• Tidak ada hasil yang ditemukan

การกระจายของภารกิจการอ่านตามประเภทของข้อเขียน

บทที่ 2

ตาราง 3 การกระจายของภารกิจการอ่านตามประเภทของข้อเขียน

19 ถ้อยความที่เป็นข้อเขียนอาจจำแนกประเภทได้ตามเกณฑ์ที่พิจารณาทั้งลักษณะของตัวสื่อ รูปแบบ และสำนวนภาษาเป็นประเภทต่างๆ สรุปได้ดังนี้

จุดเด่นที่สำคัญของการประเมินผล PISA 2009 อีกประการหนึ่งคือ นักเรียนจะได้อ่านสื่อที่มี

สำนวนภาษาที่กระจายครบทุกแบบ โดยมีสัดส่วน ดังสรุปในตาราง 2 โดยมีข้อสังเกตว่าการอ่านถ้อย ความต่อเนื่องมีน้ำหนักถึงสองในสามของภารกิจการอ่านทั้งหมด โดยน้ำหนักมากที่สุดอยู่ที่การบอก กล่าว อธิบาย แลน้ำหนักน้อยที่สุดอยู่ที่คำสั่งหรือวิธีทำ ส่วนถ้อยความที่ไม่ต่อเนื่องมีน้ำหนักหนึ่งใน สามของการประเมินทั้งหมด โดยน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่การพรรณนา ซึ่งจะอยู่ในรูปของตาราง แผน ที่ แผนผัง หรือ กราฟ ส่วนที่เหลืออาจเป็นรูปแบบอื่นๆ ที่กระจายเท่าๆ กัน ยกเว้นการบรรยายซึ่งไม่

มีในถ้อยความที่ไม่ต่อเนื่อง

สำนวนของถ้อยความ % ของภารกิจของ ถ้อยความต่อเนื่อง

% ของภารกิจของ ถ้อยความไม่ต่อเนื่อง

% ในข้อสอบ

การพรรณนา 10 - 15 15 - 20 30 - 35

การบรรยาย 10 - 15 0 10 - 15

การบอกเล่าหรือ อธิบาย

20 - 25 5 - 10 30 - 35

การโต้แย้ง 10 - 15 5 - 10 10 - 15

คำสั่ง (วิธีทำ/วิธี

ปฏิบัติ)

5 - 10 5 - 10 10 - 15

รวม 67 33 100

20 กลยุทธ์ทั้งห้าด้านนี้ไม่ใช่เป็นทักษะที่เป็นลำดับขั้นต่อเนื่องกัน การที่จะอ่านแล้วเข้าใจในถ้อย ความที่ได้อ่านอย่างแจ่มชัด ต้องอาศัยกลยุทธ์ทั้งหมดดังกล่าว การประเมินการอ่านนี้คาดหวังว่าผู้อ่าน ควรจะสามารถแสดงความสามารถในด้านต่างๆ ทั้งห้าเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง ในทางปฏิบัติไม่อาจใช้

เวลามากเกินไป การประเมินต้องทำให้กระชับ

ในปีค.ศ.2006 PISAได้กำหนดจุดประสงค์ของการประเมินการอ่าน เพื่อประเมินว่านักเรียน ได้พัฒนาศักยภาพในการอ่านของตนและสามารถใช้การอ่านให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ในการมี

ส่วนร่วมในกิจกรรมและความเป็นไปของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตหรือไม่เพียงใด การอ่าน ที่ PISA ประเมิน เน้นการอ่านสามลักษณะด้วยกัน (โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการ สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2550) คือ

1.การค้นคืนสาระ (Retrieving information)

2.แปลความ/การตีความ (Interpretation)สิ่งที่ได้อ่าน รวมทั้งคิดวิเคราะห์เนื้อหา และรูปแบบของข้อความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ

