• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

3. บากจิตและเจตสิก เป็น อัพยากตธรรม (ธรรมอันเป็นกลาง)

ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, และธรรมเหล่าใดที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากของ กรรม, รูปทุกชนิดและธาตุที่เป็นอสังขตะ (ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ธรรมเหล่านี้ เป็นอัพยากฤต 2. ธรรมที่เป็นประโยชน์ในการน าไปประยุกต์ใช้ในการท างาน คืออิทธิบาท 4 พระธรรม ปิฎก (ป.อ.ปยุตตโต) (2553) กล่าวไว้ว่า

อิทธิบาท 4 ในด้านการเรียน การท างาน ให้ประสบความส าเร็จที่พระพุทธองค์ได้ทรง สดับไว้อย่างแยบคลาย ประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งใคร ๆ ก็ท่องได้

จ าได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ปฏิบัติได้ครบกระบวนความทั้ง 4 ขั้นตอนที่ต่อเนื่องหนุนเสริมกัน จะขาดข้อใด ข้อหนึ่งไม่ได้ ด้วยว่ามันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงทั้ง 4 ข้อ จึงจะท าให้ประสบผลส าเร็จในชีวิต และการงานได้ตามความมุ่งหวัง

1) ฉันทะ คือ การมีใจรักในสิ่งที่ท า ใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ท า จึงจะเกิดผลจริงตามควร

2) วิริยะ คือ ความมุ่งมั่นทุ่มเท เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจ ที่จะเรียนรู้และท าให้

เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้นเรื่องนั้น ถ้าหากกระท าก็จะท าจนเชี่ยวชาญจนเป็นผู้รู้

3) จิตตะ คือ ใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบ 4) วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ท ามา อันเกิดจาก การมีใจรัก (ฉันทะ) ท าด้วย ความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้และรอบคอบ ดังนั้น “อิทธิบาท 4” จึงมีความหมายถึงความส าเร็จในชีวิตและการงาน เราต้องฝึกฝน ตนเองหลายเท่าตัวเพื่อจะเข้าใจและเข้าถึงหลักธรรมที่ก่อเกิดการพัฒนาที่จุดเริ่มต้นของตนเองอย่าง แท้จริง

3. ธรรมที่ท าให้เกิดประโยชน์ในระดับสังคมการสร้างสามัคคีอยู่ร่วมกันในสังคม คือ สาราณียธรรม 6 ดังนี้

สาราณียธรรม 6 ข้อคือ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตโต) (2542) 1) เมตตากายกรรม แสดงออกทางกายด้วยเมตตา 2) เมตตาวจีกรรม แสดงออกทางวาจาด้วยเมตตา 3) เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา 4) สาธารณโภคี แบ่งปันลาภอันชอบธรรม

5) สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตกับเสมอผู้อื่น 6) ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกันกับเพื่อนร่วมหมู่

อีกอย่างหนึ่งธรรมที่ท าให้เกิดประโยชน์ในระดับสังคมในการสร้างสามัคคีอยู่ร่วมกัน ในสังคม คือสัปุริสธรรม 7 พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตโต) (2553) ได้กล่าวไว้ดังนี้

สัปปุริสธรรม 7 หมายถึง ธรรมของสัปปุริสชน คือ คนดีหรือคนที่แท้ คนที่สมบูรณ์มี

7 ประการ คือ

1) ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ คือ รู้หลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลายที่คน เข้าไปเกี่ยวข้องในการด าเนินชีวิต เข้าใจสิ่งที่ตนจะต้องประพฤติปฏิบติตามเหตุผล

2) อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล คือ รู้ความหมายและความมุ่งหมายของ หลักการที่ตนปฏิบติเข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจการที่ตนกระท ารู้ว่าหลักการนั้น ๆ มีความมุ่งหมาย อย่างไร รู้ว่าที่ตนท าอยู่อย่างนั้น ด าเนิชีวิตอย่างนั้นเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร

3) อัตตัญญุตา รู้จักตน คือ รู้ความจริงว่าตัวเรานั้นโดยฐานะ ภาวะ ก าลัง ความรู้

ความสามารถว่าเป็นอย่างไร แล้วประพฤติปฏิบัติเหมาะสม

4) มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ คือ รู้จักพอใจ เช่น รู้จักประมาณในการใช้จ่ายทรัพย์

