• Tidak ada hasil yang ditemukan

จารึกดอนขุมเงิน เป็นหนึ่งในจารึกจิตรเสนที่พบในประเทศไทย นับเป็นลายลักษณ์

อักษรเก่าแก่ที่สุดที่บันทึกถึงดินแดนที่ต่อมาจะกลายเป็นสุวรรณภูมิ

ที่มา : ปริญ รสจันทร์, 2564

การเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีนี้ให้ผลผลิตสูง และส่งผลให้จำนวนประชากรเพิ่มสูง ตามไปด้วย การปลูกข้าวเช่นนี้จึงมีส่วนในการตรึงผู้คนให้อยู่กับแปลงปลูกของตนจนเกิดเป็นชุมชน ขนาดใหญ่ และเมื่อผู้คนมากขึ้นจนจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยการบุกเบิกที่นาเพิ่ม เกิดการตั้ง ชุมชนใหม่ที่มีความผูกพันอยู่กับชุมชนเดิม การเพาะปลูกข้าวจึงเป็นปัจจัยรากฐานอย่างหนึ่งที่ทำให้

เกิดรัฐขึ้นมาได้ จึงพบว่าชุมชนเหล่านี้มีโบราณวัตถุ และโบราณสถานที่มีความสัมพันธ์กันกระจายอยู่

ทั่วทุ่งกุลาร้องไห้ (ศรีศักร วัลลิโภดม. 2546 : 101 – 106)

ชุมชนใหม่เหล่านี้มีความสัมพันธ์กับชุมชนเดิมที่เป็นศูนย์กลาง สภาพเช่นนี้ได้ก่อ โครงสร้างของรัฐขึ้นมา โดยมีหลักฐานสำคัญคือการสร้างชุมชนที่มีคูน้ำคันดินเพื่อแก้ปัญหาการขาด แคลนน้ำในฤดูแล้ง การก่อสร้างเช่นนี้ต้องอาศัยการร่วมมือจากหลายชุมชน (ศรีศักร วัลลิโภดม. 2546 : 102 – 104)

การร่วมมือเหล่านี้ทำให้เกิดชุมชนที่มีคูน้ำคันดินกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ที่โนนนก เอี้ยง บ้านท่าสมอ ตำบลทุ่งศรีเมือง และที่หนองคูใน บ้านยางเครือ ตำบลเมืองทุ่ง หรือที่บ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด (สุกัญญา เบาเนิด. 2553 : 84 - 85)

122 การเกิดชุมชนที่มีคูน้ำคันดินกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งการมีคันดินเป็นถนน

เชื่อมต่อระหว่างชุมชนขนาดใหญ่ และชุมชนขนาดเล็ก แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชุมชนระดับ เมือง และชุมชนระดับบ้าน ซึ่งประสานกันด้วยความเชื่อเรื่องหินตั้ง หรือการเป็นเครือญาติ ซึ่ง ความสัมพันธ์เช่นนี้อาจพัฒนาสู่การปกครองแบบรัฐในที่สุด (ศรีศักร วัลลิโภดม. 2546 : 102 – 104)

อย่างไรก็ดี ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร เช่น เกลือ เหล็ก ตลอดจนพืช และสัตว์ป่าที่มีอยู่ทั่วไป และการมีพื้นที่เพาะปลูกที่ค่อนข้างมากส่งผลให้พัฒนาการของชุมชนในยุค แรก ๆ เป็นการตั้งหลักแหล่งกระจายตัวตามลุ่มน้ำเสียว มากกว่าการเกิดศูนย์กลางเป็นสังคมเมือง ดังเช่นชุมชนที่มีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด จนเมื่อชุมชนมีความรู้ในการปลูกข้าวแบบน้ำท่วม จึงทำให้เกิด ชุมชนที่อยู่เป็นที่เป็นทาง และเมื่อผู้คนมากขึ้นจึงเกิดการขยับขยายสร้างชุมชนใหม่ไปตามการบุกเบิก ที่นาใหม่ ๆ (ศรีศักร วัลลิโภดม. 2546 : 83 – 106)

