• Tidak ada hasil yang ditemukan

การกระจายของภารกิจการอ่านตามสถานการณ์/บริบทต่างๆ

บทที่ 2

ตาราง 2 การกระจายของภารกิจการอ่านตามสถานการณ์/บริบทต่างๆ

กราฟ

ตาราง 1 สรุปลักษณะของสถานการณ์การอ่าน 4 แบบ

การกระจายของข้อสอบจะกระจายให้ครอบคลุมทั้งสี่ด้าน อย่างไรก็ตาม การอ่านในการ ทำงานอาจจะให้นำหนักน้อยกว่าบ้าง เพราะ (1) เกรงว่าการเลือกถ้อยความจากการงานอาชีพเฉพาะ อาชีพใดอาชีพหนึ่งจะทำให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมได้ และ (2) คำถามในอาชีพหนึ่งๆ อาจสร้างขึ้นจาก ความรู้ในสถานการณ์อย่างอื่น ซึ่งนักเรียนอายุ 15 ปี อาจรู้มาไม่เท่ากัน ในการสร้างคำถามจึงต้อง ระวังในสิ่งเหล่านี้ การกระจายของภารกิจของข้อสอบใน PISA 2009 สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์/บริบท % ของภารกิจการประเมิน

ส่วนตัว 30 ส่วนตัว 30

การศึกษา 25 การศึกษา 25

การงานอาชีพ 15 การงานอาชีพ 15

สาธารณะ 30 สาธารณะ 30

รวม 100 รวม 100

ตาราง 2 การกระจายของภารกิจการอ่านตามสถานการณ์/บริบทต่างๆ

17 ตัวอย่างของภารกิจการอ่านตามสถานการณ์

สถานการณ์/บริบท ตัวอย่างของถ้อยความของการประเมิน

ส่วนตัว จุดหนึ่งของละครเวที

คนขี้เหนียว

การศึกษา การแปรงฟันของคุณ

บอลลูน

การงานอาชีพ การทำงานทางไกล

สาธารณะ ความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือ

ประกาศเรื่องการบริจาคโลหิต ถ้อยความ (Text)

ถ้อยความ (Text) สิ่งที่เขียนหรือเรียบเรียงเพื่อให้อ่าน การประเมินของ PISA ครอบคลุมถ้อย ความที่ให้อ่านที่หลากหลาย และที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่นักเรียนจะได้พบเจอในวันหน้า สำหรับการ ประเมินของ PISA 2009ถ้อยความที่ใช้ในการประเมินมีทั้งถ้อยความที่เป็นข้อเขียนหรือสื่อสิ่งพิมพ์

และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การประเมินการอ่าน ใน PISA 2009 ให้ความสำคัญกับลักษณะเด่นๆ ของถ้อยความ โดย พิจารณาองค์ประกอบหลักสี่ประการ ได้แก่

1. ตัวสื่อ : สิ่งพิมพ์ และอิเล็กทรอนิกส์

2. สิ่งแวดล้อม: ผู้เขียน และข่าวสาร

3. รูปแบบของถ้อยความ : ต่อเนื่อง ไม่ต่อเนื่อง และทั้งสองแบบผสมกัน

4. สำนวนของถ้อยความ: พรรณนา บรรยาย บอกเล่าอธิบายเหตุผล โต้แย้ง คำสั่ง และการ ติดต่อทางธุรกิจ

รูปแบบของถ้อยความ

รูปแบบของถ้อยความ (Text format) ที่จะประเมินมีทั้งรูปแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง หรือ ทั้งสองแบบผสมกัน ซึ่งปรากฏทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ถ้อยความต่อเนื่องคือสิ่งที่เขียน ติดต่อกันอาจแบ่งเป็นย่อหน้าหรือหัวข้อก็ได้ ส่วนถ้อยความที่ไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ รูปภาพ รายการต่างๆ แบบฟอร์ม กราฟ และตาราง เป็นต้น สำหรับถ้อยความแบบผสม ตัวอย่างเช่น คำบรรยายที่มีกราฟ หรือตารางประกอบ เป็นต้น

18

รูปแบบของถ้อยความ ตัวอย่างคำถาม

ต่อเนื่อง จุดหนึ่งของละครเวที (คำถาม 3, 4 และ 7)

การทำงานทางไกล (คำถาม 7)

การแปรงฟันของคุณ (คำถาม 1, 2, 3 และ 4) ประกาศเรื่องการบริจาคโลหิต (ถาม 8 และ 9) คนขี้เหนียว (คำถาม 1, 5 และ 7)

ไม่ต่อเนื่อง ความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือ (คำถาม 2,

6, 9 และ 11)

บอลลูน (คำถาม 3, 4, 6 และ 8)

