• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความสัมพันธ์ตัวแปรที่จะศึกษากับหลักการทางพุทธศาสนาและรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์

ปฏิสัมพันธ์นิยม

3.1 หลักการทางพุทธศาสนา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2559) กล่าวว่า หลักการทาง พระพุทธศาสนาที่ส าคัญคือไตรสิกขา สิกขา แปลว่า การศึกษา การส าเหนียก การฝึกหัด ฝึกอบรม พัฒนากาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด คือการ พ้นทุกข์ ซึ่ง พระไพศาล วิสาโล (2558) กล่าวว่าหลักการทางพุทธศาสนามุ่งเน้นหลักธรรมค าสั่ง สอนใน 2 มิติ คือ การพัฒนา“จิต” กับ “กิจ” กล่าวคือ 1) การมุ่งเน้นการพัฒนา “จิต” คือท าให้จิตมี

สติ สมาธิ ปัญญา การท าจิตใจให้ผ่องใส เบิกบาน ขัดเกลากิเลส ลด ละ เลิก สิ่งไม่ดี ท าจิตให้

บริสุทธิ์เพื่อพัฒนาจิตใจให้มีความเมตตา ความกรุณา ความเห็นอกเห็นใจ มีพลังใจ ความสุขใจ ความพอใจ เกิดความสงบขึ้นในใจ ฝึกคิดบวก ตามความเป็นจริง เห็นคุณค่าของตนเอง ฝึกจิตให้

เป็นผู้ให้ คิดอยากช่วยผู้อื่น ฝึกการวางใจที่ถูกต้อง ฝึกการปล่อยวาง เมื่อจิตที่ถูกพัฒนาขึ้นย่อม ส่งผลท าให้ความคิด และอารมณ์ให้เปลี่ยนไปส่งผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดี 2) การ มุ่งเน้นการพัฒนา “กิจ” คือมุ่งเน้นการปฏิบัติการลงมือท า ปฏิบัติภาวนา ท าสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อ ตนเอง และผู้อื่น ฝึกให้มีความเพียร ท าอย่างต่อเนื่อง ท าหน้าที่ตนเองในบทบาทต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เหมาะสม ฝึกช่วยเหลือผู้อื่น อยู่ร่วมกับผู้อื่น การปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทั้งในด้านค าพูดและการ กระท าตลอดจน สอนให้งดเว้นสิ่งที่ไม่ดี เช่น การท าร้ายกัน การลักขโมย การประพฤติผิดในกาม การโกหก และการใช้ยาเสพติด เป็นต้น เมื่อการพัฒนา “กิจ” ได้ท าอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อ พฤติกรรมที่แสดงออกก็จะดีขึ้นตามล าดับ ส่งผลที่ดีต่อตนเอง ครอบครัวและ การงาน และสังคม ต่อไป

สังคหวัตถุ 4 (Four Sangahavatthu Principles) เป็นหลักธรรม เพื่อการยึดเหนี่ยว จิตใจของหมู่มิตร ที่มุ่งเน้นการพัฒนา “จิต” และ การพัฒนา“กิจ” กล่าวคือ 1) การพัฒนา “จิต” ให้

จิตใจเกิดความเมตตากรุณา อยากช่วยผู้อื่น อยากให้ผู้อื่นมีความสุข ตลอดจนการให้อภัยซึ่งกัน และกัน ลดความขัดแย้ง เปลี่ยนเป็นความเห็นอกเห็นใจกัน น าไปสู่พฤติกรรมที่ลงมือช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน สร้างความสุขใจให้กับทั้งผู้ให้และผู้รับ 2) การพัฒนา “กิจ” การให้คือทาน การให้การ ช่วยเหลือเป็นสิ่งของ ให้เวลาให้ความรัก ความเมตตา ตลอดจนให้อภัย พูดกันด้วยค าพูดที่ดีมี

ประโยชน์ พูดให้ก าลังใจกัน ไม่ท าร้ายกันด้วยค าพูด คือ ปิยวาจา การลงมือช่วยเหลือท าประโยชน์

ให้กับผู้อื่น จนเขาได้รับการแก้ปัญหา คือ อัตถจริยา และเมื่อเกิดการให้ การพูดที่ดี การกระท า ช่วยเหลือได้ท าอย่างสม ่าเสมออย่างไม่ถือตัว ร่วมทุกข์ร่วมสุข คือ สมานัตตตา เมื่อบุคคลใดที่ได้

น าหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ไปพัฒนา “จิต” และ “กิจ” แล้วย่อมเป็นธรรมที่ก่อให้เกิดการยึดเหนี่ยว

จิตใจกัน เกิดพฤติกรรมที่ปฏิบัติสิ่งดี ๆ ต่อกัน ส่งผลให้เกิดความสุขใจของผู้ปฏิบัติหลักธรรมนี้

