• Tidak ada hasil yang ditemukan

1. แนวคิดและทฤษฎีของความผูกพันของบุคลากรและความสุขใจ

1.2. แนวคิดความสุขใจ (Subjective Well-being)

1.2.2 แนวคิดความสุขใจ

1) แนวคิดของ Ryff & Keyes

Ryff & Keyes (1995) ได้จ าแนกความแตกต่างระหว่างความรู้สึกด้านบวก และความรู้สึกด้านลบ (positive affect and negative affect) และให้ความหมายค าว่าความสุข (happiness) ว่าเป็นสภาวะสมดุลระหว่างความรู้สึกสองประเภทดังกล่าว แนวความคิดรวบยอดที่

สอง อยู่ในสาขาวิชาสังคมวิทยานักสังคมวิทยาเน้นว่าความพึงพอใจในชีวิตเป็นตัวบ่งชี้พื้นฐานของ ความสุข (well – being) แนวความคิด ดังกล่าวถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบด้านการรู้การคิดและ เป็นประเด็นที่เพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ความหมาย ของค าว่า “ความสุข” (happiness) ซึ่งเป็นมิติ

ของความรู้สึกที่ท าหน้าที่ด้านบวก (positive functioning) การศึกษาเกี่ยวกับความสุข ด้านนี้

มักจะมีค าถามที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิต และค าถามในมิติเฉพาะ เกี่ยวกับงาน รายได้ ความสัมพันธ์ ทางสังคมและผู้คนในละแวกบ้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

2) แนวคิดของ Diener

Diener (2010) ได้กล่าวถึง สุขภาวะที่ดี (Subjective Well-Being) เป็น ค าศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ นักวิจัยหลายท่านมักจะใช้ค าว่า สุขภาวะที่ดี เพื่อหาค าแทนค าว่า ความสุข (Happiness) เนื่องจากความหมายในภาษาอังกฤษในพจนานุกรมและความหมายที่

สังคมใช้สื่อสารกันในสังคม ค าว่าความสุขมีความหมายใกล้เคียงกับอีกหลายๆค า เช่น ความสุข สันต์ (Joy) ความพึงพอใจ (Satisfaction) หรือ ความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction) หรือ ความรู้สึกเต็มอิ่มในชีวิต (Feeling of fulfillment) สภาวะเปี่ยมไปด้วยสนุกสนาน (Joyful State) ความรู้สึกทางบวกในระยะยาว (Long-Term Positive Feeling) และมีความหมายครอบคลุมถึง การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem) เป็นต้น ส าหรับค าว่า “ความสุข” (Happiness or Subjective Well-Being) ตามแนวคิดของ Diener (2000) ได้อธิบายองค์ประกอบของความสุข ประกอบด้วย ความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction) การมีความรู้สึกทางบวก (Positive Affect) และการไม่มีความรู้สึกทางลบ (Negative Affect) บุคคลจะประเมินความพึงพอใจในชีวิต จากหลาย ๆ ด้าน เช่น ชีวิตส่วนตัว ฐานะการเงิน สิ่งอ านวยความสะดวก ชีวิตการท างาน ชีวิตการ สมรส เป็นต้น เป็นการประเมินจากอารมณ์และความรู้สึกจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต โดยบุคคลที่มี

ความสุขจะมีความสมดุลระหว่างความรู้สึกทางบวกและความรู้สึกทางลบ บุคคลที่มีสุขภาวะที่ดี

จะมีความรู้สึกทางบวกสูงกว่าทางลบ ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกจะเพิ่มขึ้นจากการวิธีคิดและ ประเมินสถานการณ์ในเชิงบวก ทั้งนี้บุคคลสามารถมีความรู้สึกทางบวกในระดับที่สูง โดยอาจจะมี

ความรู้สึกทางลบในระดับที่สูงได้ในเวลาเดียวกันได้เช่นกัน ดังนั้น ความสุขจึงต้องใช้มุมมองใน หลายมิติเพื่อที่จะท าความเข้าใจได้ไม่มองแต่มุมบวกแต่เพียงอย่างเดียว (Diener, 2010) เช่นเดียวกับ ผลการศึกษาของ Warr (2007) พบว่า บุคคลสามารถมีความสุขและความทุกข์ใน ระดับที่สูงใกล้เคียงกันได้เช่นกัน เช่น บุคคลนั้นรู้สึกมีความสุขกับสภาพแวดล้อมในงานที่ดีแต่

