• Tidak ada hasil yang ditemukan

การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนว

สติปัฏฐานสี่ของศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดถ ้าพระผาคอก อ าเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมและแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ

ปัฏฐานสี่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต วิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐานสี่ของผู้ที่มาปฏิบัติ ณ ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และเพื่อเสนอแนวทางการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ ผลการศึกษา สามารถสรุปเป็นรายวัตถุประสงค์ดังนี้

สรุปผลการวิจัย

1. หลักธรรมในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่

1.1 จากการศึกษาเอกสารในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือพระไตรปิฎก คัมภีร์วิสุทธิ

มรรคและจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี สรุปสาระส าคัญได้

ดังนี้

ความหมายสติปัฏฐาน มาจากค าว่า สติ แปลว่า ระลึกได้ ระลึกในคุณธรรมความดีที่

ท าไปแล้วหรือก าลังท าอยู่ตลอดจนการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งธรรม สามารถ ก าหนดรู้ด้วยสติสัมปชัญญะในวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้ถึงความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส เป็นการ ตั้งสติระลึกรู้ต่อ รูป - นาม ขันธ์ 5 ซึ่งประกอบด้วย กาย เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ อันเป็น ฐานที่จะก้าวเข้าสู่พระนิพพานสติที่ก าหนดรู้อยู่กับปัจจุบัน ชื่อว่าสติปัฏฐาน

แนวปฏิบัติการพิจารณาธรรมด้วยสตินั้นย่อมเห็นธรรมที่เกิดขึ้นคือ นิวรณ์ธรรม 5 ต้องรู้ชัดว่ามีหรือไม่มีนิวรณ์ข้อใด รู้ชัดก่อนที่นิวรณ์จะเกิด สืบสาวไปหาเหตุและปัจจัย ก าหนดรู้ชัด ถึงวิธีการดับ และรู้ชัดในขณะการดับเมื่อมีสติรู้ชัดในการดับนิวรณ์ทั้ง 5 ภายในกายในใจ ย่อมส่งผล ให้มีสติในการพิจารณา ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์และนามขันธ์ รูปขันธ์มีเพียง 1 ชนิด คือ รูป นามขันธ์ใช้

ความรู้สึกหรือใจไปสัมผัสรับรู้มีด้วยกัน มี 4 ชนิดคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สติมีความ

เพียรพิจารณารู้ชัดถึง รูปหรือลักษณะ การเกิด เหตุและปัจจัยถึงการเกิด การเข้าไปยึดถือมั่นในขันธ์

หรืออุปาทานขันธ์และการท าลายความยึดมั่นถือขันธ์ในการใช้สติท างานต้องมีอุปกรณ์หรือ เครื่องมือในการท างานคือ อายตนะ 12 เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือใช้สติได้ท างานด้วยการมีสติชี้ชัด ในนิวรณ์ 5 ท างานเป็นคู่ดังนี้ ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับเครื่อง กระทบใจคู่กับธรรม

ในการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 นั้น สติจะต้องท างานด้วยการก าหนดการรับรู้การท างาน ของอายาตนะและพิจารณาตามฐานที่เกิดทั้ง 4 ฐาน คือ กาย เวทนา จิตและธรรมอย่างว่องไวและ ทรงพลังเพื่อท าความเข้าใจใน ขันธ์ 5 ในการท างานอย่างเป็นระบบของสติเรียกว่าโพชฌงค์ 7 จะท าให้

เกิดการพัฒนาให้ เข้าถึงความเป็นจริงตามล าดับจนถึงที่สุดคือ อริยสัจ 4 คือสัจธรรมอันประเสริฐที่

ควรรู้ยิ่ง 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หนึ่งในสี่ของอริยสัจ 4 คือ มรรคหรือว่าหนทาง แห่งการดับทุกข์มีระบบการพัฒนาเส้นทางหรือหนทางที่ส่งผลต่อเนื่องอย่างเป็นขั้นตอนเรียกว่า มรรค 8

1.2 หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตจ าแนกลักษณะได้เป็น 3 กลุ่ม

(1) หลักธรรมที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่เป็นเหตุก่อให้เกิดความส าเร็จในการปฏิบัติ

วิปัสสนากรรมฐานมีด้วยกัน 4 หลักธรรม ได้แก่ อิทธิบาท 4 คือ หมวดคุณธรรมที่เป็นเหตุก่อให้เกิด ความส าเร็จในการงานทุกประเภทประกอบด้วยธรรม สังวร 4 คือหลักธรรม 4 ประการที่ป้องกันมิ

