• Tidak ada hasil yang ditemukan

เปรียบเทียบขันค่าคอ เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองร้อยเอ็ด

ลำดับ ตำแหน่ง ขันค่าคอเมืองสุวรรณ

ภูมิ

ขันค่าคอเมือง ร้อยเอ็ด

1 ราชสกุล 1600 1200

2 เมืองแสนเมืองจัน 1200 1200

3 เมืองกลาง 1000 800

4 เมืองขวา เมืองซ้าย พุมเหนือพุมใต้ 800 800

5 เสนาในสังเวียน 800 800

6 ฝ่ายอาสา 8 เหล่า 800 400

7 ฝ่ายอาสา 6 เหล่า 600 600

8 อามาตย์ในธรรมเนียม 800 200

9 อามาตย์นอกธรรมเนียม 600 600

10 เสนานอกสังเวียน 600 600

11 ไพร่บ้านพลเมือง นักบุญ ขุนค้า 400 400

12 ไพร่หินชาต 200 200

13 ข้อยท่าน 100 -

ที่มา : ปริยัติวรเมธี และคณะ. 1368 - 1379

เอกสารอาณาจักรหลักคำสุวรรณภูมิ ปรากฏธรรมเนียมปฏิบัติ ห้ามขุนนางไม่ให้

ถืออาวุธ กางร่ม ปลดเตี่ยว ลอยชาย เข้าสู่วังหลวง เมื่อขุนนางเดินทางในเมือง ให้มีคนติดตาม และให้

แสดงเครื่องยศอย่างชัดเจน หากเดินทางกลางคืนให้มีคนติดตาม มีไฟและเครื่องยศปรากฏให้เห็น ชัดเจน หากไม่มีเครื่องหมายให้รู้ดังกล่าว ราษฎรได้ล่วงละเมิดไม่ถือเป็นความผิด (ปริยัติวรเมธี และ คณะ. 2562 : 1369 - 1370)

การพิจารณาคดีความ แบ่งการพิจารณาคดีเป็น 2 ส่วน คือ คดีที่เกิดในคุ้มของ อาญาสี่ และคดีของบุคคลทั่วไป มีลักษณะการชำระคดีความแตกต่างกัน คือ 1) คดีที่เกิดขึ้นในบริเวณ คุ้มของอาญาหรือ ราชสกุลมีเรื่องราวฟ้องร้องกัน ให้เจ้าอุปราช ราชวงศ์ พิจารณา 2) คดีของ

ประชาชนทั่วไป แบ่งการชำระคดีความตามโทษหนักเบา ถ้าโทษเบาเพียง ขันสมมา ให้นายบ้านหรือ

36 ผู้ใหญ่บ้านชำระความ ถ้าโทษถึงขันตี (ขันปาจิตตีย์ หรือขันแปง) ให้ตาแสงหรือกำนัน ชำระความ โทษสูงกว่าขันสมมาและขันตีให้นำตัวเข้าสู่ศาล (ปริยัติวรเมธี และคณะ. 2562 : 1368 - 1379)

เมื่อคนในสังกัดผู้ปกครอง หรือลูกหลานผู้ปกครอง เกิดทะเลาะวิวาทกับคนทั่วไป ให้ห้ามปรามทั้ง 2 ฝ่าย และห้ามไม่ให้ช่วยคนของตนเองทำร้าย ด่าทอ คนในสังกัด และลูกหลานท่าน ถ้าทำถือว่ามีความผิด และห้ามฆ่าคน เว้นแต่ 1) เจ้าแผ่นดินสั่งให้ฆ่า 2) ลักทรัพย์ จับได้พร้อมของ กลาง 3) เป็นชู้เมียท่านจับได้ขณะเป็นชู้ 4) ขว้างปาเรือนท่าน เจ้าเรือนจับได้ 5) จุดไฟเผาเรือนท่าน เจ้าเรือนจับได้ 6) ถืออาวุธจะเข้าทำร้ายท่านในพื้นที่ของท่าน การฆ่าคนทั้ง 6 ประเภทนี้ สามารถฆ่า ได้ไม่มีความผิด (ปริยัติวรเมธี และคณะ. 2562 : 1370 - 1373)

