• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) ผูวิจัยไดสรุปผลการวิจัยหลังจากที่ไดทําการวิเคราะห ขอมมูลดังนี้

1.ความมุ่งหมายของการวิจัย 2.สรุปผล

3.อภิปรายผล 4.ข้อเสนอแนะ ความมุ่งหมายของการวิจัย

1.เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทาง โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)

2.เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ(PISA)

3.เพื่อเปรียบเทียบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับ นานาชาติ(PISA) ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)

4.เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)

สรุปผล

1.ผลการศึกษาปัญหา สาเหตุและหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตาม แนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) พบว่า 1.1)สภาพการดำเนินแนว ทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ

(PISA) มีการมอบหมายงานแนะนำภาระงานให้นักเรียนได้ฝึกในคาบนั้นๆ การจดบันทึกการอ่านทุก สัปดาห์สัปดาห์ละ 2 เล่ม สร้างเจตคติ ในการรู้เรื่องการอ่าน มีสื่อ บทความ และเกมประกอบกับการ จัดกิจกรรมในคาบเรียน นำเสนอเรื่องที่อ่านหน้าชั้นเรียน 1 คน 1 เรื่องต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 18 สัปดาห์ต่อเทอม แทรกข้อสอบให้นักเรียนได้ลองฝึกปฏิบัติ ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน 1.2)สาเหตุข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ

(PISA) สามารถแยกออกตามสมรรถนะ ดังนี้ มีปัญหาด้านการอ่าน ขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาด

181 กระบวนการคิดจากเรื่องที่อ่าน ขาดทักษะกระบวนการอ่านจับใจความ มีปัญหาด้านความเข้าใจใน ใจความสำคัญ ขาดทักษะการตีความเนื้อเรื่องเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน ขาดกระบวนการ อ่านเพื่อการสื่อความที่ถูกต้อง มีปัญหาด้านทักษะที่จะวิเคราะห์เนื้อเรื่อง การให้ข้อโต้แย้งจากมุมมอง ของตนเองยังไม่มีเหตุผลในการโต้แย้งที่ถูกต้องและชัดเจน 1.3)โรงเรียนมีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ(PISA) ดังนี้ มีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับนักเรียนนักเรียนที่มีความบกพร่องและ ไม่มีข้อบกพร่องในการรู้เรื่องการอ่าน อบรมเพิ่มเติมกับวิทยากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลาว่าง หรือคาบว่างให้ผู้เรียนมีการฝึกฝนและส่งเสริมอยู่ตลอดทั้งปีการศึกษา จัดโครงการสอนเสริมเพิ่ม ทักษะในด้านการรู้เรื่องการอ่านให้กับนักเรียนหลังเลิกเรียน จัดให้ผู้เรียนมีการฝึกทำข้อสอบที่มีการ คิดวิเคราะห์ จดบันทึกในสมุดรักการอ่านทุกสัปดาห์ นำข้อสอบของโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ(PISA)ในปีก่อนๆมาใช้แทรกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จัดสอบ PISA ใน ระดับโรงเรียนทุกเทอม 1.4)แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) สามารถแยกออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านนักเรียน เพิ่ม การฝึกอ่านบทความในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น มีความมีต้องการโปรแกรมฯ -เวลาในกิจกรรมฝึกทั้ง โปรแกรมจำนวน 12-18 ชั่วโมง 2.ด้านครู จัดกิจกรรมแบบ SQ4R ,CIRC , KWL – Plus , MAI แทรก ตัวอย่างบทความให้นักเรียนได้มีการฝึกเป็นประจำ กำหนดนักเรียนให้อ่านบทความจำนวน 2 เรื่อง ต่อสัปดาห์ มีความต้องการโปรแกรมฯ -เวลาในกิจกรรมฝึกทั้งโปรแกรมจำนวน 12-18 ชั่วโมง

2.ผลการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) พบว่า โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) ประกอบด้วย 20 หน่วย รวมการปฐมนิเทศและปัจฉิม นิเทศ ในหน่วยที่ 1 และ20 ประกอบไปด้วย จุดประสงค์ เนื้อหา สื่อ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การ วัดและประเมินผล มีผลการประเมินจากผูเชี่ยวชาญโดยรวมเฉลี่ย 4.31 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.91 มีระดับความเหมาะสมของโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)อยูในระดับมาก( x= 4.31 SD=0.91)

3.ผลการเปรียบเทียบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับ นานาชาติ(PISA) ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) ผู้วิจัยนําโปรแกรมที่ปรับปรุงใหมีความสมบูรณมาใชจริง กับนักเรียนกลุมตัวอยาง เปนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 โรงเรียนไชยบุรีวิทยาคม ตําบลไชยบุรี

อําเภอท่าอุเทนจังหวัดนครพนม จํานวน 35 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2562 เริ่มตั้งแตวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ถึง วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2563 รวมทั้งสิ้น จํานวน 20 ครั้ง พบว่า คะแนนการรู้

เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) หลังการใช้โปรแกรม

182 ส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) สูงกว่า ก่อนใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับ นานาชาติ(PISA) ย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.ผลการประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) ผู้วิจัยได้ทำการประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้

เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) ตามรูปแบบ CIPPIEST กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ผลการประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)ประเมินบริบท(Context Evaluation) ของนักเรียน พบว่า ผลการประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตาม แนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)ประเมินบริบท(Context Evaluation) ของนักเรียนโดยรวม อยู่ในระดับมาก(x=3.68 SD=0.51) และของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก(x=3.68 SD=0.51) ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)ของผู้บริหารและครู โดยรวม อยู่ใน ระดับมาก(x=3.82 SD=0.56)กระบวนการ (Process Evaluation)ของนักเรียน โดยรวม อยู่ใน ระดับมาก(x=3.58 SD=0.47) และผู้บริหารและครู โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง(x=3.40 SD=0.55)ผลผลิต (Product Evaluation) ด้านประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)ของ นักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก(x=3.67 SD=0.57) และผู้บริหารและครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก (x=3.60 SD=0.55)ประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของนักเรียนโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x=3.75 SD=0.57) และของผู้บริหารและครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก(x=3.77 SD=0.65)ความ ยั่งยืน (Sustainability Evaluation)ของนักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก(x=3.73 SD=0.55) และ ของผู้บริหารและครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก(x=3.61 SD=0.58)การถ่ายทอดส่งต่อ

(Transportability Evaluation)ของนักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก(x=3.86 SD=0.49) และของ ผู้บริหารและครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก(x=3.70 SD=0.54)

อภิปรายผล

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ(PISA) สามารถอภิปรายผลตามความมุงหมายของการศึกษาไดดังนี้

1.ผลการศึกษาปัญหา สาเหตุและหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตาม แนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) พบว่า 1.1)สภาพการดำเนินแนว ทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ

(PISA) มีการมอบหมายงานแนะนำภาระงานให้นักเรียนได้ฝึกในคาบนั้นๆ การจดบันทึกการอ่านทุก สัปดาห์สัปดาห์ละ 2 เล่ม สร้างเจตคติ ในการรู้เรื่องการอ่าน มีสื่อ บทความ และเกมประกอบกับการ

183 จัดกิจกรรมในคาบเรียน นำเสนอเรื่องที่อ่านหน้าชั้นเรียน 1 คน 1 เรื่องต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 18 สัปดาห์ต่อเทอม แทรกข้อสอบให้นักเรียนได้ลองฝึกปฏิบัติ -ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน 1.2)โรงเรียนมีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตาม แนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) ดังนี้ มีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับ นักเรียนนักเรียนที่มีความบกพร่องและไม่มีข้อบกพร่องในการรู้เรื่องการอ่าน อบรมเพิ่มเติมกับ วิทยากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลาว่างหรือคาบว่างให้ผู้เรียนมีการฝึกฝนและส่งเสริมอยู่ตลอด ทั้งปีการศึกษา จัดโครงการสอนเสริมเพิ่มทักษะในด้านการรู้เรื่องการอ่านให้กับนักเรียนหลังเลิกเรียน จัดให้ผู้เรียนมีการฝึกทำข้อสอบที่มีการคิดวิเคราะห์ จดบันทึกในสมุดรักการอ่านทุกสัปดาห์ นำ ข้อสอบของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)ในปีก่อนๆมาใช้แทรกในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน จัดสอบ PISA ในระดับโรงเรียนทุกเทอม 1.3)สาเหตุข้อบกพร่องการรู้

เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) สามารถแยกออกตาม สมรรถนะ ดังนี้ มีปัญหาด้านการอ่าน ขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาดกระบวนการคิดจากเรื่องที่อ่าน ขาดทักษะกระบวนการอ่านจับใจความ มีปัญหาด้านความเข้าใจในใจความสำคัญ ขาดทักษะการ ตีความเนื้อเรื่องเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน ขาดกระบวนการอ่านเพื่อการสื่อความที่ถูกต้อง มี

ปัญหาด้านทักษะที่จะวิเคราะห์เนื้อเรื่อง การให้ข้อโต้แย้งจากมุมมองของตนเองยังไม่มีเหตุผลในการ โต้แย้งที่ถูกต้องและชัดเจน 1.4)แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) สามารถแยกออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านนักเรียน เพิ่ม การฝึกอ่านบทความในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น มีความมีต้องการโปรแกรมฯ -เวลาในกิจกรรมฝึกทั้ง โปรแกรมจำนวน 12-18 ชั่วโมง 2.ด้านครู จัดกิจกรรมแบบ SQ4R ,CIRC , KWL – Plus , MAI แทรก ตัวอย่างบทความให้นักเรียนได้มีการฝึกเป็นประจำ กำหนดนักเรียนให้อ่านบทความจำนวน 2 เรื่อง ต่อสัปดาห์ มีความต้องการโปรแกรมฯ -เวลาในกิจกรรมฝึกทั้งโปรแกรมจำนวน 12-18 ชั่วโมง ซึ่งมี

ความสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัฐธิดา โยธา(2559:96-157)ได้ศึกษาการพัฒนาแนวทางการส่งเสริม การรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการประเมินผล PISA ความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริม การรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการประเมินผล PISA 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องการ อ่านตามแนวทางการประเมินผล PISA ของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนภาษาไทย จานวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 ครูผู้สอนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง สำรวจ(Exploratory Factor Analysis : EFA) จานวน 520 คน และใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) จานวน 600 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) กลุ่มที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมแนวทางการรู้เรื่องการอ่าน จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2)