• Tidak ada hasil yang ditemukan

ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนของครู

บทที่ 2

ตาราง 7 การเปรียบเทียบประเภทของโปรแกรม

4. ขั้นประเมินผล มอบรางวัล ประกอบด้วย

4.1 ประโยชน์ของการใช้แผนภูมิรูปภาพความคิด

4.1.2 ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนของครู

1. ช่วยให้ครูสามารถใช้แผนภูมิรูปภาพความคิดในการเตรียมการสอน ซึ่งจะ ช่วยบูรณาการเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

2. ช่วยให้ครูสามารถฝึกฝนทักษะปัญญาให้เกิดแก่ผู้เรียนได้ง่ายขึ้น ทำให้

นักเรียนอ่านด้วยตนเอง ได้รับการฝึกให้คิด ประเมินข้อเขียน ถ่ายโอนข้อมูลในขณะอ่านอย่างอื่น 3. ช่วยให้ครูเป็นแนวทางในการกำหนดประเด็นอภิปราย

4. ช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนการคิดของนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

5. ช่วยเป็นแนวทางในการปฏิบัติการทดลองให้ครู ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจ และปฏิบัติการทดลองได้ตามวัตถุประสงค์

6. ช่วยให้ครูสามารถประเมินพัฒนาการทักษะการคิดของนักเรียนได้อย่าง ต่อเนื่องจากแผนภูมิรูปภาพความคิดของนักเรียน

4.2 ประโยชน์ของแผนภูมิรูปภาพความคิด สามารถสรุปได้ 3 ประเด็น ดังนี้

4.2.1 ใช้แผนภูมิรูปภาพความคิดในการวางแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ก่อนลงมือ ปฏิบัติเพื่อให้งานนั้นดาเนินไปตามขั้นตอนสะดวกและง่ายขึ้น

4.2.2 ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการให้สรุปสิ่งที่เรียน เป็นแผนภูมิรูปภาพความคิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์เดิมและเชื่อมโยง ความคิดจากการเรียนรู้ใหม่ได้

4.2.3 ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยการสรุปความรู้ที่ได้จากการอ่านเอกสาร ตารา ต่าง ๆ เขียนเป็นแผนภูมิ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมด สามารถใช้อ่านทบทวนได้

เมื่อต้องการและจดจำได้นาน

70 การประเมินโปรแกรมด้วย CIPPIEST

จำเนียร สุขหลายและคณะ(2544:223-231)ได้อธิบายรูปแบบการประเมิน ซิปป์ CIPP MODELการประเมินแบบต่างๆมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม(Context Evaluation) การประเมิน

สภาพแวดล้อมเป็นรูปแบบพื้นฐานของการประเมินโดยทั่วไป เป็นการประเมินเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล จะช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการโดยจะเน้นในด้านความสัมพันธ์เกี่ยวกับ

สภาพแวดล้อมและความต้องการเป็นจริงไขที่เป็นจริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม นอกจากนี้

ยังช่วยในการวินิจฉัยปัญหาเพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ การประเมิน สภาพแวดล้อมมีลักษณะต่างๆที่สำคัญมากมาย จะเป็นการวิเคราะห์ขนาดใหญ่ เป็นตัวกำหนด ขอบเขตการประเมินบรรยายและการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมนอกจากนี้ยังช่วยให้ทราบถึงตัวแปรที่

เกี่ยวข้องไม่มีความสำคัญสำหรับการบรรลุเป้าหมายการประเมินสภาพแวดล้อม ทำให้ได้มาซึ่งการ เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์โดยอาศัยการวินิจฉัยรายการจัดเรียงลำดับปัญหาให้สอดคล้องกับความ ต้องการ ของการประเมินและสถานการณ์ วิธีการประเมินสภาพแวดล้อมมี 2 วิธีคือ

1.1 Contingency Mode 1.2 Congruence Mode

Contingency Mode เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมเพื่อหาโอกาส และแรงผลักดัน จากภายนอกระบบ(Opportunities and Pressure Outside of the Immediate System) เพื่อให้

ได้ข้อมูลมาใช้พัฒนาส่งเสริมโครงการให้ดีขึ้น โดยใช้การสำรวจปัญหาภายในขอบเขตที่กำหนดความ กว้างๆ เช่น การสำรวจงานวิจัยและวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง การประเมินค่านิยมของชุมชน ข้อเสนอแนะ ต่างๆแนวโน้มของการพัฒนาเศรษฐกิจ สถิติประชากร เป็นต้น การสำรวจปัญหาเหล่านี้สามารถที่จะ คาดการณ์เกี่ยวกับอนาคต ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวางแผนโครงการต่อไปคำถามที่ใช้ในการประเมิน สภาพแวดล้อมแบบ Contingency Mode คือคำถามประเภท “ถ้า...แล้ว”

