• Tidak ada hasil yang ditemukan

ระบบท างานได้ตามที่คาดหมาย

แนวคิดการเสริมพลัง (Empowerment)

2.1 ระบบท างานได้ตามที่คาดหมาย

2.2 ระบบแสดงข้อมูลได้รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ ทุกหน้าแสดงผลใช้เวลาใน การโหลดไม่เกิน 5 วินาที

2.3 ระบบบันทึกการประเมินของผู้ใช้งานได้หลายครั้ง

3. ด้านความเหมาะสมในการใช้งาน แอปพลิเคชันที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งาน จะ เป็นแอปพลิเคชันที่แสดงผลให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่าย การออกแบบเมนูหรือตัวเลือกที่เข้าใจง่าย มีการ

ให้ข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ผ่านเกมหรือการตอบค าถาม (Lee, Choi, Lee, & Jiang, 2018) ประกอบด้วย

3.1 ระบบแสดงผลการประเมินที่เข้าใจง่าย 3.2 ระบุเมนูที่สื่อความหมายได้ชัดเจน

3.3 ระบบแสดงข้อมูลได้ละเอียดแต่ไม่มากจนเกินไป

4. ด้านความถูกต้อง สมบูรณ์ และปลอดภัย แอปพลิเคชันที่ได้รับการยอมรับจาก ผู้ใช้งาน จะเป็นแอปพลิเคชันที่แสดงผลจากการใช้งานได้ถูกต้องและสมบูรณ์มีความปลอดภัยของ ข้อมูลผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มออนไลน์ (Huang, Liu, Huang, Liu, Lei, M., Xu, W., & Liu, 2020) ประกอบด้วย

4.1 ระบบแสดงข้อมูลได้ถูกต้อง เช่น แสดงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้ถูกต้อง แสดงข้อมูลการประเมินได้ถูกต้อง

4.2 ระบบแสดงข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น แสดงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ครบถ้วนทุกช่อง สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลในการประเมินได้ครบถ้วน

4.3 ระบบมีการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งาน ในการลงทะเบียนเข้าใช้

งานระบบ ผู้ใช้งานสามารถก าหนด user และ password ด้วยตนเอง

บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก เป็นงานวิจัยและพัฒนาที่แบ่งเป็น 4 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก และปัจจัยท านายคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

ระยะที่ 2 การวิเคราะห์แนวทางและกลไกการเสริมจุดแข็งและลดจุดอ่อนของปัจจัย ท านายคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดยคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตในมิติ

สุขภาพช่องปากระดับดีมาก รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวและแกนน าชุมชนของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่าง

ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของ ผู้สูงอายุเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก รวมทั้งการสร้างข้อเสนอแนะเสริม พลังเพื่อการปรับเปลี่ยนยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ด้วยเทคนิคเดลฟายของ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม จ านวน 18 คน

ระยะที่ 4 การประเมินการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันเสริมพลังความแข็งแกร่งในชีวิตของ ผู้สูงอายุไทยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุจ านวน 40 คน

ระยะที่ 1 การศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก และปัจจัยท านายคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

รูปแบบการวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Linear Regression Step-wise Method) ระหว่างปัจจัยภายในบุคคล และแรงสนับสนุนทางสังคม กับ คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส ารวจ (Exploratory Factor Analysis) ของคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรคือผู้สูงอายุที่อาศัยในจังหวัดภาคตะวันออกของไทย ได้แก่ จันทบุรี

ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว จ านวน 536,496 คน

กลุ่มตัวอย่างส าหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส ารวจตามแนวคิดของชูมาคเกอร์และ โลแม็ก (Schumacker & Lomax, 2010) และแฮร์และคณะ (Hair et al., 2010) กล่าวว่าการวิเคราะห์

องค์ประกอบเชิงส ารวจควรมีขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 10-20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ ส าหรับ งานวิจัยนี้ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ 39 ตัวแปร ดังนั้นจึงต้องมี