3.การสะท้อนและประเมิน (Reflection and Evaluation) สิ่งที่อ่านสามารถให้

ความเห็น หรือโต้แย้งจากมุมมองของตนความสามารถในการประเมินข้อความที่ได้อ่าน

ในปีค.ศ.2012 PISAได้กำหนดกระบวนการของการอ่านเป็นกลยุทธ์การอ่าน ซึ่งหมายถึง การ คิดหรือการใช้สติปัญญาที่ ผู้อ่านใช้ในการพิจารณาถ้อยความที่อ่าน สำหรับกระบวนการที่ PISA ให้

ความสำคัญ และต้องการประเมินในการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์นั้นคาดหวังให้นักเรียนแสดงความสามารถใน กระบวนการต่อไปนี้ (โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี, 2557)

1.การเข้าถึงและค้นคืนสาระ (Access and retrieve) 2.การบูรณาการและตีความ (Integrate and interpret) 3.การสะท้อนและประเมิน (Reflect and evaluate)

การอ่านเพื่อค้นคืนสาระข้อมูลต่าง ๆ เช่น ต้องการทราบราคาสิ่งของ หมายเลขโทรศัพท์ วัน เวลาของการแสดงหรือกิจกรรมต่าง ๆ ราคาหุ้นหรือราคาทองค้าในตลาด หรือต้องการทราบ

ข้อเท็จจริง เมื่อมีผู้มากล่าวอ้างหรือชวนเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นต้น ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้อ่าน ต้องการสาระ หรือข้อมูลเดี่ยวแต่ละชิ้นเฉพาะเรื่องไป ผู้อ่านจึงต้องใช้วิธีมองหาเฉพาะ สาระหรือ ข้อมูลที่ต้องการ โดยมองข้ามสาระอื่น ๆ ไป เช่น การมองหาประโยคหนึ่งหรือสอง ประโยคเท่านั้นที่

บอกถึงสาระที่ต้องการ ในการค้นคืนสาระนักเรียนก็จะต้องมองหาความคล้ายคลึงกันหรือจับคู่กัน ระหว่างสาระที่ บอกให้ในค้าถามกับค้าที่เหมือนกัน หรือที่มีความหมายเหมือนกันในถ้อยความที่ให้

อ่าน แล้วใช้เพื่อตอบค้าถาม การค้นคืนสาระจะขึ้นอยู่กับถ้อยความที่อ่านเท่านั้นและจะมีสาระหรือ เนื้อความที่ชัดเจนอยู่ในนั้น กลยุทธ์ที่เป็นประโยชน์ในการค้นคืนสาระ ได้แก่ นักเรียนจะต้องมองหา

21 ให้ได้ว่าค้าถามถาม อะไร เช่น ถามตัวละคร ถามเวลา สถานที่ แล้วจึงมองหาเนื้อหาสาระที่เข้าคู่กับค้า ถาม ซึ่ง อาจจะปรากฏอยู่ในรูปของตัวหนังสือที่ชัดเจน หรือในค้าที่มีความหมายอย่างเดียวกัน การ ค้นคืนสาระบางครั้งก็จะมีความกำกวมเป็นสองนัยอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจถูก บอกให้เลือก สาระเนื้อความที่เด่นชัด เช่น เวลา หรือสถานที่ที่บอกไว้ในถ้อยความหรือใน ตาราง หรือในระดับที่

ยากขึ้น การตอบค้าถามภารกิจนี้นักเรียนอาจต้องมองหาสาระที่มี ความหมายท้านองเดียวกัน หรือ คล้ายกัน บางครั้งจึงต้องอาศัยทักษะในการจำแนกแยกแยะ หรือทักษะในการบอกความแตกต่างของ สาระที่มีความใกล้เคียงกัน ระดับของภารกิจที่ยาก ขึ้น ก็จะเป็นตัวกำหนดระดับสมรรถนะของการ อ่านด้วย การบูรณาการและตีความต้องการให้ผู้อ่านขยายความคิดจากการอ่านเฉพาะหน้า พัฒนา ไปสู่การเข้าใจสิ่งที่ได้อ่านให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะที่เรียกว่าความเข้าใจอย่างมี ตรรกะ (Logical understanding) นั่นคือ ผู้อ่านต้องดำเนินการจัดระเบียบของสาระเนื้อหา ในถ้อยความ โดยต้องเข้าใจว่าตัวเชื่อมโยงเนื้อหาคืออะไร แม้ว่าตัวเชื่อมนั้นจะไม่ปรากฏ อย่างชัดแจ้งก็ตาม บางครั้งผู้อ่านต้องท้าสองประโยคให้เป็นประโยคเดียวกัน โดยเลือก ตัวเชื่อมที่อยู่ในนั้น อาจใช้ค้าที่