รู้จักความพอเหมาะพอดีในการพูด การปฏิบัติและท าการต่าง ๆ

5) กาลัญญุตา รู้จักกาล คือ รู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่พึงใช้ในการ ประกอบกิจ กระท าหน้าที่การงานปฏิบัติการต่าง ๆ และเกี่ยวข้องกับผู้อื่น

6) ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมชนและชุมชน รู้การอันควรประพฤติ

ปฏิบัติในถิ่นที่ชุมชน และต่อชุมชนนั้น ๆ

7) ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล คือ รู้จักและเข้าใจความแตกต่างและรู้จักที่จะปฏิบัติต่อ บุคคลอื่น ๆ ว่าควรจะคบหรือไม่จะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไรจึงจะได้ผลดี

4. ธรรมที่ท าให้เกิดประโยชน์ท าให้เป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสในระดับสูงสุด คือ วิสุทธิ 7 พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตตโต) (2555) ได้กล่าวไว้ว่า

วิสุทธิ 7 ซึ่ง หมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามล าดับ เป็นการท าให้บริสุทธิ์ด้วย การฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขาไปโดยล าดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ

1) ศีลวิสุทธิ หรือ ความหมดจดแห่งศีล คือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งใจรักษาท าให้

สามารถปฏิบัติ สมาธิกับวิปัสสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึง ปาริสุทธิ

ศีล 4 ซึ่งหมายถึง ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่

1.1) ปาฏิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความส ารวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อ ห้ามและท าตามข้ออนุญาต ตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท (คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ใน พระไตรปิฎก)

1.2) อินทรียสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความส ารวมอินทรีย์ 6 ระวังไม่ให้บาปอกุศล ธรรมเกิดขึ้นได้ ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

1.3) อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่

ชอบธรรม

1.4) ปัจจัยสันนิสิตศีล หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย

2) จิตตวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ การฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิให้

ได้อุปจาระสมาธิและอัปปนาสมาธิ ได้ฌาน ได้อภิญญาสมาบัติ อันเป็นปทัฏฐานที่ส าคัญเพราะจะท าให้

เกิดวิปัสสนาขึ้นได้ง่าย ยิ่งสมาธิดีเท่าใดยิ่งบรรลุได้ง่ายเท่านั้น

3) ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นนามรูปตาม สภาวะที่เป็นจริง เห็นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิด ว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มด ารงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด

4) กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ท าให้ก าจัดความสงสัยได้ คือ ก าหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท

5) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่า ทางหรือมิใช่ทาง จิตรับรู้ถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้

6) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางด าเนิน (วิปัสสนาญาณ 9) รู้ทุกขอริยสัจจ์ทั้ง 8 ระดับจึงรู้สมุทัยอริยสัจจ์ทั้ง8 จึงรู้นิโรธอริยสัจจ์ทั้ง 8 จึงรู้

มรรคอริยสัจจ์ทั้ง 8 และพิจารณาทั้งสิ้นพร้อมกัน (สามัคคีธรรม) เมื่อถึงสัจจานุโลมมิกญาณ คือ หมุนธรรมจักรทั้ง 8 และพิจารณาดุจผู้พิพากษา พิจารณาเหตุทั้งสิ้น

7) ญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ การปฏิบัติบริบูรณ์

จนก้าวผ่านภูมิจิตเดิมคือโคตรภูญาณและวิทานะญาณ ได้ความรู้แจ้งในอริยมรรคหรือมรรคญาณ ความบรรลุเป็นอริยบุคคลหรือผลญาณ พิจารณาธรรมที่ได้บรรลุแล้วคือปัจจเวกขณะญาณ ย่อม เกิดขึ้นในวิสุทธินี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมใน พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

ประโยชน์ของวิปัสสนากรรมฐาน

พระธรรมธีรราชมหามุนี กล่าวถึง ประโยชน์วิปัสสนากรรมฐาน

1. ท าให้คนฉลาด มีหลักการจริง ในชีวิตประจ าวัน คือ ปรมัตถธรรม ไม่หลงติดอยู่ใน บัญญัติธรรมอันเป็นเพียงโลกสมมติ