จ านวนกลุ่มตัวอย่าง 780 คน

การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability sampling) โดยใช้

การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) โดยมีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 คัดเลือกจังหวัดในภาคตะวันออกที่ผู้สูงอายุไปรับบริการทันตกรรมใน

สถานพยาบาลภาครัฐมากที่สุดและน้อยที่สุดในปีงบประมาณ 2560 ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทราและ สระแก้ว ตามล าดับ

ตารางที่ 1 จ านวนประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก

จังหวัด ในภาค ตะวันออก

ประชากรทั้งจังหวัด ประชากรวัยสูงอายุ ร้อยละของผู้สูงอายุ

ที่ไปรับบริการ ทันตกรรมจาก สถานพยาบาลรัฐ

ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม

จันทบุรี 262,645 273,851 536,496 42,199 51,341 93,540 8.08 ฉะเชิงเทรา 350,690 364,319 715,009 52,266 67,305 119,571 9.44*

ชลบุรี 751,779 783,666 1,535,445 86,639 114,201 200,840 9.43 ตราด 114,097 115,817 229,914 18,146 20,978 39,124 8.01 ปราจีนบุรี 243,665 247,985 491,640 35,417 45,381 80,798 8.43 ระยอง 355,539 367, 777 723,316 40,558 51,868 92,426 8.69 สระแก้ว 282,426 281,666 564,092 38,420 44,436 82,856 7.78**

* จังหวัดในภาคตะวันออกที่ผู้สูงอายุไปรับบริการทันตกรรมที่สถานพยาบาลภาครัฐมากที่สุด

**จังหวัดในภาคตะวันออกที่ผู้สูงอายุไปรับบริการทันตกรรมที่สถานพยาบาลภาครัฐน้อยที่สุด

ขั้นที่ 2 ท าการสุ่มอ าเภอในจังหวัดฉะเชิงเทราและสระแก้วที่มีผู้สูงอายุมารับบริการทัน ตกรรมในสถานพยาบาลภาครัฐในปีงบประมาณ 2560 มากที่สุดและน้อยที่สุด ได้แก่ อ าเภอพนม สารคาม และอ าเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามล าดับ ส่วนจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ อ าเภอเมือง และอ าเภอวัฒนานคร ตามล าดับ

ขั้นที่ 3 ท าการสุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ าต าบลจากอ าเภอที่ได้รับการ คัดเลือก โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ได้แก่ รพ.สต าบลบ้านซ่อง รพ.สต าบล เขาหินซ้อน รพ.สต าบลบางคา และ รพ.สต าบลเมืองใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ รพ.สต าบลคลองน ้าใส รพ.สต าบลบ้านโคกสัมพันธ์ รพ.สต าบลหนองน ้าใส และ รพ.สต าบล บ้านคลองมะนาว ตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2 จ านวนกลุ่มตัวอย่างแยกตามต าบลในจังหวัดฉะเชิงเทราและสระแก้ว

จังหวัด อ าเภอ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ

ต าบล

จ านวน ผู้สูงอายุ

(คน)

กลุ่มตัวอย่าง (คน)

รวมจ านวน กลุ่มตัวอย่าง

(คน)

ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม บ้านซ่อง 1992 176 463

เขาหินซ้อน 2184 194

ราชสาส์น บางคา 452 40

เมืองใหม่ 614 53

สระแก้ว เมือง คลองน ้าใส 1959 101 317

โคกสัมพันธ์ 1816 96

วัฒนานคร หนองน ้าใส 746 38

บ้านคลองมะนาว 1597 82

เมื่อได้จ านวนกลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุจากแต่ละโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ า ต าบลแล้ว ผู้วิจัยจะด าเนินการเก็บข้อมูลกับผู้สูงอายุตามสัดส่วนที่ก าหนด โดยมีเงื่อนไขคัดเข้าใน การศึกษาคือ

1. เป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้