Congruence Mode เป็นการประเมินโดยเปรียบเทียบระหว่างการปฏิบัติจริงกับ วัตถุประสงค์ที่วางไว้ การประเมินแบบนี้ทำให้เราทราบว่าวัตถุประสงค์ใดบ้างที่ไม่สามารถบรรลุ

เป้าหมายได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการประเมินสภาวะแวดล้อมจะได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับระบบ เพื่อประโยชน์สำหรับผู้บริหารในทางปฏิบัติ สถาบันการศึกษาควรจะได้มีการประเมินสภาวะแวดล้อม เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็น Contingency Mode and Congruence Mode การกำหนด เป้าหมายและคุณค่าของระบบจำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพื่อดูว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ใช้วิธีแบบ Congruence Mode แต่ในสภาของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความต้องการของบุคคล และสถานที่จะเป็นตัวหลักของการเปลี่ยนแปลงดังนั้นจึงควรใช้วิธีแบบ Contingency Mode โดยใช้

71 คำถามแบบ “ถ้า...แล้ว”เพื่อตัดสินว่าเป้าหมายและนโยบายเดิมนี้ควรจะได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่ ดังนั้นการประเมินสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ควรจะใช้การประเมินทั้ง 2 แบบเพราะ Congruence Mode เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุประสงค์ในขณะที่ Contingency Mode เป็นไปเพื่อปรับปรุง

ในการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดทิศทาง ของหน่วยที่จะประเมินเพื่อที่จะได้สอดคล้องกับนโยบาย และการตัดสินใจในการบริหารของระบบ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างนักประเมินกับผู้บริหารนักประเมินจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา การตัดสินใจในปัจจุบันและข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการที่ต้องการขายเพื่อการตัดสินใจในอนาคตแก่

ผู้บริหาร

2.การประเมินปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation)เป็นการจัดหาข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสิน ความเหมาะสมของแผนงานต่างๆที่จัดขึ้นโดยดูว่าข้อมูลนั้นจะมีส่วนช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายของ โครงการหรือไม่ซึ่งมักจะประเมินในด้านต่างๆคือ

2.1ความสามารถของหน่วยงานและตัวแทนในการจัดโครงการ 2.2ยุทธวิธีที่ใช้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

2.3การได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆซึ่งจะช่วยให้โครงการดำเนินไปได้เช่นหน่วยงาน ที่จะช่วยเหลือ เวลา เงินทุน อาคารสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือ

ผลที่ได้จากการประเมินปัจจัยเบื้องต้น คือการวิเคราะห์รูปแบบของวิธีการที่ใช้ในรูปของราคา และกำไร(Cost and Benefit) ที่จะได้รับโดยการประเมินในด้านอัตรากำลังเวลางบประมาณวิธีการที่

มีศักยภาพแต่ถ้าเป็นการประเมินด้านการศึกษาผลกำไรอาจจะไม่อยู่ในรูปตัวเลขก็ได้การประเมิน ปัจจัยเบื้องต้นนี้จะช่วยให้ข้อมูลที่ตัดสินใจได้ว่าควรตั้งวัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติอย่างไรใช้อัตรากำลัง เท่าใดวางแผนงานและดำเนินการอย่างไรซึ่งจะแตกต่างจากการประเมินสภาวะแวดล้อมในแง่ที่ว่าการ ประเมินปัจจัยเบื้องต้นเป็นการทำเฉพาะกิจนั้นๆและวิเคราะห์ภายในโครงสร้างเท่านั้น

3. การประเมินกระบวนการ(Process Evaluation)เมื่อแผนการดำเนินการได้รับอนุมัติ

และลงมือการประเมินกระบวนการจำเป็นต้องได้รับการเตรียมการเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับแก่

ผู้รับผิดชอบและผู้ดำเนินการทุกลำดับขั้นการประเมินกระบวนการมีวัตถุประสงค์ใหญ่อยู่ 3 ประการ คือ

3.1 เพื่อหาและทำนายข้อบกพร่องของกระบวนการหรือการดำเนินการตามขั้นตอนที่

วางไว้

3.2 รวบรวมสารนิเทศสำหรับผู้ตัดสินใจวางแผนงาน 3.3 เพื่อเป็นรายงานสะสมถึงการปฏิบัติต่างๆที่เกิดขึ้น

