• Tidak ada hasil yang ditemukan

เมืองสุวรรณภูมิ พ.ศ.2442 - 2479 ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบบ

ที่มา : สุวิทย์ ศรีนิล, ผู้ให้สัมภาษณ์, 11 กรกฎาคม 2564

4.1.1.3 ช่วงที่ 3 พ.ศ.2442 - 2479 ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบบ เทศาภิบาลและการขยายตัวเมืองที่เกิดจากการศึกษา

พัฒนาการช่วงที่ 3 พ.ศ.2442 - 2479 ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบบ เทศาภิบาลและการขยายตัวเมืองที่เกิดจากการศึกษาของเมืองสุวรรณภูมิคือผลจากการปฏิรูปการ ปกครองของสยาม พ.ศ.2440 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองลาวจากรูปแบบจักรวรรดิ

หรือที่เรียกว่ารัฐราชาธิราช (Empire) ไปสู่รูปแบบราชอาณาจักร หรือพระราชอาณาเขต (Kingdom) ซึ่งมีการริเริ่มมาตั้งแต่ราว พ.ศ.2430 แต่ปรากฏผลต่อสุวรรณภูมิอย่างชัดเจนในราว พ.ศ.2440 เป็น ต้นมา (ดำรงราชานุภาพ. 2560 : 255)

สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองของสยามเกิดจากการขยายอิทธิพลของ ฝรั่งเศสเข้ามาในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งทางราชสำนักสยามได้พยายามปฏิรูปการปกครองภายในก่อน โดยริ

เริมจัดตั้งกรมกระทรวงต่าง ๆ และจากนั้นจึงจัดราชการหัวเมืองชั้นนอก เช่น ในราว พ.ศ.2434 ได้

รวมหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก และหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือเข้าไว้ด้วยกันเรียกว่ามณฑล

148 ลาวกาว โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์

(ไพฑูรย์ มีกุศล. 2515 : 35 - 39)

การจัดราชการมณฑลลาวกาวนี้ ได้เริ่มมีการกำหนดหัวเมืองใหญ่ของมณฑลนี้ไว้

7 เมืองคือ เมืองอุบลราชธานี นครจำปาศักดิ์ เมืองศรีสะเกษ เมืองสุรินทร์ เมืองร้อยเอ็ด เมือง มหาสารคาม และเมืองกาฬสินธุ์ โดยมีที่บัญชาการมณฑลอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ซึ่งการกำหนดหัว เมืองใหญ่นี้เกิดจากความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์เพื่อเป็นกำลังเมื่อมีการเผชิญหน้ากับฝรั่งเศสเป็น สำคัญ (เติม วิภาคย์พจนกิจ. 2546 : 300 – 396)

อย่างไรก็ดี เมื่อถึง พ.ศ.2436 สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส จึงมี

การเปลี่ยนข้าหลวงใหญ่จากพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม หลวงสรรพสิทธิประสงค์ จนถึง พ.ศ.2440 สยามจึงมีพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่

รัตนโกสินทร์ศก 116 ซึ่งมีการเปลี่ยนลักษณะการปกครองท้องที่ใหม่แบ่งเป็น มณฑล จังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน (เติม วิภาคย์พจนกิจ. 2546 : 353)

เมื่อ พ.ศ.2442 เกิดเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองท้องที่ใหม่ โดยยกเลิก ตำแหน่งอาญา 4 เป็นตำแหน่งข้าราชการแบบสยามเพื่อให้กลายเป็นพระราชอาณาเขตเดียวกันโดย สมบูรณ์เรียกว่ามณฑลเทศาภิบาล โดยเจ้าเมือง เรียกว่า ผู้ว่าราชการเมือง อุปฮาด เรียกว่าปลัดเมือง ราชวงศ์ เรียกว่า ยกกระบัตรเมือง และราชบุตรเรียกว่าผู้ช่วยราชการเมือง และเปลี่ยนชื่อมณฑล ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมณฑลอีสานในปีต่อมา (ไพฑูรย์ มีกุศล. 2515 : 110 - 111)

ผลกระทบจากการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลส่งผลให้เมืองสุวรรณภูมิ

กลายเป็นหัวเมืองในกำกับของบริเวณร้อยเอ็ด ประกอบด้วย เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมือง มหาสารคาม เมืองกมลาสัย และเมืองกาฬสินธุ์ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในหัวเมืองศูนย์กลางเป็นหลัก เช่น การตั้งสถานที่ราชการของมณฑล หรือโรงเรียนสอนภาษาไทยเพื่อฝึกหัดข้าราชการ ตลอดจนการ จัดตั้งสถานีตำรวจเพื่อปราบปรามโจรผู้ร้าย เป็นต้น (ไพฑูรย์ มีกุศล. 2515 : 140 - 153)

อย่างไรก็ดี แม้เมืองสุวรรณภูมิมีฐานะเป็นเพียงเมืองรองในกำกับของเมือง ร้อยเอ็ด แต่ยังได้รับอานิสงส์จากการจัดตั้งสถานที่ราชการพื้นฐานตามแบบแผนราชการสมัยใหม่ใน สุวรรณภูมิ โดยสถานที่ราชการแห่งแรก ๆ คือที่ว่าการข้าหลวงเทศาภิบาล ก่อสร้างขึ้นในราว พ.ศ.

2445 ในบริเวณที่เป็นธนาคารออมสินในปัจจุบัน (นรินทร์ ถนัดค้า, ผู้ให้สัมภาษณ์, 6 พฤศจิกายน 2564)

สถานีตำรวจภูธร ก่อตั้งในราว พ.ศ.2445 อยู่หลังที่ว่าการข้าหลวงเทศาภิบาล อันเป็นเขตศูนย์กลางของเมืองในขณะนั้น การมีสถานีตำรวจภูธรขึ้นในเมืองสุวรรณภูมิส่งผลให้เกิดมี

ความมั่นคงปลอดภัยภายในเมืองมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การเกิดย่านการค้าของชาวจีนขึ้นในเมือง สุวรรณภูมิเรียกว่าย่านตลาดเก่าในราว พ.ศ.2450 เป็นอย่างน้อย

149 ชุมชนเมืองสุวรรณภูมิจึงขยายจากบริเวณถนนประดิษฐ์ยุทธการ มาที่บริเวณ ตลาดสด ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จึงกลายเป็นย่านการค้าสำคัญของอำเภอสุวรรณภูมิ

(สะอาด ขันอาษา, ผู้ให้สัมภาษณ์, 6 พฤศจิกายน 2564)

เมื่อเมืองมีผู้คนมากขึ้น เจ้าเมืองจึงได้เคลื่อนย้ายโฮงไปทางตอนเหนือใกล้วัด เจริญราษฎร์ บ้านเรือนผู้คนจึงเคลื่อนย้ายตามโฮงเจ้าเมือง กลายเป็นชุมชนแห่งใหม่แทนที่ที่นาเดิม บริเวณที่ซึ่งเป็นโฮงเจ้าเมืองเดิม กลายเป็นย่านการค้า และตลาดสด รวมถึงบริเวณที่เป็นศาลเจ้าปู่ย่า และศาลหลักเมือง ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของย่านการค้านี้มีศาลารัฐบาลอันเป็นที่ทำการของผู้ว่า ราชการเมือง และเปลี่ยนมาเป็นที่ทำการของนายอำเภอเมื่อปฏิรูประบบราชการ (สุวิทย์ ศรีนิล, ผู้ให้

สัมภาษณ์, 11 กรกฎาคม 2564)

ที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ สร้างขึ้นในราว พ.ศ.2463 – 2473 ในสมัยหลวง ประศาสน์โสภณ นายอำเภอคนที่ 4 โดยพื้นที่ก่อสร้างอยู่บริเวณตลาดสดสุขาภิบาลอำเภอสุวรรณภูมิ

