• Tidak ada hasil yang ditemukan

รูปแบบการวิจัย

การวิจัยในระยะที่ 3 เป็นการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) เพื่อประเมิน รูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติ

สุขภาพช่องปาก และการสร้างข้อเสนอแนะเพื่อการปรับเปลี่ยนยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ ช่องปาก โดยมีรายละเอียดดังนี้

การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมที่สามารถให้ข้อมูล เพื่อใช้ในการ ประเมินรูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตใน มิติสุขภาพช่องปาก จ านวน 18 คน ที่สามารถอุทิศเวลาให้กับการตอบค าถามตลอดระยะเวลา ด าเนินการวิจัยด้วยความสมัครใจ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยแบบเทคนิคเดลฟายเกี่ยวกับจ านวน ผู้เชี่ยวชาญนั้น โทมัส ทีแมคมิลแลนด์ (บุญมี พันธุ์ไทย, 2554) ได้เสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเดลฟาย พบว่า หากมีผู้เชี่ยวชาญ 17 คนขึ้นไป อัตราการคลาดเคลื่อน จะน้อยมาก และเริ่มมีค่าคงที่ ดังนั้นจึงใช้ผู้เชี่ยวชาญจ านวน 18 คน

วิธีด าเนินการวิจัย

การสร้างและประเมินรูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อการ ยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ใช้กระบวนการวิจับแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) โดยรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 18 คน จ านวน 2 รอบ

รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่พัฒนาจากผลการวิจัยในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 สร้างเป็น แบบสอบถามส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ลงมติจัดล าดับความส าคัญของแต่ละข้อในแบบมาตราส่วน

ประมาณค่า 5 ระดับ (Likert scale) และค าถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะข้อคิดเห็นเพื่อ การยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

รอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert scale) ที่มีเนื้อหา สาระเช่นเดียวกับรอบที่ 1 พร้อมทั้งแสดงค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

(Interquartile range) ทั้งของกลุ่มและความคิดเห็นของผู้ตอบ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการยกระดับ คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้ตอบได้ทบทวนค าตอบเดิมของตนเองอีก ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามจ านวน 2 ฉบับดังนี้

ฉบับที่ 1 แบบสอบถามรอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลใน ระยะที่ 1 และ 2 เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ลักษณะแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert scale) และแบบปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบเสนอแนะข้อคิดเห็นเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตใน มิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โครงสร้างของแบบสอบถามรอบที่ 1 ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 เป็นผลการวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และปัจจัยท านาย คุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะช่องปากของผู้สูงอายุที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้ในระยะที่ 1

ส่วนที่ 2 เป็นข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญต่อแนวทางเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิต ของผู้สูงอายุเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ซึ่งได้จากการ วิเคราะห์ปัจจัยท านายคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก รวมทั้งการวิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีของ ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากระดับดีมาก สมาชิกในครอบครัว และผู้น าชุมชน

ค่าน ้าหนักความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการประเมินรูปแบบการเสริมพลังความ แข็งแกร่งในชีวิตเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก มีดังนี้

ระดับ 5 หมายถึง ข้อความนั้นมีความเหมาะสมมากที่สุด ระดับ 4 หมายถึง ข้อความนั้นมีความเหมาะสมมาก ระดับ 3 หมายถึง ข้อความนั้นมีความเหมาะสมปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง ข้อความนั้นมีความเหมาะสมน้อย ระดับ 1 หมายถึง ข้อความนั้นมีความเหมาะสมน้อยที่สุด

ฉบับที่ 2 แบบสอบถามรอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามฉบับเดียวกับรอบที่ 1 แต่แสดงค าตอบ ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยค่ามาตรฐาน(Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) พร้อมทั้งค าตอบของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะรายจากการตอบในรอบที่1ไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ค าตอบเดิมในการตอบแต่ละข้อค าถามตามค่าสถิติที่ให้ไว้

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ขั้นที่ 1 ผู้วิจัยท าการติดต่อประสานงานผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้วิธีการแนะน าตัวทางโทรศัพท์

อธิบายวัตถุประสงค์ของการวิจัย และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการวิจัยแบบเดลฟายพอสังเขป เพื่อขอความร่วมมือในการท าวิจัย พร้อมกับนัดหมายผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าพบและชี้แจงรายละเอียด ต่าง ๆ อีกครั้ง ภายหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญยินดีเข้าร่วมการวิจัย และอนุญาตให้เข้าพบตามวันและเวลา ที่นัดหมาย ผู้วิจัยแนะน าตัวเองแจ้งวัตถุประสงค์การวิจัยและวิธีด าเนินการวิจัยให้ผู้เชี่ยวชาญ รับทราบ หากผู้เชี่ยวชาญยินดีเข้าร่วมการวิจัย จึงให้ลงลายมือชื่อยินยอมในการเข้าร่วมวิจัย