ขณะเดียวกัน บุคคลนั้นมีสุขภาพไม่แข็งแรง ท าให้มีความสุขในท างานอยู่ในระดับต ่า หรือเกิด ความรู้สึกเชิงลบในระดับสูง ที่ผ่านมา Diener (1984) ความสุขหรือสุขภาวะที่ดีคือ การพัฒนา มาตรวัดทางด้านสุขภาวะที่ดีทางอารมณ์ ส าหรับ Brenner (1975) พบว่าองค์ประกอบของ ความสุขคือ ความรู้สึกทางบวก (Positive Affect) และความรู้สึกทางลบ (Negative Affect) และ สอดคล้องกับผลวิจัยของ Andrews & Withey (1976) พบว่าความสุขประกอบด้วย การประเมิน ความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction Judgments) ความรู้สึกทางบวก (Positive Affect) และ ความรู้สึกทางลบ (Negative Affect) ซึ่ง Diener (2000) ความสุขหรือสุขภาวะที่ดีประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction) หมายถึง กระบวนการเกี่ยวกับ

การคิดและการตัดสินใจ การประเมินโดยรวมๆทั่วไป ถึงคุณภาพชีวิตของตนเองจากเกณฑ์ที่บุคคล นั้นก าหนดขึ้นมาเอง ซึ่งการประเมินความพึงพอใจเทียบกับมาตรฐานที่บุคคลนั้นคิดว่าเหมาะสม ซึ่งแต่ละบุคคลให้คุณค่าความส าคัญกับประเด็นที่แตกต่างกันไป (Diener, 1985) 2) ความพึง พอใจในสิ่งที่ส าคัญของชีวิต (Satisfaction with Importance Domains) เช่น การงาน อาชีพ ครอบครัว ความรัก ความสัมพันธ์ในกลุ่มมิตรภาพกลุ่มเพื่อน สุขภาพกาย สุขภาพใจ การศึกษา กิจกรรมในเวลาว่าง งานอดิเรก ที่อยู่อาศัย เป็นต้น 3) ความรู้สึกทางบวก (Positive Affect) หมายถึง การที่บุคคลรู้สึกดี อารมณ์ดี กับเหตุการณ์ดีที่เกิดขึ้นท าให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกสนุก ร่า เริงแจ่มใส เบิกบานใจ ความยินดีพอใจ มองผู้อื่นในมุมบวก รู้สึกความกระตือรือร้นที่จะท าสิ่งต่างๆ และ 4) ความรู้สึกทางลบ (Negative Affect) หมายถึง การที่บุคคลรู้สึกไม่ดี อารมณ์ไม่ดี กับ เหตุการณ์ที่แย่ หรือเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้น ท าให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก คับข้องใจ เบื่อ หน่าย รู้สึกเศร้าหมอง หดหู่ และโกรธเคือง ไม่สบายใจ ดังนั้น จะเห็นว่า ความสุข และความพึง พอใจในชีวิต เป็นสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งถ้าความถี่ของความรู้สึกทางบวกหรืออารมณ์อัน น่ายินดี เช่น ความรู้สึกสนุกสนาน (Joy) ความพึงพอใจ (Contentment) ความตื่นเต้น (Excitement) ความรัก (Affection) และการมีพลัง (Energy) เกิดขึ้นจ านวนที่บ่อยครั้งนั้น จะเป็น เครื่องชี้วัดสิ่งที่ดีในชีวิตและมีความสุขของบุคคลหนึ่ง (Lucas & Diener, 2009)

3) หลักการทางพระพุทธศาสนาเรื่องความสุข

ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงความสุขว่าเกี่ยวข้องกับ ภาวะหมดความทุกข์

ดับทุกข์สิ้นทุกข์ และจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน เป็นความสุขที่สูงสุด ความสุข มีหลายประเภท โดยการแบ่งที่ชัดเจนคือแบ่งเป็น 10 ขั้น คือ กามสุข ปฐมฌานสุข ทุติยฌานสุข ตติยาฌานสุข จตุตถฌานสุข อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข เนวสัญญานาสัญญายตนจายตนปัตติสุข และสัญญาเวทยิตนิโรธ สมาปัตติสุข ทั้งหมดนี้มีแต่ความสุขในขั้นที่ 1 ขึ้นไปเท่านั้นที่เป็นความสุขของบุคคลที่ปฏิบัติสมาธิ

ในขั้นฌานสุข ความสุขในขั้นกามสุขนี้เป็นความโสมนัสที่เกิดจากกามคุณ หรือกาม 2 อย่าง คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ดังนั้นความสุขในขั้นกามสุขนี้ เป็นความรู้สึกชอบใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และความพอใจ ขอบใจ หลงใหล หมกมุ่น ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส (พระธรรมปิฎก ป.อ.

