• Tidak ada hasil yang ditemukan

สารบัญภาพประกอบ

1. แบบแผนการทดลอง

เนื่องจากการด าเนินงานขั้นที่ 3 ของการวิจัยและพัฒนา คือ การทดลองใช้นวัตกรรมจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) และ การออกแบบแผนการทดลอง (Experimental design) ดังนั้นจึงขอกล่าวถึงความหมายและลักษณะ ของสิ่งดังกล่าว 2 สิ่งไว้เป็นเบื้องต้น กล่าวคือ

การวิจัยเชิงทดลอง หมายถึง การวิจัยที่มุ่งศึกษาหาค าตอบว่า เมื่อสร้างเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุ แล้วจะท าให้เกิดผลอะไรขึ้นบ้างมากน้อยเพียงไร การวิจัยเชิงทดลอง เป็นงานวิจัยที่ต้องการค้นหาความจริงที่เป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Causal relationship) ระหว่าง ตัวแปรสาเหตุหรือตัวแปรต้น (Cause or Independent variable) กับตัวแปรผลหรือตัวแปรตาม (Effect or Dependent variable) โดยที่นักวิจัยต้องพยายามจัดการทดลองอย่างรัดกุมเพื่อมิให้

ตัวแปรอื่นๆ ที่นักวิจัยไม่ ต้องการศึกษาแทรกเข้ามาส่งผลร่วมกันกับตัวแปรสาเหตุต่อตัวแปรตาม ทั้งนี้เพื่อนักวิจัยจะได้สรุปผลได้อย่างมั่นใจว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะตัวแปรสาเหตุโดยแท้และ เพื่อที่จะให้การจัดการเป็นไปอย่างรัดกุม นักวิจัยจึงต้องออกแบบหรือเลือกแบบแผนการทดลองให้ดี

ที่สุด แผนการวิจัยเชิงทดลองขอเสนอต่อไปนี้

1.1 แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง

(One Group Pretest Posttest Design) ขั้นตอนการทดลองในแบบแผนการทดลองนี้วิธีด าเนินการ ทดลองตามล าดับ ดังนี้

1.1.1 เลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะท าการทดลองใช้นวัตกรรมมา หนึ่งกลุ่ม

145 1.1.2 ท าการสอบวัดความรู้ ความสามารถในเนื้อหาสาระที่

ปรากฏในนวัตกรรมการศึกษาก่อนน านวัตกรรมนั้นมาใช้

1.1.3 เมื่อสอบวัดความรู้ความสามารถแล้วก็น านวัตกรรม ทดลองใช้ตามระยะเวลาและกิจกรรมย่อย ๆ ที่ก าหนดไว้ จนกระทั่งสิ้นสุดครบถ้วนทั้งเนื้อหาสาระ และกิจกรรมต่าง ๆ นั้น

1.1.4 สอบวัดความรู้ความสามารถในเรื่องเดิมกับที่ได้สอบวัด ก่อนแล้วโดยอาจจะใช้เครื่องมือ และวิธีการสอบวัดแบบเดิมกับการสอบวัดก่อนหรืออาจเป็นเครื่องมือ ที่มีลักษณะคู่ขนานกันก็ได้

1.1.5 เปรียบเทียบผลการสอบวัดความรู้ความสามารถระหว่าง ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม

วัตถุประสงค์ของการออกแบบหรือเลือกใช้แบบแผน การทดลองแบบนี้ก็เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย (เช่น ความรู้ ความสามารถในการ เรียน) ก่อนที่จะมีการใช้นวัตกรรมและภายหลังจากการใช้นวัตกรรมนั้นแล้ว แบบแผนการทดลอง แบบนี้เหมาะสมส าหรับน ามาใช้ในงานวิจัยที่ไม่สามารถมีกลุ่มเป้าหมายได้หลายกลุ่ม ส่งผลให้ผู้วิจัย ไม่อาจจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการ แต่ทว่ากลุ่มเป้าหมายมีกลุ่มเดียว และก าหนดไว้อย่างเจาะจง เพื่อแก้ไขปัญหากลุ่มนี้โดยตรง แบบแผนการทดลองแบบนี้มีข้อจ ากัด บางประการ เช่น ไม่มีการสุ่มกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจเกิดค าถามได้ว่า กลุ่มเป้าหมายที่นักวิจัยเลือกมานี้

