• Tidak ada hasil yang ditemukan

ระดับสถานบริการสาธารณสุข แบ่งเป็น

บทที่ 2

2. ระดับสถานบริการสาธารณสุข แบ่งเป็น

2.1 รพ.สต าบลที่ไม่มีทันตบุคลากร ประเมินปัญหาช่องปากจาก 1. ปัญหาการเคี้ยว อาหาร ประกอบด้วย 1.1 ฟันผุ รากฟันผุ 1.2 เหงือกบวม ฟันโยก 1.3 จ านวนฟันแท้น้อยกว่าเกณฑ์

2. ปัญหาเนื้อเยื่อช่องปาก มีก้อน รอยแดง รอยขาว แผลเรื้อรัง 3. ปัญหาปากแห้ง น ้าลายน้อย และ 4. ความสะอาดช่องปาก

2.2 รพ.สต าบลที่มีทันตบุคลากรและโรงพยาบาล ตรวจประเมินสุขภาพช่องปากดังนี้

1. การสูญเสียฟัน ประกอบด้วย 1.1 จ านวนฟันแท้ใช้งานได้ 1.2 จ านวนคู่สบฟันหลัง 2. ความ จ าเป็นในการใส่ฟันเทียม 3. สภาวะโรคฟันผุ ประกอบด้วย 3.1 จ านวนฟันผุหรือรากฟันผุ 3.2 จ านวนรากฟันโผล่พ้นขอบเหงือกเสี่ยงต่อรากฟันผุ 4. เหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ ประกอบด้วย เหงือกอักเสบ มีหินปูน มีสภาวะปริทันต์อักเสบ 5. แผลและรอยโรคมะเร็งช่องปาก 6. สภาวะปาก แห้งหรือน ้าลายน้อย 7. ฟันสึก และ 8. การดูแลอนามัยช่องปาก

แบบคัดกรองสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุระดับชุมชน

การคัดกรองสุขภาพระดับชุมชน (Community screening) คือ การคัดกรองภาวะสุขภาพ เบื้องต้นที่ตัวผู้สูงอายุสามารถประเมินสภาวะที่เป็นปัญหาได้ด้วยตัวเอง เป็นการใช้ค าถามให้

ผู้สูงอายุตอบจากอาการ หรือความรู้สึกที่ผู้สูงอายุเผชิญอยู่ ซึ่งผู้ดูแล หรืออาสาสมัคร สามารถช่วย คัดกรองได้ เพื่อคัดกรองประเด็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้สูงอายุเบื้องต้น

ลักษณะแบบคัดกรอง เป็นค าถามให้เลือกตอบคือมีหรือไม่มี โดยค าถามที่ 1-2 เป็น ประเด็นที่ระบุตามแนวทางการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก และค าถามที่ 3-5 เป็นประเด็นเพิ่มเติมของกรมอนามัย มีรายละเอียดของค าถามดังนี้

ค าถามที่ 1 มีความยากล าบากในการเคี้ยวอาหารแข็งหรือไม่

อาหารแข็งหมายถึงอาหารที่ต้องผ่านการบดเคี้ยวให้มีขนาดเล็กลงหรือนุ่มขึ้น เพื่อจะ สามารถกลืนได้ การสูญเสียฟันส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร ท าให้จ ากัดชนิดและประเภทของ อาหารที่กิน ผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มที่จะขาดสารอาหาร มีภาวะท้องผูก

ค าถามที่ 2 มีอาการเจ็บปวดในช่องปากหรือไม่

การเจ็บปวดเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคฟันผุ ติดเชื้อในปาก แผลในปาก มีผลต่อ ความไม่สบายกายและใจของผู้สูงอายุ และการติดเชื้ออาจลุกลามไปยังระบบอื่นของร่างกาย

ค าถามที่ 3 มีปัญหาปากแห้งน ้าลายน้อยหรือไม่

จากการเสื่อมโดยธรรมชาติ หรือเป็นผลจากการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังบางอย่าง ท าให้น ้าลายน้อยลง มีลักษณะเหนียวข้นขึ้นและความต้านทานโรคลดลง ส่งผลต่อการกลืน มีปัญหาในการรับรส อาจท าให้เกิดอาการแสบร้อนเนื้อเยื่อในปาก

ค าถามที่ 4 มีปัญหาการกลืนล าบาก ส าลักน ้าหรืออาหาร

มีความล าบากในการกลืนอาหาร น ้า หรือยา การส ารวจผู้สูงอายุในชุมชนทั่วไปพบ ประมาณร้อยละ 40 มีสภาวะการกลืนล าบาก ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในเรื่อง การขาดน ้า ขาดอาหารและภาวะแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินหายใจได้