เป็นไปได้ว่า เมื่อชุมชนเหล่านี้ใช้วิธีขยับขยายพื้นที่นาไปไกลจากหมู่บ้านเดิมมาก ขึ้น จึงอาจจำเป็นต้องสร้างที่อยู่ชั่วคราวแบบที่ปัจจุบันเรียกว่าเถียงนา และเรียกการไปอาศัยที่เถียงนา ว่าลงนา ซึ่งการสร้างเถียงนานั้นนิยมสร้างไว้ใกล้กันเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อพึ่งพาอาศัยกัน และเมื่อเวลาผ่าน ไปชาวนาเหล่านั้นอาจอาศัยอยู่ที่นาของตนนานขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้านแห่งใหม่ที่ยังคงพึ่งพาความ มั่นคงปลอดภัยจากหมู่บ้านเดิม ทั้งยังนับถือวิญญาณบรรพบุรุษร่วมกัน และเมื่อมีหมู่บ้านใหม่ ๆ เกิดกระจายในลักษณะนี้มากขึ้น ผู้นำในหมู่บ้านเดิม หรือผู้นำทางพิธีกรรม จึงมีอำนาจเหนือชุมชน หลาย ๆ แห่ง กลายเป็นโครงสร้างของรัฐจากพื้นฐานของเครือญาติขึ้น

มีตำนานท้องถิ่นบางเรื่องช่วยอธิบายสภาพของการขยายพื้นที่ทำมาหากินกับ ความสัมพันธ์ของชุมชน เช่นตำนานเจ้าพ่อศรีนครเตาที่เล่าว่าเจ้าพ่อศรีนครเตาได้ไปขุดหลุมต้อนดัก ปลาที่หัวนาเป็นสระสี่เหลี่ยม และได้ผูกเสี่ยวกับพ่อใหญ่เสือหาญผู้เป็นหัวหน้าอยู่บ้านกู่กาสิงห์ ซึ่งเจ้า พ่อศรีนครเตาได้เดินไปยามต้อน และเอาปลาไปฝากเสี่ยวอยู่บ่อยครั้งในที่สุดจึงพากันขุดคูดักปลา ต่อมาชาวบ้านเรียกคูนี้ว่าคูผีแปงเป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างพิมายกับกู่กาสิงห์มาจนปัจจุบัน (สมปอง มูลมณี. 2560 : 77 – 78)

ระบบคิดของคนโบราณมองความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ความตายไม่ใช่การ สิ้นสุดแต่เป็นเพียงสภาวะแห่งวงจรหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสะท้อนให้เห็นถึงความจริง ความหมาย และคุณค่าของชีวิต ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่กลุ่มคนมีต่อกันในระดับ ครอบครัว ชุมชน และสังคม ซึ่งแสดงผ่านสัญลักษณ์ และพิธีกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างคนเป็นกับคน ตายให้มีสัมพันธ์อย่างชั่วกาล (สุกัญญา เบาเนิด. 2553 : 125 - 127)

ชุมชนโบราณของสุวรรณภูมิมีประเพณีจัดการศพที่มีแบบแผน และมี

ความสัมพันธ์กับการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพื่อใช้เป็นภาชนะบรรจุกระดูก เช่น ภาชนะดินเผาบรรจุ

123 กระดูกที่โนนกกขามแตก บ้านยางเลิง ตำบลดอกไม้ และเครื่องปั้นดินเผาที่แหล่งโบราณคดีดอนตา พันบ่อพันขันโนนเดื่อ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด (สุกัญญา เบาเนิด. 2553 : 54 - 85)

ประเพณีจัดการศพที่มีแบบแผนของสุวรรณภูมิ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มชนที่มี

