• Tidak ada hasil yang ditemukan

การประเมินและปรับปรุงนวัตกรรมทางการศึกษา

สารบัญภาพประกอบ

4. การประเมินและปรับปรุงนวัตกรรมทางการศึกษา

วัตถุประสงค์ในการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมที่นักวิจัยสร้างขึ้นมาได้

ผ่านกระบวนการตรวจสอบมาในขั้นตอนต่าง ๆ ตามล าดับ โดยเฉพาะขั้นทดลอง (Implementation) ซึ่งจะสามารถบอกได้ชัดเจนว่า นวัตกรรมนั้น ๆ มีคุณภาพหรือไม่ โดยเน้นไปที่ตัวแปรตามที่ต้องการ พิสูจน์หรือตรวจสอบท าให้ยังขาดข้อมูลอื่น ๆ อีกมากที่จะน าไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมนั้น ๆ ดังนั้นในการด าเนินงานในระยะนี้ (Evaluation and Revision) จึงมีวัตถุประสงค์

เพื่อสะท้อนหรือประเมินเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทดลอง นวัตกรรมและสามารถสะท้อนผลได้หลากหลายแง่มุม เพื่อปรับปรุงนวัตกรรมนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ รัตนะ บัวสนธ์ (2563) ที่น าเสนอว่าการประเมินนวัตกรรมการศึกษามีวัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการทดลองใช้นวัตกรรมที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายในสภาพจริงจากผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรม เพื่อน าข้อมูลที่ได้มาพิจารณาตัดสินว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้นสามารถ ใช้ได้จริงบรรลุตามวัตถุประสงค์เพียงไร ก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือการยอมรับได้ของกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหรือไม่ ตลอดจนมีข้อจ ากัดหรือจุดบกพร่องใด ๆ ที่จะต้องท าการปรับปรุงแก้ไข หรือกล่าวอย่างสรุปก็คือ มุ่งประเมินเพื่อตัดสินคุณค่าและปรับปรุงพัฒนาข้อจ ากัด (ถ้ามี) ให้ดียิ่งขึ้น

ในระยะทดลองและตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม (I : Implementation) จะเน้นการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมโดยเน้นการวัดค่าตัวแปรตาม (Dependent variable) กับตัวอย่าง (Sample) หรือกลุ่มเป้าหมาย (Target) ที่ใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ซึ่งจะต้องมีการออกแบบ ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous variables) ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความตรงภายใน (Internal validity) แต่ในระยะประเมินผลและปรับปรุงนวัตกรรมนี้จะเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ซึ่งจะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่น าไปสู่การพัฒนาปรับปรุง ให้เกิดคุณภาพ เกิดการยอมรับ เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะมีความเป็นไปได้ในการน านวัตกรรมนั้น ๆ ไปใช้ในอนาคต ซึ่งนับว่ามีความส าคัญมาก

ขั้นตอนการด าเนินงาน

ในการออกแบบการประเมินและปรับปรุงนวัตกรรมทางการศึกษา โดยทั่วไปจะด าเนินงานตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ก าหนดจุดมุ่งหมายและประเด็นที่ต้องการศึกษา

ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ส าคัญเพราะเป็นขั้นตอนแรก โดยจะต้องก าหนดจุดมุ่งหมายว่า ประเมินเพื่ออะไร จะน าไปใช้ประโยชน์ในส่วนใด จุดเน้นคืออะไร และจะต้องก าหนดประเด็นที่ต้องการศึกษาที่มีความชัดเจน เพราะจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ

130 เครื่องมือ วิธีการในการวัดตามประเด็นนั้น ๆ ด้วย ประเด็นที่มักใช้ในการศึกษาในระยะนี้ เช่น

ความพึงพอใจต่อนวัตกรรม การยอมรับนวัตกรรม ผลกระทบจากนวัตกรรม หรือประเด็นตาม มาตรฐานการประเมินนวัตกรรมนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อบกพร่องหรือประเด็นที่ควรปรับปรุง นวัตกรรม ดังนี้

ความพึงพอใจ (Satisfaction) ต่อนวัตกรรม

เป็นความรู้สึกที่ดีมีความสุขเมื่อนวัตกรรมที่ถูกน าไปใช้ท าให้

ประสบผลส าเร็จตามความมุ่งหมายหรือความต้องการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละบุคคลคาดหวังสิ่งใด จากการใช้นวัตกรรม หากคาดหวังสูงและผลจากการใช้นวัตกรรมได้รับการตอบสนองด้วยดีก็จะมี

