• Tidak ada hasil yang ditemukan

A Comparison of Learning Achievement and analytical thinking ability in Thai (Entitled Thai Idiom) of

Prathomsueksa 6 between Activity Management through Science Method Approach and Role Play Approach

พวงเพชร อุทโท,1 วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์,2 ลักขณา สริวัฒน์3

Poungphet Ut-tho,1 Wimonrat Soonthornroach,2 Lakkhana Sariwat3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำานวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมตามแนววิทยาศาสตร์และการจัดกิจกรรม ด้วยบทบาทสมมติ ตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งสองแผน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนทั้ง สองกลุ่มระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการ วิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนนิคมกุฉินารายณ์หมู่ 2 อำาเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำานวน 62 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) และสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เพื่อจัดห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง ได้

ห้องประถมศึกษาปีที่ 6/1 เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำานวนนักเรียน 31 คน เรียนด้วยการจัดกิจกรรมตามแนว วิทยาศาสตร์ และห้องประถมศึกษาปีที่ 6/2 เป็นกลุ่มทดลองที่ 2 จำานวน นักเรียน 31 คน เรียนด้วยการ จัดกิจกรรมตามบทบาทสมมติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง สำานวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมตาม แนววิทยาศาสตร์ และแผนการจัดกิจกรรม

1 นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2, 3 รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1 M.Ed. Candidate in Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Mahasarakham University

2, 3 Associate Professor, Faculty of Education, Mahasarakham University

โดยบทบาทสมมติ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย 3) แบบวัดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Hotelling T2 และ t-test (dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องสำานวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมตามแนววิทยาศาสตร์และการจัดกิจกรรมโดยบทบาทสมมติ มี

ประสิทธิภาพ 83.93/81.85 และ 85.89/83.63 ตามลำาดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดัชนีประสิทธิผล ของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งสองแผน มีค่า .6939 และ .6957 คิดเป็นร้อยละ 69.39 และ 69.57 ตาม ลำาดับ นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูง ขึ้นอย่างมีนัยสำาคัญที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลัง เรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มสูงขึ้นในระดับที่ไม่แตกต่างกัน

คำาสำาคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องสำานวนไทย ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

การจัดกิจกรรมตามแนววิทยาศาสตร์ และการจัดกิจกรรมตามบทบาทสมมติ

Abstract

This study aimed to create Prathomsueksa 6 lesson plans for learning management in Thai (entitled Thai Idiom) through science method approach and role play approach at the 80/80 efficient criteria, to study effectiveness index of both lesson plans created, and to compare learning achievement in Thai as well as analytical thinking ability of the students treated between science method approach and role play approach. The samples composed 62 Prathomsueksa 6 students under Nikhomkushinarai Moo 2 school, Kushinarai district, Kalasin province in the 2011 academic year selected through cluster random sampling and through simple random sampling for experimental groups. 31 students under Prathomsueksa 6/1 were randomized for the experimental group 1 through science method approach and 31 students under Prathomseuksa 6/2 were randomized for the experimental group 2 through role play approach. The instruments were: 1) Prathomsueksa 6 lesson plans for learning management in Thai (entitled Thai Idiom) through science method approach and role play approach 2) the achievement test in Thai 3) a set of analytical thinking test. The statistics for data analyses included mean, standard deviation, percentage, Hotelling T2 as well as t-test (dependent samples). The study results revealed that Prathomsueksa 6 lesson plans for learning management in Thai (entitled Thai Idiom) through science method approach and role play approach met 83.93/81.85 and 85.89/83.63 of efficient criteria respectively, the effectiveness index of each of the lesson plans created was .6939 and .6957 as 69.39% and 69.57% respectively, and learning achievement in Thai as well as analytical thinking ability of both groups of students under the treatment were higher at .05 level of statistical significance,

Journal of Education, Mahasarakham University 41 Volume 6 Number 3 July - September 2012

and the levels of learning achievement in Thai and analytical thinking ability of both groups of students under the treatment were not different.

Keywords: learning achievement in Thai (entitled Thai Idiom), analytical thinking ability, activity management through science method approach and activity management through role play approach

บทนำา

ความงดงามของภาษาไทยประการหนึ่ง คือ การมีสำานวน สุภาษิต และคำาพังเพยที่ช่วยให้

พูด เขียน ได้มีความหลากหลาย คมคาย ให้แง่

คิดที่กว้างขวางยิ่งขึ้น (กรมวิชาการ, 2545: 28) การอ่านและเรียนรู้สำานวน สุภาษิต และคำาพังเพย ของไทยยังทำาให้เราทราบถึงความเป็นมาของ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ความนึกคิด ความ จงรักภักดี ความเคารพผู้ใหญ่ การอยู่ร่วม กันอย่าง มีไมตรี ล้วนให้มีความรู้กว้างขวางและสนุกสนาน เพราะทำาให้เราเข้าใจถึงสภาพและความเป็นจริง ของสังคมสมัยนั้นๆ (กรมวิชาการ, 2545: 3) สาระ การเรียนรู้ภาษาไทยแบ่งออกเป็นการอ่าน การ เขียน การฟัง การดู และการพูด สาระหลักการ ใช้ภาษา สาระวรรณคดีและวรรณกรรม การศึกษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นช่วงแรกของการ ศึกษาภาคบังคับที่มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานการอ่าน การเขียน การคิดคำานวณทักษะการคิดพื้นฐานการ ติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและพื้น ฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง สมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ สังคมและวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียน รู้แบบบูรณาการ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 17) สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำานวนไทย เป็นเรื่อง ที่ยากที่นักเรียนจะเข้าใจความหมาย โดยเฉพาะ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่หลากหลาย

จัดกิจกรรมไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญและกิจกรรม ไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนย่อม ทำาให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนใจเรียนและส่งผล ต่อการพัฒนาทักษะการเรียนภาษาของนักเรียน ฉะนั้นครูผู้สอนจึงควรค้นหาว่าผู้เรียนแต่ละคน มีลักษณะการเรียนรู้หรือวิธีการเรียนรู้อย่างไร และหาแนวทางในการจัดกิจกรรมให้หลากหลาย สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน และเทคนิคในการจัดกิจกรรม ช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วและง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้การจัดกลุ่มช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วม กันและช่วย เหลือกัน (ลักขณา สริวัฒน์, 2554: 8)

จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการ ศึกษา 2553 พบว่า โรงเรียนที่ผู้วิจัยทำาการศึกษา คือ โรงเรียนนิคมกุฉินารายณ์หมู่ 2 ค่าเฉลี่ย 38.04 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำา (สถาบันทดสอบทางการ ศึกษาแห่งชาติ, 2553) ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหาวิธี

สอนที่สอดคล้องกับหลักการเรียนภาษาที่เหมาะ สมกับนักเรียนกลุ่มนี้ ได้พบกระบวนการเรียนรู้

ตามแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนที่ให้นักเรียน ได้พบปัญหา เมื่อนักเรียนได้พบปัญหาก็ย่อมรู้สึก โดยธรรมชาติที่จะทำาการแก้ปัญหาด้วยตนเอง เป็นการใช้เหตุผลซึ่งเป็นหนทางนำาไปสู่การเรียนรู้

(วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์, 2553: 177) การเรียนรู้

เรื่องสำานวนไทยนั้นเป็นปัญหาสำาหรับนักเรียน ส่วนใหญ่ เพราะต้องใช้ความคิดอย่างเป็นระบบ

ในการวิเคราะห์ความหมายออกมาให้ได้ด้วยการ ช่วยกันใช้ทั้งเหตุและผลจนสามารถได้ความหมาย ที่ถูกต้อง ซึ่งตามหลักการของกิจกรรมตามแนว วิทยาศาสตร์นั้นสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้เรื่อง ดังกล่าว เพราะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึก คิด รู้จักคิดแก้ปัญหาโดยอาศัยเหตุผล จนสามารถ หาคำาตอบจากการรวบรวมข้อมูลมาพินิจพิเคราะห์

หาข้อเท็จจริงแล้วสรุปเกิดเป็นความรู้ใหม่ และ กิจกรรมบทบาทสมมติเป็นการนำาสถานการณ์ใน ชีวิตประจำาวันมาเป็นสถานการณ์ในห้องเรียนอัน จะทำาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ได้

หากต้องเผชิญกับสถานการณ์นั้นในชีวิตจริงซึ่ง นักเรียนสามารถใช้ในการแสดงออกที่สื่อความ หมายของสำานวนไทยได้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม ให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ความหมายที่แฝง อยู่ในแต่ละสำานวนไทย เกิดความร่วมมือร่วมใจ กันในการเขียนบทตามสถานการณ์ที่จำาลองขึ้น และเกิดความกล้าในการแสดงออกตามบทบาทที่

ได้รับอย่างอิสระตามความคิดจินตนาการของตน ทำาให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน (ทิศนา แขมมณี, 2545: 356)

จากแนวคิดและกิจกรรมของทั้งสองวิธี

ดังกล่าวน่าจะพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกลุ่มนี้ได้ ผู้วิจัยจึง ได้ทดลองใช้การจัดกิจกรรมตามแนววิทยาศาสตร์

และบทบาทสมมติเพื่อศึกษาว่าวิธีใดที่ช่วยให้กลุ่ม ทดลองพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ได้มากกว่ากัน

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการ จัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำานวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมตาม แนววิทยาศาสตร์กับแผนการจัดการเรียนรู้โดยการ จัดกิจกรรมด้วยบทบาทสมมติ ตามเกณฑ์ 80/80

2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการ จัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องสำานวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมตาม แนววิทยาศาสตร์กับแผนการจัดการเรียนรู้โดยการ จัดกิจกรรมด้วยบทบาทสมมติ

3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาไทย และความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสองกลุ่มระหว่างก่อนและหลังการทดลอง

4. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาไทย และความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมตามแนววิทยาศาสตร์กับ การจัดกิจกรรมด้วยบทบาทสมมติ

สมมติฐานของการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสองกลุ่มหลังการทดลอง เพิ่มสูงขึ้น

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสองกลุ่มหลังการทดลอง เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน

วิธีการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนนิคมกุฉินารายณ์ หมู่ 2 จำานวน 93 คน โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง จำานวน 34 คนและ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแสง จำานวน30 คน