• Tidak ada hasil yang ditemukan

วิเคราะห์งานได้อย่างละเอียด

บทที่ 1 บทนำ

4. วิเคราะห์งานได้อย่างละเอียด

5. ภาษาที่ใช้อธิบายคุณลักษณะงาน จำแนกคุณภาพของงานได้ถูกต้อง 6. สามารถตัดสินงานได้ถูกต้อง

7. อธิบายได้อย่างชัดเจนในแต่ละระดับของคะแนน และมีความแม่นตรงในการให้ คะแนนใน ตัวของมันเอง

8. ตัดสินใจให้คะแนนจากผลการปฏิบัติ มากกว่ากระบวนการ รูปแบบเนื้อหา หรือความ ตั้งใจในการทำงาน นอกจากนี้ คุณลักษณะของ rubrics ต้องมีลักษณะ ดังนี้

1) คะแนนต้องมีลักษณะต่อเนื่อง (continuous) กล่าวคือ ให้คะแนนเป็นจำนวนเต็ม เช่น ให้คะแนนเป็น 5 4 3 2 และ 1 คะแนนแต่ละคะแนนมีความห่างเท่ากัน

2) มีความสอดคล้องกัน (coherent) ในแต่ละระดับของการให้คะแนน 3) มีความเกี่ยวเนื่องกัน (coherent) ในแต่ละระดับของการให้คะแนน

4) น้ำหนักการให้คะแนนในแต่ละระดับมีความเหมาะสม (aptly weighted) มีเหตุผล (not arbitrary) น้ำหนักของคะแนนในแต่ละระดับสามารถอ้างอิงไปยังระดับอื่น ๆ ได้

5) มีความเที่ยงตรง (valid) คะแนนในแต่ละระดับ แสดงถึงคุณภาพของการปฏิบัติ

เป็นสิ่งสะท้อนถึงคุณภาพของงาน ไม่ได้เน้นถึงปริมาณ แต่เป็นเกณฑ์ตามสภาพจริง (authentic criteria)

6) เชื่อถือได้ (reliable) กล่าวคือ มีความคงเส้นคงวาในการให้คะแนน ถึงแม้ใครจะ เป็นผู้ประเมินและจะประเมินในช่วงเวลาใดก็ตามการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการประเมินพฤติกรรม การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Formative assessment) ดังนี้คือ ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานทั้ง 8 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต (Observing) ทักษะการวัด (Measuring) ทักษะการคำนวณ (Using Numbers) ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) ทักษะการหา

ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Using Space/Time Relationship) ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication) ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) และทักษะการพยากรณ์ (Predicting)

จากการประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์ข้างต้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า การประเมินทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถประเมินได้ 2 รูปแบบ คือการประเมินโดยใช้แบบทดสอบชนิด เลือกตอบ (Multiple-choice paper and-pencil test) และการประเมินโดยใช้แบบประเมินทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Performance assessment) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจะทำการประเมิน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการประเมินพฤติกรรมการใช้ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ (Performance assessment)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

งานวิจัยในประเทศ

ภารดี กล่อมดี (2560) ได้ศึกษาผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้(5E) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 20 คน โดยการการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยชุดแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบเลือกตอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวัดข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ t-test for Dependent Samples ผลการศึกษาพบว่า ชุดแบบฝึกทักษะร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สามารถนำมาใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของ นักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึก ทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แต่ไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกอยู่ในระดับมาก

รุ่งนภา ชาพิทักษ์ (2560) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 เป็นการวิจัยแบบทดลองขั้นต้น (Pre – Experimental Research Design) กลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 14 คน โดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิจัยใช้

พื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning

: PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด พบว่า ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.23 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 85.71

ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้

แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อย

กว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้

แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.06 ของคะแนนเต็ม และจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 85.71 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) พบว่า ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ ( = 4.83) เมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้ว อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยที่ ( = 4.91) คะแนน ด้านครูผู้สอน มีคะแนนเฉลี่ยที่ (= 4.89) คะแนน ด้านการจัดการเรียนการสอนมีคะแนนเฉลี่ยที่

( = 4.83) คะแนน ด้านการวัดและประเมินผล มีคะแนนเฉลี่ยที่ ( = 4.81) คะแนน และค่าเฉลี่ยต่ำ ที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยที่ (= 4.74) คะแนน

ฉัตรลดา สัพโส, นิติธาร ชูทรัพย์, ถาดทอง ปานศุภวัชร และ ปัญญา นาแพงหมื่น (2561) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวันโดยการจัด

การเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนาหว้า ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ประจำ ปีการศึกษา 2561 อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

นครพนม เขต 2 จำนวนนักเรียน 36 คน ซึ่งมาจากเทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผังความคิด แบบประเมิน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติวิทยาศาสตร์

ความคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและด้วยการทดสอบค่าที

แบบไม่อิสระ (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โมเดลซิป

ปาร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.41/76.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผัง ความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผังความคิดหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .01 และ4) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปาร่วมกับแผนผังความคิดอยู่ในระดับมาก

ณัฐธิดา นาคเสน (2561) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พลังงานในชีวิตประจำวัน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม ศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียน

ชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 1 มีนักเรียนจำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย

1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent

Samples) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง พลังงานในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 87.40/82.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ที่ระดับ .01 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมาก ที่สุด

ทิพย์ตะวัน แก้วเพ็ชร และบรรณรักษ์ คุ้มรักษา (2561) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง การสังเคราะห์แสงของพืช ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 35 คน ของโรงเรียน

มัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้

วิจัยเป็นฐาน เรื่องการสังเคราะห์แสง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 แผน ใช้ระยะเวลาจัดกิจกรรม 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ ทำการสังเกต พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์โดย การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อนำมาแปลผลการวิจัย จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัย เป็นฐานครั้งนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างให้อยู่ในระดับดี

นรัตน์ชนก โสภา, ถาดทอง ปานศุภวัชร, นิติธาร ชูทรัพย์ (2561) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