• Tidak ada hasil yang ditemukan

The System Development of Information Communication Technology (ICT) Management at Secondary School

พิทยา รักพรหม,1 สมานจิต ภิรมย์รื่น,2 ปัณณธร ชัชวรัตน์3

Phitthaya Rukprom,1 Smarnjit Piromruen,2 Pannatorn Chachvarat3

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริหารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารของโรงเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้แนวคิด The Concerns-Based Adoption Model (CBAM) การ ดำาเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การบริหารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นโรงเรียนต้นแบบการพัฒนา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการเรียนรู้ กำาหนดผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้อำานวยการโรงเรียน รองผู้อำานวยการโรงเรียน กลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ 8 กลุ่มสาระ และสุ่มเลือกครูจาก 8 กลุ่มสาระตามสัดส่วน รวม ทั้งสิ้น จำานวน 940 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ และค่าร้อยละ ค่า Z-Score, t-test Independent, F-test, และ Multinomial Logistic Regression Analysis ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบการบริหารการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบระบบด้วยจัดการประชุมอย่าง เป็นทางการ (connoisseurship) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำานวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการณ์การ บริหารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารด้านฮาร์ดแวร์ (hardware) และโปรแกรมการใช้งาน (software) เพียงพอต่อการใช้ในการ บริหารงานทั้ง 4 งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโปรแกรมการใช้งานสำาหรับ การเรียนการสอน ทุกกลุ่มสาระ มีโปรแกรมใช้งานอย่างน้อย 5 โปรแกรม ด้านบุคลากร (peopleware) พบว่า ขั้นของการรับรู้เกี่ยวกับ

1 นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

2 ผู้อำานวยการหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

3 รองผู้อำานวยการกลุ่มงานวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

1 D.Ed Cadidate in Educational Administration, The Eastern University of Management and Technology

2 Director of Doctor of Education Program in Educational Administration, The Eastern University of Management and Technology

3 Vice Director for Academic Affairs, Boromarajonani College of Nursing Phayao

ไอซีทีภาพรวมอยู่ในขั้นที่ไม่แสดงการรับรู้เกี่ยวกับไอซีทีมากที่สุดส่วนระดับการใช้ไอซีทีภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับการใช้ไอซีทีน้อย หรือไม่ใช้ไอซีทีมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม (multinomial logistic regression) พบว่า มีเพียง 3 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อขั้นของการรับรู้เกี่ยวกับไอซีที

ของบุคลากรทุกระดับ ได้แก่ระดับการศึกษา งานพิเศษ และการศึกษาดูงานไอซีที ส่วนตัวแปรการศึกษา ดูงานไอซีทีเป็นพียงตัวแปรเดียวที่มีอิทธิพลต่อระดับการใช้เทคโนโลยีของบุคลากรในระดับต่างๆ อย่างมี

นัยสำาคัญทางสถิติ สำาหรับระบบการบริหารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำาเข้า (Input) ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารของโรงเรียน ฮาร์ดแวร์ (hardware) โปรแกรมการใช้งาน (software) และบุคลากร (peopleware) 2) กระบวนการ (process) ประกอบด้วย การจัดทำาแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และกระบวนการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ขั้นการวางแผน ขั้นการออกแบบระบบ ขั้นการปฏิบัติตามระบบ ขั้นการกำากับ ติดตามและประเมินผล และ 3) ผลผลิต (output) ประกอบด้วย จำานวนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เพียงพอ และ เหมาะสมในการบริหารงานของโรงเรียน และผลจากการพัฒนาบุคลากร (peopleware) ระบบที่พัฒนา ขึ้นผ่านการจัดการประชุมอย่างเป็นทางการ (connoisseurship)ว่ามีความเหมาะสมในการนำาไปใช้

คำาสำาคัญ: ระบบการบริหารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรับรู้เกี่ยวกับใช้ไอซีที

การใช้ไอซีที

Abstract

The research aims were to study ICT management and to develop the system of ICT management of secondary school. The Concerns-Based Adoption Model (CBAM) was employed as the conceptual framework and the study comprised of 3 steps. The first step, studying ICT management of secondary school, the samples were randomized of ICT secondary schools and the network of secondary schools that participants included directors, vice directors, 8 head of learning groups and teachers. The total participants were 940. The data were analyzed by Frequency, Percentage, Z-score, t-test Independent, F-test and Multinomial Logistic Regression Analysis. The second step, developing the system of ICT management. The third step, verifying the development’s system of ICT management was validated by Connoisseurship of 9 experts. The research findings found that the basic structure of ICT was sufficient at all schools; the hardware was adequate for use that facilitated the management of the 4 tasks in the school. The software was suitable and sufficient for use, particularly; the application for teaching and learning and all learning groups had at least 5 programs. Finding revealed that the majority of participants reported SoC at Awareness that was not concern of ICT, and reported LoU at Nonuse ICT. The results of Multinomial Logistic Regression revealed

Journal of Education, Mahasarakham University 87 Volume 6 Number 3 July - September 2012

that SoC and LoU of ICT associated with level of education, specialty task, ICT training. The factors that were significantly influence of SoCs were obtaining ICT educational service. The development’s system of ICT that was developed composing; 1) Input consisted of Hardware, Software and Peopleware; 2) Process consisted of the strategic plan for ICT that including planning, designing, implementing and evaluating system; and 3) Output consisted of an adequate and applicable of ICT; teachers were trained for ICT based on CBAM. Connoisseurship of 9 experts verified that the system of ICT management at secondary school was feasibility.

