• Tidak ada hasil yang ditemukan

แผนที่ทุนทางวัฒนธรรมที่ปรากฏรอบเมืองสุวรรณภูมิ

3.1.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวรอบเมืองสุวรรณภูมิ พื้นที่รายรอบเมืองสุวรรณภูมิมี

ทรัพยากรการท่องเที่ยวอันเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง นับเป็นทุนทางวัฒนธรรมใน รูปแบบของวัตถุ (objectified form) ทุนวัฒนธรรมในรูปแบบของสถาบัน (institutionalism form) และทุนทางวัฒนธรรมในรูปแบบสมรรถนะด้านวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล (embodied form) โดย มีทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นเช่นอาคารสถานที่ และตำนานของเมือง ดังต่อไปนี้

แหล่งโบราณคดีบ้านจาน (จานเตย) เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ประมาณ 1800 - 2500 ปีที่ผ่านมา ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ปรากฏเศษเครื่องปั้นดินเผาตาม ผิวดินเป็นจำนวนมาก เครื่องปั้นดินเผาที่พบส่วนมากเป็นชนิดเนื้อหยาบเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ตกแต่ง ด้วยลายเชือกทาบเคลือบน้ำโคลนสีแดง และพบเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นเครื่องอุทิศใน พิธีกรรมฝังศพซึ่งภายในบรรจุภาชนะดินเผาขนาดเล็ก เครื่องมือโลหะ และลูกปัด เป็นต้น (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 76)

แหล่งโบราณคดีบ้านตาหยวก มีลักษณะเป็นเนินดินรูปวงรี สูงประมาณ 4 เมตร พบ ภาชนะดินเผาขนาดใหญ่บรรจุกระดูกซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับพิธีฝังศพครั้งที่ 2 และพบเศษ เครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบทั้งที่มีลวดลาย และไม่มีลวดลายกระจายอยู่ทั่วไป ลวดลายส่วนใหญ่เป็น

85 สายเชือกทาบ และลายเขียนสี แหล่งโบราณคดีบ้านตาหยวก เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อน

ประวัติศาสตร์ ประมาณ 1800 - 2500 ปีที่ผ่านมา (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย เหตุ. 2542 : 76)

แหล่งโบราณคดีบ้านสังข์ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 1800 - 2500 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านมีลักษณะเนินดินทรงกลม ทางใต้มีลำน้ำสาขาของ แม่น้ำมูลไหลผ่าน จากการตัดถนนในหมู่บ้านพบเศษเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากตามผนังดิน นอกจากนี้ยังพบภาชนะดินเผาบรรจุกระดูก เครื่องมือเหล็ก และลูกปัดแก้ว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการ เป็นเครื่องอุทิศในพิธีกรรมฝังศพ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 77)

แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาพัน มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ พบ

เครื่องปั้นดินเผาที่มีแกลบเป็นส่วนผสม จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่รู้จักการเพาะปลูก ข้าว แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาพันเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 1800- 2500 ปีที่ผ่านมา (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 77-79)

แหล่งโบราณคดีบ้านบ่อพันขันเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 1800 - 2500 ปี

ที่ผ่านมา มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำเสียว พบเศษเครื่องปั้นดินเผากระจาย อยู่ทั่วไป และยังปรากฏหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับการผลิตเกลือ และการ เพาะปลูกข้าว (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 77-79)

แหล่งโบราณคดีบ้านโนนเดื่อ เป็นเนินดินขนาดใหญ่พบเศษเครื่องปั้นดินเผาตกแต่ง ด้วยลายเชือกทาบแล้ว ขัดให้เรียบ เขียนด้วยสีแดงอันเป็นรูปแบบที่เรียกโดยทั่วไปว่าภาชนะดินเผา แบบร้อยเอ็ด (Roi Et Ware) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านดอน ตาพัน และ แหล่งโบราณคดีบ่อพันขัน และพบกระดูกวัว และกระดูกหมู รวมทั้งแกลบข้าวใน ส่วนผสมของเนื้อภาชนะ ดินเผา แสดงให้เห็นถึงการรู้จักเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูกข้าว ตลอดจน ปรากฏหลักฐานการผลิตเครื่องมือเหล็ก และเกลือสินเธาว์อีกด้วย แหล่งโบราณคดีบ้านโนนเดื่อ เป็น แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 1800 - 2500 ปีที่ผ่านมา (คณะกรรมการฝ่าย ประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 79)

