• Tidak ada hasil yang ditemukan

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 ประกอบ)

ตารางที่ 4.1 ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติ

วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ที่มีความศรัทธาและ กลุ่มที่มีปัญหาชีวิต

รายการประเมิน

กลุ่มผู้ที่ความ

ศรัทธา

n = 221 ระดับ

กลุ่มที่มีปัญหาชีวิต

n = 55 ระดับ

S.D. S.D.

1. ด้านสุขภาพกาย 2.66 .31 พึงพอใจ 2.74 .29 พึงพอใจ

2. ด้านเวทนา 2.65 .35 พึงพอใจ 2.61 .47 พึงพอใจ

3. ด้านสุขภาพจิต 2.84 .26 พึงพอใจ 2.84 .21 พึงพอใจ

4. ด้านธรรม 2.74 .31 พึงพอใจ 2.73 .35 พึงพอใจ

5.ด้านความสัมพันธ์กับบุคคล

อื่น 2.78 .30 พึงพอใจ

2.82 .26 พึงพอใจ

เฉลี่ยรวม 2.74 .24 2.75 .24

ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน มีผลการวิเคราะห์

ด้านความเชื่อ พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อตามล าดับ คือ เชื่อว่าชีวิตการท า ความดีไม่จ าเป็นต้องให้ผู้อื่นเห็นชมเรา บาปบุญมีจริง เข้าใจทางโลกและธรรมมากที่สุด เชื่อใน หลักธรรมทางพุทธศาสนามากและเกิดความเลื่อมใส เชื่อว่าท าดีได้ดี ทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดย่อมมีดับ รองมา ส่วนความเชื่อในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่นั้นเป็นการอุทิศส่วน กุศลให้แก่คนเจ็บดีขึ้นนั้นกลุ่มที่มีความศรัทธาและกลุ่มที่มีปัญหา มีความเชื่อน้อยที่สุด

ด้านสุขภาพกาย มีการเปลี่ยนแปลงทั้งกลุ่มที่มีความศรัทธาและกลุ่มที่มีปัญหาชีวิตคือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพกายดีขึ้นเกิดจากการรับประทานอาหารตรงเวลา การรับศีล 8 ท าให้ช่วยลดมื้ออาหารที่ไม่จ าเป็นออกไปได้ ส่วนการรู้จักการกินอยู่ที่พอดีกับร่างกาย การเคี้ยว อย่างช้า ๆ มีสติไปกับการเคี้ยวทุกค าและความอิ่มจากจิตที่มีอยู่แล้วนั้นจะช่วยให้เรากินอาหารได้

น้อยลงแต่อิ่มท้องเร็วขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงท าให้น ้าหนักลดเป็นผลพลอยได้ส าหรับคนที่ต้องการ ลดน ้าหนักและความต้องการท าให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น นอนหลับสบาย สุขภาพแข็งแรงขึ้นจาก โรคภัย มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น จากการเดินจงกรมเทียบได้กับการออกก าลังกายท าให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

เลือดไหลเวียนดีสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะตั้งได้นานน าไปใช้ในการเรียนรู้และการท างาน

ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความอดทนต่อการเดินทางไกล และการนั่งสมาธิท าให้ร่างกาย ได้ผ่อนคลาย ระบบหายใจดีขึ้นความจ าดี ช่วยกระตุ้นให้เกิดสมาธิ ท าให้สมองท างานอย่างมี

ประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ส่งผลให้ผิวพรรณสะอาด ผ่องใส เลือดลมไหลเวียนดี ผิวเต่งตึงดูอ่อนกว่าวัย เกิดความสมดุลในร่างกายพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างามและสุขภาพกายดีขึ้นท าให้ไม่เจ็บไข้ช่วยบ าบัด โรคร่างกายแข็งแรง ไม่เสพสิ่งเสพติด ท าให้สุขภาพจิตดีขึ้น และมีอายุยืนยาว

ด้านสุขภาพจิต มีการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพจิต จิตไม่ไปยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ จิตใจสงบ ผ่องใส ไม่ฟุ้งซ่าน ใจเย็นไม่เป็นคนใจร้อนและเมื่อมีโกรธ ความพยาบาทเกิดขึ้นยังไม่หายในทันที

แต่รู้ตัวเร็วขึ้น ดับเร็วขึ้นค่อย ๆ ดีขึ้น คลายเครียด มีสมาธิ มีการตัดสินใจที่ดี คิดจะท าอะไรช้าลง อย่างมีสติ สบายใจขึ้น รู้จักปล่อยวาง อดทน อดกลั้น ไม่ยึดติดร่างกายกับ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ส่วนการก าหนดรู้เวทนาได้ดีขึ้น กายป่วยจึงไม่กระทบจิต สามารถกลับไปด าเนินชีวิตได้อย่างมี

ความสุขพอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่ โดยไม่ต้องดิ้นรนออกไปหาความสุขจากข้างนอก สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่าน เข้ามาในชีวิตทุกสิ่งมีเหตุมีปัจจัยเริ่มเข้าใจตามความเป็นจริง วางได้มากขึ้น ชีวิตเดินทางสายกลาง และเป็นการสะสมบุญ

