• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

ภาพประกอบ 6 กรอบแนวคิดในการวิจัย

4. สร้างแผนการจัดกิจกรรม และ วางแผนการวัดและประเมินผล

5.1. การสร้างเครื่องมือ

2.2.2. การหาคุณภาพเครื่องมือ

122 2.2.2.1 นำแบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ(PISA)ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 ท่าน โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตรวจความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา โดยคำนวณหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) พบว่ามีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ โดยมี

ดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ตั้งแต่ 0.78-1.00 (ภาคผนวก ง หน้า 306-309 )

2.2.2.2 รวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 6 ท่านมาปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการใช้

สำนวนภาษา ความครอบคลุมในแต่ละด้านว่าสอดคล้องกับนิยามศัพท์เฉพาะที่ให้ไว้ แล้วนำไปเสนอ ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบ แล้วได้นำแบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทาง โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)ไปทดลองใช้ (Try out)

2.2.2.3 นำแบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ(PISA)ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักเรียนกลุมที่ไมใชตัวอยางเปนนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปที่ 2 โรงเรียนท่าจำปาวิทยา ตําบลท่าจำปา อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จํานวน 27 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2562 มาตรวจให้คะแนนเพื่อวิเคราะห์หาค่าความยาก (Difficulty) ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Discriminantion) และค่าความเชื่อมั่น โดยหาด้วยวิธีของ Kuder-Richardson(KR-20) ของข้อสอบแบบปรนัย พบว่า ข้อสอบที่เข้าเกณฑ์ จำนวน 5 ข้อจาก 6 ข้อ โดยข้อสอบที่คัดเลือกไว้มีค่าความยาก(P) ตั้งแต่ 0.26-0.52 และค่าอำนาจจำแนก(r) ตั้งแต่ 0.21- 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.57 และช้อสอบแบบอัตนัย พบว่า ข้อสอบที่เข้าเกณฑ์

จำนวน 35 ข้อจาก 45 ข้อ โดยข้อสอบที่คัดเลือกไว้มีค่าความยาก(P) ตั้งแต่ 0.20-0.56 และค่าอำนาจ จำแนก(r) ตั้งแต่ 0.21-0.71 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Coefficient Alpha) เท่ากับ 0.97 (ภาคผนวก ง หน้า 309)

2.2.2.4 จัดพิมพ์แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)เพื่อนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.2 ขั้นตอนการทดลองใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (นครพนม-มุกดาหาร) ภาคเรียนที่ 2 ปี

การศึกษา 2562 จำนวน 5,855 คน 169 ห้องเรียน จาก 81 โรงเรียน 2.กลุ่มตัวอย่าง

123 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าจำปาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (นครพนม-มุกดาหาร) ภาคเรียนที่ 2 ปี

การศึกษา 2562 จำนวน 27 คน จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตาม แนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA) ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชนิด คือ

1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทาง โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการ ประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)

การหาคุณภาพของเครื่องมือ

1.นำโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับ นานาชาติ(PISA) ที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อย ผ่านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้

(Tryout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าจำปาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22 (นครพนม-มุกดาหาร) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน

2. นำแบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับ นานาชาติ(PISA)ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าจำปาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (นครพนม-มุกดาหาร) ภาคเรียนที่ 2 ปี

การศึกษา 2562 จำนวน 27 คน มาตรวจให้คะแนนเพื่อวิเคราะห์หาค่าความยาก(Difficulty) ค่า อำนาจจำแนกรายข้อ (Discriminantion) และค่าความเชื่อมั่น โดยหาด้วยวิธีของKuder- Richardson(KR-20)

3. จัดพิมพ์แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับ นานาชาติ(PISA)เพื่อนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้ของโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียน ร่วมกับนานาชาติ(PISA) ส่งแบบประเมินความเหมาะสมให้ผู้เชี่ยวชาญด้วยตนเองและทางไปรษณีย์

รับแบบประเมินความเหมาะสมโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)คืน

124 การจัดกระทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

1.การจัดกระทำข้อมูล

เมื่อได้รับแบบประเมินความเหมาะสมโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทาง โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ(PISA)คืนจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้วิจัยจัดกระทำ กับข้อมูลดังต่อไปนี้