• Tidak ada hasil yang ditemukan

2. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากร

2.5 การมีส่วนร่วมในองค์การ (Participation in the organization)

2.5.2 แนวคิด ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในองค์การ

การมีส่วนร่วม (Participation) ก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์การหรือ เครือข่าย เพราะมีผลในทางจิตวิทยาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความ ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารองค์การ ความคิดเห็นถูกรับฟังและน าไปปฏิบัติ

เพื่อการพัฒนาองค์การหรือเครือข่าย และที่ส าคัญผู้ที่มีส่วนร่วมจะมีความรู้สึกความเป็นเจ้าของ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์การหรือเครือข่ายที่ดีที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี

สองปัจจัยของ Hertzberg (1959) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่เกี่ยวข้องและสามารถเชื่อมโยงไปสู่

กระบวนการมีส่วนร่วมได้ เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจ ทฤษฎีนี้

เชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ผลดีมีประสิทธิภาพย่อมขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของ ผู้ปฏิบัติงาน เพราะเขาจะเพิ่มความสนใจในงานและมีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นที่จะท างานซึ่ง

เป็นการเพิ่มผลผลิตของงานให้มากขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากผู้ปฏิบัติงานไม่พึงพอใจในการ ท างานก็จะเกิดความท้อถอยในการท างานและท าให้ผลงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ ทฤษฎี

ดังกล่าวสอดคล้องกับการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของบุคคลในองค์การคือถ้าบุคคลได้เข้ามามี

ส่วนร่วมในการด าเนินงานได้ร่วมคิดร่วมตัดสินใจจะส่งผลให้บุคคลในองค์การเกิดความรู้สึกเป็น เจ้าของในกิจการมากขึ้น ซึ่งเป็นความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ ท าให้ประสบความส าเร็จในการ พัฒนาตนเองและงานได้ เป็นต้น การมีส่วนร่วมมีความส าคัญ ดังนี้ คือ 1) ก่อให้เกิดการระดม ความคิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ท าให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลาย น าไปสู่การปฏิบัติเป็นที่ยอมรับ ของกลุ่มบุคคลอย่างแท้จริง 2) มีผลในทางจิตวิทยา คือ ท าให้เกิดการต่อต้านน้อย ในขณะเดียวกัน ก็จะท าให้เกิดการยอมรับมากขึ้น และเป็นวิธีการที่ผู้บริหารสามารถตรวจสอบว่าสิ่งที่ตนเองรู้ตรง กับสิ่งที่ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชารู้หรือไม่ 3) เป็นการเปิดโอกาสให้มีการสื่อสาร สามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการท างานตลอดจนเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 4) เป็นการ เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แสดงความสามารถและฝึกทักษะการท างาน ร่วมกับผู้อื่น ท าให้เกิดความมีน ้าใจและความจงรักภักดีต่อองค์การมากยิ่งขึ้น และ 5) การมีส่วน ร่วมท าให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้น การตัดสินใจมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตลอดจนผู้ร่วมงานมีความพึง พอใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นด้วย (สัมฤทธิ์ กางเพ็ง, 2544, น. 11) เป็นผลท าให้เกิดความ ต้องการคงอยู่ในองค์การ เกิดเป็นความผูกพันต่อองค์การขึ้น เป็นต้น ซึ่ง Abou Elenein, Davis, &

Newstrom (1989) ได้กล่าวถึง การมีส่วนร่วมว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ และความรู้สึก นึกคิดของแต่ละบุคคล ที่มีต่อกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของกลุ่ม หรือเป็นความรับผิดชอบต่อ กิจกรรมร่วมกัน ด้วยการเข้าไปเกี่ยวข้อง (Involvement) ด้วยการช่วยเหลือ (Contribution) และ ด้วยการร่วมรับผิดชอบ (Responsibility) เช่นเดียวกับ Keith (1972) ที่กล่าวว่า การมีส่วนร่วม เกี่ยวข้องกับจิตใจและอารมณ์ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุ่ม ซึ่งผลของการเกี่ยวข้องดังกล่าวเป็น เหตุเร้าใจให้กระท าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของกลุ่มและก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบกับกลุ่ม ดังกล่าว ทั้งนี้เกิดจากแนวคิดส าคัญ 3 ด้าน คือ 1) ความสนใจและความห่วงกังวลร่วมกันซึ่งเกิดจาก ความสนใจและกังวลส่วนบุคคลที่บังเอิญพ้องต้องกัน 2) ความเดือดร้อนและความไม่พึงพอใจร่วมกัน ที่มีต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่นั้น ผลักดันให้มุ่งสู่การรวบรวมกลุ่ม วางแผนและลงมือกระท าการร่วมกัน 3) การตกลงใจว่าร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงกลุ่ม หรือชุมชนไปในทิศทางที่พึงปรารถนา การตัดสินใจ ร่วมกันนี้จะต้องรุนแรงมากพอที่จะท าให้เกิดความคิดริเริ่มกระท าการที่สนองตอบความเห็นชอบ ของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้น เป็นต้น Beckhard (1972) ได้กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อ การปฏิบัติงานกลุ่มมี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การตั้งเป้าหมายและการตั้งล าดับความส าคัญของ

