• Tidak ada hasil yang ditemukan

การพิทักษ์สิทธิ์และจรรยาบรรณในการวิจัย

1. การด าเนินการวิจัยในระยะที่ 1

1.1 การก าหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1.1.1 ประชากร

ประชากร คือ บุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จ านวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาล บางปลาม้า และ โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จ านวน 570 คน (ที่มา: ข้อมูลหน่วยบริการปฐมภูมิ

และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ ส านักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561)

1.1.2 กลุ่มตัวอย่าง

เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์

โครงสร้างเชิงสาเหตุโดยมีตัวแปรสังเกตภายใน (Endogenous observation variables) คือ ตัว แปรคั่นกลาง (Mediator variable) คือ ความผูกพันของบุคลากร, ตัวแปรผลคือ ความสุขใจ และ ตัวแปรสังเกตภายนอก (Exogenous observation variables) คือ หลักการทางพุทธศาสนา: สังคหวัตถุ 4, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การเห็นคุณค่าในตนเอง, การรับรู้การสนับสนุน ขององค์การและการมีส่วนร่วมในองค์การ ดังนั้นจึงต้องก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมกับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติดังกล่าวนั้น พบว่า ถ้าต้องการ ใช้วิธีการประมาณค่าแบบไลค์ลีฮูดสูงสุด (Maximum likelihood) ซึ่งเป็นวิธีการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ที่ใช้แพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่มีความคงเส้นคงวา มีประสิทธิภาพและ เป็นอิสระจากมาตรวัด (Bollen, 1989, p. 108) นักสถิติส่วนใหญ่เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ควรมี

ขนาดที่มากพอเพื่อที่จะท าให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มีความมั่นใจในการทดสอบ จากกฎความ เพียงพอในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ก าหนดไว้ว่าขนาดกลุ่มตัวอย่างต่อจ านวนตัวแปรสังเกตในโมเดล ที่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูลควรมีสัดส่วนอย่างน้อย10-20: 1 (Schumacker & Lomax, 1996) ซึ่งจากกรอบแนวคิดมีตัวแปรสังเกต 7 ตัวแปร เพราะฉะนั้นกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อยคือ 70- 140 คน และจาก Comrey & Lee (1992) ที่เสนอแนะว่า ขนาดกลุ่มตัวอย่างจ านวน 50 ราย ถือว่า แย่มาก (very poor), 100 ราย ถือว่า ไม่ดี (poor), 200 ราย ถือว่า พอใช้ได้ (fair), 300 ราย ถือว่า ดี (as a good) และ 500 ราย (as excellent) ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) ดังตาราง 3 ซึ่งงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็น จ านวนทั้งสิ้น 444 คน

ตาราง 3 การสุ่มตัวอย่างและขนาดกลุ่มตัวอย่างการวิจัยระยะที่ 1

โรงพยาบาล จ านวนประชากร ขนาดตัวอย่าง เก็บตัวอย่างจริง

โรงพยาบาลบางปลาม้า 270 250 220

โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช 300 250 224

570 500 444

1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยนี้ได้ก าหนดเป็นแบบสอบถามและแบบวัดเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดย โครงสร้างของแบบสอบถามและแบบวัดแบ่งออกเป็น 8 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป, ตอนที่ 2 ความผูกพันของบุคลากร, ตอนที่ 3 ความสุขใจ, ตอนที่ 4 การรับรู้ความสามารถของ ตนเอง, ตอนที่ 5 การเห็นคุณค่าในตนเอง, ตอนที่ 6 การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ, ตอนที่ 7 การมีส่วนร่วมในองค์การ และตอนที่ 8 สังคหวัตถุ 4

1.3 ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1) ก าหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบสอบถามและแบบวัด

2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรในงานวิจัย เพื่อก าหนดเป็นค านิยามเชิง ปฏิบัติการ

3) เลือกและพัฒนาแบบวัดให้สอดคล้องกับนิยามเชิงปฏิบัติการ

4) เสนอแบบร่างแบบสอบถามและแบบวัดต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์

5) ปรับปรุงตามค าแนะน าตามคณะกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์

6) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ของแบบสอบถามและ แบบวัดว่าครอบคลุมตามขอบเขตพฤติกรรมที่ต้องการจะวัดหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านในการ ตรวจสอบ

7) น าผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมาค านวณ เพื่อหาความสอดคล้องระหว่าง ข้อค าถามกับวัตถุประสงค์ (Index of consistency: IOC)

8) พิจารณาปรับปรุง แก้ไขข้อค าถามตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้