Keywords: system development of Information Communication Technology, Stage of concern, Levels of use

บทนำา

ประเทศไทยตระหนักถึงความสำาคัญ ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and communications technologies: ICT) เพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากร บุคคล กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรก (IT. 2000) ใน ปี พ.ศ. 2539 โดยมีคณะกรรมการเทคโนโลยี

สารสนเทศแห่งชาติ ดำาเนินการในการส่งเสริม ภารกิจหลักแห่งการพัฒนาคือ โครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศ การพัฒนาบุคลกรทางด้านเทคโนโลยี

สารสนเทศ และการปฏิรูปภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศ (สำานักงานเลขานุการคณะกรรมการ เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, 2545) และที่

สำาคัญบทบาทของ ICT ในการศึกษามีมากขึ้น และ ความสำาคัญนี้จะยังคงเจริญเติบโตและพัฒนาใน ศตวรรษที่ 21 อย่างต่อเนื่อง (Oliver, 2007) การ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่อง มือในการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ ของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการเรียน รู้ จำานวน 14 โรงเรียน โรงเรียนในโครงการหนึ่ง อำาเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน จำานวน 921 โรงเรียน และโรงเรียนผู้นำา ICT โรงเรียนในฝัน จำานวน

26 โรง ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ในการนำาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะ การช่วยพัฒนาครูช่วยให้เด็กและเยาวชนได้

เข้าถึงแหล่งความรู้ และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด จากการศึกษา พบว่า สภาพ การบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการบริหารมีเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่อง (hardware) โปรแกรม (software) บุคลากร (people ware) การใช้ประโยชน์และนโยบายการ วางแผนและการจัดการ (วิเชียร ดอนแรม, 2546) การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการบริหารงาน ในโรงเรียนและสนับสนุนการเรียนการสอนได้มี

นักการศึกษาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ The Concerns - Based Adoption Model (CBAM) (Anderson, 1997; Hall, 1979; Hall & George, 1979; Hall

& Hord, 1987, 2011; Hall & Loucks, 1978) แนวคิดของ CBAM มีพื้นฐานโดยโรงเรียนหรือ สถาบันเป็น user System ซึ่งประกอบด้วยคน ที่มีหลากหลายประสบการณ์ ทัศนคติ ความ ตระหนัก ทักษะ และปัญหา บุคคลเหล่านี้

จะเป็นกลุ่มที่ทำาหน้าที่ในโรงเรียนหรือสถาบัน

โดยได้รับการสนับสนุนจาก resource system ซึ่ง อาจจะประกอบด้วยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่

ที่นำาเข้ามาใช้ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยี

หรือนวัตกรรมใหม่ อย่างไรก็ตามการที่จะทำาให้

เกิดผลดีที่สุดเมื่อมีการนำาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ใหม่เข้ามาใช้ collaborative adoption system นับว่ามีความสำาคัญเช่นกันเพราะจะเป็นผู้ประสาน ความร่วมมือและการช่วยเหลือระหว่าง user system และ resource system ให้มีการพัฒนาการ ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ (Hall and Hord, 2011) และหากอ้างอิงตามระบบ CBAM แล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้นวัตกรรม ต้องทำางานร่วม กับผู้ใช้ระบบทั้งแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม เพื่อให้

สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน ได้ โครงสร้างที่ทำาให้ CBAM เป็นไปได้คือ 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) ระดับการใช้นวัตกรรม และ 2) ระดับ การรับรู้ในนวัตกรรม โดยมีสมมติฐานว่า การรับ รู้มีความสัมพันธ์กับการใช้งาน ถ้าความสนใจมี

ความสัมพันธ์กับวิธีใช้นวัตกรรมแล้ว ผู้ให้บริการ นวัตกรรมมีหน้าที่ต้องเลือกบริการนวัตกรรมที่ตรง กับความสนใจของผู้ใช้ (Hall and Hord, 2011) แต่ทั้งนี้ การดำาเนินงานที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษา ว่าการบริหารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสารของสถานศึกษาที่เหมาะสมมีลักษณะ อย่างไร ผู้วิจัยจึงศึกษาการพัฒนาระบบการบริหาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ โรงเรียนมัธยมศึกษา ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้

จะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและจัดการ เรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับการลงทุนของ ภาครัฐ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริหาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ

โรงเรียนมัธยมศึกษา

2. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารการใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน มัธยมศึกษา