ด้านการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านการมีความสัมพันธ์

กับบุคคลอื่นตามล าดับคือ มองคนอื่นในมุมมองของคนที่มองโลกในแง่ดีมากขึ้น เข้าใจ ยอมรับใน ความแตกต่างของคน รู้จักให้อภัยท าให้เกิดจิตใจที่ดีงามขึ้น มีความรัก มีความเมตตาและความสัมพันธ์

อันดีกับเพื่อน คนใกล้ชิดและบุคคลอื่นในสังคมเข้าใจผู้อื่นง่าย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น วางตัว เป็นกลางมากขึ้น ส่วนการเป็นมิตรกับผู้อื่นได้ โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด

ในภาพรวมของการเปลี่ยนแปลง ทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นว่า ทุกอย่างพัฒนาดีขึ้นทั้ง สุขภาพกาย ใจ ชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน ปรับตัวดีขึ้นทุกด้านทั้งด้านความเชื่อ สุขภาพกาย สุขภาพจิต และด้านการมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมีสติ สมาธิมากขึ้น ปล่อยวางได้ง่าย มีความคิดในแง่

บวก ส่วนมีความอดทนต่อกิเลสและตัณหา ฝึกความเป็นระเบียบวินัยมากขึ้น เมื่อได้รับศีล 8 พัฒนา ก าลังสติและสมาธิในการท างาน ตลอดจนการเรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นการมีสติจะช่วยให้

เรามองเห็นปัญหาต่าง ๆ และสามารถแก้ปัญหานั้น ๆ ได้อย่างแท้จริงปัญหา เกิดพลังใจในการ ประกอบความดี และมีความรักความเข้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ ทั้งการลงมือปฏิบัติจริงท าให้เข้าใจถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต เมื่อจิตสงบจะสามารถน าไปตรึกตรองเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่าง แตกฉาน เป็นระบบ ไม่วุ่นวาย ท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเกิดปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง ระงับสติไม่โมโหร้ายได้ไม่ประมาท รู้เท่าทันและเข้าใจตามความเป็นจริงจิตใจของเราก็จะไม่ยึดติด ไม่เศร้าหมอง ไม่ส่งผลกระทบต่อการด ารงชีวิตในด้าน สุขภาพดีขึ้น ยอมรับตามความเป็นจริงได้

วาง รู้จักให้อภัยกับคนที่ท าไม่ดี คิดไม่ดีกับเราได้ง่ายขึ้น ไม่ผูกใจเจ็บอาฆาตพยาบาท ทุกสิ่งที่เกิด ขึ้นกับเราเนื่องมาจากกฎแห่งกรรมเชื่อในเรื่องเวรกรรมพื้นฐาน รู้จักการให้และการเสียสละเพื่อให้

ผู้อื่นเป็นสุขผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติให้มี

คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การมีสุขภาพกายดีสุภาพจิตดีท าให้มีความสุข นอกจากนั้นการไม่เป็นผู้มีโรคภัย ไข้เจ็บท าให้ไม่ต้องเสียเงินในการบ ารุงดูแลสุขภาพสามารถท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิด รายได้ท าให้มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงบริหารจัดการให้

ประสบความส าเร็จไม่ให้เกิดการการเป็นผู้มีสติท าให้เป็นผู้ที่เข้าใจในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ บุคคลอื่น ไม่เบียดเบียนกันมีความรักเมตตากรุณาต่อกัน เข้าใจในบทบาทของตนเองในการท างาน มีบุคลิกภาพดีในสังคม มีคุณธรรมประจ าใจเป็นทั้งผู้น าผู้ตามที่ดีเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและ สังคม

นอกจากนั้นผู้วิจัยได้เข้าร่วมสังเกตพฤติกรรมในระหว่างด าเนินกิจกรรม และท าการเก็บ รวบรวมข้อมูลตามแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลจากการประมวลข้อมูลที่รวบรวมได้สามารถ น าเสนอโดยสรุปได้ดังนี้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ความมีวินัยและความอดทนทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่าง การเข้ามาเพื่อปฏิบัติ

ธรรมตามเวลาที่ก าหนดส่วนความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมกลุ่มศรัทธาตั้งใจมากกว่ากลุ่มที่ปัญหา สังเกตจากการท าตามที่พระวิปัสสนาจารย์ท่านสอนไว้

ประเด็นที่ 2 ความเพียร ซึ่งหมายรวมถึง การยืน การเดิน การนั่ง กลุ่มที่มีความศรัทธา สามารถบ าเพ็ญความเพียรได้มากกว่า

ประเด็นที่ 3 ความรู้ความเข้าใจ การเกิดสติสัมปชัญญะและการเกิดสมาธิ กลุ่มที่ศรัทธา

ส่วนใหญ่ มีพัฒนาการค่อนข้างดี โดยสังเกตจากการเดินจงกรม การนั่งสมาธิผู้ปฏิบัติในกลุ่มนี้