แบบผสม การทำงานทางไกล (คำถาม 1)

ตัวอย่างของภารกิจการอ่านจำแนกตามรูปแบบของถ้อยความ สำนวนของถ้อยความ

สำนวนของถ้อยความ (Text type) ได้แก่ การพรรณนา การบรรยาย การบอกเล่าหรือ อธิบาย การโต้แย้งและคำสั่ง (วิธีทำ/วิธีปฏิบัติ)

1.การพรรณนา (Description) เป็นถ้อยความที่ใช้เพื่อบอกลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ใน มิติของสถานที่หรือปริภูมิ (Space) หรือกล่าวโดยสรุป การพรรณนา ก็คือการบอกเล่าเพื่อตอบคำถาม ที่ถามว่า “อะไร”นั่นเอง

2.การบรรยาย (Narration) คือการบอกเล่าถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในมิติของเวลา โดยสรุปสั้น ๆ การบรรยาย คือการตอบคำถาม “เมื่อไร” หรือ “มีลำดับก่อนหลังอย่างไร” “ทำไมคนในเนื้อเรื่องจึง ทำอย่างนั้น”

3.การบอกเล่าหรืออธิบาย (Exposition) เป็นถ้อยความที่สาระเรื่องราวถูกนำเสนอแบบ ประสม ที่เกิดจากการเรียบเรียงแนวความคิดให้สามารถวิเคราะห์ได้ เป็นการอธิบายว่าองค์ประกอบ ของแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างไร หรือกล่าวโดยสรุป คือ เป็นการตอบคำถาม

“อย่างไร” นั่นเอง

4.การโต้แย้ง (Argumentation) เป็นข้อความที่เสนอปัญหาหรือโจทย์ในลักษณะที่ชี้

ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่าส่วนมากเป็นการบอกเหตุผลว่าทำไม เพราะเหตุ

ใด ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองประเภทย่อย ๆ คือ บอกกล่าวเพื่อชักชวนให้คล้อยตาม หรือบอก กล่าวเพื่อตั้งประเด็นให้มีการแสดงความคิดเห็น ถกเถียง โต้แย้งกัน

5.คำสั่ง (Instruction) เป็นถ้อยคำที่ชี้บอกวิธีการว่าต้องทำอะไร อย่างไร เช่น คำสั่งที่บอก วิธีทำหรือ เพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้เสร็จสิ้น หรือกฎ ระเบียบ กติกา และสถานะที่ถูก กำหนดไว้ให้ประพฤติปฏิบัติ โดยฝ่ายที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ

19 ถ้อยความที่เป็นข้อเขียนอาจจำแนกประเภทได้ตามเกณฑ์ที่พิจารณาทั้งลักษณะของตัวสื่อ รูปแบบ และสำนวนภาษาเป็นประเภทต่างๆ สรุปได้ดังนี้

จุดเด่นที่สำคัญของการประเมินผล PISA 2009 อีกประการหนึ่งคือ นักเรียนจะได้อ่านสื่อที่มี

สำนวนภาษาที่กระจายครบทุกแบบ โดยมีสัดส่วน ดังสรุปในตาราง 2 โดยมีข้อสังเกตว่าการอ่านถ้อย ความต่อเนื่องมีน้ำหนักถึงสองในสามของภารกิจการอ่านทั้งหมด โดยน้ำหนักมากที่สุดอยู่ที่การบอก กล่าว อธิบาย แลน้ำหนักน้อยที่สุดอยู่ที่คำสั่งหรือวิธีทำ ส่วนถ้อยความที่ไม่ต่อเนื่องมีน้ำหนักหนึ่งใน สามของการประเมินทั้งหมด โดยน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่การพรรณนา ซึ่งจะอยู่ในรูปของตาราง แผน ที่ แผนผัง หรือ กราฟ ส่วนที่เหลืออาจเป็นรูปแบบอื่นๆ ที่กระจายเท่าๆ กัน ยกเว้นการบรรยายซึ่งไม่

มีในถ้อยความที่ไม่ต่อเนื่อง

สำนวนของถ้อยความ % ของภารกิจของ ถ้อยความต่อเนื่อง

% ของภารกิจของ ถ้อยความไม่ต่อเนื่อง

% ในข้อสอบ

การพรรณนา 10 - 15 15 - 20 30 - 35

การบรรยาย 10 - 15 0 10 - 15

การบอกเล่าหรือ อธิบาย

20 - 25 5 - 10 30 - 35

การโต้แย้ง 10 - 15 5 - 10 10 - 15

คำสั่ง (วิธีทำ/วิธี

ปฏิบัติ)

5 - 10 5 - 10 10 - 15

รวม 67 33 100