• Tidak ada hasil yang ditemukan

การทดลองและตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมทางการศึกษา

สารบัญภาพประกอบ

3. การทดลองและตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมทางการศึกษา

การด าเนินการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาในขั้นตอนนี้เพื่อตรวจสอบคุณภาพของ นวัตกรรมในการน าไปสู่การปฏิบัติหรือน าไปใช้ในสถานการณ์จริง เน้นการวัดค่าตัวแปรตาม

(Dependent variable) กับตัวอย่าง (Sample) หรือกลุ่มเป้าหมาย (Target) ที่ใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ซึ่งจะต้องมีการออกแบบควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous variables) ต่าง ๆ เพื่อให้เกิด ความตรงภายใน (Internal validity) ซึ่งสอดคล้องกับ รัตนะ บัวสนธ์ (2563) ที่กล่าวว่า ในการ ทดลองใช้นวัตกรรมการศึกษานั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่านวัตกรรมการศึกษาที่สร้างขึ้นมีผลท าให้

เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการทดลองใช้นวัตกรรมหรือไม่ ซึ่งการที่จะสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมายเป็นเพราะนวัตกรรมได้มากน้อยเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ แผนการทดลองว่าเป็นแบบแผนการทดลองแบบใด เพราะแบบแผนการทดลองแต่ละแบบนั้นให้ความ เชื่อมั่นต่อการสรุปผลที่เกิดจากนวัตกรรมการศึกษาได้ต่างกัน ดังนั้นในส่วนนี้จะขอน าเสนอในประเด็น ที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ความตรงของการวิจัย 2) ตัวบ่งชี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และ 3) การออกแบบการทดลองใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. ความตรงของการวิจัย (Research validity)

ความตรงของการวิจัย (Research validity) เป็นคนละประเด็นกับเรื่อง ความตรงหรือเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เรื่องของความตรงของการวิจัย ถือว่าเป็นสิ่งที่ส าคัญที่จะเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของงานวิจัย นักวิจัยพยายามที่จะออกแบบหรือวาง แผนการด าเนินการวิจัยเพื่อควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ทั้งนี้ก็ต้องการที่จะท าให้การวิจัยนั้น ๆ มีความตรง หรือที่เราเรียกว่า Research validity โดยทั่วไปความตรงของการวิจัยจะจ าแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ความตรงภายใน (Internal validity) และความตรงภายนอก (External validity) ในส่วนของ ความตรงภายใน (Internal validity) ถือได้เป็นสิ่งที่มีความส าคัญที่สุดของการออกแบบการวิจัย ดังนี้

ความตรงภายใน (Internal validity) คือ ความแปรปรวนของตัวแปรตาม เป็นเหตุ เนื่องมาจากตัวแปรอิสระหรือ Treatment ที่นักวิจัยให้เข้าไปเท่านั้น ไม่ได้เกิดหรือเป็นเหตุ

เนื่องมาจากตัวแปรอื่น ๆ ที่นักวิจัยไม่ได้ตั้งใจ ตัวอย่างเช่น การทดลองนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

นักวิจัยต้องมีความมั่นใจว่าการที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เพราะนวัตกรรมของครู

โรงเรียนมีคุณภาพมากขึ้น เพราะรูปแบบการบริหารที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นมา การที่จะท าให้เกิด Internal validity ได้นั้น นักวิจัยจะต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนต่าง ๆ เพื่อยืนยันผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตามว่าไม่ใช่สาเหตุอื่น นอกจากสิ่งที่นักวิจัยให้เข้าไปในการออกแบบ

123 การวิจัยที่เป็น Laboratory research ค่อนข้างจะมีความเป็นไปได้สูงในการควบคุมตัวแปร

แทรกซ้อน (Extraneous variable) ได้เป็นอย่างดี ในทางการศึกษาค่อนข้างจะมีความยากล าบากใน การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน มีสถานการณ์ที่มีความต่างจากการวิจัยที่เป็น Laboratory research เช่นนักวิจัยต้องการเปรียบเทียบวิธีการสอน A กับ B ว่า วิธีการสอนใดจะท าให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่ากัน นักวิจัยจึงต้องท าการสุ่ม นักเรียนมา 2 กลุ่ม ซึ่งควรจะมี