มีใบหน้าที่ผ่อนคลาย หายใจอย่างสม ่าเสมอ สายตาไม่เลื่อนลอย มีความมั่นคงในอารมณ์ตรงกันข้าม กลุ่มที่มีปัญหาพบว่า มีใบหน้าเคร่งเครียด หายใจไม่สม ่าเสมอ เดินไม่เป็นจังหวะสายตาเลื่อนลอย การเกิดทุกขเวทนา สุขเวทนาและการตอบค าถามในการปฏิบัติกับพระวิปัสสนาจารย์ กลุ่มศรัทธา ส่วนใหญ่ สามารถตอบค าถามบอกสภาวะเกี่ยวกับความทุกข์ ความสุขได้ชัดเจน และถ้าเกิดอุเบกขา เวทนารู้จักต่ออารมณ์เฉยก าหนดรู้ ถ้ามีความกลัวหรือเกิดอารมณ์อื่น ๆ เกิดขึ้นไม่หวั่นไปกับสิ่งที่

เกิดขึ้นในขณะนั้นไม่มีผลต่อการปฏิบัติสามารถปฏิบัติต่อไปได้ อยู่กับปัจจุบันได้ กลุ่มที่มีปัญหา ส่วนใหญ่วันแรก ๆ ตอบค าถามได้ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความทุกข์ ความสุข ไม่สามารถบอกสิ่งที่

เกิดขึ้นในขณะนั้นได้และถ้าเกิดอุเบกขาเวทนาส่วนใหญ่ไม่สามารถวางเฉยกับอารมณ์ต่าง ๆ ได้และ การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง ตกใจง่ายเวลามีสิ่งใดเกิดขึ้นมีอาการสะดุ้ง ปฏิบัติได้หลายวัน สามารถปฏิบัติได้ดีขึ้น

ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มศรัทธาท าให้ผู้ปฏิบัติไม่ย่อท้อกับปัญหาเกิดพลัง ใจในการประกอบความดีและมีความรักความเข้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ การลงมือปฏิบัติจริงท าให้เข้าใจ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต เมื่อจิตสงบจะสามารถน าไปตรึกตรองเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่าง

แตกฉาน เป็นระบบ ไม่วุ่นวาย ท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเกิดปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง ท าให้พ้นทุกข์ทั้งปวงเข้าถึงสันติสุขอย่างแท้จริง เช่น ระดับความโกรธลดลง ไม่ยึดติด ไม่เศร้าหมอง

มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น จึงสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีสติโดยไม่หลงและ หมกมุ่นไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการแก้ปัญหาอย่างมีสติและไม่ประมาท รู้เท่าทันและเข้าใจตามความ เป็นจริง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนได้มองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิบัติที่ช่วยให้เกิด ความจ าและวิธีคิดที่เป็นระบบมากขึ้น เช่น สามารถจัดการเรียนได้อย่างมีแบบแผนส่งผลให้การ เรียนดีขึ้น รวมถึง สามารถจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้น การปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างสม ่าเสมอจะท ำให้มี

ความเข้าใจผู้อื่นและท าให้ชีวิตมีพลังมากขึ้น ส่วนผู้ที่เป็นผู้บริหาร ท าให้เกิดความรักความเมตตา กับเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว ญาติพี่น้อง ใช้ชีวิตย่างสมดุล สามารถครองตนไม่ละเมิดศีล 5 ครองคน ปกครองครอบครัวและเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีความสุขครองงาน ดังค ากล่าวที่ว่า “คนส าราญงาน ส าเร็จ” ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหามีความเปลี่ยนแปลงคือ ท าให้ เป็นผู้มีเหตุผลมากขึ้น ยอมรับ ในอาการป่วยที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเข้าใจถึงหลักปฏิบัติที่จะน าชีวิตไปสู่ความสุขที่แท้จริงมีการให้

อภัยได้ง่าย ไม่ผูกพยาบาท ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างเข้าใจ เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมจึง มั่นใจในการท าความดีศรัทธาในหลักค าสอนและแนวปฏิบัติ อยู่ในหลักของศีล 5 เป็นพื้นฐาน รู้จัก การให้และการเสียสละเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติยังเกิดสมาธิและมีสติในการ ด ารงชีวิต ลดความใจร้อน ท างานผิดพลาดน้อยลง มีการเปลี่ยนแปลงความคิดคือ มองโลกในแง่บวก การพัฒนามีสุขภาพจิตดี ย่อมท าให้มีสุขภาพกายดีและน าไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี สามารถควบคุม

อารมณ์ปล่อยวางความโกรธ ยอมรับฟังความคิดและเหตุผลของผู้อื่นมากขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่น ลดความนิยมในวัตถุ เมื่อเกิดความทุกข์ใช้สติปัญญาและเหตุผลในการแก้ปัญหา มองหาโอกาสที่ดี

ในชีวิตได้ นอกจากนี้ยัง มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นดีขึ้น