กู่พระโกนา เป็นกลุ่มปราสาทขนาดใหญ่ เป็นปราสาทอิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลา แลงอันเป็นรูปแบบศิลปะแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ปรางค์องค์กลางถูกฉาบปูน ทับ และก่อขึ้นใหม่เป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระพุทธรูปประดับอยู่ทั้ง 4 ทิศ ปรางค์องค์ทิศเหนือมีการ สร้างกุฏิครอบทับตามแบบศิลปะล้านช้าง มีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะ และทับหลังเหนือกรอบประตู

ด้านหน้าสลักเป็นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ส่วนทับหลังด้านทิศตะวันตกสลักเป็นภาพพระ นารายณ์ทรงครุฑ ปรางค์องค์ทิศ ใต้ยังคงเหลือทับหลังติดอยู่ เหนือกรอบประตูหลอกด้านทิศเหนือ

86 สลักเป็น รูปเทวดานั่งชันเข่าอยู่เหนือหน้าบัน (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.

2542 : 84 - 86)

พระธาตุบ่อพันขัน เป็นศาสนสถานสำคัญในแหล่งโบราณคดีบ้านบ่อพันขัน เป็น ปราสาทรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานสูง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มี

โบราณวัตถุชิ้นสำคัญคือเอกมุขลึงค์ มีลักษณะส่วนปลาย (รุทรภาค) สลักเป็นรูปไข่ มีพระพักตร์ของ พระศิวะประดับอยู่ทางด้านหน้า ส่วนฐานประกอบไปด้วยวิษณุภาค และ พรหมภาค สลักเป็นแปด เหลี่ยมและสี่เหลี่ยมตามลำดับ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (คณะกรรมการฝ่ายประมวล เอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 84 - 86)

ปราสาทหินกอง มีสภาพเป็นเนินดินที่มีร่องรอยของคูน้ำล้อมรอบ โบราณสถานมี

ขนาดค่อนข้างเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บนอาคารมีทับหลังสลักเป็นรูป บุคคล และตัวสิงห์คาบสายที่เรียกว่า ท่อนพวงมาลัยทั้งสองข้าง น่าจะหมายถึงภาพพระกฤษณะขณะ กำลังประลองกำลัง กำหนดอายุอยู่ในศิลปะขอมแบบบาปวน ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17

(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 88)

สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ หรือวัดบ้านตากแดด สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2431เป็นสิมพื้น เมืองบริสุทธิ์ประเภทสิมทึบ มีรูปทรงอาคารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 5 X 4 เมตร หันหน้าไป ทางทิศตะวันออก หลังคาเป็นทรงจั่วชั้นเดียว มีลายแกะไม้ที่หน้าบันและยังผึ้ง รวมทั้งคันทวยซึ่งแกะ เป็นรูปพญานาค เดิมหลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ผนังปรากฏภาพ จิตรกรรมฝาผนังหรือฮูปแต้ม ประดับภายในตัวอาคาร เป็นภาพพุทธประวัติตอนออกมหาภิเนษกรมณ์และภาพรามเกียรติ์ ด้านหลัง ตัวอาคารมีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ศิลปะแบบช่างพื้นเมืองปางมารวิชัย (กรมการศาสนา. 2533 : 351 - 352)

3.2 คุณลักษณะของคนในท้องถิ่นเมืองสุวรรณภูมิ

เมืองสุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย อันเกิดจากการที่เป็น ดินแดนอันเก่าแก่มีทรัพยากรเหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐาน จึงมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถสรุปภาพรวมของกลุ่มทางวัฒนธรรม ได้ดังนี้

กลุ่มวัฒนธรรมกวย หรือกูย อาศัยอยู่บริเวณปากลำน้ำเสียว และลุ่มแม่น้ำมูล เป็นกลุ่มคนพื้นเมืองที่

อาศัยในบริเวณนี้มาอย่างยาวนาน แต่เนื่องจากมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่ผูกพันอยู่กับป่าดงจึงเป็นคน กลุ่มน้อยที่ต้องส่งบรรณาการให้แก่กลุ่มคนที่ใหญ่กว่า เป็นสาเหตุให้คนภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่าส่วย (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542 : 20)

กลุ่มวัฒนธรรมเขมร ตั้งชุมชนอาศัยอย่างหนาแน่นบริเวณลุ่มลำน้ำพลับพลา กับลุ่ม น้ำมูล ลักษณะเด่นของคนกลุ่มนี้คือการใช้ภาษาเขมรสูงในการสื่อสารภายในกลุ่ม และหลายชุมชน