ความพึงพอใจมาก แต่ในทางตรงกันข้ามก็จะไม่พึงพอใจเพราะไม่ได้รับการตอบสนองตามที่คาดหวังไว้

ดังนั้น หากนักวิจัยจะท าการประเมินในส่วนนี้ก็ต้องศึกษาตัวแปรความพึงพอใจให้ชัดเจน นิยามเชิง ปฏิบัติการเพื่อน าไปสู่การสร้างเครื่องมือวัด โดยทั่วไปการศึกษาความพึงพอใจมักใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตหรือ การเขียนอนุทิน (Journal) เป็นต้น

การยอมรับนวัตกรรม (Innovation acceptance)

การศึกษาประเด็นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีความส าคัญ เพราะการที่

บุคคลจะยอมรับนวัตกรรมนั้น ๆ จะต้องเห็นชัดเจนว่าเกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมทาง การศึกษามักจะให้ผลการใช้ที่ขาดความชัดเจนถ้าเปรียบเทียบกับการวัดทางกายภาพ ดังนั้น หากเป็น นวัตกรรมที่แปลกใหม่และตรงข้ามกับแนวปฏิบัติหรือวิถีที่ปฏิบัติมานานอาจจะต้องใช้เวลาในการ เปลี่ยนแปลงและยอมรับนวัตกรรมดังกล่าว เวลาในการยอมรับช้าเร็วแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ เช่น ขึ้นอยู่กับลักษณะของนวัตกรรม ภูมิหลังของผู้ใช้นวัตกรรม การติดต่อสื่อสารและอื่น ๆ ดังนั้น หากนักวิจัยศึกษาในประเด็นนี้ก็จะเป็นข้อมูลที่ส าคัญในการ เผยแพร่นวัตกรรมที่พัฒนาในวงกว้างได้ หากเป็นงานวิจัยและพัฒนาทางธุรกิจก็จะเป็นข้อมูลส าคัญใน การวางแผนเพื่อการกระจายสินค้า เป็นต้น การศึกษาการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาก็สามารถใช้

แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตหรือการเขียนอนุทิน (Journal) เช่นเดียวกับการศึกษา ความพึงพอใจ หากแต่การศึกษาการยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษาอาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร จึงจะสามารถเห็นผลที่ชัดเจนโดยเฉพาะในบริบททางการศึกษา

ผลกระทบ (Impact) จากนวัตกรรม

ในการศึกษาผลกระทบเป็นการศึกษาผลพวงเนื่องมาจากการใช้

นวัตกรรม ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้นวัตกรรมโดยตรงหรือกลุ่มอื่นที่มีความเกี่ยวข้องก็ได้

สามารถเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต และมีความเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งสอดคล้อง กับ รัตนะ บัวสนธ์ (2563) ที่กล่าวว่า ผลกระทบของนวัตกรรม หมายถึง ผลจากการทดลองใช้

นวัตกรรมการศึกษานั้นก่อให้เกิดผลอื่น ๆ ตามมานอกเหนือจากผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่

131 ก าหนดไว้ ผลอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมานี้อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเป็นไปในทางที่ดีหรือทางบวก

(Positive impact) หรือเป็นไปในทางที่ไม่ดีหรือทางลบ (Negative impact) นอกจากนั้นก็อาจจะ เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการทดลองใช้นวัตกรรมโดยตรง (Direct impact) หรืออาจจะเกิด ขึ้นกับกลุ่มบุคคลข้างเคียงกลุ่มเป้าหมายก็ได้ (Indirect impact)

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการศึกษาผลกระทบจากนวัตกรรมนั้น มีลักษณะค่อนข้างกว้าง ทั้งในมิติของผู้รับผลกระทบ มิติด้านเวลาและมิติประเด็นที่เป็นผลกระทบ การศึกษาผลกระทบจากนวัตกรรม จึงค่อนข้างยากที่จะศึกษาได้ครอบคลุมทุกมิติ ดังนั้นในการวิจัย และพัฒนาที่จะศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากนวัตกรรมจึงใช้เวลาค่อนข้างนาน นักวิจัยควรระบุ

ประเด็นหรือขอบข่ายที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น นักวิจัยต้องการศึกษาผลกระทบจากนวัตกรรมที่เป็น สื่อการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบออนไลน์ (Online) อาจจะศึกษาผลกระทบในเรื่องพฤติกรรม การสื่อสารของผู้เรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระเบียบวินัยของนักเรียน ทักษะทางสังคม ปฏิสัมพันธ์

ระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียน เป็นต้น ซึ่งผลของการศึกษาก็จะเป็นข้อมูลที่สะท้อน เกี่ยวกับนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีและเป็นข้อมูลส าคัญในการน าไปออกแบบวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพ ของนวัตกรรมดังกล่าวต่อไป

มาตรฐานการประเมินนวัตกรรม

ในการประเมินนวัตกรรม นักวิจัยอาจจะใช้กรอบมาตรฐานในการ ประเมินนวัตกรรมนั้น ๆ ก็ได้ เพราะโดยปกติจะมีการก าหนดมาตรฐานในการประเมินนวัตกรรม ประเภทต่าง ๆ ซึ่งมักจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนา นวัตกรรมมีความเป็นมาตรฐานเป็นการยกระดับคุณภาพของนวัตกรรมประเภทนั้น ๆ อีกด้วย เช่น มาตรฐานการผลิตรถยนต์ มาตรฐานการผลิตโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ในส่วนของการศึกษาก็

เช่นเดียวกัน จะมีการก าหนดมาตรฐานของนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น มาตรฐานการประเมิน โครงการทางการศึกษาที่เสนอโดยที่ประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างมาตรฐานส าหรับการประเมินการศึกษา (Joint Committee on Standards for Educational Evaluation, 1994) คณะกรรมการชุดนี้

ได้เสนอเกณฑ์เพื่อเป็นบรรทัดฐานของกิจกรรมการประเมินจะก าหนดให้มีมาตรฐานใน 4 ด้าน ได้แก่

มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ (Utility standards) มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ (Feasibility standards) มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety standards) และมาตรฐานด้านความถูกต้อง ครอบคลุม (Accuracy standards) เป็นต้น ดังนั้นในระยะของการประเมินนวัตกรรมนักวิจัยสามารถ ประยุกต์จากมาตรฐานของการประเมินที่เหมาะสมกับนวัตกรรมนั้น ๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการ ประเมินได้

132 2. ระบุกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

ซึ่งควรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดลองนวัตกรรมในระยะที่

ผ่านมา ซึ่งโดยทั่วไปกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทดลองนวัตกรรมทางการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร โรงเรียน ครู นักเรียน บุคลากรสายสนับสนุน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง หรือตัวแทน ชุมชน ทั้งนี้จะเป็นกลุ่มใดขึ้นอยู่กับว่ามีกลุ่มใดที่เกี่ยวข้องกับการทดลองนวัตกรรมมาแล้ว และ สามารถให้ข้อมูลตามประเด็นที่ก าหนดในข้อ 1 ได้ ซึ่งส่วนนี้นักวิจัยจะต้องวิเคราะห์ให้ดีเพราะหาก เป็นกลุ่มที่ไม่รู้หรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้น ๆ หรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดลองนวัตกรรม ดังกล่าว ข้อมูลที่ได้มาก็จะไม่เกิดประโยชน์เป็นความคลาดเคลื่อนบางครั้งก็ให้เกิดความเสียหาย เพราะจะท าให้นักวิจัยหลงประเด็นหรือปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมที่ผิดจุดที่ควรจะเป็นในทางธุรกิจอาจ ส่งผลต่อยอดขายหรือเสี่ยงต่อการขาดทุน เลยก็ว่าได้

3. ระบุเครื่องมือหรือวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะเป็นประเภท ใดก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเด็นที่ต้องการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล และบริบทอื่น ๆ โดยทั่วไป ควรออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน อาจมีเครื่องมือหรือวิธีการที่หลากหลาย เพื่อใช้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนด าเนินการวิเคราะห์ ทั้งนี้ ในระยะนี้เครื่องมือหรือ วิธีการที่มักใช้ ได้แก่ การประชุมผู้เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกต การใช้แบบสอบถามหรือ การรายงานตนเอง เป็นต้น

4. สร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือหรือวิธีการ

ในการวิจัยเครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ ดังนั้นนักวิจัยจะต้องมีความเข้าใจและรอบรู้หลักการสร้างและ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดต่าง ๆ ในบางสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ให้

ข้อมูลในระยะนี้อาจมีจ านวนน้อย ท าให้การทดลองใช้ (Try out) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลมีข้อจ ากัดแต่ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สร้างขึ้นมาจะต้องการมีการ ตรวจสอบความเที่ยงตรงหรือความตรง (Validity) ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความส าคัญที่สุด