เป้าหมาย 2) วิธีการจัดสรรงานหรือบทบาทหน้าที่ 3) กระบวนการหรือขั้นตอนในการท างาน ร่วมกัน และ 4) สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในกลุ่ม Beckhard (1972), Luecke & Polzer (2004) ได้ท าการศึกษาเรื่องกลุ่ม และทีม พบว่า ลักษณะของกลุ่มที่มีประสิทธิผล ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ 1) สมาชิกในกลุ่มต้องมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน 2) สมาชิกในกลุ่มต้องมีความผูกพันในในเป้าหมาย ของกลุ่ม 3) สมาชิกในกลุ่มต้องมีการให้แรงเสริมเพื่อให้สมาชิกคนอื่น ๆ มุ่งมั่นท าเพื่อเป้าหมาย ของกลุ่มโดยปราศจากความคิดที่จะเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง 4) สมาชิกในกลุ่มต้องมีการ สื่อสารร่วมกันถึงคุณค่าในการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม 5) สมาชิกในกลุ่มต้องแสดงพฤติกรรม ช่วยกันอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กลุ่มต้องการ ได้แก่ รางวัลเมื่อสามารถ บรรลุเป้าหมายได้ เป็นต้น และ 6) สมาชิกในกลุ่มต้องมีการส่งเสริมให้เกิดความพยายามและการ ร่วมมือระหว่างกัน โดยสมาชิกทุกคนต่างต้องได้รับผลตอบแทนจากการท างานในกลุ่ม และ ค่าตอบแทนมิใช่แค่รางวัลแต่ยังรวมถึงรางวัลที่จับต้องไม่ได้ เช่น การรับรู้ถึงความส าเร็จของกลุ่ม ร่วมกัน เป็นต้น ซึ่ง Andrew & Stiefe (1980) และ Cohen & Uphoff (1981) กล่าวว่า ลักษณะ ของการมีส่วนร่วม มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ริเริ่ม ตัดสินใจ ด าเนินการตัดสินใจ และตัดสินใจลงมือปฏิบัติการ 2) การมีส่วนร่วมในขั้นปฏิบัติการ (Implementation) ประกอบด้วย การสนับสนุนทางด้านทรัพยากร การเข้าร่วมในการบริหาร และการประสานของความร่วมมือ 3) การมีส่วนร่วมในการรับ ผลประโยชน์ (Benefits) ประกอบด้วย ผลประโยชน์ทางด้านวัสดุ ผลประโยชน์ทาสังคม และ ผลประโยชน์ส่วนบุคคล และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) เกี่ยวกับการ ควบคุมและการตรวจสอบ การด าเนินกิจกรรมทั้งหมด และเป็นการแสดงถึงการปรับตัวในการมี

ส่วนร่วมต่อไปจะเห็นได้ว่า การมีส่วนร่วมจะท าให้สมาชิกในองค์การได้มีโอกาสแสดงออกถึงการ เข้าร่วมทางสังคมขององค์การ ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาจะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เข้าไปมี

บทบาท มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน เพราะการมีส่วนร่วมทางสังคมนั้นเป็นกระตุ้นให้

สมาชิกในองค์การได้เห็นถึงคุณค่าในการปฏิบัติงานร่วมกันกับผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา ร่วม รู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ โดยการร่วมกันวางแผน ร่วมกันตัดสินใจ ในการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อ องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ องค์การส าเร็จก็เปรียบเสมือนสมาชิกใน องค์การก็ประสบความส าเร็จเช่นกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมทางสังคม หมายถึง การที่

บุคคลปฏิบัติหรือแสดงออกในการเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ เต็มใจ และตั้งใจท าอย่างเต็มที่ใน การเข้ามามีส่วนขององค์การ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการด าเนินงาน

และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (Cohen & Uphoff, 1977) รวมถึงการให้ข้อมูลและ ค าปรึกษา เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกับขององค์การ

2.5.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในองค์การกับความผูกพันของ