• Tidak ada hasil yang ditemukan

ทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวละคร (Character Analysis)

บทน า

ภาพประกอบ 3 กรอบแนวคิดในงานวิจัย

2. สื่อโซเชียลมีเดีย

3.1 ทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวละคร (Character Analysis)

ภาพยนตร์จะมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ได้ จ าเป็นจะต้องมีตัวละครที่ส าคัญ ซึ่งประกอบด้วย ตัวเอก หรือนักแสดงน าที่เป็น พระเอกนางเอก ซึ่งเป็นตัวน าเหตุการณ์โดยทั่วไป หรือนักแสดงน าหญิงและนักแสดงน าชาย และการที่ภาพยนตร์จะประสบความส าเร็จนั้น สิ่งส าคัญอีกประการคือการศึกษาและวิเคราะห์ตัวละครให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร อย่างได้อย่างลึกซึ้งเสียก่อน ก็จะท าให้การแสดงที่ออกมานั้นมีความสมจริงและผู้ชมเกิดความเชื่อ ในสิ่งที่ได้รับชมรับฟัง

ตัวละคร หมายถึง การกระท า (action) ซึ่งการกระท า ก็คือตัวละคร และไม่จ าเป็นต้อง เป็นที่ที่เขาพูด (Syd Field,1984) การท าความเข้าใจในตัวละครในบทภาพยนตร์เป็นการอธิบาย พฤติกรรมการกระท า เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ดังนั้นเราต้องแสดงให้เห็นว่าตัวละครแสดงหรือ มีการตอบสนองอย่างไรกับสถานการณ์ ซึ่งครั้งที่เกิดความรู้สึกอยากให้ตัวละครแสดงอารมณ์

รุนแรงกว่านี้ มีมิติมากกว่านี้ ให้สัมผัสที่ชัดเจนมากกว่านี้ ดังนั้นในภาพยนตร์ต้องมีวิธีการจัดการ อธิบายลักษณะตัวละครได้ด้วยการแสดงที่มีความส าคัญเป็นพื้นฐานที่จ าเป็นของภาพยนตร์

โดยสิ่งที่ท าให้เรารู้จักตัวละครคือ

1. ค้นหาตัวละครหลักให้ได้ว่าเป็นใคร

2. พิจารณาเรื่องราวของตัวละครตัวนั้น ๆ ว่าเกี่ยวข้องกับใคร และเราให้น ้าหนัก ตัวละครตัวไหนมากที่สุด

3. ถ้ามีตัวละครหลายตัวให้เลือกมาเพียงตัวเดียว (รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม.

2546: 158

สดใส พันธุมโกมล (2542) ผู้กล่าวว่า การคิดอย่างตัวละคร หมายถึง นักแสดง สามารถมองเห็นทุกอย่างรอบตัวด้วยสายตาของตัวละคร มองโลกด้วยทัศนคติของตัวละคร ไม่ใช่

เพียงมองด้วยสายตาของนักแสดง โดยเห็นว่าตัวละครน่าจะเป็นอย่างไร ก็ท ากิริยาท่าทางเช่นนั้น ออกมา สิ่งที่นักแสดงต้องท า คือการศึกษาบท วิเคราะห์บทที่จะแสดงอย่างละเอียดถี่ถ้วนให้รู้ซึ้งถึง ความรู้สึกภายในตัวละคร รู้ถึงทัศนคติที่มีต่อโลกภายนอก ต่อตัวเองและต่อผู้อื่น การสร้างภาพใน จินตนาการให้เครื่องแวดล้อมในละครเป็นไปอย่างที่ตัวละครเห็น และเชื่อในความเป็นจริงที่สมมุติ

ขึ้นในละคร จะช่วยให้นักแสดงมีปฏิกิริยาตอบโต้กับทุกสิ่งที่เป็นธรรมชาติ และตรงตามความเป็น จริง

การวิเคราะห์ตัวละครนั้นจะท าให้เรามีความเข้าใจในความคิดหลักของผู้ประพันธ์บท เพื่อน าไปสร้างความเข้าใจให้นักแสดงก่อนการถ่ายทอดเป็นการแสดง (Acting) ออกมา ทั้งยัง สามารถมองภาพของสังคมและวัฒนธรรมไทยผ่านการสร้างตัวละครในภาพยนต์ได้อย่างชัดเจน โดยการวิเคราะห์ตัวละครนั้น Lajos Egri เสนอความคิดไว้ในหนังสือ The Art of Dramatic Writing ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวละครจะประกอบด้วย

1. ข้อมูลทางด้านกายภาพ ได้แก่ เพศ อายุ ส่วนสูงและน ้าหนัก สีผม นัยน์ตา สีผิว ท่าทาง บุคลิกทั่วไปข้อบกพร่อง พันธุกรรม

2. ข้อมูลทางสังคม ได้แก่ ชนชั้น อาชีพ การศึกษา สภาพครอบครัว ศาสนา เชื้อชาติ สถานภาพในชุมชน การมีส่วนร่วมทางการเมือง งานอดิเรกและการพักผ่อน

3. ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ พฤติกรรมทางเพศ บุคลิกลักษณะทั่วไป ภาวะทางอารมณ์ ทัศนคติต่อชีวิต ความสามารถพิเศษ และระดับสติปัญญา (พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ.

