตนต้องการ และมี

องค์ประกอบที่ใช้ในการบ่งชี้ในด้านของความพึงพอใจโดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสามประการคือ 1. ปัจจัยด้านบุคคล เช่น ประสบการณ์ เพศ อายุ เงินเดือน เป็นต้น 2. ปัจจัยด้านงาน เช่น ลักษณะของงาน ฐานะทางวิชาชีพ ความห่างไกล ของบ้านและที่ท างาน เป็นต้น

3. ปัจจัยด้านการจัดการ เช่น รายรับ ความรับผิดชอบ อ านาจตาม ต าแหน่งหน้าที่ เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีสิ่งกระตุ้นที่ท าให้เกิดความพึงพอใจด้วยกันทั้งหมด 4 ประการ คือ

1. สิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ เช่น เงิน สิ่งของ

2. สภาพทางกายที่พึงปรารถนา เช่น สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งส าคัญที่ท า ให้เกิดความสุขทางกาย

3. ผลประโยชน์ทางอุดมคติ เป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของบุคคล เหล่านั้น

4. ผลประโยชน์ทางสังคม เช่น ความมั่นคง ความสัมพันธ์อันดี

3.2.2 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Psychoanalysis theory) Sigmund Freud ผู้ให้ก าเนิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis theory) เป็น คนแรกที่เห็นความส าคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก และถือเป็นรากฐานของการพัฒนาการของ บุคลิกภาพ และมีความเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตมนุษย์นั้นมีความส าคัญอย่างมาก จึงได้มีการ กล่าวถึงวิธีการจัดบุคลิกภาพกับการรู้ตัว (Level of consciousness) โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ

1. จิตส านึก (Conscious) คือ ส่วนที่เป็นความรู้สึกและการรู้ตัว เช่นความคิด การรับรู้ ความรู้สึก โดยมีพฤติกรรมและการแสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมของระดับสติปัญญา ความรู้

2. จิตใต้ส านึก (Preconscious or Subconscious) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่

ในกึ่งรับรู้และไม่รับรู้ อยู่ลึกลงมากกว่าจิตส านึกจึงจ าเป็นจะต้องใช้เวลาและเหตุการณ์เป็น ตัวกระตุ้นเพื่อระลึกได้ จิตใจในส่วนนี้จะท าหน้าที่ขจัดข้อมูลที่ไม่จ าเป็นออกไปจากความรู้สึกของ ตัวบุคคล และน าไปเก็บไว้ในส่วนที่มีความหมายต่อตนเอง

3. จิตไร้ส านึก (Unconscious) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในส่วนลึกที่สุด ไม่สามารถนึกได้ในระดับจิตใจธรรมดา บุคคลมักเก็บประสบการณ์ที่ไม่ดีหรือเลวร้ายในชีวิตไว้ใน จิตไร้ส านึกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพฤติกรรมของบุคคลได้รับอิทธิพลมาจากจิตไร้ส านึกด้วย

สรุปได้ว่าการท างานของทั้ง 3 ระดับจิตใจ จะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้ส านึกที่มี

พฤติกรรมตามกระบวนการขับเคลื่อนด้วยสัญชาตญาณ ส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นปฐมภูมิ (Primary Process) เช่น การลืม พลั้งปาก ความฝัน แต่มนุษย์อยากได้แต่ความสุขพยายามหลีกเลี่ยงความ เจ็บปวดท าให้พลังในส่วนของจิตก่อนส านึกและจิตส านึกจะถูกพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการทุติยภูมิ

(Secondary Process)

โครงสร้างบุคลิกภาพ (Anatomy of Personality) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 อิด (The Id) เป็นส่วนที่เป็นชีวภาพของร่างกายซึ่งได้รับการ ถ่ายทอดมาตั้งแต่ก าเนิดและฝังแน่น ในแต่ละบุคคล เป็นส่วนที่ไม่ได้รับการขัดเกลา ไม่เป็น ระเบียบกฎเกณฑ์ ปราศจากความยับยั้งชั่งใจ และ “อิด“ จะ แสดงออกเมื่อความต้องการทาง ชีวภาพของบุคคลถูกกักเก็บ ท าให้เกิดความตึงเครียดที่ฟรอยด์ เรียกว่า “Pleasure Principle”

โดย “อิด“ จะท าตามแรงขับนี้โดยไม่มีส านึกในเรื่องของความกลัวหรือความวิตกกังวล (นัสสรา หงษ์ร่อน, ม.ป.ป)

“อิด” สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ความอยาก และ สัญชาติ ดังนี้

1. Life Instincts คือ เป็นกระบวนการในการมีชีวิตอยู่และการสืบทอด เผ่าพันธ์

2. Death Instincts คือ ส่วนที่เกี่ยวกับความดุร้าย ก้าวร้าว ท าลาย ซึ่งกลไก 2 ชนิด ที่ Id ใช้ในการลดความเครียด คือ

1.1 Reflex Action คือ เป็นการตอบสนองอัตโนมัติต่อสิ่งเร้า จะเกิดขึ้น ทันทีเมื่อได้รับการกระตุ้น เช่น การไอ จาม หรือกระพริบตา

1.2 Primary Process คือ บุคคลจะลดอาการตรึงเครียดด้วยการนึกถึง สิ่งที่ท าให้เขาเหล่านั้นเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ทางด้านจิตใจ โดยไม่สามารถแยก ความแตกต่างว่าสิ่งใดคือความจริง หรือส่งใดคือวามต้องการ เช่น คนที่ก าลังหิวแต่คิดว่าตัวเอง ก าลังได้รับประทานอาหารอร่อย ๆ ซึ่งกระบวนการนี้มักพบในผู้ป่วยประสาทหลอน

ส่วนที่ 2 อีโก้ (The Ego) ท าหน้าที่หาทางออกและให้ความพอใจกับ “อิด”

โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางสังคม และหลักแห่งความจริง (Reality Principle) มาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ได้เป็นการแสดงออกตามใจตน แต่แสดงออกอย่างมีเหตุผล ซึ่งขึ้นอยู่กับกาลเทศะ ซึ่งเป็นการ ท างานระหว่าง “อิด” และ “อีโก้” เรียกว่า “Secondary Process” ซึ่งถือเป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการ ยอมรับในสังคม เช่น คนที่ก าลังหิวข้าวแต่สามารถยับยั้งชั่งใจไม่เดินไปรับประทานอาหารของ คนอื่น

ส่วนที่ 3 ซุปเปอร์อีโก้ (The Superego) ท าหน้าที่เตือนเกี่ยวกับเรื่อง วัฒนธรรม จรรยา ศีลธรรม หรือค่านิยมและกฎเกณฑ์ ส่วนนี้จะพัฒนาได้อย่างเต็มที่เมื่อบุคคล สามารถควบคุมตนเอง (Self-Control) ที่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง ความดี-เลว บุญ- บาป