ให้เกิดความไม่ประมาทในการประพฤติทางกาย ทางวาจา ทางความคิด และในความเห็นหลักธรรม ศีล 5 และ ศีล 8 ท าให้มีวินัยมีแนวปฏิบัติที่ไม่เบียดเบียนตนเองและเบียดเบียนผู้อื่นและ พละ 5 คือ หลักธรรม 5 ข้อที่เป็นก าลังอันส าคัญในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่จะต้องมีก าลังเสมอกันจึงจะ สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในวิปัสสนากรรมฐาน

(2) หลักธรรมที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่เกิดผล ในขณะอยู่ในกระบวนการปฏิบัติมี

หลักธรรมหมวดใหญ่ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 ซึ่งประกอบด้วยธรรมหมวดย่อย 6 หมวด คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจะ 4 และ ปฏิจจสมุปบาท 12

หมวดที่ 1 ขันธ์ 5 นั้นผู้ปฏิบัติได้ไปเห็นรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นสภาพธรรมของชีวิต 5 อย่างคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

หมวดที่ 2 อายตนะ12 หมวดที่ 3 ธาตุ18 และหมวดที่ 4 อินทรีย์ 22 ทั้งหมวดที่

2 , 3 และ 4 มีองค์ธรรมประกอบร่วมกันในบางหมวดดังนี้

ในหมวดที่ 2 นั้น อายตนะแปลว่า ที่เชื่อมต่อ เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อ ส าหรับติดต่อกัน ท าให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อายตนะภายใน หมายถึงสื่อ

เชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน มี 6 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกับอายตนะ ภายนอก 6 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์

หมวดที่ 3 คือธาตุ 18 หมายถึงอายตนะ 12 ดังกล่าวข้างต้นแต่เพิ่มเป็นผลการ ท างานร่วมกันของอายตนะทั้ง 6 คู่เกิดเป็นธาตุรู้ไปอีก 6 อย่าง เช่นตาคู่กับรูปเกิดธาตุรู้คือตาเห็นรูป หูคู่กับเสียงเกิดธาตุรู้ได้ยินเสียง

หมวดที่ 4 อินทรีย์ 22 หมายถึง ธรรมที่เป็นเจ้าของในการท าหน้าที่แบ่งได้เป็น 5 หมวดได้แก่ หมวดที่1 เป็นอายตนะ ได้แก่ อินทรีย์ 6 ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ หมวดที่ 2 คือ หมวดที่เป็นภาวะ ได้แก่ อินทรีย์ 3 ประกอบด้วย อิตถี ปุริส และชีวิต หมายถึงภาวะ ความเป็นหญิงเป็นชายในลักษณะเป็นรูปและการรักษารูปและนาม ในหมวดที่ 3 นั้นเป็นหมวด เวทนา ได้แก่ อินทรีย์ 5 ประกอบด้วย สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ส่วนหมวดที่ 4 คือหมวด พละ ได้แก่ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และในหมวดที่ 5 โลกุตตระ ซึ่งเป็นหมวดสุดท้ายนั้นจาก การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลไม่ปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติอันได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามิ อัญญา อัญญาตาวี

จะมีแต่เฉพาะในพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น หมายถึงภาวะอินทรีย์ที่รู้สัจธรรมที่ยัง ไม่เคยรู้ รู้ในสัจธรรมที่เคยรู้อย่างทั่วถึงและรู้ในสัจธรรมอย่างรู้แจ้งแทงตลอดและประหารกิเลส จนหมดสิ้นเข้าสู่ความเป็นพระอรหันต์โดยสมบูรณ์

หมวดที่ 5 ของวิปัสสนาภูมิคืออริยสัจจะ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐที่ท าให้

ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่ 4 ประการ คือ ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพ เดิมไม่ได้ สมุทัย คือ สาเหตุที่ท าให้เกิดทุกข์ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ท าให้เกิด ทุกข์ มรรค คือ แนวปฏิบัติที่น าไปสู่หรือน าไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการเรียก อีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลางมรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลหรืออธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ สมาธิหรืออธิ

จิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิและปัญญาหรืออธิปัญญาสิกขา ได้แก่

สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปป

หมวดที่ 6 ซึ่งเป็นหมวดสุดท้ายคือปฏิจจสมุปบาท 12 เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกันดังนี้

เพราะมีอวิชชาคือการไม่รู้ตามความเป็นจริงจึงเป็นเป็นปัจจัยให้เกิด สังขารคือธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เพราะมีสังขารจึงเป็นปัจจัยท าให้เกิด วิญญาณหรือธรรมชาติที่รู้อารมณ์เป็นล าดับต่อมา เพราะมี