2539: 33-34)

นักวิชาการอีกหลายท่านที่เสนอความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกับ Lajos Egri โดยเฉพาะนพมาศ แววหงส์ ที่กล่าวถึงสิ่งที่ต้องพิจารณาในการวิเคราะห์ตัวละครว่าต้องมี

1. รูปลักษณ์ภายนอก หมายถึง รูปร่าง ความสูงต ่าด าขาว หน้าตา กิริยาอาการ เพศ อายุ

2. สถานะทางสังคม หมายถึง อาชีพ ฐานะ ความเชื่อทางศาสนา สถานะทาง ครอบครัว และสังคมแวดล้อม

3. จิตวิทยา ซึ่งรวมภูมิหลังที่มีส่วนก าหนดนิสัยใจคอ ทัศนคติ ความปรารถนา ในส่วนลึก ความชอบความเกลียด

4. คุณธรรม หมายถึง ส านึก และ ความละอายต่อบาป ความยุติธรรม ความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี (นพมาศ แววหงส์. 2553: 11)

ตัวละครจะเป็นจริงได้ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับตัวละครคือลักษณะทางกายภาพ เพราะลักษณะทางกายภาพจะบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยใจคอ อีกทั้งยังเกี่ยวพันธ์กับสถานภาพ สังคมของตัวละครอีกด้วย (Michale Powell, 2010:83) และ Kim Pereier (2555: สัมภาษณ์) นักวิชาการทางด้านการแสดง ผู้ก ากับ นักแสดง

ผู้ซึ่งได้มีโอกาสมาฝึกนักแสดงไทย ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องของการวิเคราะห์ตัว ละครอย่างกว้าง ๆ ว่าสามารถวิเคราะห์ได้จาก

1. ลักษณะทางกายภาพ รูปภายนอกของตัวละคร เช่น สวย หล่อ พิการ ตัวด า ขาว ผมหยิก แขนยาว ขาสั้น รวมไปถึงลักษณะการแต่งตัวของตัวละคร

2. ภูมิหลังของตัวละคร อาทิ ตัวละครที่มีนิสัยเห็นแก่ตัว มักจะมาจากครอบครัว ที่แตกแยก

3. ทัศนคติของตัวละคร วิธีที่ตัวละครมองโลก ซึ่งตัวละครที่ดีมักแสดงมุมมองของ ตนอย่างชัดเจน ถ้าเข้าใจมุมมองในการมองชีวิตของตัวละคร ก็จะท าให้การแสดงชัดเจนยิ่งขึ้น

สดใส พันธุมโกมล (2542: 43) ที่ได้แสดงทัศนะว่า เราจ าเป็นต้องศึกษาอดีตของ ตัวละครเพื่อคุ้ยหาสาเหตุที่ท าให้ตัวละครมีนิสัยหรือเป็นคนเช่นไร มีอะไรบ้างในชีวิตที่เป็นอิทธิพล ส าคัญ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ศาสนาหรือสังคมแวดล้อม

ดังนั้นผู้วิจัยขอสรุปว่า การวิเคราะห์ตัวละคร เป็นส่วนส าคัญในการเข้าใจบทบาท หน้าที่ ภูมิหลังของตัวละครซึ่งวิจัยเรื่องการออกแบบรูปแบบผู้มีอิทธิพลด้านความงามที่ผู้วิจัยสนใจ ศึกษา จ าเป็นจะต้องเข้าใจในเรื่องการวิเคราะห์ตัวบุคคลจึงได้มีการหยิบยกทฤษฎีเรื่องการ วิเคราะห์ตัวละคร (Character Analysis) จากข้อมูลที่กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของ

Lajos Egri ได้มีนักวิชาการที่แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์ตัวละครไปในทิศทางเดียวกัน ที่จ าเป็นต้องประกอบด้วย ข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลทางสังคม และข้อมูลทางจิตวิทยา ซึ่งจาก ข้อมูลเหล่านี้จะท าให้ข้าพเจ้าสามารถวิเคราะห์ผู้ทรงอิทธิพลด้านความงามได้อย่างลึกซึ้ง มากยิ่งขึ้น