แบบสอบถามและแบบวัดที่สมบูรณ์

9) ทดลองใช้แบบสอบถามกับบุคลากรของโรงพยาบาลที่เป็นสหวิชาชีพจ านวน 60 คน ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้เพื่อน ามาปรับปรุง ค าถาม (และมีการตรวจคุณภาพเครื่องมือซ ้าอีกครั้งในกลุ่มตัวอย่าง 444 คน)

10) น าข้อมูลมาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ เพื่อทดสอบค่าความเที่ยง ประเภทความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency Reliability) โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) โดยมีค่าอยู่ระดับยอมรับได้ .70 ขึ้นไป (Nunnully,1978) รวมทั้งวิเคราะห์ค่าอ านาจจ าแนกรายข้อ (Correlated Item-Total Correlation:

CITC) ซึ่งควรมีค่าตั้งแต่ .20 ขึ้นไป (Jacobson,1988) และตรวจสอบคุณภาพแบบวัดด้านความ ตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA)

11) น าแบบสอบถามไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง 1.4 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความผูกพันของบุคลากร แบ่งเป็น 8 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของบุคลากร

ตอนที่ 2 แบบสอบถามความผูกพันของบุคลากร(Employee Engagement) ตอนที่ 3 แบบสอบถามความสุขใจ (Subjective Well-being)

ตอนที่ 4 แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในตนเอง ตอนที่ 5 แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง

ตอนที่ 6 แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ ตอนที่ 7 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในองค์การ

ตอนที่ 8 แบบสอบถามสังคหวัตถุ 4

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เกณฑ์การให้คะแนน และการแปลผลของเครื่องมือ ดังนี้

ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของบุคลากร ตัวอย่างข้อความ 1. เพศ

 ชาย  หญิง 2. อายุ………ปี

3. สถานภาพสมรส

 โสด  สมรส  หย่าร้าง 4. ระดับการศึกษา

 ต ่ากว่าปริญญาตรี  ระดับปริญญาตรี

 ระดับปริญญาโท  ระดับปริญญาเอก 5. ต าแหน่งงาน

 เป็นข้าราชการ  พนักงานราชการ  พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

 ลูกจ้างประจ า  ลูกจ้างชั่วคราว  ลูกจ้างรายวัน

 ลูกจ้างรายคาบ  ลูกจ้างแบ่งค่าตอบแทน (หมอนวดแผนไทย)

 อื่น ๆ ระบุ ……….

6. ประสบการณ์ในการท างาน

 ต ่ากว่า 1 ปี  1 - 5 ปี  6-10 ปี

 11-15 ปี  16 - 20 ปี  มากกว่า 20 ปีขึ้นไป 7. รายได้/เงินเดือน……….บาท/เดือน

ตอนที่ 2 แบบวัดความผูกพันของบุคลากร (Employee Engagement)

เป็นแบบวัดที่สร้างโดย ดุษฎี โยเหลา (2558) โดยพัฒนามาจากแนวคิดของ Cook (2008) ประกอบด้วยข้อค าถาม 23 ข้อ แบ่งออกเป็น ด้านความคิด 4 ข้อ ด้านอารมณ์ 5 ข้อ ด้าน การกระท า 11 ข้อ ด้านการสนับสนุนองค์การ 3 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบมาตรวัดประเมินรวมค่า 4 ระดับ จากเห็นด้วยอย่างยิ่ง (4 คะแนน) ถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (1 คะแนน) คะแนนรวมมีค่า ระหว่าง 23-92 คะแนน โดยผู้ตอบที่ได้คะแนนสูงกว่า แสดงว่าเป็นผู้มีความผูกผันสูงกว่าผู้ตอบที่

ได้คะแนนต ่ากว่า และแบบวัดนี้มีค่าอ านาจจ าแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .35 - .78 (กลุ่ม tryout 60 คน) และ .35 - .74 (กลุ่มตัวอย่าง 444 คน) และมีค่าความเชื่อมั่นแบบแอลฟ่า เท่ากับ .92 (กลุ่ม tryout) และ .91 (กลุ่มตัวอย่าง)

ตัวอย่างข้อความ

ข้อความ ไม่เห็นด้วย

อย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย อย่างยิ่ง ด้านความคิด

0 ฉันใช้ความคิดเพื่อการปรับปรุงพัฒนางานอยู่เสมอ ... ... ... ...

ด้านอารมณ์

0 ฉันรู้สึกเหมือนโรงพยาบาล เป็นเหมือนบ้านของฉัน ... ... ... ...