วิญญาณเป็นปัจจัยจึงท าให้เกิด นามรูปหรือขันธ์ทั้ง 5 เพราะมีนามรูปจึงเป็นปัจจัยท าให้มี สฬายตนะ หรืออายาตนะทั้ง 6 เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงท าให้มี ผัสสะ จากนั้นผัสสะก็เป็นปัจจัยท าให้มี

เวทนา คือ การเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดจากการผัสสะ เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงท าให้

มีตัณหาคือความอยาก เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงท าให้เกิด อุปทานอันเป็นความยึดมั่นถือมั่นใน เวทนาที่ชอบหรือชัง จนเกิดความหลง จากการมีอุปาทานเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิด ภพ ความมีความเป็น ในที่นี้หมายถึง ภาวะแห่งชีวิต คือ ความมีขันธ์หรือมีนามรูป เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงท าให้เกิด ชาติ

อันหมายถึงการเกิดได้แก่ความเกิดของสัตว์ โดยความปรากฏแห่งขันธ์และการเกิดอีกนัยหมายถึง การเกิดของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต คือ การเกิดปรากฏของอุปปัตติภพใหม่ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นวิบาก หลังจากกรรมภพ คือ การท าความดีความชั่วสิ้นสุดลง การเกิดแบบนี้ปรากฏขึ้นในทุกขณะจิต เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงท าให้มี ชรามรณะหมายถึงความ เสื่อมและดับท าให้เกิดอวิชาอีกคือ ความโศก ความคร ่าครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ

(3) ธรรมที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่ส่งผลหลังการปฏิบัติมีด้วยกัน 9 หมวดหลักธรรม แบ่งได้สองกลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ส่งผลต่อตนเอง จ านวน 5 หมวดธรรม ได้แก่ พหุปการธรรม 2 โสภณ ธรรม 2 สุจริต 3 กุศลมูล 3 และโลกธรรม ผลจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องส่งผลท าให้เกิดความรู้

ความเข้าใจตามความเป็นจริงบริหารจัดการให้ประสบความส าเร็จมีความพึ่งพอใจในชีวิตและเกิด ปัญญาญาณเพื่อดับทุกข์ในที่สุดกลุ่มที่ส่งผลต่อสังคมจ านวน4 หมวดธรรม โลกบาลธรรม 2 พรหม วิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 และสัปปุริสธรรม 7 หมวด ธรรมที่1โลกบาลธรรม เป็นธรรมที่ไม่ให้เกิดการ เบียดเบียนกันมีความรักเมตตากรุณาต่อกันแล้วท าให้มีสติปัญญาบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่น เหมาะสมต่อการเป็นผู้น าคือเป็นผู้รู้จักเหตุผลรู้จักตัวเองและผู้อื่นอีกทั้งรู้จักกาลเวลา

2. ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ของผู้ที่มาปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ที่มีความศรัทธาและกลุ่มผู้ที่มีปัญหาชีวิต ณ ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานวัดถ ้าพระผาคอก อ าเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย สรุปได้ดังนี้

2.1 เหตุผลในการมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 กลุ่มต้องการเรียนรู้ มีสติต้องการพัฒนาก าลังสติและสมาธิในการท างาน ตลอดจนการเรียนให้

เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น การมีสติส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพในการด ารงชีวิตในการด ารงชีวิต ต้องการฝึกการมีสติ ต้องการฝึกสมาธิต้องน าไปใช้ในการท างาน กลุ่มผู้ที่ศรัทธา ได้เห็นแบบอย่าง ในการปฏิบัติที่ดี เพื่อเข้าถึงการดับทุกข์ เชื่อว่าได้บุญ เกิดความสุข เป็นแนวทางที่ท าให้เกิดปัญญา เนื่องจากสามารถน าไปแก้ปัญหาและอยู่กับปัจจุบันได้และยัง สามารถสร้างสันติสุขจากภายใน รวมถึง เป็นการบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่กลุ่มผู้ที่มีปัญหามีเหตุจาก การด าเนินชีวิต ผิดพลาด มีปัญหาด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ด้านจิตใจไม่เข้มแข็ง ปัญหาหนี้สินถูกบีบคั้น ทางจิตใจ ถูกลงโทษในทางศาสนา มีปัญหาครอบครัว มีความสูญเสียในชีวิตด้านประสบการณ์ส่วนใหญ่

มีประสบการณ์ในการปฏิบัติน้อยกว่า 5 ปี โดยมาเป็นครั้งแรก ตามแต่โอกาส ช่วงปิดเทอม ช่วง เทศกาล หลายปีครั้ง เป็นผู้ซึ่งต้องการหาความสงบในใจและต้องการศึกษาเรียนรู้ตนเอง กว่ากึ่งหนึ่ง