ลักษณะลักทรัพย์ ประกอบด้วย 1) จับสัตว์ได้ การจับช้างม้าวัวควายที่หลุดจาก การดูแลของเจ้าของรวมถึงค่าไถ่ถอนสัตว์เลี้ยงที่จับได้เหมือนกัน ส่วนการจับช้างป่าและฆ่าได้งานั้น เป็นของแผ่นดิน 1 งา ผู้จับได้ 1 งา ถ้าปิดบังไว้มีโทษ 2) ขโมยช้างม้าวัวควาย 3) ขโมยเรือ 4) ขโมย ทำไร่นำ หากบุคคลใดทำนาแล้วทิ้งร้างไว้ แต่ยังบอกกล่าวคงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของเรียกว่า วรณา สามารถทิ้งร้างไว้ถึง 7 ปี ภายในระยะเวลาที่วรณาไว้นี้ ห้ามบุคคลใดทำลายทรัพย์สินที่เกิดภายในไร่

นา 5) เครื่องมือจับปลา คือ ต้อน ลี่ มีลักษณะเหมือนกับนา คือ ต้อน ลี่ ทำแล้วสามารถละทิ้งไว้ โดย บอกกล่าวกรรมสิทธิ์ ทิ้งร้างไว้ได้ 7 ปี (ปริยัติวรเมธี และคณะ. 2562 : 1368 - 1379)

นอกจากนี้ อาณาจักรหลักคำยังสะท้อนให้เห็นถึงวิธีชีวิต เช่น การเกี้ยวพาราสี

ของหนุ่มสาวจากข้อบังคับที่ปรากฏในกฎหมาย ดังความว่า

เวลาเดินทางไปจีบสาวห้ามมีอาวุธ และให้มีไฟ มีเครื่องดนตรี ไม่พูดคุยจีบกันเกิน เที่ยงคืน เกินกว่านั้นถือเอาเป็นผิด และ “...อันหนึ่ง บ่าวแพวไปเหล้นสาว ไปให้มีหมู่ เหล้นอยู่ให้มีไฟ ไปมีปี่มีแคนมีเทียะ มีซอ ห้ามอย่า ให้เหล้นเดิกดื่น ล่วงล้ำกลายคองกลายอาชญา กลายเที่ยงคืนไป ถือว่าเป็นใจโจร ผิดมีโทษ...” (ปริยัติวรเมธี และคณะ. 2562 : 1378)

เมื่อกรมการเมืองกระทำความผิด มีการกำหนดโทษไว้อย่างรุนแรง เช่น 1) คลัง ช้าง ม้า วัว ควาย 2) ผู้รักษาป่าดง ของป่า 3) นายด่านศุลกากร 4) ขุนงวด ขุนคลัง ทั้ง 4 ตำแหน่งนี้

เมื่อมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ให้ละโทษประหารเสีย ให้ถอดยศ และให้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด 2) ทหารไปรบต่างเมือง พ่ายกลับมา อย่าพึงฆ่า อย่าพึงถอดยศ ให้พิจารณาเหตุ 3 ประการก่อน คือ 1) มี

อำนาจสิทธิ์ขาดในกองทัพ 2) มีอายุพร้อม 3) ไปรบในเมืองท่าน ควรเฆี่ยน และจำคุกไว้ แล้วเลี้ยงดู

ต่อไป แต่ถ้ารบแพ้แล้วหนีไปซ่อนที่อื่น สืบได้ฆ่าเสียสมควร (ปริยัติวรเมธี และคณะ. อ้างแล้ว) 1.2.5.1 เหตุแห่งการต่อสู้ต่อรองของคนธรรมดา

อ้าย กับ สาว คือคำเรียกผู้ชายกับผู้หญิงที่เป็นคนธรรมดาสามัญทั่วไป ส่วน ผู้ปกครองและบรรดาลูกหลานจะถูกเรียกว่าเจ้านำหน้านามเสมอ (จันทร์ อุตตรนคร. 2504 : 26 - 27)

37 เมื่อเป็นคนธรรมดาจึงเป็นสามัญที่ เรื่องราวของพวกเขาจะไม่ถูกบันทึกไว้อย่าง เป็นทางการ เรื่องราวของพวกเขาหลบซ่อนอยู่ภายใต้บรรทัด และระหว่างบรรทัด ในเอกสารต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยความพยายามในการปะติดปะต่อของเรื่องราวเหล่านั้นมาประกอบเป็นเรื่องราวขึ้น

กฎหมายของเมืองสุวรรณภูมิ ทำให้เห็นว่าโดยปกติแล้ว คนธรรมดาทั่วไปจะต้อง อยู่ในพื้นที่ของตนเองไม่พึงเข้าใกล้บรรดาเจ้า หรือแม้กระทั่งเข้าใกล้บ้านเรือนของเจ้า เพราะพวกเจ้า มีอำนาจเอาผิดคนธรรมดาได้ทุกเมื่อ หากพวกเขารู้สึกว่าถูกละเมิดในทางใดทางหนึ่ง และโทษนั้นอาจ รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต หากพวกเจ้าสงสัยว่ามีการลักทรัพย์ท่าน หรือขว้างปาเรือนท่าน ดังปรากฏ ในกฎหมายอาณาจักรหลักคำสุวรรณภูมิว่า