ประเพณีฝังศพครั้งที่สอง (secondary jarburial) ที่มีการสืบทอดต่อเนื่องมาถึงสมัยที่มีเสมาหิน และ มีการขุดคูน้ำคันดินรอบชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการต่อเนื่องของชุมชนตั้งแต่ก่อนรับวัฒนธรรม อินเดีย นอกจากนี้การพบเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และใช้เพื่อเป็นเครื่องอุทิศยังแสดง ให้เห็นถึงพัฒนาการในการผลิต ตั้งแต่การปั้นหรือตีอย่างหยาบมาจนถึงการใช้แป้นหมุน และลวดลาย ที่มีเอกลักษณ์ (ศรีศักร วัลลิโภดม. 2546 : 105 – 107) เช่น ภาชนะดินเผาแบบร้อยเอ็ด (Roi Et ware) ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ ไฮแอม (Charles Higham) แห่งมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์

(University of Otago, New Zealand) ขุดค้นพบครั้งแรกที่แหล่งโบราณคดีโนนเดื่อดอนตาพันบ่อ พันขัน เมื่อพุทธศักราช 2520 (สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2560 : 30)

การมีแบบแผนพิธีกรรมจัดการศพ ที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่อื่น ๆ แสดงให้เห็น ว่าชุมชนโบราณในสุวรรณภูมิมีพัฒนาการร่วมกับบ้านเมืองในเขตใกล้เคียง โดยมีเกลือและเหล็กเป็น ทรัพยากรสำคัญสามารถใช้แลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ๆ นอกจากนี้ความสามารถในการทำนาเพาะปลูก ข้าวยังมีความสำคัญที่ทำให้ชุมชนมีพัฒนาการจนเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ จนเป็นรัฐที่มีการบริการ จัดการแรงงาน และทรัพยากรเป็นพื้นฐานอย่างดี

ราวพุทธศตวรรษที่ 12 รัฐเจนละที่มีผู้นำคนสำคัญคือพระเจ้าจิตรเสนได้แผ่น อำนาจเข้าสู่บ้านเมืองในเขตเมืองสุวรรณภูมิเพื่อควบคุมทรัพยากรเกลือ และเหล็ก ในช่วงนี้มีการรับ แบบแผนวัฒนธรรมด้านศาสนา การปกครอง และขนบธรรมเนียมแบบอินเดีย โดยมีการสร้าง โบราณสถาน และโบราณวัตถุ 2 แบบ คือแบบพระพุทธศาสนาในวัฒนธรรมที่เรียกว่าทวารวดีอันเป็น ของพื้นเมือง และแบบที่สร้างเนื่องในศาสนาฮินดูอันเป็นของชนชั้นปกครอง (ศรีศักร วัลลิโภดม.

2546 : 119 – 126)

การผลิตเกลือในบริเวณบ่อพันขัน คงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจการเมืองมาก จนทำให้เกิดชุมชนโบราณที่มีขนาดใหญ่กว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 2,100 เมตร มีแนว คันดินและคูน้ำล้อมรอบ มีปราสาทพระธาตุพันขัน เป็นศาสนสถานสำคัญตั้งอยู่กลางเมือง ซึ่งพระธาตุ

นี้ ปรากฏร่องรอยการบูรณะต่อเติมหลายยุคหลายสมัย แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงต่อเนื่องของชุมชน ซึ่งเป็นไปได้ว่าชุมชนนั้นย่อมเกิดก่อนการก่อสร้างพระธาตุนี้อย่างแน่นอน อาคารชั้นในสุดของพระธาตุ

พันขันบ่งชี้ว่ามีอายุตั้งแต่สมัยไพรกเมง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ต่อมาพบการสร้างในสมัย บาปวนทับลงบนฐานเดิม ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และพบมุขลึงค์รุ่นราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 85 - 86)

124 มุขลึงค์ที่พบนี้คล้ายกับที่พบที่แก่งสะพือและที่พบที่โขงเจียม อันเป็นศาสนสถาน รุ่นเก่าแบบสมโบร์ไพรกุกมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 เป็นเครื่องแสดงเขตการปกครองของพระ เจ้าจิตรเสนแห่งเจนละ และบริเวณใกล้เคียงนั้นยังพบเสมาหินทรายแดงรูปแปดเหลี่ยมปลายมน ค่อนข้างกลมเป็นวัตถุเนื่องในวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาสมัยทวารวดีลงมา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อ ของคนสองกลุ่มอย่างชัดเจน (ศรีศักร วัลลิโภดม. 2546 : 126 – 127)