ปยุตโต, 2558) นอกจากนี้ ในค าสอนของพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง “ประโยชน์สุข” ว่าเป็น จุดมุ่งหมายของชีวิตและการมีชีวิตที่สมบูรณ์นั้นต้องประกอบด้วยประโยชน์สุขในระดับต่าง ๆ ประโยชน์สุขในทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นระดับ ดังนี้คือ ระดับที่ 1 ทิฎฐธัมมิกัตตะ คือ ประโยชน์สุขที่มองเห็น ซึ่งเป็นเรื่องวัตถุหรือด้านรูปธรรมหรือเรียนว่า ประโยชน์สุขระดับต้น ได้แก่

1) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ใช้การได้ดี 2) มีทรัพย์สินเงินทอง มีการงานอาชีพเป็น หลักฐานหรือพึงตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ 3) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์หรือสถานะใน สังคม เช่น ยศศักดิ์ ต าแหน่ง มีเกียรติ มีชื่อเสียง ได้รับการยกย่องในสังคม รวมถึงความมีมิตร สหาย บริวารและ 4) มีครอบครัวที่ดีมีความสุข ประโยชน์สุขในระดับต้นเป็นสิ่งส าคัญที่ทุกคนควร ท าให้เกิดขึ้น ถ้าใครขาดประโยชน์สุขในระดับต้นนี้แล้วจะมีชีวิตที่ล าบากและจะก้าวไปสู่ความสุข หรือประโยชน์ในระดับสูงขึ้นไปอย่างติดขัดมาก เช่น ถ้าเรามีครอบครัวที่มีความมั่นคง มีความสุข เราจะท างานด้วยความปลอดโปร่ง สามารถหาเงินทองได้ดี เลี้ยงดูและสร้างสรรค์ความเจริญของ ชีวิตครอบครัวได้ดียิ่งขึ้นไป เป็นที่ยอมรับของสังคมกลายเป็นคนที่ได้รับการยกย่อง มีเกียรติ

ตลอดจนมีมิตรเข้ามาเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราเจ็บป่วย ไม่สามารถท างานได้อย่างเต็มที่ ทรัพย์เงินทองที่

เคยหามาได้ก็หมดไปกับการรักษาพยาบาล ครอบครัวย่อมมีความเดือดร้อนและเมื่อจะท า ประโยชน์ในระดับที่สอง เช่น เรามีน ้าใจอยากช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ แต่เราท าประโยชน์สุข ในระดับต้นไว้ไม่ดีพอดังเช่นในเรื่องของเงินทอง เป็นผลท าให้เราท าประโยชน์สุขในระดับนี้ยังมี

ข้อบกพร่อง คือ ไม่ลึกซึ้ง ไม่ปลอดโปร่งโล่งใจเต็มที่ ยังเป็นไปด้วยความหวาดระแวงและความหวง แหน ทั้งนี้เนื่องจากว่าความสุขจะขึ้นอยู่กับการได้มาในวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ท าให้เรามีแนวคิดที่ว่าถ้า เรายิ่งมีมากเราจะยิ่งมีความสุขมาก ดังนั้นจากแต่ก่อนเคยมีเท่านี้แล้วเป็นสุข แต่ตอนนี้จะต้องให้มี

มากกว่าเดิมจึงจะเป็นสุขได้ ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าเราวิ่งไล่ตามความสุขไม่ถึงสักที นี่คือความรู้สึก ไม่มั่นคงโปร่งใจ หรือในขณะที่เรามีเกียรติ มียศในสังคม เราเกิดความรู้สึกไม่อิ่มใจเต็มที่ ไม่ลึกซึ้ง จึงเป็นประโยชน์สุขที่ไม่ลึกซึ้งหรือการเกิดความรู้สึกสูญเสียความมั่นใจ เกิดความโทมนัสเมื่อ ต้องการออกจากสถานะ เกียรติยศ ชื่อเสียงนั้น ตลอดจนการมีทรัพย์สินครอบครองแล้วรู้สึกเป็น ห่วง กังวล กลัวภัยแฝงมาด้วย ดังนั้น ประโยชน์สุขในระดับที่หนึ่ง จึงเป็นความสุขที่ผ่าน ๆ ไป ไม่ลึกซึ้งและไม่ยืนยาว ระดับที่ 2 สัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์สุขที่เป็นด้านนามธรรม เป็นเรื่องของ จิตใจลึกซึ้งลงไปเป็นประโยชน์สุขที่ประกอบด้วยคุณธรรมอยู่ภายใน เช่น ความมีชีวิตที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ การได้ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่นด้วยคุณธรรม ได้ท าประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ รวมถึง การมีศรัทธา คือความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ในคุณความดี ในการกระท าดี ในจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ตลอดจนมีวิถีชีวิตที่ดีงามเป็นผลให้จิตใจมีความมั่นใจและมั่นคง มีก าลังเข้มแข็งและผ่องใส พร้อม ทั้งมีความสุขที่ประณีตเป็นส่วนแท้และลึกซึ้งอยู่ภายใน ส่วนประโยชน์สุขที่สอง เมื่อได้ระลึกถึงเรา จะรู้สึกอิ่มใจ สบายใจ นอกจากนี้ประโยชน์สุขที่หนึ่งที่มีประโยชน์สุขที่สองอยู่คู่ภายในด้วยจะท าให้

เกิดความลึกซึ้ง เช่น การที่เรามีน ้าใจมีคุณธรรมช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วยใจจริงจะท าให้ผู้อื่น เคารพนับถือเราจริงอันเป็นการแสดงออกที่มาจากใจนอกจากความสุขสดชื่นที่ได้รับแล้วจากการ