“...ขุนนางเดินไปมา ให้มีคนติดตาม และมีเครื่องยศปรากฏชัดเจน หากเดินทางกลางคืนให้มี

คนติดตาม มีไฟและเครื่องยศปรากฏให้เห็นชัดเจน หากไม่มีเครื่องหมายให้รู้ดังกล่าว ราษฎรได้ล่วง ละเมิดไม่ถือเป็นความผิด... ...ห้ามฆ่าคนด้วย เว้นแต่ 1) เจ้าแผ่นดินสั่งให้ฆ่า 2) ลักทรัพย์ จับได้พร้อม ของกลาง 3) เป็นชู้เมียท่านจับได้ขณะเป็นชู้ 4) ขว้างปาเรือนท่าน เจ้าเรือนจับได้ 5) จุดไฟเผาเรือน ท่าน เจ้าเรือนจับได้ และ 6) ถืออาวุธจะเข้าทำร้ายท่านในพื้นที่ของท่าน การฆ่าคนทั้ง 6 ประเภทนี้

สามารถฆ่าได้ไม่มีความผิด...”(ปริยัติวรเมธี และคณะ. 2562 : 1374 - 1375)

เมื่อนำความในกฎหมายอาณาจักรหลักคำสุวรรณภูมิมาตีความแล้วจะพบ ความหมายในกฎหมายนี้ว่า หากขุนนางมีคนติดตาม และมีเครื่องยศปรากฏชัดเจน ราษฎรได้ล่วง ละเมิดถือเป็นความผิด และฆ่าคนได้หาก 1) เจ้าแผ่นดินสั่งให้ฆ่า 2) ลักทรัพย์ จับได้พร้อมของกลาง 3) เป็นชู้เมียท่านจับได้ขณะเป็นชู้ 4) ขว้างปาเรือนท่าน เจ้าเรือนจับได้ 5) จุดไฟเผาเรือนท่าน เจ้า เรือนจับได้ และ 6) ถืออาวุธจะเข้าทำร้ายท่านในพื้นที่ของท่าน การฆ่าคนทั้ง 6 ประเภทนี้ สามารถฆ่า ได้ไม่มีความผิด..

บรรดาชนชั้นเจ้าอยู่ในความสุขสบาย มีรสนิยมแบบสยาม และชนชั้นปกครอง หลายคนมีนิสัยดุร้ายและชอบดื่มสุรา ดังความว่า

“...พระรัตนวงศาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ (Phrah Ratana Vong Sa Chau Mocuong Suvarna Phoum) ผมก็ได้ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพด้วย ซึ่งศพคนตายนั้นจะถูกใส่ใน หีบใบ ใหญ่ปิดทอง ดอกไม้พลาสติก แล้วเก็บไว้ที่ห้องโถงที่กว้างและมืด ที่นั่นผมก็ได้พบกับภรรยาหม้ายของ เจ้าเมืองและลูกสาว ซึ่งก็เป็นหม้ายเหมือนกัน และยังมีหญิงหม้ายที่เป็นคนจีนซึ่งมาจากบางกอก ทั้ง สองหญิงหม้ายแม่ลูกได้นุ่งขาวห่มขาว โกนศีรษะเพื่อไว้ทุกข์ให้แก่ผู้ตาย และได้พูดจาซักถามผม ปรากฏว่านางมีท่าทางชอบโอ้อวดมีมรรยาทของผู้ดีและศิลปะ ของการดำรงชีวิต เพื่อชี้บอกให้รู้ว่า พวกนางเคยอยู่ที่บางกอกในสมัยก่อน ที่ข้างพวกเรายังมี พระอีก 2 รูป และเณรรูปหนึ่งซึ่งได้ทำการ สวดพระอภิธรรมในตอนกลางคืน กำลังฉันอาหาร เช้าซึ่งครอบครัวของเจ้าเมืองจัดถวาย

38 ประชาชนเมืองศรีภูมิมีหน้าตาไม่ดีเท่าพวกคนลาวทางตะวันออก เพราะพวกเขา เมาเท่าๆ กับการสูบฝิ่น นอกจากนี้ยังมีการสูบฝิ่นอีก มีพวกขโมย ซึ่งผมรู้สึกว่าจะมีมาก เหลือเกินในที่นี้ และยัง มีการนุ่งห่มแบบสยาม ส่วนพวกผู้หญิงนั้นยังคงนุ่งผ้าถุงยาว แทน การนุ่งโจงกระเบน แต่โดยทั่วไป แล้วจะตัดผม พวกขุนนางหลายคนที่ทำการต้อนรับพวกเรา ด้วยความไม่พอใจนั้นเป็นคนขี้เมา พูดเร็ว และเสียงดัง พวกคนสยามซึ่งมาจากภาคตะวันตก ได้ถ่ายทอดนิสัยชอบโอ้อวดทรงตัว และความไม่เอา ถ่าน ละไว้เล็กน้อย...”(เอเจียน แอมอนิเย. 2541 : 38 - 44)