ลายลักษณ์อักษรเก่าที่สุดที่บันทึกถึงดินแดนที่ต่อมาจะกลายเป็นสุวรรณภูมิ มี

อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 พบที่ดอนขุมเงินใกล้บ่อพันขัน จึงเรียกจารึกนี้ว่าจารึกดอนขุมเงิน กล่าวถึง การขยายอำนาจของพระเจ้าจิตรเสนเพื่อควบคุมพื้นที่บริเวณบ่อพันขัน แล้วจึงสร้างศาสนสถานเพื่อ บูชาพระศิวะไว้ในบริเวณดังกล่าว (สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2558 : 133 – 142)

เมื่อควบคุมชุมชนที่ผลิตเกลือในทุ่งกุลาร้องไห้ได้แล้ว จิตรเสนจึงขยายอำนาจ ออกไปปากแม่น้ำมูลไปถึงสองฝั่งแม่น้ำโขง แล้วรวมตัวกับเศรษฐปุระ และแผ่อำนาจไปถึงทะเลสาบ เขมร ดินแดนที่ต่อมากลายเป็นสุวรรณภูมิจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเจนละ ต่อมาอีศานวรรมันโอรส ของจิตรเสนจึงสร้างราชธานีใหม่ที่สมโบร์ไพรกุก และจะพัฒนากลายเป็นกัมพูชาในที่สุด (สุจิตต์ วงษ์

เทศ. 2558 : 140 – 142)

ในเวลานี้มีบ้านเมืองปรากฏตามเส้นทางการค้าอย่างหนาแน่น โดยมีเมืองขนาด ใหญ่ตั้งอยู่ในทำเลที่จะเชื่อมโยงระหว่างเมืองในลุ่มแม่น้ำชีที่มีแบบแผนวัฒนธรรมทวารวดี กับเมืองใน ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเมืองแห่งนี้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจะขยายต่อเนื่องไป จนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ในตำนานของวัฒนธรรมลาวเรียกเมืองแห่งนี้ว่าเมืองร้อยเอ็ดประตู

สอดคล้องกับคำว่าทวารวดีจากร่องรอยหลักฐานคูน้ำคันดิน และเสมาที่เชื่อมโยงกับที่พบบริเวณพระ ธาตุบ่อพันขัน ตลอดจนบ้านเมืองบัวอำเภอเกษตรวิสัย และที่หนองศิลาเลข อำเภอพนมไพร ซึ่งนาม เมืองร้อยเอ็ดจะปรากฏในประวัติศาสตร์ลาวอีกหลายตอนดังที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า (สุจิตต์ วงษ์

เทศ. 2558 : 143)

จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 วัฒนธรรมขอมจากทะเลสาบเขมรกัมพูชาแผ่

อำนาจเข้าสู่สุวรรณภูมิ ในระยะนี้ เป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองในเขตนี้เจริญก้าวหน้าขึ้นมากที่สุด เนื่องจากการขยายตัวของการค้าส่งผลให้เกิดการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ตามเส้นทางที่จะ เชื่อมโยงไปสู่กัมพูชา เช่น กู่พระโกนา ตลอดจนกู่กาสิงห์ และกู่เมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัยซึ่งปราสาท หินเหล่านี้ล้วนอยู่บนเส้นทางคมนาคมทางลำน้ำเสียวซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับแม่น้ำมูลจากบริเวณพระ ธาตุบ่อพันขันเดินตัดผ่านทุ่งหลวงไปถึงบ้านด่านที่มีศาสนสถานในศาสนาฮินดู และพุทธนิกาย มหายานอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 เรียกว่ากู่คันธนาม ก่อนออกสู่แม่น้ำมูลต่อไป (คณะกรรมการฝ่าย ประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 44 - 45)