ขั้นที่ 2 ด าเนินการส่งแบบสอบถามให้กับผู้เชี่ยวชาญรอบที่ 1 จ านวน 18 คน เป็นค าถาม เกี่ยวกับรูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติ

สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ แบบปลายเปิด ถ้ามีข้อค าถามไม่ชัดเจนหรือมีความคิดเห็นว่าควรแก้ไขส านวน สามารถเขียน ค าแนะน าได้ ซึ่งผู้วิจัยได้น าหนังสืออนุมัติให้ด าเนินการวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมกับเอกสารชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟายและ แบบสอบถาม

ผู้วิจัยติดต่อขอพบผู้เชี่ยวชาญด้วยตนเองเพื่อชี้แจงรายละเอียด นัดวันขอรับแบบสอบถาม และขออนุญาตติดต่อทางโทรศัพท์ในกรณีเกินเวลาที่ได้นัดหมายไว้ หากผู้เชี่ยวชาญไม่สะดวกใน การเข้าพบ ผู้วิจัยขอติดต่อให้รายละเอียดการด าเนินการวิจัยทางโทรศัพท์ และส่งเอกสารทาง ไปรษณีย์ หรือส่งไฟล์ค าถามทางอีเมล์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้วิจัย จัดเตรียมซองจดหมายและผนึกตราไปรษณียากรที่ระบุชื่อ และที่อยู่ของผู้วิจัยแนบไปพร้อมกับ แบบสอบถามที่ส่งไปให้ เพื่อความสะดวกของผู้เชี่ยวชาญในการจัดส่งกลับ

ขั้นที่ 3 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้แก่ผู้เชี่ยวชาญรอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ (Likert scale) ที่มีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับรอบที่ 1 พร้อมทั้งแสดงค่ามัธยฐาน (Median) และ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range)ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และความคิดเห็นเดิมของผู้ตอบ เพื่อให้ผู้ตอบได้พิจารณายืนยันหรือเปลี่ยนแปลงค าตอบใหม่ได้ โดยใช้เวลาตอบแบบสอบถามไม่

เกิน 2 สัปดาห์ และส่งเอกสารกลับคืนผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล

1. น าข้อมูลจากแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert’s five rating scale) ในรอบที่ 1 และ 2 ซึ่งใช้วัดระดับความสอดคล้องของรูปแบบการเสริมพลังความ แข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ มาหา ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range)

2. น าผลการประเมินจากแบบสอบถามรอบที่ 2 ตามเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟายมา พัฒนาเป็นรูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติ

สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับเปลี่ยนยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติ

สุขภาพช่องปาก เพื่อจัดท าเป็นแอปพลิเคชันเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุไทยต่อไป

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ส าเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

(Interquartile range) ดังนี้

ส าหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาค าตอบมีดังนี้

1. ค่ามัธยฐาน (Median) ก าหนดเกณฑ์ในการพิจารณาไว้ ดังนี้

ค่ามัธยฐาน 4.50-5.00 แสดงว่า ข้อความนั้นผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ค่ามัธยฐาน 3.50-4.49 แสดงว่า ข้อความนั้นผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยในระดับมาก ค่ามัธยฐาน 2.50-3.49 แสดงว่า ข้อความนั้นผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยในระดับปานกลาง ค่ามัธยฐาน 1.50-2.49 แสดงว่า ข้อความนั้นผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยในระดับน้อย ค่ามัธยฐาน 1.00-1.49 แสดงว่า ข้อความนั้นผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยในระดับน้อยที่สุด การพิจารณาข้อความเพื่อน าไปก าหนดเป็นรูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิต ของผู้สูงอายุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก จะใช้ข้อความที่มีค่ามัธยฐาน (Median) ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป

2. ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) เป็นการพิจารณาความสอดคล้องกัน ของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยก าหนดเกณฑ์แสดงค่าความสอดคล้องดังนี้

ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 0.00-0.50 แสดงว่า มีความสอดคล้องกันสูงมาก ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 0.51-1.00 แสดงว่า มีความสอดคล้องกันสูง ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 1.01-1.99 แสดงว่า มีความสอดคล้องปานกลาง ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 2.00-2.99 แสดงว่า มีความสอดคล้องกันต ่า ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ > 3.00 แสดงว่า ไม่มีความสอดคล้องกัน

การพิจารณาข้อความเพื่อน าไปก าหนดเป็นรูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิต ของผู้สูงอายุเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก จะใช้ข้อความที่มีค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (IQR.) ตั้งแต่ 1.50 ลงมา ซึ่งถือว่าข้อความนั้นมีความสอดคล้องกันสูง

3. การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อการยกระดับ