ระหว่างคนธรรมดากับเจ้าเหล่านี้ มีกลุ่มคนของเจ้าที่เชื่อมโยงด้วยการสอดส่อง และรายงานเรียกว่าคนในสังกัด กลุ่มคนเหล่านี้มีอภิสิทธิ์จากการดูแลของเจ้า จึงมีอำนาจควบคุมพวก เดียวกัน ดังนี้

“...คนในสังกัด ลูกหลาน ไปทะเลาะวิวาทกับคนอื่น ให้ห้ามทั้ง 2 ฝ่าย ห้ามไม่ใช่ช่วยคนของ ตนเองทำร้าย ด่าทอ คนในสังกัดท่าน ถ้าทำถือว่ามีความผิด...”(ปริยัติวรเมธี และคณะ. 2562 : 1374)

คนธรรมดาในสุวรรณรู้จักตำแหน่งทางสังคมของตนเอง ด้วยการเปรียบเทียบ ตนเองกับผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นสถานภาพ ทรัพย์สมบัติ สิทธิต่อสิ่งต่าง ๆ หรือกล่าวได้ว่าพวกเขา รู้จักตนเองผ่านความอ่อนแออ่อนด้อยเมื่อเทียบกับผู้ปกครองนั่นเอง ความแตกต่างเหล่านี้ถูกกล่อม เกลาไว้ด้วยวัฒนธรรมความเชื่อ ที่สร้างสำนึกด้านกลับให้พวกเขายอมสยบต่อการถูกปกครอง จินตนาการจากแบบแผนของคนธรรมดาที่พึงปรารถนาปรากฏในคอง 14 กดทับให้พวกเขาต้องเจียม ตัวเจียมตนในความอ่อนแอ ความสกปรก และความบาป มากกว่าจะมีความมั่นใจในตนเอง เช่นการ สอนว่า เมื่อข้าวเป็นรวงต้องให้ผู้มีศีลกินก่อนเสมอ เมื่อขึ้นบ้านหรือก่อนเข้านอนต้องล้างเท้า เมื่อถึง วันศีลให้ขอขมาเตาไฟ ขอขมาหัวบันได ต้องเสียสละเพื่อสังคม และศาสนา ตลอดจนห้ามมี

เพศสัมพันธ์ในวันพระเป็นต้น (สวิง บุญเจิม. 2554 : 574)

การสั่งสอนให้เจียมตัวเจียมตน เป็นรากเหง้าของความไม่มั่นใจในตนเอง และเป็น พื้นฐานของการควบคุมคนภายใต้ระบบอาญา 4 ที่กำหนดให้บรรดาผู้อ่อนแอ และมีบาปหยาบช้า ทั้งหลายต้องพึ่งพาผู้มีบุญซึ่งมีภาระอันหนักหน่วงในการนำพาเหล่าผู้มากด้วยบาปสู่ความหลุดพ้น ซึ่ง ปรากฏแนวคิดเช่นนี้ในตำนานนิทานทางศาสนา เช่น อุรังคธาตุ ซึ่งมีเนื้อหาสัมพันธ์กับเมืองสุวรรณภูมิ

และอีกหลายเมืองในอีสาน ตำนานเรื่องนี้มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึง บุรีจันอ้วยล้วย ผู้ที่ได้ทำบุญกับพระ อรหันต์อยู่เป็นนิจ ต่อมาจึงได้เป็นพระมหากษัตริย์มีหน้าที่นำทางให้ผู้ที่มีบุญน้อยมีโอกาสได้ทำบุญทำ ทานเป็นต้น (พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. 2521 : 53 - 58)

การกล่อมเกลาด้วยเรื่องของบุญกรรมเช่นนี้ จึงสร้างสำนึกที่กลับด้านจากการที่

ผู้ปกครองพึ่งพาแรงงานของผู้ใต้ปกครอง กลายเป็นผู้ใต้ปกครองต้องพึ่งพาบุญของผู้ปกครองที่

กลายเป็นแกนหลักของสังคม จินตนาการเช่นนี้ย่อมสร้างความอ่อนน้อมสมยอมให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้ใต้