ขณะที่การรับรู้ความสามารถของตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง คือการพัฒนา “จิต”อย่างหนึ่ง เมื่อจิตใจดีแล้วก็จะส่งผลต่อการกระท าที่ดี มีพฤติกรรมที่จะท าสิ่งดี ๆ ต่อไปถือได้ว่าเป็นการท า

“กิจ” จากผลของจิตที่ดี ขณะที่การรับรู้การสนับสนุนขององค์การ เมื่อจิตรับรู้ว่าได้รับการสนับสนุน ก็จะท า “กิจ” ด้วยความรู้สึกพึงพอใจ รู้สึกมีก าลังใจในการท างาน สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมใน องค์การ ถือเป็นการท า “กิจ” เช่นกัน เมื่อท าต่อเนื่องย่อมส่งผลถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป รู้สึกตัวเอง มีคุณค่า รู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อองค์การ รู้สึกภูมิใจในตัวเอง ถือว่าย้อนกลับมาส่งผลต่อการพัฒนา

“จิต” ตนเอง

3.2. รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model) ของ Magnusson &

Endler

Magnusson & Endler (1977) (อ้างถึงใน ดวงเดือน พันธุมนาวิน ,2541: 105 -109) กล่าวถึงสาเหตุของพฤติกรรมมนุษย์แบ่งได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) สาเหตุด้านสถานการณ์ (Situation factors) เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น พ่อแม่ ครู เพื่อน หัวหน้า เป็นต้นหรือ สิ่งไม่มีชีวิตเช่นอากาศ อุณ หภูมิ เป็นต้น ซึ่งต่างก็มีอิทธิพลต่อการกระท าของบุคคล 2) สาเหตุด้านจิตลักษณะเดิม (Psychological traits) เป็นจิตที่เกิดจากการสะสมตั้งแต่เด็กและ ติดตัวบุคคลในสถานการณ์หนึ่ง ๆ มีพื้นฐานมาจากการอบรมถ่ายทอดทางสังคมที่ส าคัญ เช่น ครอบครัว โรงเรียน ศาสนา เป็นต้น 3) สาเหตุที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะเดิม และ สถานการณ์เรียกว่า (Mechanical interaction) และ 4) สาเหตุด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์

(Psychological states) เป็นจิตลักษณะที่มีความเป็นพลวัตมีความเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณ และหรือในเชิงคุณภาพได้มากเป็นผลของสถานการณ์ปัจจุบันร่วมกับลักษณะของจิตเดิมของ บุคคลและมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด เมื่อทัศนคติของบุคคลเปลี่ยนไปพฤติกรรม ของเขาก็จะเปลี่ยนไปด้วย

การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) และสังคหวัตถุ 4 จัดอยู่ในด้านจิต ลักษณะตามสถานการณ์ (Psychological states) เป็นจิตลักษณะที่มีความเป็นพลวัตร ต่อ การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อเห็นคนที่

บ้านถูกไฟไหม้ก็ช่วยกันบริจาคเป็นเงินทอง สิ่งของ หรือในช่วงการระบาดของโรค covid 19 หลาย คนช่วยกันบริจาคอาหาร น ้าดื่ม หน้ากาก หรือเงินทอง ให้กับคนยากจน คนตกงาน หรือ โรงพยาบาล ขณะที่ การเห็นคุณค่าของตนเอง (Self-esteem) จัดอยู่ในจิตลักษณะเดิมของบุคคล (Psychological traits) ที่ถูกสะสมมาตั้งแต่วัยเด็กโดยครอบครัว โรงเรียน และสังคม ขณะที่การ รับรู้การสนับสนุนขององค์กร จัดอยู่ในสาเหตุด้านสถานการณ์ (Situation factors) เมื่อบุคลากรใน

องค์กรรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ก็จะเสริมแรงในการท างานและปัจจัยการมีส่วนร่วมในองค์กร จัดอยู่ในสาเหตุด้านสถานการณ์ (Situation factors) เช่นกันจากการที่องค์การมีนโยบายการมี

ส่วนร่วมขององค์การ ส่งผลในการมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในองค์การ ดังภาพประกอบ 2

ภาพประกอบ 2 การวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรมด้วยรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม

ลักษณะสถานการณ์

ปัจจุบัน

• การรับรู้การสนับสนุน จากองค์การ

• การมีส่วนร่วมในองค์การ

จิตลักษณะเดิมของบุคคล

• การเห็นคุณค่าในตนเอง

พฤติกรรมของบุคคล

• ความผูกพัน

• ความสุขใจ

จิตลักษณะตามสถานการณ์

• การรับรู้ความสามารถ ของตนเอง

• สังคหวัตถุ 4

- ทาน

- ปิยวาจา - อัตถจริยา - สมานัตตตา Mechanical

Interaction

Organismic Interaction