อันเป็นบริเวณธนาคารออมสินสาขาสุวรรณภูมิในปัจจุบัน จนถึง พ.ศ.2487 ในสมัยร้อยโทถวิล ศรีลัง กูร เป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปก่อสร้างใหม่บริเวณดงป่าก่ออันเป็นที่ทำการในปัจจุบัน จึงเกิดการเคลื่อนย้ายของชุมชนขยายไปทางตอนเหนือตามสถานที่ราชการที่ย้ายไปยังดงป่าก่อ (กาญ จนพงษ์ เพ็ญทองดี, ผู้ให้สัมภาษณ์, 6 พฤศจิกายน 2564)

การมีสถานที่ราชการทำให้การรู้ภาษาไทยกลายเป็นเรื่องสำคัญ จึงมีการสอน ภาษาไทยภายในวัดกลางตั้งแต่ราว พ.ศ.2443 เป็นอย่างน้อย (ประศาสตร์ อุ่นใจ. 2548 : 93)

โรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของสุวรรณภูมิ คือโรงเรียนบ้านสุวรรณภูมิ ตั้งเมื่อ พ.ศ.2454 อาศัยศาลาวัดเหนือเป็นสถานศึกษา เปิดทำการสอนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 จนเมื่อ พ.ศ. 2456 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนรัฐบาลชื่อ โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทย ไพศาล จนถึง พ.ศ. 2497 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนบ้านสุวรรณภูมิ และ พ.ศ. 2539 ได้เปลี่ยนชื่อ โรงเรียนจากโรงเรียนบ้านสุวรรณภูมิ เป็นโรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ (สุวิทย์ ศรีนิล, ผู้ให้สัมภาษณ์, 11 กรกฎาคม 2564)

โรงเรียนแห่งนี้ได้รับฐานะเป็นโรงเรียนประชาบาล เมื่อ พ.ศ. 2465 จนถึง พ.ศ.

2474 จึงย้ายไปอยู่ทางตอนใต้ถัดจากศาลหลักเมือง และได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นหนึ่งหลัง คือ อาคาร 1 หลังปัจจุบัน และยุบโรงเรียนประชาบาล 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดเหนือ (โรงเรียน สุพรรณภูมิ) โรงเรียนวัดกลาง และโรงเรียนวัดเจริญราษฎร์ (วัดท่าแขก) รวมเป็นโรงเรียนเดียวกันชื่อ โรงเรียนประชาบาลตำบลสระคู 1 (สุวิทย์ ศรีนิล, อ้างแล้ว)

การมีสถานศึกษา ได้ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาสู่เมืองมากยิ่งขึ้น การได้รับการศึกษา ส่งผลให้ชาวสุวรรณภูมิได้เข้าสู่ระบบราชการมากยิ่งขึ้น สถานที่ราชการ ย่านการค้า และผู้คนที่มี

จำนวนมากขึ้นได้ส่งผลให้เมืองสุวรรณภูมิจำเป็นต้องขยายตัวขนานใหญ่ออกไปยังพื้นที่ทางเหนืออัน

150 เป็นการก้าวเข้าสู่ยุคการปกครองแบบเทศบาลและการพัฒนาเมืองสุวรรณภูมิจากนโยบายของรัฐ ดังที่

จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

1) ผลกระทบจากนโยบายเทศาภิบาล

หากสยามต้องการบำรุงหัวเมืองใดให้รุ่งเรืองก้าวหน้า หัวเมืองนั้นย่อมจะ เจริญก้าวหน้า และนี่ไม่ใช่โชคชะตาที่หัวเมืองลาวทั้งหลายสามารถลิขิตเองได้ คือสิ่งที่ต้องเข้าใจเป็น ลำดับต้น ๆ และในความเข้าใจนี้ต้องเข้าใจอีกด้วยว่าหัวเมืองที่เจริญก้าวหน้าเหล่านั้นเกิดขึ้นได้ด้วย การเก็บรายได้อย่างถ้วนหน้า แต่กระจายกลับอย่างไม่ถ้วนทั่ว หมายความว่าหลังยุคสมัยการปกครอง ด้วยระบบอาญา 4 ในราว พ.ศ.2442 แล้ว ผู้คนทั้งมณฑลต้องเสียส่วยแก่สยามคนละ 4 บาท แต่ส่วย เหล่านั้นถูกนำมาเพื่อสร้างเมืองศูนย์กลางไม่กี่เมืองเท่านั้น(ไพฑูรย์ มีกุศล. 2515 : 35 - 39)

คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สยามเลือกบางเมืองให้มีบทบาท สำคัญ เป็นศูนย์กลางการปกครองเหนือเมืองอื่น ๆ ซึ่งหากอธิบายคำถามนี้ได้ จะสามารถเห็นคำตอบ ว่าเมืองสุวรรณภูมิถูกลดบทบาทลงได้อย่างไร ดังนี้

สาเหตุประการแรก สยามมีสำนึกทางภูมิศาสตร์แบบใหม่ โดยข้าราชการสยาม วาดตำแหน่งเมืองที่มีความเหมาะสม และเส้นทางคมนาคมของมณฑลอีสานขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนี้ จึง พบว่าบางเมืองที่มีที่ตั้งไม่ดี เช่นเมืองขอนแก่นที่กันดารน้ำจนต้องโยกย้ายหลายครั้ง หรือเมืองอุดรธานี

ที่เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านธรรมดา แต่เมืองเหล่านี้กลับใหญ่โตขึ้นเนื่องจากการสนับสนุนของสยามให้เป็น ศูนย์กลางทางราชการ (เติม วิภาคย์พจนกิจ. 2546 : 289 - 397)

เหตุผลหลักในการสร้างเมืองศูนย์กลางทางราชการ เกิดจากความพยายามของ สยามในการเปลี่ยนฐานะหัวเมืองลาวจากประเทศราชาธิราช (Empire) มาเป็นส่วนหนึ่งในพระราช อาณาเขต (Kingdom) โดยที่มีวิธีการคือใช้แบบแผนการบริหารราชการแบบเดียวกันกับมณฑลชั้นใน ดังนั้นในเมืองลาวต่าง ๆ ควรมีสถานที่ราชการ และมีข้าราชการที่เป็นตัวแทนของสยามอยู่ที่นั่น (ดำรง ราชานุภาพ. 2558 : 255 - 256)

ปัญหาสำคัญของสยามในการจัดการราชการคือ ข้าราชการ และงบประมาณที่ไม่

เพียงพอที่จะส่งคนไปทำราชการได้ทุกเมือง รวมถึงไม่มีงบประมาณจัดตั้งศาลาทำการในทุกแห่งได้

ด้วยเหตุนี้จึงต้องยกบางเมืองเป็นศูนย์กลางแล้วให้กำกับดูแลเมืองบริวารอื่น ๆ อีกชั้นหนึ่ง ดังความว่า

“...คิดไปก็เห็นทางแก้ตรงกับโครงการซึ่งพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริ คือที่รวมหัวเมือง เข้าเป็นมณฑลนั้น เห็นว่าเป็นหัวเมืองชั้นในก็ควรรวมเข้าเป็นมณฑลละ 5 เมืองหรือ 6 เมือง เอาขนาด ท้องที่ ๆ ผู้บัญชาการ มณฑลอาจจะจัดการและตรวจตราได้เองตลอดอาณาเขตเป็นประมาณ และให้

มีเจ้านายหรือข้าราชการผู้ใหญ่อันชั้นยศอยู่ในระหว่างเสนาบดีกับเจ้าเมืองไป อยู่ประจำบัญชาการ มณฑลละคน เป็นพนักงานจัดการต่าง ๆ ในอาณาเขตของ ตนตามคำสั่งของเสนาบดี ทั้งเป็นหูเป็นตา