87 สามารถใช้ภาษาลาวได้ กลุ่มคนในวัฒนธรรมเขมรประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการนับถือบรรพบุรุษ เรียกว่า โดนตา (สุกัญญา เบาเนิด. 2553 : 25 - 26)

กลุ่มวัฒนธรรมลาว เป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด มีถิ่นฐานอยู่ในตัวเมือง สุวรรณภูมิ และชุมชนอื่น ๆ เขตที่ราบลุ่มลำน้ำเสียว กลุ่มคนลาวเข้ามายังสุวรรณภูมิราว พ.ศ.2256 เป็นอย่างน้อย โดยมีเมืองแห่งแรกเรียกว่าเมืองทุ่ง ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นเมืองสุวรรณภูมิ (สุจิตต์ วงษ์

เทศ. 2558 : 182)

กลุ่มวัฒนธรรมจีน คนกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการค้าขายแลกเปลี่ยนของเมือง สุวรรณภูมิ โดยมีหลักฐานเกี่ยวกับชาวจีนที่มาทำการค้าในสุวรรณภูมิตั้งแต่ พ.ศ.2408 ว่าจีนหอย ลูกค้าเมืองอุบลถูกผู้ร้ายปล้นฆ่าตายในแขวงเมืองสุวรรณภูมิ (ปฐม คเนจร. 2545 : 340)

การทำมาหากินของชาวสุวรรณภูมิแต่เดิมนั้น เป็นไปโดยเหมือนกับผู้คนในทุ่งกุลา ร้องไห้ทั่วไปคือเป็นการผลิตเพื่อยังชีพเป็นหลัก จนเมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา นโยบายจาก ภาครัฐทำให้ผู้คนเริ่มปรับตัวด้วยการหันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนผลผลิตให้กับตลาด หลาย ครัวเรือนได้ออกไปทำงานยังต่างถิ่น การเข้าสู่ระบบตลาดทวีความเข้มข้นมากขึ้นช่วงปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา จากการตัดสินใจเชิงธุรกิจของชาวบ้านในการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่ คือรถไถนากับ รถเกี่ยวข้าวมาใช้แทนการใช้แรงงานคน (ธิติญา เหล่าอัน. 2553 : 145 -152)

ต่อมาบางครัวเรือนจึงได้เริ่มธุรกิจใหม่คือการนำเครื่องจักรออกไปรับจ้างหมู่บ้าน และขยายออกไปรับจ้างนอกเขตหมู่บ้าน ขณะเดียวกันการแตกตัวทางชนชั้นได้ทำให้ชาวนาแต่ละชน ชั้นมีโอกาสในการปรับตัวได้ไม่เท่ากัน ชาวนารวยสามารถปรับตัวเข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้เป็น อย่างดีในขณะที่ชาวนาฐานะปานกลาง และชาวนายากจนปรับตัวได้น้อยกว่า ชาวนาฐานะปานกลาง ได้หันเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการทั้งใน และนอกภาคเกษตรกรรมส่วนชาวนายากจนเปลี่ยนตนเองมา สู่การเป็นแรงงานรับจ้างในภาคการผลิตที่ไม่เป็นทางการนอกภาคเกษตรกรรมหรือกลายเป็น

ผู้ประกอบการรายย่อยในหมู่บ้าน (ธิติญา เหล่าอัน. อ้างแล้ว)

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความ เชื่อ และพิธีกรรมที่ครั้งหนึ่งเคยจรรโลงสังคมชาวนาเอาไว้ จนกระทั่งกลายเป็นพิธีกรรมของครอบครัว ชาวนาแต่ละครอบครัว ไม่ใช่เป็นพิธีกรรมของชุมชนที่ทำหน้าที่ในการจรรโลงสังคมชาวนาอีกต่อไป และแม้จะมีการปรับตัวเข้าสู่ทุนนิยมอย่างเข้มข้น แต่ในขณะเดียวกันผู้คนยังคงไม่ละทิ้งการเป็นผู้ผลิต เพื่อเอาไว้บริโภคเอง และมีประเพณีการทำบุญเหมือนสังคมเกษตรในยุคอดีต (นภาพร อติวานิชย พงศ์. 2557 : 123 – 124.)

3.3 แนวนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของสุวรรณภูมิ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานในท้องถิ่น มีการผลักดันของเทศบาลตำบล สุวรรณภูมิที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาภายใต้วิสัยทัศน์เมืองน่าอยู่ เชิดชูวัฒนธรรม คุณภาพสังคมดี วิถี