• Tidak ada hasil yang ditemukan

4. พื้นที่ในการศึกษาวิจัย

ผู้วิจัยกำหนดกฎเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือบริเวณเขตเทศบาลตำบล สุวรรณภูมิ โดยการสำรวจข้อมูลกำหนดขอบเขตจากพื้นที่อันปรากฏทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ประกอบด้วย ทุนวัฒนธรรมในรูปแบบของวัตถุ (objectified form) ทุนวัฒนธรรมใน รูปแบบของสถาบัน (institutionalist form) และทุนทางวัฒนธรรมในรูปแบบสมรรถนะด้าน วัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล (embodied form) และมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาเป็น เกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

เกณฑ์ในการพิจารณา

1. การสำรวจข้อมูลกำหนดขอบเขตจากพื้นที่อันปรากฏทุนวัฒนธรรมในรูปแบบ ของวัตถุ (objectified form) เช่น บันทึก รูปภาพ เครื่องมือใช้สอย อาคารสถานที่ ที่ปัจเจกบุคคล ครอบครอง ทุนวัฒนธรรมในรูปแบบของสถาบัน (institutionalist form) เช่น ชื่อเสียง คำเลื่องลือ ความเชื่อถือ และทุนทางวัฒนธรรมในรูปแบบสมรรถนะด้านวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล

(embodied form) เช่น ความสามารถ ความรอบรู้ ตลอดจนความเชี่ยวชาญ

114 2. เลือกเฉพาะพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่น่าสนใจ หมายถึงการมีเรื่องราวใน อดีตที่มีความเกี่ยวเนื่องกับผู้คนจำนวนมาก และสามารถทำการสืบค้นข้อมูลได้

ผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์ทั้ง 2 ข้อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกพื้นที่เพื่อทำการศึกษาวิจัย 3 แห่ง ได้แก่

1. ถนนประดิษฐ์ยุทธการ ปรากฏทุนวัฒนธรรมในรูปแบบของวัตถุ (objectified form) เช่น อาคารสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของเมือง เช่นวัดใต้ วัดกลาง และศาลหลักเมืองเป็นต้น

2. โรงเรียนกระดิ่งทอง และดอนธาตุ มีทุนวัฒนธรรมในรูปแบบของสถาบัน (institutionalist form) เช่น คำบอกเล่าความเป็นมาและพัฒนาการของเมือง

3. รอบอนุสาวรีย์เจ้าเมือง ย่านการค้าเก่า และตัวเมืองใหม่ ทุนทางวัฒนธรรมใน รูปแบบสมรรถนะด้านวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล (embodied form) เช่น ความรอบรู้ในการทำมา หากินของผู้คนในสุวรรณภูมิ

4. พื้นที่รอบเมืองสุวรรณภูมิที่มีความเกี่ยวเนื่องทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย เมืองทุ่งอันเป็นเมืองแห่งแรกก่อนมีการโยกย้าย และบ่อพันขันอันเป็นบริเวณผลิตเกลือของเมือง สุวรรณภูมิในอดีต

5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ

และพื้นที่รอบเมืองที่มีความเกี่ยวเนื่องในประวัติศาสตร์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นการเก็บข้อมูลด้วย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย

1. กลุ่มผู้รู้ (Key Informant) ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ ผู้นำท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง

(Purposive Sampling)

2. กลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual Informant) ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ประกอบการบริการ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้ประกอบการโรงแรมที่พัก ผู้ประกอบการธุรกิจ ท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview)

3. ประชาชนทั่วไป (General Informant) ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในเขต เทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

115 วิธีดำเนินงานวิจัย

1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.1 การสำรวจ (Survey) เป็นการสำรวจเบื้องต้นของบริบทพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล อาคารสถานที่ที่น่าสนใจ เส้นทางสำคัญ ย่านต่าง ๆ ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางกายสภาพ สภาพ ภูมิศาสตร์ สภาพบ้านเรือน สภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุวรรณภูมิ

1.2 การสัมภาษณ์ (Interview Guide) ผู้วิจัยแบ่งการสัมภาษณ์ออกเป็น 2 แบบ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการสัมภาษณ์แบบไม่มี

โครงสร้าง(Unstructured Interview) จากกลุ่มผู้รู้ (Key Informant) ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบล สุวรรณภูมิ ผู้นำท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จำนวน 10 คน จากกลุ่มผู้ปฏิบัติ

(Casual Informant) ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ประกอบการบริการ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้ประกอบการโรงแรมที่พัก ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว จำนวน 20 คน และจาก ประชาชนทั่วไป (General Informant) ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณ ภูมิ จำนวน 20 คน

1.3 การสังเกต (Observation) แบ่งเป็นการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) และการสังเกตแบบไมมีส่วนร่วม (Non-Participatory Observation) เพื่อสังเกต สภาพทั่วไปของเมืองสุวรรณภูมิ วิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรม และเหตุการณ์ทั่วไป นอกจากนี้ผู้วิจัย ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการประชุมของเครือข่ายผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสุวรรณภูมิเพื่อหาแนว ทางการสร้างความน่าสนใจแก่การท่องเที่ยวอันประกอบด้วยผู้บริหารจากเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ

ตัวแทนหน่วยงานราชการตัวแทนจากสถานศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อได้

ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของหน่วยงานภาครัฐ ปัญหา และแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวจากคนภายใน พื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาประเมินคุณค่าในด้านต่าง ๆ ตามกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัย

1.4 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นการจัดกลุ่มสนทนาประมาณ กลุ่มละ 4 – 10 คน โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มผู้บริหารเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิผู้เชี่ยวชาญ

