• Tidak ada hasil yang ditemukan

แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

บทที่ 1 บทนำ

จำนวน 18 ชั่วโมง

4. แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

ตารางที่ 14 แสดงเกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

ความคิด

สร้างสรรค์ ประเด็น ระดับคุณภาพ

มากที่สุด (4) มาก (3) ปานกลาง (2) น้อย (1)

ความคิด คล่องแคล่ว

(Fluency)

ความตรง ประเด็นของ

เนื้อหา

นักเรียนสามารถการ ผสมผสานเนื้อหา และแนวความคิด เ ด ิ ม ห รื อ แนวความคิดใหม่ ได้

4 ข้อ

1. บอกความสำคัญ ของเนื้อหาได้

ถูกต้องสมบูรณ์

2. ตอบคำถามจาก เนื้อหาได้ถูกต้อง สมบูรณ์

3. อธิบายเนื้อหา ใหม่ๆ ที่เกี่ยวได้

ถูกต้องสมบูรณ์

4. เลือกข้อมูลที่

ถูกต้องสมบูรณ์ใน เวลาที่กำหนด

นักเรียนสามารถ การผสมผสาน เนื้อหาและ แนวความคิด เดิมหรือได้ 3 ข้อ

นักเรียนสามารถ การผสมผสาน เนื้อหาและ แนวความคิดเดิม หรือได้ 2 ข้อ

นักเรียนสามารถ การผสมผสาน เนื้อหาและ แนวความคิดเดิม หรือได้ 1 ข้อ

ความคิดริเริ่ม (Originality)

ความแปลก ใหม่

คิดแปลกใหม่

แตกต่างจาก เดิม/ดัดแปลง/

ประยุกต์

และสามารถ นำไปใช้

ประโยชน์ได้

อย่างถูกต้อง

คิดแปลกใหม่

แตกต่างจากเดิม/

ด ั ด แ ป ล ง / ประยุกต์ และ สามารถนำไปใช้

ประโยชน ์ ไ ด้

อย ่ างถู กต้ อง มากกว่า 2 ข้อ

ค ิ ด แ ป ล ก ใ ห ม่

แตกต่างจากเดิม/

ดัดแปลง/ประยุกต์

แ ล ะ ส า ม า ร ถ นำไปใช้ประโยชน์

ได้อย่างถูกต้อง บางส่วน

ค ิ ดแปลกใหม่

แตกต่างจากเดิม/

ดัดแปลง/ประยุกต์

และสามารถนำไปใช้

ประโยชน์ได้อย่าง ถูกต้องเป็นส่วน น้อย

ตารางที่ 14 แสดงเกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ)

ความคิด

สร้างสรรค์ ประเด็น ระดับคุณภาพ

มากที่สุด (4) มาก (3) ปานกลาง (2) น้อย (1)

ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)

จัดประเภท/

กลุ่ม

จ ั ด ล ั ก ษ ณ ะ / ประเภท/กลุ่ ม คำตอบได้อย่าง หลากหลาย

จ ั ดล ั ก ษ ณะ/

ประเภท/กลุ่ ม คำตอบได้อย่าง ห ล า ก ห ล า ย มากกว่า 2

จ ั ดล ั ก ษณะ/

ประเภท/กลุ่ ม คำตอบได้อย่าง ห ล า ก ห ล า ย มากกว่า 1

จัดลักษณะ/

ประเภท/กลุ่ม คำตอบได้อย่าง หลากหลายได้

เพียง 1 ความคิด

ละเอียดลออ (Elaboration)

รายละเอียด คำตอบ

บอกรายละเอียด เกี่ยวกับคำตอบ และเช ื ่ อมโยง ความสัมพันธ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

บอกรายละเอียด เกี่ยวกับคำตอบ และเชื่อมโยงความ สัมพันธ์ต่าง ๆ ได้

บางส่วน

บอกรายละเอียด เกี่ยวกับคำตอบ และเช ื ่ อมโยง

ความสัมพั นธ์

ต่าง ๆ ได้ส่วนเดียว

บอกรายละเอียด เกี่ยวกับคำตอบ และเชื่อมโยง ความสัมพันธ์

ต่าง ๆ ได้ไม่

ชัดเจน

สำหรับการให้ความหมายของค่าที่วัด ผู้วิจัยกำหนดเกณฑที่ใช้ในการวิจัยโดยการให้ระดับ คะแนนจากแบบประเมินความความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ แบบ Rubrics แยกองค์ประกอบ (Analytic Score) โดยใช้แบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ คือ 4 หมายถึง มากดีที่สุด 3 หมายถึง มาก 2 หมายถึง ปานกลาง และ 1 หมายถึง น้อย การแปลผลระดับคุณภาพจากคำถามแบบมาตรส่วน ประมาณค่า 4 ระดับ กำหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ย ตามแนวทางของ บุญชม ศรีสะอาด (2535 : 100) ดังนี้