จ านวนเท่ากัน มีลักษณะที่เหมือนกัน ความรู้พื้นฐานเหมือนกัน สถานการณ์ ทุกอย่างเหมือนกันหมด ซึ่งเป็นไปได้ค่อนข้างยากที่จะหานักเรียน 2 กลุ่มที่มีความเท่าเทียมกันในทุก ๆ เรื่อง ในขณะที่ท าการ ทดลองนักวิจัยต้องสามารถระบุตัวแปรแทรกซ้อน นั่นคือตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่นักวิจัยไม่สนใจศึกษาอิทธิพลของตัวแปรดังกล่าวและต้องควบคุมไม่ให้ส่งอิทธิพลต่อตัวแปรตาม เช่น ระดับสติปัญญา สภาพห้องเรียน ครูผู้สอน เวลาเรียน สื่อการเรียนการสอน ทุกอย่างจะต้อง เหมือนกันหมด สมมุติว่านักวิจัยท าการสุ่มนักเรียนมา 2 กลุ่มที่เชื่อว่ามีความเท่าเทียมกัน หาข้อมูล ต่าง ๆ ที่จะพิสูจน์ยืนยันว่ามีความเท่าเทียมกันในทุก ๆ เรื่อง และควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ใช้ครูผู้สอนคนเดียวกัน เวลาสอนเท่ากัน สอนในเรื่องเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมด สภาพห้องเรียน สื่อการเรียน การสอน ใกล้เคียงกัน ต่างกันเฉพาะวิธีการจัดการเรียนรู้หรือวิธีการสอน ผ่านไป 1 เดือน นักวิจัยจึงวัดค่าตัวแปรตาม นั่นคือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียน ห้อง A มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนห้อง B ก็เลยสรุปว่าวิธีการสอน A ดีกว่า วิธีการสอน B ซึ่งการสรุปแบบนี้ก็ถือว่ามีความตรงในระดับหนึ่ง แต่นักวิจัยไม่สามารถที่จะควบคุม ตัวแปรแทรกซ้อนได้ทั้งหมด เพราะไม่สามารถที่จะกักให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนตลอดเวลา นักเรียน บางคน บางกลุ่มกลับไปที่บ้าน ผู้ปกครองเอาใจใส่มีการติว ไปเรียนพิเศษหรือแม้กระทั้งเป็นการศึกษา เรียนรู้ด้วยตัวเอง ความสนใจใคร่รู้ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อตัวแปรตามทั้งสิ้น นอกจากนี้

การท าวิจัยกับมนุษย์ก็ไม่สามารถควบคุมตัวแปรในบางกลุ่มได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรสอดแทรก (Intervening variable) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแปรทางด้านจิตวิทยา (Psychology) นักวิจัยไม่สามารถ ควบคุมเรื่องของความเครียด ความโกรธ ความโมโห ความเหนื่อยล้า หรือแม้กระทั่งอาการเจ็บป่วย ของนักเรียนได้ จึงค่อนข้างจะมีปัญหาในเรื่องของการออกแบบการวิจัย เพื่อให้เกิดความตรงภายใน การวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์หรือทางการศึกษา (ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน และบุญชม ศรีสะอาด, 2560) ดังนั้น สิ่งส าคัญในการท าวิจัยและพัฒนา นักวิจัยจะต้องพิสูจน์ยืนยันให้ได้ว่า การวิจัยครั้งนั้นมีความตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตรงภายใน (Internal validity) ซึ่งระยะที่มี

ความส าคัญในการที่จะสะท้อนความตรงภายในก็คือ ขั้นตอนการทดลอง (Implementation) นักวิจัย จะต้องน านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองในสถานการณ์จริงว่ามีคุณภาพหรือไม่ ดังนั้น นักวิจัยและ พัฒนาจะต้องออกแบบ (Design) การวิจัยที่จะพิสูจน์ยืนยันว่ามีความตรงภายในซึ่งเป็นสิ่งที่มี