บอกความหมายของล้าดับ เช่น ใช้ค้าว่า ประการแรก ประการหลัง เป็นต้น ในระดับที่ยากขึ้นผู้อ่าน อาจต้องบอกล้าดับความสัมพันธ์โดยใช้ความ เป็นเหตุเป็นผล เช่น อะไรเป็นเหตุของอะไร หรือเป็นผล มาจากอะไร ตัวอย่างของภารกิจนี้ ได้แก่ การบอกสาระที่เหมือนกันหรือขัดแย้งกัน แตกต่างกัน การ บอก ความเหมือนกันหรือขัดแย้งกัน นักเรียนต้องใช้สาระหรือข้อมูลมากกว่าสองอย่างขึ้นไปจาก ถ้อย ความที่อ่าน หรือการอ้างอิงไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง นักเรียนต้องอ้างถึงความตั้งใจของผู้เขียน ต้องระบุหรือท้า รายการประจักษ์พยานที่ใช้ในการอ้างถึงนั้น การสะท้อนและประเมินการอ่านประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ การสะท้อนและประเมินเนื้อหา สาระ และการสะท้อนและประเมินโครงสร้าง การสะท้อนและ ประเมินเนื้อหาสาระ ผู้อ่านต้อง สามารถใช้ความรู้จากภายนอกมาเชื่อมโยงกับสาระในถ้อยความที่

อ่านเฉพาะหน้า ผู้อ่าน ต้องรู้จักประเมินสาระที่กล่าวอ้างในถ้อยความนั้นโดยเทียบกับความรู้ในโลก ของความเป็น จริงที่ตนเองมีอยู่ บางครั้งค้าถามจะให้แสดงความคิดเห็นของตนเองต่อสิ่งที่ได้อ่าน ใน การนี้ ผู้อ่านต้องสร้างความเข้าใจก่อนว่าข้อความนั้นบอกอะไรและมีความตั้งใจอย่างไร แล้วน้ามา เทียบกับความรู้หรือความเชื่อของตนบนพื้นฐานของสาระหรือข้อมูลที่ได้รู้หรือเชื่อมาก่อนหรือเทียบ กับข้อความที่ปรากฏที่อื่น ผู้อ่านต้องแสดงหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนโดยเทียบ ความแตกต่างของ สาระในถ้อยความนั้นกับแหล่งอื่น ใช้ทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะ เรื่องมาประกอบ ตลอดจนใช้

ความเป็นเหตุเป็นผลประกอบความคิดเห็นที่สะท้อนออกมา การสะท้อนและประเมินโครงสร้าง ต้องการให้ผู้อ่านไม่ยึดติดกับสาระที่อ่าน แล้วพิจารณา อย่างตรงไปตรงมา และพิจารณาถึงคุณภาพ และความเหมาะสมของการเขียน สิ่งที่เข้ามามี บทบาทสำคัญที่ต้องใช้ ได้แก่ ความรู้ในโครงสร้างของ ถ้อยความ ศิลปะของการเล่าเรื่องและ ล้าดับการบันทึกเรื่องราว เพราะสิ่งเหล่านี้คือศิลปะการเขียน ของผู้เขียน และจะท้าให้ผู้อ่าน สามารถประเมินชิ้นงานลักษณะนี้ได้ การประเมินความสำเร็จของการ

