• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์

ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้

แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร แบบประเมิน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบความคิดเห็นของ นักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งนำมาใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัย ในลักษณะของการทดลอง ผู้วิจัยได้นำเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ

หาความรู้

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ตอนที่ 4 ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้

ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ

สืบเสาะหาความรู้

เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 คือ การการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัด

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน ทำแบบทดสอบวัดผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนปลงของสาร ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน จำนวน 30 ข้อ และนำคะแนนที่ได้จาก

การทดสอบทั้งสองครั้งมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง

ของสาร ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ 19

ดังนี้

ตารางที่ 19 คะแนนเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

กลุ่มตัวอย่าง N คะแนนเต็ม S.D. D2

การทดสอบก่อนเรียน 8 30 16.87 4.696

การทดสอบหลังเรียน 8 30 23.87 2.696 7

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากตารางที่ 19 พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ก่อนและหลังด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ

หาความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียน (x ̅= 16.87, S.D. = 4.696) สูงกว่าก่อน เรียน (= 23.87, S.D. = 2.696) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 คือ การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 6 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการสังเกต2) ทักษะการวัด 3) ทักษะการจำแนกประเภท 4) ทักษะการหาความสัมพันธ์

ระหว่าง สเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา 5)ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล และ 6) ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ซึ่งจะประเมินเป็นรายบุคคลหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาข้อมูล มีรายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ 20 ดังนี้

ตารางที่ 20 ผลการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

รายการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวม

1. ทักษะการสังเกต 2.89

S.D. 0.37

ความหมาย ดี

2. ทักษะการวัด 2.75

S.D. 0.46

ความหมาย ดี

3. ทักษะการจำแนกประเภท 2.62

S.D. 0.51

ความหมาย ดี

4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา

2.62

S.D. 0.50

ความหมาย ดี

5. ทักษะการจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล

2.59

S.D. 0.51

ความหมาย ดี

6. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 2.59

S.D. 0.50

ความหมาย ดี

ภาพรวม

𝐱̅ 2.67

S.D. 0.47

ความหมาย ดี

ตารางที่ 20 พบว่า ผลการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัด การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวม พบว่านักเรียน มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 โดยมีทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใน (ทักษะการสังเกต) โดยผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี

(= 2.89, S.D.=0.37) (ทักษะการวัด) โดยผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (= 2.75, S.D.=0.46) (ทักษะการจำแนก) โดยผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (= 2.62, S.D.=0.51) (ทักษะการหา ความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา) โดยผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (= 2.62,

S.D.=0.50) (ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล) โดยผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี

(= 2.59, S.D.=0.51) และ(ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล) โดยผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี

( = 2.59, S.D.=0.50)

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 3 คือ การศึกษาพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ประกอบด้วยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 4 ด้าน คือ 1) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) 2) ความคิดริเริ่ม (Originality) 3) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และ 4) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) ซึ่งจะประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยการประเมินชิ้นงานในชั่วโมง สุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์

ผลการศึกษาข้อมูลมีรายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ 21 ดังนี้

ตารางที่ 21 ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ความคิดสร้างสรรค์ คะแนน เต็ม

ค่าเฉลี่ย ระดับความ

คิดเห็น ลำดับที่

S.D.

1) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) 4 3.13 0.835 มาก 2

2) ความคิดริเริ่ม (Originality) 4 3.25 0.886 มาก 1 3) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) 4 2.50 0.756 ปานกลาง 3 4) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) 4 2.25 0.463 ปานกลาง 4

รวม 4 2.78 0.619 มาก

จากตารางที่ 21 พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยการประเมินจากชิ้นงานของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 คน หลังจากจบหน่วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ =2.78, S.D.=0.619) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 ซึ่งเมื่อ พิจารณาเป็นองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ โดยการเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1

ด้านความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) (x̅ = 3.25, S.D.=0.886) ลำดับที่ 2 ด้านความคิดริเริ่ม (Originality) (x̅ =3.13, S.D.=0.835) ลำดับที่ 3 ด้านความคิดละเอียดลออ (Elaboration) (Fluency) (x ̅=2.55, S.D.=0.463) และ ลำดับที่ 4 ด้านความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) (x̅ =2.50, S.D.=0.756)

ตามลำดับ

ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 4 คือ การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้

2) ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ และ 3) ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งจะใช้แบบสอบถามความคิดเห็น ที่ มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ สอบถามความคิดเห็น ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่22 ดังนี้

ตารางที่ 22 ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้

ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา

ความรู้ 𝐱̅ S.D. ระดับความ

คิดเห็น

ลำดับ ที่

ด้านกิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูชี้แจง อธิบายและสร้างความเข้าใจแก่นักเรียนเกี่ยวกับ จุดประสงค์/เนื้อหา

4.75 0.46 เห็นด้วยมากที่สุด 2

2. ครูจัดการเรียนรู้ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน กระบวนการสอน คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและ ค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้น ประเมินผล

4.75 0.46 เห็นด้วยมากที่สุด 2

3. กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้และความคิดเห็น

4.75 0.46 เห็นด้วยมากที่สุด 2

4. กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน

5.00 0.00 เห็นด้วยมากที่สุด 1

5. กิจกรรมการเรียนรู้มีความท้าทายทำให้อยากค้นหา คำตอบ

4.75 0.46 เห็นด้วยมากที่สุด 2

ความคิดเห็นด้านกิจกรรมการเรียนรู้รวม 4.80 1.85 เห็นด้วยมากที่สุด 1

ด้านบรรยากาศการเรียนรู้

6. บรรยากาศในการเรียนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความ รับผิดชอบต่อตนเอง และผู้อื่นภายในกลุ่ม

4.50 0.53 เห็นด้วยมากที่สุด 4

7. บรรยากาศในการเรียนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความ กระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์

4.88 0.35 เห็นด้วยมากที่สุด 2

8. บรรยากาศในการเรียนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนทำ กิจกรรมได้อย่างอิสระ

4.75 0.46 เห็นด้วยมากที่สุด 3

9. บรรยากาศในการเรียนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิด ความคิดที่หลากหลาย

5.00 0.00 เห็นด้วยมากที่สุด 1

10. บรรยากาศในการเรียนช่วยเพิ่มพื้นที่ให้นักเรียนได้

แสดงความคิดเห็นและปฏิบัติงานร่วมกัน

4.75 0.46 เห็นด้วยมากที่สุด 3

ความคิดเห็นด้านบรรยากาศการเรียนรู้รวม 4.77 0.22 เห็นด้วยมากที่สุด 2