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และตัวแทนประชาชนทั่วไป เป็นการสนทนาร่วม ปรึกษาให้ครอบคลุมประเด็นตามความมุ่งหมายในการวิจัยที่กำหนดไว้

1.5 การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นการประชุมกลุ่มผู้รู้ (Key Informant) กลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual Informant) และกลุ่มประชาชนทั่วไป (General Informant) เพื่อให้ได้

ข้อเสนอแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุวรรณภูมิตามความมุ่งหมายการวิจัย 2. วิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย

1. การศึกษาเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเอกสาร ดังนี้

116 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุวรรณภูมิ นโยบาย และการส่งเสริมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศึกษาเอกสารด้านประวัติศาสตร์

ท้องถิ่นของสุวรรณภูมิ และทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ประกอบด้วย ทุนวัฒนธรรมใน รูปแบบของวัตถุ (objectified form) ทุนวัฒนธรรมในรูปแบบของสถาบัน (institutionalist form) และทุนทางวัฒนธรรมในรูปแบบสมรรถนะด้านวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล (embodied form) ศึกษาข้อมูลเอกสารด้านแนวคิดทฤษฎีทางสังคม และแนวคิดทฤษฎีทางวัฒนธรรม เพื่อเป็น ทฤษฎี

หลัก และทฤษฎีเสริม

2. การศึกษาภาคสนาม (Field Studies) ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต การ ประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนนทนาแบบกลุ่ม และการเก็บบันทึกด้วยภาพถ่ายเพื่อการเก็บข้อมูลได้

อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง

3. การจัดทำข้อมูล ผู้วิจัยได้จัดทำข้อมูลตามกรอบแนวคิดดังนี้

3.1 นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล และจัดเรียงข้อมูลเพื่อง่ายต่อ การวิเคราะห์

3.2 สรุปข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัย 3. การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยนี้เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Data Triangulation) เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องความเที่ยงตรงของข้อมูล ซึ่งมีการ

ตรวจสอบ 4 ด้าน คือ

การตรวจสอบด้านข้อมูล (Data Triangulation) ของพื้นที่ สถานที่ เวลา บุคคลผู้ให้

ข้อมูล

การตรวจสอบด้านผู้วิจัย (Investigator Triangulation) ในการเก็บข้อมูลของผู้วิจัย ที่เก็บจากเรื่องเดียวกัน หรือเปลี่ยนผู้เก็บข้อมูลว่ามีประเด็นใดที่เหมือนและแตกต่าง

การตรวจสอบด้านทฤษฎี (Theory Triangulation) เพื่อตรวจสอบการนำทฤษฎีไป ใช้ในการวิเคราะห์การแปลความหมายข้อมูลมีความแตกต่างวันมากน้อยเพียงใด

การตรวจสอบด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) คือการใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลต่างกันในการเก็บข้อมูลเรื่องเดียวกัน

4. การนำเสนอผลการวิจัย

การนำเสนอข้อมูลการวิจัยใช้การนำเสนอเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) โดย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเปรียบเทียบข้อมูลทางวิชาการที่ผู้วิจัยได้ยกขึ้นมาเป็นแนวคิดหลักใน การวิจัยครั้งนี้ และบรรยายให้เห็นขั้นตอนการศึกษาเกี่ยวกับข้อค้นพบแนวทางในการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเมืองสุวรรณภูมิ โดยนำข้อมูลที่ได้มาเขียนรายงานการวิจัยเสนอผลงานประกอบภาพถ่าย

117

บทที่ 4 ผลการวิจัย

การวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุวรรณภูมิกับทุนทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมการ ท่องเที่ยว ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติศาสตร์เมืองสุวรรณภูมิสำหรับรองรับการท่องเที่ยว และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของ ผู้เดินทางมาท่องเที่ยวในสุวรรณภูมิ ตลอดจนเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเมือง สุวรรณภูมิ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงลึก (In-depth Study) ด้วยการสำรวจ การสังเกตแบบมี

ส่วนร่วม (Participatory Observation) และการสังเกตแบบไมมีส่วนร่วม (Non-Participatory Observation) การสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการสัมภาษณ์ชนิดไมมี

โครงสร้าง (Non-Structured Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การประชุม เชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Document Analysis) ตลอดจนการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) โดยใช้กรอบแนวคิดด้านต่าง ๆ ในการศึกษา บันทึกภาพ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ มีผลการวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาประวัติศาสตร์เมือง สุวรรณภูมิสำหรับรองรับการท่องเที่ยว 2) การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้เดินทางมา ท่องเที่ยวในสุวรรณภูมิ 3) การจัดทำข้อเสนอแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุวรรณภูมิ โดยมี

รายละเอียดดังต่อไปนี้

4.1 การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสุวรรณภูมิสำหรับรองรับการท่องเที่ยว

การศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสุวรรณภูมิสำหรับรองรับการท่องเที่ยว ผู้วิจัยดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Document Analysis) และการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) เพื่อศึกษาองค์ความรูเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ จากนั้นจึงใช้การการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ (Key Informant) กลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual Informant) และกลุ่มประชาชนทั่วไป (General Informant) เพื่อให้ได้

ประเด็นหัวข้อที่เป็นการนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ทุนทางวัฒนธรรมใน รูปแบบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ประวัติศาสตร์

พัฒนาการของเมือง สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเยือนอาคาร สถานที่หรือการสืบสานตำนานเมือง 2) ประวัติศาสตร์การเดินทางของนักสำรวจชาวฝรั่งเศสสำหรับ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบการตามรอย และ 3) สายตระกูลสำคัญของเมืองสุวรรณภูมิ

สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ ดังนี้