22 เขียนไม่เพียงแต่ต้องการ ความรู้แม่นอย่างเดียว หากยังต้องการความเข้าใจถึงความละเมียดละไมของ ภาษา เช่น เข้าใจว่าต้องเลือกใช้ค้าศัพท์ค้าใดจึงจะสามารถมองเห็นภาพหรือตีความได้ดี ตัวอย่างการ ประเมินตามเกณฑ์นี้ ได้แก่ การบอกจุดประสงค์ของการเขียนถึงการใช้เฉพาะอย่าง การบอก ลักษณะ เด่นที่ผู้เขียนใช้เขียนเพื่อน้าไปสู่เป้าหมายหรืออาจให้นักเรียนบอกเป้าหมายของ ผู้เขียนหรือบอกถึง ความรู้สึกของผู้เขียนที่เขียนถ้อยความนั้นขึ้น

ในปีค.ศ.2015 PISAได้กำหนดสมรรถนะด้านการรู้เรื่องการอ่านไว้ดังนี้ (OECD, 2016) 1.การเข้าถึงและค้นคืนสาระ

• รู้ขอบเขตของข้อมูลว่าข้อมูลที่เราต้องการอยู่ในตำแหน่งใด ของเรื่องที่อ่าน

• จำแนกความเหมือนและความต่างของข้อมูลที่มีอยู่ในเนื้อเรื่อง 2.การบูรณาการและตีความ

• แสดงความเข้าใจโดยสามารถระบุใจความสำคัญหรือ จุดประสงค์ของเรื่อง

• เชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อทำให้ เกิดความเข้าใจเรื่องที่อ่าน

• ตีความเนื้อเรื่องเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่อ่านได้ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 3.การสะท้อนและประเมิน

• วิเคราะห์เนื้อเรื่อง รูปแบบ และวิธีการเขียนของเรื่องที่อ่าน

• ประเมิน แสดงความคิดเห็น และให้ข้อโต้แย้งจาก มุมมองของตนเองได้

การอ่านของ PISA จึงตั้งเกณฑ์การประเมินสรุปรวมไว้เป็นภารกิจการอ่านที่ครอบคลุม สาม ด้านกว้างๆ ได้แก่

1.การเข้าถึงและค้นคืนสาระ (Access and retrieve) 2.การบูรณาการและตีความ (Integrate and interpret) 3.การสะท้อนและประเมิน (Reflect and evaluate) แต่ละกลยุทธ์มีคำขยายความดังต่อไปนี้

การเข้าถึงและค้นคืนสาระ

การอ่านเพื่อค้นหาสาระข้อมูลต่างๆ เช่น ต้องการทราบราคาสิ่งของ หมายเลขโทรศัพท์ วัน เวลาของการแสดงหรือกิจกรรมต่างๆ ราคาหุ้นหรือทองคำในตลาด หรือ ต้องการทราบข้อเท็จจริงเมื่อ มีผู้มากล่าวอ้างหรือชวนเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นต้น ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้อ่านต้องการสาระ หรือ ข้อมูลเดี่ยวแต่ละชิ้นเฉพาะเรื่องไป ผู้อ่านจึงต้องใช้วิธีมุ่งมองหาเฉพาะสาระหรือ ข้อมูลที่ต้องการ โดย มองข้ามสาระอื่นๆ ไป เช่นการมองหาประโยคหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้นที่บอกถึงสาระที่ต้องการใน การค้นคืน สาระนักเรียนก็จะต้องมองหาความคล้ายคลึงกันหรือจับคู่กัน ระหว่างสาระที่บอกให้ในคำ ถามกับคำที่เหมือนกัน หรือที่มีความหมายเหมือนกันในถ้อยความที่ให้อ่าน แล้วใช้เพื่อตอบคำถาม การค้นคืนสาระ จะขึ้นอยู่กับถ้อยความที่อ่านเท่านั้นและจะมีสาระหรือเนื้อความที่ชัดเจนอยู่ในนั้น