มีคุณลักษณะบางอย่างที่พิเศษหรือดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้วหรือไม่และมีความสนใจกระตือรือร้น ที่จะเข้าร่วมการทดลอง ซึ่งท าให้ผลการทดลองเป็นไปตามที่นักวิจัยต้องการจะให้เกิดขึ้นหรือไม่หรือ กล่าวง่าย ๆ ว่า การเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการทดลองแบบเจาะจงนี้ท าให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ ความล าเอียงในการเลือกตัวอย่างนั่นเอง นอกจากนั้นแล้ว การที่แบบแผนการทดลองนี้เป็น แบบกลุ่มเดียวก็ท าให้เกิดค าถามได้ว่าถ้าหากผลการสอบวัดครั้งหลังดีกว่าหรือสูงกว่าการสอบวัด ครั้งแรก แล้วเป็นเพราะการใช้นวัตกรรมจริงหรือไม่เพียงไรเพราะถ้ากลุ่มเป้าหมายมีคุณลักษณะ ดังกล่าวดีอยู่ก่อนแล้วเป็นทุนเดิม แม้ว่าตรวจสอบวัดคุณลักษณะนี้ในครั้งหลังจะดีกว่าหรือสูงกว่า การสอบวัดครั้งแรกก็อาจเป็นเพราะคุณลักษณะส่วนตัวของกลุ่มเป้าหมาย ก็ได้ นอกจากนั้นก็ยังไม่

อาจกล่าวได้ว่าหากเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เรียนที่ไม่ได้นวัตกรรมแล้ว ผลจะแตกต่างจากกันสักกี่มาก น้อยเพียงใด

1.2 แบบแผนการทดลองแบบ 2 กลุ่ม (กลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม) ทดสอบก่อนหลัง (Two Group or Control Group Pretest Posttest Design) ขั้นตอนการทดลองแบบแผนการทดลองแบบนี้มีขั้นตอนการทดลองตามล าดับ ดังนี้

146 1.2.1 เลือกกลุ่มเป้าหมายมา 2 กลุ่ม โดยให้กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่ม ที่จะท าการทดลองใช้นวัตกรรมการศึกษาในขณะที่กลุ่มที่ 2 นั้นจัดให้เป็นกลุ่มที่เรียนตามปกติหรือ กลุ่มที่ไม่มีการทดลองใช้นวัตกรรม

1.2.2 ท าการสอบวัดก่อนใช้นวัตกรรม (หรือไม่ใช้นวัตกรรม) กับทั้ง 2 กลุ่ม โดยวัดคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งที่เป็นคุณลักษณะตามที่นักวิจัยต้องการทราบ (เช่น อาจเป็นผลสัมฤทธิ์การเรียนหรือทักษะการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น)

1.2.3 น านวัตกรรมมาทดลองใช้กับกลุ่มที่ 1 ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ให้เรียนตามปกติ โดยไม่มีการใช้นวัตกรรมแต่อย่างใด

1.2.4 เมื่อครบก าหนดระยะเวลาการทดลองใช้นวัตกรรม แล้วก็ท าการสอบวัดคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่มอีกครั้งด้วยเครื่องมือและวิธีการเดียวกัน ทั้ง 2 กลุ่ม โดยที่คุณลักษณะที่ท าการสอบวัดก็เป็นสิ่งเดียวกันกับการสอบวัดครั้งแรก

1.2.5 เปรียบเทียบผลการสอบวัดคุณลักษณะของ

กลุ่มเป้าหมายโดยท าการเปรียบเทียบผลการสอบวัดก่อนและหลังในกลุ่มทดลองใช้นวัตกรรมและ เปรียบเทียบผลการสอบวัดก่อนและหลังระหว่าง กลุ่มทดลองใช้นวัตกรรมและกลุ่มที่ไม่ได้นวัตกรรม

วัตถุประสงค์ของแบบแผน

การใช้แบบแผนการทดลองแบบแผน 2 กลุ่มสอบ ทดสอบก่อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อท าการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการ ทดลองใช้นวัตกรรมการศึกษาระหว่างก่อนและหลังการทดลองเช่นเดียวกันกับแบบแผนการทดลอง แบบแรกแต่มีส่วนที่เพิ่มเติมแตกต่างขึ้น ก็คือมีการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการทดสอบวัด ครั้งหลังระหว่างกลุ่มที่ได้รับการทดลองใช้นวัตกรรมและกลุ่มที่ไม่ได้รับการทดลองใช้นวัตกรรม อีกด้วย

ดังนั้น แบบแผนการทดลองแบบนี้จึงมีข้อดีกว่าแบบ แผนการทดลองแบบแรกในแง่ที่ว่า มีกลุ่มควบคุมส าหรับเปรียบเทียบเพื่อบ่งบอกถึงผลการทดลองใช้

