• Tidak ada hasil yang ditemukan

แผนการจัการเรียนรู้ที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับ ไม่ได้

วิชาวิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว15101 โรงเรียนวัดราษฎร์สามัคคี

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เวลา 3 ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ

ของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง สถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ตัวชี้วัด

ว 2.1 ป.5/4 วิเคราะห์และระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้

2. สาระสำคัญ

เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว สารสามารถเปลี่ยนกลับเป็นสารเดิมได้ เป็นการ เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ เช่น การหลอมเหลว การกลายเป็นไอการละลาย แต่สารบางอย่างเกิดการ เปลี่ยนแปลงแล้วไม่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นสารเดิมได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ เช่น การ เผาไหม้ การเกิดสนิม

3. สาระการเรียนรู้

การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ของสาร หมายถึง การที่สารเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว สารสามารถ เปลี่ยนกลับมาเป็นสารเดิมได้ เช่น การหลอมเหลว การกลายเป็นไอ การละลายและการเปลี่ยนสีของน้ำ ดอกอัญชัน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ของสาร หมายถึง การที่สารเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วสารไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสารเดิมได้ เช่น การเผาไหม้ การเกิดสนิท เป็นต้น

4. สมรรถนะที่สำคัญ

1) ความสามารถในการคิด

1.1) ทักษะการสำรวจค้นหา

1.2) ทักษะการเชื่อมโยง 2) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร เรื่อง การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้

วิชาวิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว15101 โรงเรียนวัดราษฎร์สามัคคี

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เวลา 3 ชั่วโมง

5. คุณลักษณะที่พึงประสงค์

1) มีวินัย 2) ใฝ่เรียนรู้

3) มุ่งมั่นในการทำงาน 6. จุดประสงค์การเรียนรู้

1) ระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ถูกต้อง (K) 2) ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทดลองได้ (P)

3) รับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย (A) 7. ทักษะกระบวนการคิด

การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ 8. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1-3

• วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ Inquiry Method : 5E

ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ

1) ครูนำสารละลายน้ำเชื่อม (น้ำ+น้ำตาล) ที่บรรจุในบีกเกอร์ให้นักเรียนดู พร้อมทั้งตั้งคำถามนักเรียน ต่อไปนี้

1. น้ำเชื่อม อยู่ในสถานะใด (แนวคำตอบ: สถานะของเหลว)

2. น้ำเชื่อมเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงใดของสาร (แนวคำตอบ: การละลายของสาร ซึ่งได้แก่น้ำตาล+น้ำ)

3. น้ำเชื่อม มีตัวทำละลายและตัวถูกละลาย คืออะไร (แนวคำตอบ: ตัวถูกละลายคือน้ำตาล ส่วนตัวทำละลายคือน้ำ)

4. ครูถามคำถามเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าน้ำตาลในสารละลาย น้ำเชื่อมนี้ สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้หรือไม่” (แนวคำตอบ:ตอบตามความคิดของตนเอง) 2) ครูถามนักเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าสารต่างๆ บนโลกใบนี้สามารถเปลี่ยนแปลงและคืนกลับสภาพ เดิมได้หรือไม่” (แนวคำตอบ: ตอบตามความคิดของนักเรียน)

ชั่วโมงที่ 1

ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา

3) ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 – 3 คน

4) ครูชี้แจง การทดลองเรื่อง อัญชันหลากสี โดยให้นักเรียนใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ในการตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปร ทำการทดลอง บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง 5) นักเรียนทำการทดลองตามขั้นตอนการทดลองเรื่อง อัญชันหลากสี ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. ตวงน้ำปริมาตร 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เทลงในบีกเกอร์ แล้วต้มจนเดือด 2. นำดอกอัญชันสดใส่ลงไป เมื่อน้ำเป็นสีน้ำเงินจึงดับไฟ

3. ดูดน้ำอัญชันใส่หลอดทดลอง สังเกตสีและบันทึกผล

4. หยดน้ำมะนาวลงไปในหลอดทดลองที่มีน้ำดอกอัญชันอยู่ ใช้แท่งแก้วคนสาร 5. หยดน้ำสบู่ลงไปในหลอดทดลองในข้อที่ 4 คนสารสลับกับหยดน้ำสบู่ สังเกตและบันทึกผล 6) เมื่อนักเรียนทำการทดลองเสร็จแล้ว นักเรียนทำใบบันทึกผลการทดลอง เรื่อง อัญชันหลากสี

7) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปผลการทดลอง โดยใช้คำถาม ดังนี้

1. น้ำอัญชัน ในการทดลองครั้งที่แล้วเป็นการเปลี่ยนแปลงของสารแบบใด เพราะเหตุใด (แนวคำตอบ: เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบผันกลับได้ของสาร เพราะน้ำดอกอัญชันมีการเปลี่ยนสีจาก สีน้ำเงินเป็นสีม่วงและสามารถเปลี่ยนสีกลับสู่สภาพเดิมได้ด้วยน้ำสบู่)

2. เพราะเหตุใดน้ำอัญชันจึงเปลี่ยนสีได้ (แนวคำตอบ: เนื่องจากน้ำอัญชันทำปฏิกิริยากับ น้ำมะนาวซึ่งเป็นกรดจึงทำให้เปลี่ยนเป็นสีม่วงแต่เมื่อใส่น้ำสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นเบสในปริมาณที่เหมาะสม

สารละลายที่เป็นสีม่วงจะค่อยๆลดความเป็นกรดลงทำให้คืนสู่สภาพเดิมคือสีน้ำเงิน) 8) ครูทบทวนเกี่ยวกับการทดลองเรื่อง อัญชันหลากสี

9) ครูให้นักเรียนจับคู่เพื่อคิดร่วมกัน เกี่ยวกับกิจกรรม ผันกลับได้ไหมนะ?

