• Tidak ada hasil yang ditemukan

Journal of Education, Mahasarakham University 99 Volume 6 Number 3 July - September 2012

ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดการความรู้สำาหรับสถานศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างความรู้มีระดับความสำาคัญมากที่สุด และการใช้

ความรู้ การกำาหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้มีระดับความ สำาคัญรองลงมา ส่วนปัจจัยในการจัดการความรู้ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านโครงสร้างในการ จัดการความรู้มีระดับความสำาคัญมากที่สุด และภาวะผู้นำา วัฒนธรรม กลยุทธ์ การวัดผลและเทคโนโลยี

มี ระดับความสำาคัญรองลงมา สำาหรับปัจจัยในการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกระบวนการ จัดการความรู้อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านกลยุทธ์ (STR) ด้านเทคโนโลยี(TECH) ด้านการวัดผล (MEA) ด้านวัฒนธรรม (CUL ) และด้านภาวะผู้นำา (LED) สามารถทำานายการจัดการ ความรู้สำาหรับสถานศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยทั้ง 5 ด้านสามารถทำานายการจัดการความรู้สำาหรับสถานศึกษาขนาดเล็กในภาค ตะวันออก เฉียงเหนือได้ร้อยละ 73.8 สำาหรับรูปแบบการจัดการความรู้สำาหรับสถานศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นและผ่านการประชุมอย่างเป็นทางการของผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) กระบวนการจัดการความรู้ ได้แก่ การกำาหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้

การใช้ความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการจัดเก็บความรู้ 2) ปัจจัยในการจัดการความรู้ ได้แก่

ด้านกลยุทธ์ ด้านเทคโนโลยี ด้านการวัดผล ด้านวัฒนธรรม และด้านภาวะผู้นำา คำาสำาคัญ: รูปแบบการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ ปัจจัยในการจัดการความรู้

Abstract

The purposes of this research were to ; 1) examine the state of knowledge management practice of small schools in northeastern Thailand 2) study the relationship of the factors in knowledge management and knowledge management process for small schools in northeastern Thailand. and 3) develop of knowledge management model for small schools in northeastern Thailand. The study comprised of 3 steps. The first step, studying knowledge management process for small schools in northeastern and the second step, studying factors in knowledge management for small schools in northeastern. The total participants were 1,080

; the instrument was questionnaires that included 3 parts, general information, knowledge management process and factors in knowledge management. Questionnaires respectively.

Reliability coefficients were tested; alpha coefficients were 0.98 for knowledge management process and 0.97 for factors in knowledge management. The data were analyzed by Frequency, Percentage, Correlation Coefficient and Multiple regression analysis. The third step, verifying the The development of knowledge management for small schools in Northeastern Thailand was validated by Connoisseurship of 9 experts.

The research findings revealed that: At the highest level, the knowledge management process was the creation knowledge. In descending order were the usage knowledge, identification knowledge, acquisition knowledge, organization knowledge and sharing knowledge respectively. At the highest level, the factor in knowledge management was the structure. In descending order were the leadership culture strategy measurement and technology respectively. The relationship of the factors in knowledge management and knowledge management process for small schools in Northeastern Thailand were positively correlated. Factors that influence the knowledge management process, including the five factors. Strategy technology measurement culture and leadership. The knowledge management model for small schools in northeastern Thailand was developed composing;

1) The knowledge management process, identification knowledge, acquisition knowledge, creation knowledge usage knowledge, organization knowledge and sharing knowledge 2) The factors, Strategy technology measurement culture and leadership. Connoisseurship of 9 experts verified that the knowledge management model for small schools in northeastern Thailand was feasibility.

Keywords: Development of knowledge management; knowledge management

บทนำา

การเปลี่ยนแปลงของโลกนำาไปสู่สังคม ความรู้ และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ที่ใช้ความ รู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาและ การผลิต โดยเน้นการสร้างสังคมแห่งการเรียน รู้ การจัดการความรู้และองค์ความรู้เพื่อพัฒนา กำาลังคนที่มีคุณภาพ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงใน เรื่องเทคโนโลยี ผลผลิต การบริหาร และบุคคล สังคมเปลี่ยนจากการบริโภคข่าวสารมาเป็นสังคม ที่ศึกษาข่าวสารและความรู้โดยอาศัยปัจจัยที่สำาคัญ คือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้ความรู้

คือพลัง บุคคลที่มีความรู้จึงเป็นบุคคลที่มีคุณค่า ขององค์การ ความรู้และความไม่รู้จะกลายเป็น ปัจจัยสำาคัญในการบ่งชี้ความสำาเร็จในทุกๆ ด้าน (Drucker, 1999:451-452)

การจัดการจัดการความรู้ เพื่อให้องค์การ ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้

เร็วกว่าคู่แข่งคือหนทางแห่งชัยชนะ เศรษฐกิจใน ยุคใหม่เน้นทั้งความรู้และความรวดเร็ว ความรู้

ที่มีอยู่ในตัวผู้เชี่ยวชาญเมื่อลาออกไปทำาให้

องค์การขาดความรู้นั้นไป อีกทั้งองค์การมีวิธีการ ปฏิบัติที่ดีที่สุดแต่ไม่มีการจัดการและนำามาใช้

(บดินณ์ วิจารณ์, 2547:10)

สถานศึกษาขนาดเล็กมีนักเรียนจำานวน 120 คนลงมา เป็นสถานศึกษาขนาดเล็กในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำานวน 5,897 แห่ง บริหาร จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง ชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีการกระ จายอำานาจในการบริหารจัดการด้านการบริหาร วิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงาน

Journal of Education, Mahasarakham University 101 Volume 6 Number 3 July - September 2012

บุคคล และการบริหารทั่วไป ประสบปัญหาในด้าน การบริหารจัดการ ส่วนใหญ่จะมีครูไม่ครบชั้นและ ไม่ครบกลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้านการมีส่วนร่วม ระหว่างครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังมีน้อยเป็น ผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการบริหาร จัดการยังทำาได้ไม่เต็มที่ การจัดโครงสร้างองค์การ เป็นไปตามระบบราชการ ยังไม่มีความยืดหยุ่น เพียงพอ การจัดสรรงบประมาณ ยังไม่เอื้อต่อ การบริหารจัดการ การจัดการจัดการเรียนรู้ยังไม่

เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ การสอนของครูยัง เป็นการสอนแบบเดิมยังไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำาคัญ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ยังไม่หลากหลายและพอเพียง การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของครูยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การบริหาร จัดการจัดการเรียนการสอนส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับ ชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) การประเมินคุณภาพการ ศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน (NT) และผลการประเมินของสำานักงานรับรอง มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ (สำานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551:3-4)