ตารางที่ 15 แสดงเกณฑ์การแปลความหมายการประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

ค่าเฉลี่ย ระดับการประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

3.51 - 4.00 มากที่สุด

2.51 - 3.50 ระดับมาก

1.51 - 2.50 ระดับปานกลาง

1.00 - 1.50 ระดับน้อย

ขั้นตอนที่ 3 นำแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ เพื่อพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ดังนี้

1. ปรับเนื้อหาในระดับคุณภาพให้มีความถูกต้อง เหมาะสม 2. ปรับปรุงภาษาของรายการประเมินให้มีความเหมาะสมมากขึ้น

3. ปรับเกณฑ์การให้คะแนนโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนที่ 4 นำแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ

ทั้ง 3 คน ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตามข้อมูลที่กล่าวแล้ว หน้า 91 เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการวัด และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) และความถูกต้องโดยการนำแบบประเมิน

ไปหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยคำนวณหาค่า ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Objective Congruence : IOC) ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความ สอดคล้องมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00

ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้ภาษาที่สื่อความหมายเพื่อให้เข้าใจง่าย และมีความชัดเจน

ขั้นตอนที่ 6 นำแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการวิจัยโดย ประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังจากจบหน่วยการเรียนรู้

สรุปขั้นตอนการสร้างแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ดังแผนภาพที่ 5

ศึกษารูปแบบการสร้างแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และกำหนดประเด็นการประเมิน สร้างเกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ

นำแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อพิจารณาความ ถูกต้องของเนื้อหาแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข

นำแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของเนื้อหา (Content Validity) โดยคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Objective Congruence :

IOC)

ปรับปรุงแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ นำแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย

แผนภาพที่ 5 ขั้นตอนการสร้างแบบประมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

5. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ซึ่งเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ คือ

5 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 4 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 3 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง 2 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยน้อย 1 หมายถึง ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยน้อยที่สุด

ข้อคำถามแบ่งเป็น 3 ประเด็น 1) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้

3) ด้านประโยชน์ที่ได้รับ จำนวน 15 ข้อ มีขั้นตอน ดังนี้

1. ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้

2. สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

โดยเกณฑ์การแปลระดับความคิดเห็นของ (Best, 1981 : 147, อ้างถึงใน กาญจนา วัฒนายุ 2544 : 99) โดยแบบสอบถามความคิดเห็นแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ความเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ

ตอนที่ 2 ความเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ นอกเหนือจากที่นักเรียนตอบแบบสอบถามตอนที่ 1 สำหรับการให้ความหมายของค่าที่วัด ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการแปลผล ดังตารางที่ 16

ตารางที่ 16 แสดงเกณฑ์การแปลความหมายระดับความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ค่าเฉลี่ย ระดับการประเมินคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

4.50 – 5.00 เห็นด้วยมากที่สุด

3.50 – 4.49 เห็นด้วยมาก

2.50 – 3.49 เห็นด้วยปานกลาง

1.50 – 2.49 เห็นด้วยน้อย

1.00 – 1.49 เห็นด้วยน้อยที่สุด

3. นำแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาแล้วนำมาปรับปรุง แก้ไข

4. นำแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบ

เสาะหาความรู้ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตามข้อมูลที่กล่าวแล้ว หน้า 91 เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) โดยคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Objective Congruence : IOC) ผลการวิเคราะห์

ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00

5. ปรับปรุงแบบสอบถามความคิดเห็น โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้ภาษาที่มี

ความชัดเจน เข้าใจง่าย เหมาะสมกับนักเรียน เพื่อความสมบูรณ์ของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

6. การนำแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย จากการดำเนินการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

สรุปขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้ ได้ดังแผนภาพที่ 6

ศึกษารูปแบบการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ให้เหมาะสมกับระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

นำแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้

เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข

นำแบบสอบถามความคิดเห็นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) โดยคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Objective

Congruence : IOC)

ปรับปรุงแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ตามคำแนะนำของอาจารย์

ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ

นำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย

แผนภาพที่ 6 ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้