124 ความส าคัญอย่างยิ่ง เพราะหากมีความตรงภายในก็จะมีความสมเหตุสมผลในการใช้ผลจากการ ทดลองสรุปอ้างอิงไปยังประชากรได้ (Cohen and Manion, 1994)

2. ความตรงภายนอก (External validity) ความคิดรวบยอดของความตรง ภายนอกก็คือ ผลการวิจัยสามารถที่จะสรุปอ้างอิง (Generalize) ไปยังประชากรหรือกลุ่มที่มีลักษณะ ที่ใกล้เคียงกับกลุ่มที่ท าการศึกษา เช่น หากวิธีการสอน A ท าให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ในวิชานั้น ๆ นักเรียนที่มีลักษณะที่อยู่ในกลุ่มประชากรเดียวกันหรือลักษณะใกล้เคียง

(Homogeneous) เมื่อได้ถูกจัดกระท าด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอน A ก็ต้องมีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งการที่จะสรุปอ้างอิงหรือท าให้เกิดความตรงภายนอกได้นั้น ส่วนหนึ่ง มาจากการที่กลุ่มที่ศึกษาจะต้องมีความเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร (Representativeness) นั่นเอง

ตัวบ่งชี้คุณภาพของนวัตกรรม

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ใช้บ่งบอกถึงคุณภาพของนวัตกรรมในการวิจัย และพัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความส าคัญที่นักวิจัยจะต้องระบุตัวบ่งชี้หรือตัวชี้วัด (Indicator) ที่มีความ ชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้ก็จะเป็นการพิสูจน์และยืนยันว่านวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นมีคุณภาพหรือไม่

อย่างไร

ในการท าการวิจัยและพัฒนาการศึกษาจะต้องระบุตัวชี้วัด (Indicator) ที่ชัดเจนที่จะสามารถสะท้อนถึงสิ่งที่พัฒนานั้นว่าดีหรือไม่ จะพิจารณาจากอะไรบ้าง ในการพัฒนา นวัตกรรมเดียวกันนั้นไม่จ าเป็นว่าตัวบ่งชี้จะต้องเหมือนกันขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัยและขึ้นอยู่กับว่า ในการวิจัยในครั้งนั้นนักวิจัยต้องการเน้น (Focus on) ไปเรื่องอะไร ในส่วนของการวิจัยและพัฒนา ทางการศึกษานั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการวิจัยและพัฒนาในลักษณะทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ว่า ปัญหาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษานั้นตัวชี้วัดหรือตัวบ่งชี้ค่อนข้างจะมีความเป็นนามธรรมมาก เนื่องจากว่าตัวแปรที่จะพัฒนามักจะเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถจับต้องได้โดยตรง เป็นตัวแปรในเชิง อุดมคติ แต่อย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างสามารถวัดค่าออกมาได้เพียงแต่ว่าต้องนิยามหรือให้

ความหมายสิ่งที่ต้องการจะวัดให้มีความชัดเจน ดังนั้นในการวัดค่าตัวแปรทางการศึกษาซึ่งมักจะเป็น ตัวแปรทางด้านจิตวิทยา มักจะนิยามค าเหล่านั้นให้มีความชัดเจนเสียก่อน การที่จะนิยามค าเหล่านั้น ให้เกิดมีความชัดเจนจึงมีความจ าเป็นที่นักวิจัยจะต้องมีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ครอบคลุม และชัดเจนจะน าไปสู่การนิยามค าศัพท์ที่ชัดเจนและสามารถที่จะสร้างเครื่องมือในการวัดได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ ยกตัวอย่าง ตัวชี้วัดในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เช่น ปัญหาวิจัยก็คือ นักเรียนขาดความคิดสร้างสรรค์ นักวิจัยได้ท าการวิเคราะห์วินิจฉัยแล้วว่าเหตุหนึ่งที่มีความส าคัญ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก็คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น นวัตกรรมทางการศึกษาที่นักวิจัยจะพัฒนาในครั้งนี้ก็คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งไม่ใช่รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ธรรมดาทั่วไป แต่จะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิด