• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

1) นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ก าหนดนามรูปให้แยกออกจากกัน

นอกจากหลักธรรมที่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังมีหลักธรรมอีกจ านวนหนึ่งที่เป็นอุปสรรค หรือศัตรูต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เช่น โลภะ โทสะ และโมหะ พร้อมทั้งอุปกิเลสจ านวน 16 ประการ (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530) ได้แก่ อภิชฌา คือ ความโลภอยากได้ของคนอื่น พยาบาท ความคิดปองร้ายผู้อื่น โกธะคือ ความโกรธ อุปนาหะ คือความผูกโกรธ มักขะคือ ความลบ หลู่ ปฬาสะ คือความตีเสมอ อิสสา คือความริษยา มัจฉริยะ คือความตระหนี่ มายา มารยา สาเถยยะ คือ ความโอ้อวด ถัมภะ คือความหัวดื้อ สารัมภะ คือความแข่งดี มานะ คือความถือตัว อติมานะ คือ ความดูหมิ่นเขา มทะ คือความมัวเมา และปมาทะ คือความประมาท

สติปัฏฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน

สติปัฎฐานสี่ เป็นวิธีการที่ท าให้เกิดวิปัสสนาจนเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ของกาย เวทนา จิตและธรรม ทั้งภายในและภายนอก และการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลัก

สติปัฎฐานสี่ นี้เป็นทางเดียวเท่านั้นที่ท าให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้

ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฎฐานสูตรว่า “ทางสายนี้เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์

เพื่อล่วงความโศกเศร้า เพื่อความดับทุกข์และโทมนัส เพื่อปัญญาอันยิ่ง เพื่อบรรลุ อริยมรรค เพื่อรู้

แจ้งพระนิพพาน ทางสายนี้ก็ ได้แก่ สติปัฎฐานสี่ ” สติปัฏฐานสี่ ได้แก่

1) พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ก าจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกได้

2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ก าจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

3) พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ก าจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกได้

4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ ก าจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐานสี่

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางสติปัฏฐานสี่

มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนการ ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานไว้เป็นหลัก จากพระโอษฐ์ด้วยพระองค์เอง นอกจากนั้นได้ตรัสแทรกไว้

ในโอกาสต่าง ๆ และในพระสูตรต่าง ๆ สติปัฏฐานเป็นหลักธรรมส าคัญในพระพุทธศาสนา สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นความส าคัญนี้มาแต่แรกตรัสรู้ ขณะประทับอยู่ ณ โคนต้น อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น ้าเนรัญชรา ในอุรุเวลาเสนานิคม ภายหลังตรัสรู้แล้วในสัปดาห์ที่ 5 ก็ได้

ทรงปริวิตกถึงสติปัฏฐานสี่และตรัสแทรกไว้ในโอกาสต่าง ๆ และในพระสูตรต่าง ๆ มากมายหลาย

แห่งตลอดมาจนในปีที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ขณะประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้นครเวสาลี

ก็ทรงมีพระเมตตาตรัสเตือนให้ปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน ขณะประทับอยู่ ณ เวฬุคามก่อน หน้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน 10 เดือน ก็ตรัสเตือนให้มีตนเป็นที่พึ่งมีตนเป็นสรณะ ด้วยการปฏิบัติ

วิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530)

สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกและเป็นทางสายเดียวที่ท าให้ผู้ด าเนินตามทางนี้ ถึงความ บริสุทธิ์หมดจดจนบรรลุพระนิพพาน ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ต้องเริ่มต้น ด้วยสติปัฏฐานนี้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลาย มีความว่า เอกายโน อย ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตาน วิสุทฺธิยา โสกปริเทวาน สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสาน อตฺถงฺค มายญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิท จตฺตาโร สติปฏฺฐานา หนทางนี้เป็นหนทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงเสียด้วยดีซึ่งความโศกและความร ่าไร เพื่อดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระท าให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน สิ่งนี้ คือ สติ

ปัฏฐาน (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530)

อีกนัย สติปัฎฐาน มีความหมายว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือการปฏิบัติที่ใช้สติเป็น ประธาน (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530) ดังนั้น พระสูตรนี้จึงประสงค์จะเน้นความส าคัญและ ความจ าเป็นของสติที่จะน าไปใช้ในงานคือการก าจัดกิเลสและในงานทั่วไปดังพระพุทธพจน์ว่า ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสติว่าเป็นธรรมที่จ าเป็นต้องใช้ในทุกกรณี” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530) และแสดงถึงว่าชีวิตเรามีจุดที่ควรใช้สติก ากับดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่ง คือ

1. ร่างกายพร้อมทั้งพฤติกรรมโดยใช้สติก าหนดพิจารณาให้เห็นเป็นเพียงร่างกาย และพฤติกรรมที่แสดงออกตามที่มันเป็นในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตนเรา เขาเข้าไป เกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับร่างกายและพฤติกรรมนั้น เรียกว่า กายานุปัสสนา

2. เวทนา คือความรู้สึกสุข ทุกข์ เป็นต้น โดยใช้สติก าหนดพิจารณาให้เห็นเป็นเพียง เวทนาตามที่มันเป็นในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรง เข้าไปกับเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนา

3. จิต คือมีเจตสิกเกิดพร้อม ผู้ท าหน้าที่รู้อารมณ์ โดยใช้สติก าหนดพิจารณาให้เห็น เป็นเพียงจิตตามที่มันเป็นในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้อง ผสมโรงเข้าไปกับจิตที่ก าลังเป็นไปนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนา

4. สภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เวทนาและจิตนั้น โดยใช้สติก าหนด พิจารณาให้

เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมตามมันเป็นอยู่เกิดอยู่ในขณะนั้น ไม่ให้ความรู้สึกที่เป็นบุคคลตัวตน เราเขา เข้าไปเกี่ยวข้องผสมโรงเข้าไปกับสภาวธรรมที่ก าลังเป็นไปนั้น เรียกว่า ธัมมานุปัสสนา

สรุปว่าการตั้งใจเจริญสติปัฏฐานโดยใช้สติสัมปชัญญะเข้าไปก าหนดกาย เวทนา จิต และธรรมที่เข้าไปเกี่ยวข้องในปัจจุบัน ขณะ เป็นอารมณ์จะส่งผลให้เกิดการรู้เห็นตรงตามความเป็น จริงของสภาวธรรมที่ก าลังเป็นอยู่ในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าการเข้าไปรับรู้ขณะเจริญสติปัฏฐานนั้น สาระส าคัญของการปฏิบัติ คือให้มีเฉพาะสติสัมปชัญญะกับอารมณ์ปัจจุบัน ที่ก าลังเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันอยู่โดยปราศจากความรู้สึกที่เป็นตัวตน เรา เขา เกิดขึ้นในใจ ปราศจากการคิดปรุงแต่ง ใดๆ และปราศจากการตัดสินว่า ดีชั่ว ถูกผิด การเจริญสติปัฏฐานเป็นทางน าไปสู่การเข้าถึงปัญญาที่

จะเข้าไปรู้เห็นเข้าใจสรรพสิ่งได้ตรงตามความเป็นจริง ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ จนจิตปล่อย วางไม่เป็นที่แอบอิงอาศัยของกิเลส เมื่อผลของการปฏิบัติด าเนินมาถึงขั้นนี้ จึงเป็นการเจริญสติปัฏ ฐานสี่ซึ่งประกอบด้วย ฐาน กาย เวทนา จิตและธรรม ดังนี้

1. กายานุปัสสนากัมมัฏฐาน

ในการพิจารณากาย ตามหลักสติปัฏฐาน ผู้วิจัยได้ก าหนดลักษณะในการปฏิบัติ

วิปัสสนากัมมัฏฐาน อยู่ 6 หมวด ได้แก่ หมวดลมหายใจเข้าออก หมวดอิริยาบถ หมวดสัมปชัญะ หมวดมนสิการสิ่งปฏิกูล หมวดมนสิการธาตุ และหมวดป่าช้า โดยมีสาระดังนี้

กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ หมายถึง หมวดลมหายใจเข้าออก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี

ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงด ารงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ เข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมส าเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ก าหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก ย่อมส าเหนียกว่า เรา จักเป็นผู้ก าหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมส าเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมส าเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือ ลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อ หายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมส าเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ก าหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ย่อมส าเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ก าหนดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมส าเหนียกว่า เราจักระงับกาย สังขาร หายใจออก ย่อมส าเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุ

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายใน กายทั้งภายในทั้งกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีก

อย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น เธอ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้

แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่๑” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530)

1.1 หมวดลมหายใจเข้าออก ในการพิจารณากายในกายโดยก าหนดสติที่ลมหายใจ เข้า ลมหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เราหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น เมื่อเราหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจออกสั้นฝึกฝนว่า เราก าหนดรู้กองลมทั้งหมด หายใจเข้า ฝึกฝนว่า เราก าหนดรู้กองลมทั้งหมด พิจารณาเห็นกายในกายภายใน อยู่พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิด (แห่งลมหายใจ) ในกายอยู่ พิจารณาเห็น ธรรมเป็นเหตุดับ(แห่งลมหายใจ)ในกายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับ (แห่งลมหายใจ)ในกายอยู่ มีสติปรากฏอยู่กับปัจจุบัน กายมีอยู่ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติ

เท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่และไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด

กายานุปัสสนา อิริยาปถบรรพ หมายถึง หมวดอิริยาบถซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัด ว่าเรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใด ๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้น ๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอก บ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกาย บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียง สักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530)

1.2 หมวดอิริยาบถ คือ การรู้ชัดในอิริยาบถ 4 ประการ คือ เมื่อเดินก็รู้ชัดว่า เราเดิน เมื่อยืนก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่า เรานั่ง หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน เมื่อด ารงกายอยู่โดย อาการใด ๆ ก็รู้ชัดกายที่ด ารงอยู่โดยอาการนั้น ๆ ด้วยวิธีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายใน อยู่พิจารณา เห็นกายในภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่พิจารณาเห็นธรรมเป็น เหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่ หรือว่า มีสติปรากฏอยู่เฉพาะปัจจุบันว่า กายมีอยู่ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่และไม่ยึดมั่นถือ มั่นอะไร ๆ ในโลก สามารถจารณาเห็นกายในกายอยู่