72 โดยสรุปภายใต้การประเมินกระบวนการสารนิเทศจะถูกวิเคราะห์รวบรวมและนำเสนอเข้าที่ผู้

ดำเนินโครงการต้องการสารนิเทศนั้นอาจจะบ่อยทุกวันถ้าจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะแรกๆ ของโครงการทั้งนี้การประเมินนี้ไม่เพียงแต่ให้สารนิเทศที่ต้องการแก่ผู้ตัดสินใจในการคาดคะเน ล่วงหน้าและการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาเท่านั้นแต่ยังต้องบันทึกสารนิเทศของกระบวนการสำหรับแปล ความหมายของความสำเร็จของโครงการด้วย

4. การประเมินผลผลิต(Product Evaluation)มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดและแปรความหมาย ของความสำเร็จไม่เฉพาะเมื่อสิ้นสุดวัฏจักรของโครงการเท่านั้นแต่ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งในระหว่าง การปฏิบัติตามโครงการด้วย

ระเบียบพิธีทั่วไปของการประเมินผลจะรวมสิ่งต่อไปนี้เข้าไว้ด้วยกันวิธีการดูว่าการกำหนด วัตถุประสงค์นั้นนำไปใช้ได้หรือไม่เกณฑ์ในการวัดที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมคือ อะไรเปรียบเทียบผลที่วัดมาได้กับมาตรฐานสมบูรณ์(Absolute Criteria)หรือมาตรฐานสำคัญ (Relative Criteria)ที่กำหนดไว้ก่อนและทำตามการแปลความหมายถึงเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัย รายงานจากการประเมินสภาวะแวดล้อมปัจจัยและกระบวนการร่วมด้วย ผังการประเมินสภาวะ แวดล้อมและการประเมินผลผลิตจะประเมินสิ่งที่มีอยู่ว่าบรรลุเป้าหมายใดอย่างมีระบบโดยที่การ ประเมินสภาวะแวดล้อมจะพิจารณาระบบโดยส่วนรวมและการประเมินผลผลิตภัณฑ์พิจารณาความ พยายามเปลี่ยนแปลงระบบดังนั้นการประเมินสภาวะแวดล้อมสิ่งประดิษฐ์ปิ่นจําเพาะในรูปที่การ ประเมินผลจะนำไปใช้ในภายหลัง

การประเมินปัจจัยและการประเมินผลผลิต สามารถที่จะแยกให้เห็นได้ง่าย สำหรับการ ประเมินปัจจัยจะเกิดขึ้นก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงการ และการประเมินผลผลิตจะเกิดขึ้น ระหว่างและหลังโครงการ ในขณะที่การประเมินสภาวะแวดล้อมกำหนดสิ่งจำเพาะสำหรับการ ประเมินผลผลิต การประเมินปัจจัยก็แสดงสิ่งสำคัญสำหรับการประเมินกระบวนการการตัดสินใจโดย ใช้การประเมินปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะสำหรับการวางแผนการประเมินผลผลิตขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ในการประเมินปัจจัย คือการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการที่เลือก และแผนการ

ประเมินผลผลิตที่สามารถประยุกต์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบปฏิบัติได้

การประเมินผลผลิตประสิทธิ์สาวสิ่งที่มีอยู่ว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ไปแล้วหรือกำลังจะบรรลุ

แต่การประเมินกระบวนการประเมินสิ่งที่มีอยู่ตามระเบียบการนั้นได้รับการกระทำไปตามที่ตั้งใจไว้

หรือไม่การประเมินทั้งสองชนิดจะให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับการควบคุมและพัฒนาการเปลี่ยนแปลง ระเบียบปฏิบัติในการกระบวนการการประเมินกระบวนการทำให้สามารถที่จะลงความเห็นได้ว่าการ นำระเบียบปฏิบัติไปทำสิ่งนั้นตรงหรือไม่กับแบบที่วางไว้และการประเมินผลช่วยให้ตกลงใจได้ว่า วัตถุประสงค์นั้นบรรลุหรือไม่สารนิเทศทั้ง 2 ชนิดร่วมกันจะแสดงให้เห็นอย่างหนักแน่นถึงสาเหตุ

มากกว่าอันใดอันหนึ่งโดยลำพังในการตัดสินว่าระเบียบปฏิบัตินั้นควรดำเนินต่อไปโดยมีการแก้ไขหรือ