ค าถามที่ 5 มีปัญหาในการท าความสะอาดช่องปาก

อนามัยช่องปากหรือการท าความสะอาดในช่องปากรวมทั้งฟันเทียม เป็นปัจจัยส าคัญที่

จะป้องกันการเกิดโรคของอวัยวะในช่องปากและการติดเชื้อ

ผลการคัดกรอง ผู้สูงอายุสามารถรับรู้ผลการคัดกรองได้ด้วยตัวเอง บุคลากรสาธารณสุข หรือ อสม.ให้ค าแนะน าผู้สูงอายุตามการเลือกตอบจากข้อค าถาม 1-5 ดังนี้ 1) กรณีตอบว่ามีปัญหา ในข้อใดข้อหนึ่ง แนะน าให้นัดหมายกับทันตบุคลากร ในสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อ ตรวจยืนยันและวางแผนการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป และ 2) กรณีตอบว่าไม่มีปัญหาทุกข้อ แนะน าให้ดูแลตนเองและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และควรไปตรวจสุขภาพช่องปากและบริการส่งเสริม ป้องกันกับทันตบุคลากรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แบบคัดกรองนี้สามารถท าส าเนาเป็นกระดาษ หรือพิมพ์จากแนวทางการคัดกรองและ ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุช่องปากในคู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564 หรือ จากสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย ซึ่งปัจจุบันพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้กับ

โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน (Blue book application) ดาวน์โหลดได้จาก https://bluebook.anamai.moph.go.th/HOME

วิธีการเก็บข้อมูล วางแผนการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุให้ครอบคลุม ใช้การกระจายจ านวน เป้าหมายผู้สูงอายุในชุมชนไปตาม รพ.สต าบลโดยให้ อสม. เป็นผู้ไปสอบถามหรือรวบรวมข้อมูล จากผู้สูงอายุ ซึ่งจะใช้วิธีเดินตามบ้าน หรือผ่านทางชมรมผู้สงอายุ และโรงเรียนผู้สูงอายุ เมื่อได้

ข้อมูลน ามาประมวลผล ผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านช่องปาก ให้ค าแนะนาการดูแลสุขภาพช่องปาก ในผู้ที่มี

ปัญหาให้นัดหมายมาที่สถานบริการเพื่อรับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก โดยทันตบุคลากร และจัดบริการที่เหมาะสมต่อไป (กรมการแพทย์, 2564)

แอปพลิเคชันที่ใช้บันทึกสุขภาพและสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

แอปพลิเคชันบลูบุ๊ค (Blue book application) เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็นสมุดประจ าตัว ผู้สูงอายุ ซึ่งประชาชนที่อาจเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ดูแล หรือ อสม. และบุคลากรทางการแพทย์

สามารถเป็นผู้บันทึกข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้โดยตรง

ผู้ใช้งาน มี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้สูงอายุหรือประชาชนทั่วไป และ 2) บุคลากรทางการแพทย์

1. ผู้สูงอายุหรือประชาชนทั่วไปต้องลงทะเบียนเข้าใช้งาน และตอบค าถามคัดกรอง สภาพปัญหาด้านสุขภาพเบื้องต้น ซึ่งเมื่อตอบเสร็จจะมีผลการคัดกรองบอกให้รู้ว่ามีสภาพปัญหาแต่

ละด้านเป็นอย่างไร ค าแนะน าในการปฏิบัติตัวตามผลการคัดกรอง

2. บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล เจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุข ทันตแพทย์ ลงทะเบียนเข้าใช้งาน เมื่อตรวจประเมินสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สามารถลงบันทึกผลในแอพพลิเคชั่นได้ ผลการตรวจสรุปเป็นรายบุคคล สามารถแสดงผลให้

ผู้สูงอายุดูแต่ละบุคคลได้ และยังสามารถท าเป็นรายงานสรุปรวมผู้สูงอายุที่ผ่านการตรวจได้

นอกจากนี้ข้อมูลการตรวจช่องปากรายบุคคล สามารถส่งออกไปใช้ในระบบแฟ้ม Dental ของ สถานบริการได้ (กรมอนามัย, 2564)

แอปพลิเคชันประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ด้านสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

นอกจากการคัดกรองสภาพปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน ประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ของผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ใช้งานต้องตอบค าถามด้านพฤติกรรมการดูแล สุขภาพช่องปาก โดยรวมอยู่กับแอปพลิเคชัน H4U ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการตอบค าถาม ของผู้ใช้งาน จะแสดงผลให้ผู้ตอบทราบว่ามีพฤติกรรมด้านสุขภาพช่องปากเหมาะสมหรือไม่ พร้อม ค าแนะน า (กรมอนามัย, 2564) ได้แก่