10) ครูชี้แจง กิจกรรม ผันกลับได้ไหมนะ? ดังนี้

1. ครูกำหนดสถานการณ์ต่างๆ ให้นักเรียน 8 สถานการณ์ ดังนี้

- เผากระดาษ - ตะปูเกิดสนิม - น้ำกลายเป็นไอ - อาหารเน่าเสีย - การจุดเทียนไข - จุดประทัด - เนยหลอมละลาย - มันฝรั่งทอด

2. นักเรียนแต่ละคู่จับสลาก สถานการณ์ คู่ละ 1 สถานการณ์ เพื่อร่วมกันอภิปรายและนำเสนอหน้า ชั้นเรียนในประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ของสาร

พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบที่เหมาะสม

ชั่วโมงที่ 2

11) ครูและนักเรียนร่วมกันในห้องร่วมกับอภิปราย พร้อมกัน 12) นักเรียนทำใบงานเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป

13) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง โดยใช้คำถามดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ คืออะไร มีลักษณะอย่างไร (แนวคำตอบ: การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ของสาร หมายถึง การที่สารเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว สาร

สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสารเดิมได้ ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ของสาร หมายถึง การที่

สารเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว สารไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสารเดิมได้)

2. ให้นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ (แนวคำตอบ: การหลอมเหลว การกลายเป็นไอ การละลายและการเปลี่ยนสีของน้ำดอกอัญชัน เป็นต้น)

3. ให้นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ (แนวคำตอบ: การเผาไหม้ การเกิดสนิท เป็นต้น)

ขั้นที่ 4 ขยายความรู้

14) ครูให้นักเรียนดูภาพนาเกลือ แล้วถามนักเรียนว่า “การทำนาเกลือ เป็นการเปลี่ยนแปลง แบบใด เพราะเหตุใด” (แนวคำตอบ: เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบผันกลับได้ เพราะเมื่อเกลือละลายใน น้ำจะกลายเป็นสารละลายแต่เมื่อให้ความร้อนในอุณหภูมิของสารละลายสูงขึ้น น้ำจะระเหยออกไปจะ เหลือที่อยู่ในสถานะของแข็งเช่นเดิม

ขั้นที่ 5 ประเมินผล

15) นักเรียนทำใบบันทึกผลการทดลอง เรื่อง อัญชันหลากสีและใบงานเรื่อง การเปลี่ยนแปลง ทางเคมี (หากนักเรียนทำใบงานไม่ทันเวลาสามารถสั่งเป็นการบ้านเพื่อทบทวนความรู้ได้)

16) นักเรียนทำแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร 17) นักเรียนทำชิ้นงานแบบจำลองสรุป เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

9. สื่อการเรียนรู้

1) สื่อการเรียนรู้

1.1) หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5

1.2) ใบบันทึกผลการทดลอง เรื่อง อัญชันหลากสีและใบงานเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทาง เคมี

1.3) PowerPoint สรุปความรู้วิทยาศาสตร์ ป.5 ชั่วโมงที่ 3

1.4) แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร 1.5) ภาพกิจกรรม การทำนาเกลือ

2) แหล่งการเรียนรู้

2.1) ห้องเรียน 2.2) ห้องสมุด

10. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ที่ จุดประสงค์ วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์

1 ระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับ ได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผัน กลับไม่ได้ถูกต้อง

ตรวจใบงาน/ใบบันทึก ผลการทดลอง

ใบงาน/ใบบันทึกผลการ ทดลอง

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

2 ใช้ทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ในการทดลองได้

ตรวจแบบประเมิน ทักษะวิทยาศาสตร์

แบบประเมินทักษะ กระบวนวิทยาศาสตร์

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

3 รับผิดชอบและมุ่งมั่นในการ ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

สังเกตความมีวินัย ใฝ่

เรียนรู้ และมุ่งมั่นใน การทำงาน

แ บ บ ป ร ะ เ มิ น คุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

4 นักเรียนสามารถคิดสร้าง

แ บ บ จ ำ ล อ ง ส ร ุ ป ก า ร เปลี่ยนแปลงของสารได้

ตรวจแบบวัดชิ้นงาน ความคิดสร้างสรรค์

เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ของสาร

ตรวจแบบวัดชิ้นงาน ความคิดสร้างสรรค์

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

บันทึกการใช้แผนการจัดการเรียนรู้

ผลการสอน

ปัญหาและอุปสรรค

ข้อเสนอแนะ/ แนวทางแก้ไข

ลงชื่อ ผู้สอน

( )

ตำแหน่ง

วันที่ เดือน พ.ศ.