ด้านการกระท า

0 ฉันปกป้องโรงพยาบาล...ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

และชัดเจนเมื่อมีผู้กล่าวหา ... ... ... ...

ด้านการสนับสนุน

0 ฉันบอกผู้อื่นว่าท างานที่โรงพยาบาลอย่างภูมิใจ ... ... ... ...

ตอนที่ 3 แบบวัดความสุขใจ (Subjective well-being)

เป็นแบบวัดของ Diener (2010) ประกอบด้วยข้อค าถาม 17 ข้อ แบ่งออกเป็นแบบวัด ความพึงพอใจในชีวิต 5 ข้อ แบบวัดความรู้สึกทางบวก 6 ข้อ และแบบวัดความรู้สึกทางลบ 6 ข้อ โดยแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตมีลักษณะเป็นแบบมาตรวัดประเมินรวมค่า 7 ระดับ จากเห็นด้วย มากที่สุด (7 คะแนน) ถึง ไม่เห็นด้วยมากที่สุด (1 คะแนน) และการวัดความรู้สึกทางบวกและลบมี

ลักษณะเป็นแบบมาตรวัดประเมินรวมค่า 5 ระดับ จากเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากหรือเกิดขึ้นตลอดเวลา (5 คะแนน) ถึง เกิดขึ้นน้อยครั้งหรือไม่เคยเกิดขึ้นเลย (1 คะแนน) และในกรณีเป็นข้อค าถามทาง ลบ เกณฑ์การให้คะแนนให้ปรับไปในทางตรงข้ามกับข้อค าถามในทางบวก คะแนนรวมมีค่า

ระหว่าง 17-95 คะแนน โดยผู้ตอบที่ได้คะแนนสูงกว่า แสดงว่าเป็นผู้มีความสุขสูงกว่าผู้ตอบที่ได้

คะแนนต ่ากว่า และแบบวัดนี้มีค่าอ านาจจ าแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .31 - .69 (กลุ่ม tryout) และ .30 - .68 (กลุ่มตัวอย่าง) และมีค่าความเชื่อมั่นแบบแอลฟ่า เท่ากับ .88 (กลุ่ม tryout) และ .87 (กลุ่มตัวอย่าง)

ตัวอย่างข้อความ ตัวอย่างค าถามความพึงพอใจในชีวิต เช่น

ข้อความ ไม่เห็นด้วย มากที่สุด

ไม่เห็น ด้วย

ค่อนข้าง

ไม่เห็นด้วย เฉย ๆ ค่อนข้าง

เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย มากที่สุด ความพึงพอใจในชีวิต

0 สภาพชีวิตต่าง ๆ

ของฉันดีมาก ... ... ... ... ... ... ...

ตัวอย่างค าถามความรู้สึกทางบวกและลบ เช่น

ข้อความ

เกิดขึ้นบ่อยมาก หรือเกิดขึ้น ตลอดเวลา

เกิดขึ้นบ่อย เกิดขึ้นบ้าง ไม่เกิดขึ้น

เกิดขึ้นน้อย ครั้งหรือไม่

เกิดขึ้นเลย แบบวัดความรู้สึกทางบวก

0 ท่านรู้สึกยินดี ... ... ... ... ...

แบบวัดความรู้สึกทางลบ

0 ท่านรู้สึกโกรธ ... ... ... ... ...

ตอนที่ 4 แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy)

การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) เป็นแบบวัดของ เกรียงสุข เฟื่องฟูพงศ์

(2554) ซึ่งน ามาจากงานวิจัยของ Sheier (1982) ที่พัฒนามาจากแนวคิด ของ Bandura (1977) ซึ่งพัฒนาปรับปรุงโดย จิตตระการ ศุกร์ดี (2543) มีข้อค าถาม 12 ข้อ เป็นข้อค าถามทางบวก 5 ข้อ เป็นข้อค าถามลบ 7 ข้อ ลักษณะเป็นแบบมาตรวัดประเมินรวมค่า 5 ระดับ จากเห็นด้วยอย่างยิ่ง (5 คะแนน) ถึง ไม่เห็นด้วย (1 คะแนน) และในกรณีเป็นข้อค าถามทางลบ เกณฑ์การให้คะแนนให้

ปรับไปในทางตรงข้ามกับข้อค าถามในทางบวก คะแนนรวมมีค่าระหว่าง 12-60 คะแนน โดยผู้ตอบ ที่ได้คะแนนสูงกว่า แสดงว่าเป็นผู้มีการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่าผู้ตอบที่ได้คะแนนต ่า