• Tidak ada hasil yang ditemukan

Liberal Education and America's Promise (LEAP) ได้กล่าวถึงทักษะการเรียนรู้

ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนควรเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายในศตวรรษที่ 21 เริ่มตั้งแต่ในโรงเรียน และต่อเนื่องไปถึงการศึกษาในวิทยาลัย ด้วยการสั่งสมทักษะไว้ดังนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมมนุษย์ และโลกทางกายและโลกธรรมชาติ ซึ่งได้แก่

การศึกษาในเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาและ ศิลปะ

86 2. ทักษะทางปัญญาและเชิงปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ การตั้งค าถามและการวิเคราะห์

การคิดเชิงสร้างสรรค์ การสื่อสารด้วยการเขียนและการพูด ความรู้พื้นฐานในเรื่องปริมาณ ความรู้

พื้นฐานในข้อมูลข่าวสาร การท างานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหา โดยฝึกปฏิบัติให้ทั่วทุกหลักสูตร ในลักษณะที่ท้าทายของปัญหาโครงการ และมาตรฐานการปฏิบัติประเมินผลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

3. ความรับผิดชอบส่วนตัวและต่อสังคม ซึ่งได้แก่ ความรู้และการมีส่วนร่วมในฐานะ พลเมือง ในระดับท้องถิ่น และระดับโลก ความรู้และความสามารถระหว่างวัฒนธรรม การใช้เหตุผล ทางจริยธรรมและลงมือปฏิบัติ พื้นฐานและทักษะส าหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยยึดมั่นกับ การมีส่วนร่วมในชุมชนที่หลากหลายและความท้าทายในโลกจริง

4. การเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งได้แก่ การสังเคราะห์และความส าเร็จขั้นสูง

ในการศึกษาทั่วไปและเฉพาะทาง โดยสาธิตผ่านการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และความรับผิดชอบใน สภาพแวดล้อมใหม่และปัญหาที่ซับซ้อน

International Society for Technology in Education (ISTE) ได้ให้ทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในปี 2007 สมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติได้ทบทวนมาตรฐาน เทคโนโลยีในหลักสูตรส าหรับนักเรียน ซึ่งมีบางส่วนเน้นทักษะการใช้เทคโนโลยีสรสนเทศและ การสื่อสารที่มีความส าคัญในศตวรรษที่ 21 ไว้ดังนี้

1. ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยที่นักเรียนสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์

ผลิตความรู้ และพัฒนานวัตกรรมที่เป็นผลิตผลและกระบวนการโดยใช้เทคโนโลยี ด้วยการประยุกต์ใช้

ความรู้ที่มีเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือกระบวนการใหม่ สร้างงานที่เป็นต้นแบบ เพื่อสื่อถึงตัวตนหรือกลุ่ม ใช้โมเดลและการจ าลองเพื่อส ารวจระบบและปัญหาที่ซับซ้อน หาแนวโน้ม และคาดการณ์ความเป็นไปได้

2. การสื่อสารและการท างานร่วมกัน โดยนักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อ ดิจิทัลและสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล เพื่อสื่อสารและท างานร่วมกันรวมทั้งเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้

ทางไกลส าหรับตนเองและผู้อื่น ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ ให้ความร่วมมือ และเผยแพร่งานร่วมกับเพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลอื่น ๆ โดยใช้สื่อดิจิทัลและสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลต่าง ๆ สื่อสารข้อมูลและ ความคิดไปสู่ผู้รับจ านวนมากอย่างมีประสิทธิผล โดยใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ พัฒนาความเข้าใจทาง วัฒนธรรม และจิตส านึกต่อโลก ด้วยการคลุกคลีกับเรียนจากวัฒนธรรมอื่น ช่วยเหลือสมาชิกใน โครงการให้ผลิตผลงานที่เป็นต้นแบบ และช่วยแก้ไขปัญหา

3. ความเชี่ยวชาญในการค้นคว้าหาข้อมูล โดยนักเรียนสามารถใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อรวบรวม ประเมิน และใช้ข้อมูล ด้วยการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้น ค้นหา จัดระเบียบ วิเคราะห์ประเมิน สังเคราะห์ และใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรม จากแหล่งข้อมูลและ

87 สื่อต่าง ๆ ประเมินและคัดเลือกแหล่งข้อมูลและเครื่องมือดิจิทัลตามความเหมาะสมกับภารกิจนั้น ๆ ประมวลข้อมูล และรายงานผล

4. การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ โดยนักเรียนสามารถแสดง ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อวางแผนและวิจัย บริหารโครงการ แก้ปัญหา และตัดสินใจจากข้อมูล โดยใช้เครื่องมือดิจิทัลและแหล่งข้อมูลดิจิทัลที่เหมาะสม ด้วยการก าหนดและนิยามปัญหาที่แท้จริง และค าถาม ส าคัญเพื่อค้นคว้า วางแผนและบริหารกิจกรรมเพื่อหาค าตอบหรือโครงการให้ลุล่วง รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค าตอบ และตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล ใช้กระบวนการต่าง ๆ และแนวทางที่หลากหลายเพื่อส ารวจทางเลือกอื่น ๆ

5. ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) โดยนักเรียนสามารถแสดงความ เข้าใจประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และปฏิบัติตนอย่าง มีจริยธรรม ตามครรลองของกฎหมาย ด้วยการสนับสนุนและฝึกใช้ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีอย่าง ปลอดภัย ถูกกฎหมาย และรับผิดชอบ แสดงทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริม

ความร่วมมือ การเรียนรู้ และการเพิ่มผลผลิต แสดงให้เห็นว่าตนเองรู้จักรับผิดชอบต่อการเรียนรู้

ตลอด ชีวิต และแสดงความเป็นผู้น าในฐานะพลเมืองดิจิทัล

6. การใช้งานเทคโนโลยีและแนวคิด โดยนักเรียนสามารถแสดงให้เห็นว่าเข้าใจ แนวคิด ระบบ และการท างานของเทคโนโลยี ด้วยการเข้าใจและใช้ระบบเทคโนโลยีได้เลือกและ ใช้โปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิผล แก้ไขปัญหาของระบบและโปรแกรมประยุกต์ได้ และรู้จักใช้

ความรู้ที่มีในปัจจุบันเพื่อเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553) ได้กล่าวถึงในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้

บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่ก าหนดนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะส าคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถใน การรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม ในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง

เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูล ข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยค านึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์

การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อน าไปสู่การสร้าง องค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง และสังคมได้อย่างเหมาะสม

88 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์

ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยค านึงถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการน ากระบวนการ ต่าง ๆ ไปใช้ในการด าเนินชีวิตประจ าวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การท างาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและ ความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ

สภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อ ตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและ ใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การท างาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

วิจารณ์ พานิช (2555) ได้กล่าวถึง ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้อง เรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C ไว้ดังนี้

1. 3R ได้แก่

1.1 Reading (อ่านออก) 1.2 (W) Riting (เขียนได้)

1.3 (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) 2. 7C ได้แก่

2.1 Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

2.2 Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) 2.3 Cross-Cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

2.4 Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การท างานเป็นทีม และภาวะผู้น า)

2.5 Communications, Information and Media Literacy (ทักษะด้าน การสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

89 2.6 Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร)

2.7 Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2561) ได้กล่าวถึงแผนการศึกษาแห่งชาติ

ได้วางเป้าหมายด้านผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

3Rs+ 8Cs 3R คือ

Reading (การอ่าน) เป็นทักษะการอ่าน เป็นความช านาญในการอ่านออก และการอ่านเพื่อความเข้าใจ

Writeing (การเขียน) คือ ทักษะการเขียน เป็นความช านาญในการเขียน การเขียนแบบย่อ การเขียนความเรียง การเขียนเรียงความ การเขียนรายงานวิชาการ รายงาน โครงงานและบทความ

Arithmetic (การใช้ตัวเลข) เป็นทักษะการใช้ตัวเลข เป็นความช านาญในการ ค านวณ ความน่าจะเป็น สถิติ ความช านาญในการชั่ง ตวง วัด รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณ

8C คือ ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่

1. Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิด อย่างมี

วิจารณญาณ และการแก้ปัญหา)

2. Creativity and Innovation (ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะ การสร้างนวัตกรรม)

3. Cross-Cultural Understanding (ทักษะความเข้าใจในวัฒนธรรม ข้ามชาติ การใช้ภาษาและกระบวนการทางสังคม)

4. Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะการท างานแบบ รวมพลัง การท างานเป็นทีม และภาวะผู้น า)

5. Communications, Information and Media Literacy (ทักษะ การสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

6. Computing and ICT Literacy (ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้

ICT)

7. Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) 8. Compassion (ทักษะความรักและเมตตา)

Dokumen terkait