นวัตกรรมการศึกษาได้มากขึ้น กล่าวคือ ถ้าผลการสอบวัดครั้งหลังของกลุ่มที่ได้รับการทดลองใช้

นวัตกรรมดีกว่าหรือสูงกว่า กลุ่มปกติก็แสดงว่าเป็นเพราะการใช้นวัตกรรมการศึกษาหรือนวัตกรรม การศึกษาดังกล่าวก่อให้เกิดการ เปลี่ยนในคุณลักษณะของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายการทดลองได้จริง แต่อย่างไรก็ดีแบบแผนการทดลองนี้ยังมีข้อจ ากัดอยู่เช่นกัน ได้แก่ การเลือกเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม เป็นไปอย่างเจาะจงซึ่งอาจท าให้มีปัญหาเกี่ยวกับความล าเอียงในการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม

1.3 การทดลองแบบกลุ่มเดียวอนุกรม (One Group Time Series Design) แบบแผนการทดลองแบบนี้มีขั้นตอนการทดลองตามล าดับดังนี้

147 1.3.1 เลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะทดสอบใช้นวัตกรรมการศึกษา มาหนึ่งกลุ่ม

1.3.2 ก่อนน านวัตกรรมการศึกษาไปทดลองใช้กับ

กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวนี้จะท าการสอบวัดความสามารถ (หรือคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการ ใช้นวัตกรรม) ของกลุ่มเป้าหมาย เป็นระยะ ๆ โดยอาจทิ้งช่วงการสอบวัดแต่ละครั้งประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันกลุ่มเป้าหมายจ าค าตอบได้ (กรณีเป็นการสอบวัดความสามารถทางสมอง หรือการเรียนรู้) เพื่อหาข้อมูลที่เป็นฐาน (Baseline data) ของคุณลักษณะดังกล่าวนั้น

1.3.3 น านวัตกรรมทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายจนครบตาม ระยะเวลาที่ก าหนด

1.3.4 ท าการสอบวัดความรู้ความสามารถของกลุ่มเป้าหมาย ของการทดลองใช้นวัตกรรมโดยท าการสอบวัดเป็นระยะๆ เพื่อหาความคงทนของการเรียนรู้

1.3.5 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่เป็นฐานจาก การสอบวัดก่อนกับการสอบวัดครั้งหลัง

วัตถุประสงค์ของแบบแผน

แบบแผนการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์คล้าย ๆ กันกับ แบบแผนการทดลองแบบแรก นั่นคือมุ่งเปรียบเทียบผลการสอบวัดครั้งแรกและครั้งหลังของ กลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียวเช่นกัน แต่มีความแตกต่างกันในประเด็นที่ว่าผลการสอบวัดครั้งแรกนั้น ท าการสอบวัดหลายครั้ง เช่นเดียวกันกับการสอบวัดครั้งหลังก็กระท าหลายครั้งด้วยเช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นฐาน คุณลักษณะนั้น ๆ ของ กลุ่มเป้าหมายกับหาความคงทนของการเรียนรู้หรือคณะของกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย แบบแผน การทดลองแบบนี้มีข้อดีในแง่ดีกว่า มีการสอบวัดก่อนและหลังการทดลองใช้นวัตกรรมการศึกษา หลายครั้ง ท าให้ทราบถึงแบบแผนพฤติกรรมการเรียน (หรือการปรับตัว) เป้าหมายว่ามีลักษณะ อย่างไร มีความคงที่หรือไม่ และเมื่อผ่านการเรียนรู้ (หลังการทดลองใช้ นวัตกรรม) แล้วยังมีความ คงทนของการเรียนรู้อยู่อีกหรือไม่อย่างไร แต่กระนั้นก็ตามการใช้แบบ แต่ทดลองแบบนี้ควรค านึงถึง ข้อจ ากัดที่ส าคัญนั่นคือ การสอบวัดหลาย ๆ ครั้งจะก่อให้เกิดการเรียนหรือความจ าในสิ่งที่สอบวัดจาก เครื่องมือวัดหรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือจ าค าตอบในแบบทดสอบได้นั่นเอง ดังนั้น แบบแผนการทดลอง แบบนี้จึงเหมาะสมส าหรับการทดลองใช้นวัตกรรมการศึกษาที่ไม่ก่อให้ เกิดการเรียนรู้หรือการถ่ายโยง ความรู้จากการสอบ แต่ควรเป็นการทดลองใช้นวัตกรรมที่มีลักษณะเป็นการปรับแต่งพฤติกรรม (Behavior modification) การเรียนจะเหมาะสมกว่า