• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุประยะเวลา เหตุการณ์ วัตถุ และสถานที่สำคัญของสุวรรณภูมิ

ช่วงเวลา เหตุการณ์ วัตถุ /สถานที่สำคัญ

135,000,000 ปีมาแล้ว

ปลายยุคจูราสสิค (Jurassic) จนถึงต้นยุคครีเต เชียส (Cretaceous) แผ่นดินจมในท้องทะเล ทำให้เกิดชั้นเกลือ และยิปซัมที่อยู่ใต้ดินราว 168 – 182 เมตร

แหล่งผลิตเกลือในทุ่งกุลา ร้องไห้

70,000,000 ปีมาแล้ว

ปลายยุคครีเตเชียสเปลือกโลกหนุนตัวขึ้นทุ่ง กุลาร้องไห้จึงพ้นจากทะเล และกลายเป็นแหล่ง น้ำจืดขนาดใหญ่

แหล่งน้ำในทุ่งกุลาร้องไห้

3,000,000 ปีมาแล้ว

ยุคควอเตอร์นารี (Quaternary) เกิดการทรุด ตัวของหินทรายจนแหล่งน้ำดังกล่าวตื้นเขิน ปรากฏการทับถมจับตัวของซากหอยดึกดำ บรรพ์จนกลายเป็นฟอสซิลของหอยประเภทที่มี

ฝาเดียว (Gastropod) จำพวกหอยขม (genus viviparous) และประเภทสองฝา (bivalve) จำพวกหอยกาบ (family cardida) มีลักษณะ

182

ช่วงเวลา เหตุการณ์ วัตถุ /สถานที่สำคัญ

เป็นแผ่นขนาด 10 – 30 เซนติเมตร เป็นที่มา ของโพนขี้นก ซึ่งมีกระจายรอบสุวรรณภูมิ

ฟอสซิลที่เรียกว่าขี้นกอินทรี

4,000 – 3,500 ปีมาแล้ว

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์โบราณในสุวรรณภูมิ

ค้นพบหลักฐานประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ที่

แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม เกษตรกรรมระดับหมู่บ้าน มีการผลิตเกลือ สินเธาว์ มีการถลุงเหล็ก มีการเพาะปลูกข้าว และทำเครื่องปั้นดินเผา มีแบบแผนประเพณีฝัง ศ พ ใ น ภ า ช น ะ ด ิ น เ ผ า (Burial jar) มี

ความสัมพันธ์กับกลุ่มชนที่มีประเพณีฝังศพครั้ง ที่สอง ตลอดจนมีการเลี้ยงสัตว์ และรู้จักการทอ ผ้า จับปลา หาของป่า

เศษเครื่องปั้นดินเผา จากเมืองโบราณจำปาขัน ราว

พ.ศ.1100

รัฐเจนละที่มีผู้นำคนสำคัญคือพระเจ้าจิตรเสน ได้แผ่นอำนาจเข้าสู่บ้านเมืองในเขตเมือง สุวรรณภูมิเพื่อควบคุมทรัพยากรเกลือ และ เหล็ก ในช่วงนี้มีการรับแบบแผนวัฒนธรรมด้าน ศาสนา การปกครอง และขนบธรรมเนียมแบบ อินเดีย โดยมีการสร้างโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ 2 แบบ คือแบบพระพุทธศาสนาใน วัฒนธรรมที่เรียกว่าทวารวดีอันเป็นของ พื้นเมือง และแบบที่สร้างเนื่องในศาสนาฮินดู

อันเป็นของชนชั้นปกครอง พระธาตุบ่อพันขัน

ราว พ.ศ.1400 -

1700

วัฒนธรรมขอมจากทะเลสาบเขมรกัมพูชาแผ่

อำนาจเข้าสู่สุวรรณภูมิ การขยายตัวของการค้า ส่งผลให้เกิดการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่

ตามเส้นทางที่จะเชื่อมโยงไปสู่กัมพูชา เช่น กู่

พระโกนา กู่เมืองบัว กู่กาสิงห์ และกู่คันธนาม เป็นต้น

183

ช่วงเวลา เหตุการณ์ วัตถุ /สถานที่สำคัญ

กู่พระโกนา ราว

พ.ศ.2256

เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรแห่งจำปาศักดิ์ ทรง ให้จารย์แก้ว หรือเจ้าแก้วมงคลควบคุมไพร่พล ประมาณ 3,000 คนมาสร้างบ้านเมืองใน บริเวณลุ่มน้ำเสียวมีนามว่าเมืองทง หรือเมือง ทุ่งศรีภูมิ

อนุสาวรีย์เจ้าแก้วมงคล ระหว่าง

พ.ศ. 2310 - 2441

ยุคการสร้างบ้านแปลงเมืองสุวรรณภูมิ ย้าย เมืองทุ่งมาตั้งที่ดงท้าวสารให้นามใหม่ว่าเมือง สุวรรณภูมิ ท้าวเซียงเจ้าเมืองมีตำแหน่งพระ รัตนวงษา ปกครองเมืองระหว่าง พ.ศ.2310 - 2330

อนุสาวรีย์พระรัตนวงษา ระหว่าง

พ.ศ.2442 - 2479

ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบบ เทศาภิบาลและการขยายตัวเมืองที่เกิดจาก การศึกษายกเลิกตำแหน่งอาญา 4 เกิดการตั้ง สถานที่ราชการชุมชนเมืองสุวรรณภูมิจึงขยาย จากบริเวณถนนประดิษฐ์ยุทธการ มาที่บริเวณ ตลาดสด ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย

184

ช่วงเวลา เหตุการณ์ วัตถุ /สถานที่สำคัญ

เกิดโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของเมืองคือ โรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ

อาคารเก่าของโรงเรียนเมือง สุวรรณภูมิ

ระหว่าง พ.ศ.2480 -

2517

ยุคการปกครองแบบเทศบาล และการพัฒนา เมืองสุวรรณภูมิจากนโยบายของรัฐ เป็นยุคที่มี

การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วตามแนว ถนนสายใหม่คือถนนปัทมานนท์ และถนนอรุณ ประเสริฐ ถนนเหล่านี้เชื่อมโยงสุวรรณภูมิเข้า กับหัวเมืองอื่น ๆ ในอีสาน เช่น ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และยโสธร ทั้งยังได้เปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ที่

เป็นป่าดง และท้องทุ่งให้กลายเป็นย่านที่พัก อาศัย และย่านธุรกิจ

บริเวณย่านเมืองเก่า ระหว่าง

พ.ศ.2518 - 2540

ยุคการเปลี่ยนแปลงของทุ่งกุลาร้องไห้ “ทุ่งกุลา แตก”สุวรรณภูมิมีความเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วอันเป็นผลมาจากการที่ภาครัฐสนับสนุน ให้ทุ่งกุลาร้องไห้กลายเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ และสุวรรณภูมิในฐานะศูนย์กลางดั้งเดิมได้

ประโยชน์จากการปรับตัวเป็นศูนย์กลางของ ธุรกิจการเกษตร หลัง พ.ศ.2540 เมืองสุวรรณ ภูมิจึงขยายออกไปทางตะวันออกริมถนนสาย สุวรรณภูมิ – สุรินทร์

โรงสีขนาดใหญ่ และทุ่งข้าว หอมมะลิอันอุดมสมบูรณ์

ระหว่าง พ.ศ.2540 -

2563

ยุคการสร้างตัวตนและการสร้างอัตลักษณ์ของ เมืองสุวรรณภูมิ ผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์

ท้องถิ่นประเพณีบุญบั้งไฟ และการฟื้นฟูการตัด กระดาษลายศรีภูมิ

185

ช่วงเวลา เหตุการณ์ วัตถุ /สถานที่สำคัญ

การตัดกระดาษลายศรีภูมิ

ภาพประกอบ 18 หนังสือสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ ตีพิมพ์ใน พ.ศ.2560