• Tidak ada hasil yang ditemukan

ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม

1. ปัจจัยภายในของผู้สูงอายุ

1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล

ปัจจัยด้านโรคในช่องปากเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก แต่ปัจจัยส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเช่นเดียวกัน ซึ่งมีการศึกษา จ านวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่อง ปากที่ใช้ดัชนีแบบหลายข้อค าถาม เช่น GOHAI, OHIP, OIDP แต่ข้อค้นพบดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุป ที่ชัดเจน เพราะการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าว และเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เช่น มีระดับการศึกษาหรืออายุใกล้เคียงกัน ซึ่งมีการศึกษาที่ทดสอบความสัมพันธ์แบบสองตัวแปรโดยตัวแปรส่วนบุคคลเป็นตัวแปรต้น และ คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเป็นตัวแปรตาม โดยที่ไม่ได้ควบคุมปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นปัจจัย กวน (Confounding factor) หรือปัจจัยที่เป็นตัวกลางระหว่างความสัมพันธ์นั้น (Mediating factor) ผลการวิจัยจึงไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ ช่องปากที่เป็นอิสระจากอิทธิพลของปัจจัยอื่น

การทบทวนวรรณกรรมในครั้งนี้ได้น าเสนอข้อค้นพบจากการศึกษาต่าง ๆ โดย ประมวลและวิเคราะห์ถึงข้อจ ากัดที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งผู้วิจัยจึงได้รวบรวมและสรุปปัจจัยส่วน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

เพศ ภายใต้สถานการณ์ที่มีโรคในช่องปากและปัจจัยทางสังคมอื่น ๆ เหมือนกัน เพศ หญิงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าเพศชาย ทั้ง ผลกระทบในเชิงลบ เช่น ความรู้สึกเจ็บปวดของช่องปาก ความรู้สึกไม่พอใจ ความรู้สึกไม่สบาย ปัญหาในการท าหน้าที่ของช่องปาก เช่น การเคี้ยว ปัญหาทางจิตใจ เช่น ความกังวล ความอาย ความเครียด ตลอดจนปัญหาในการเข้าสังคม ปัญหาด้านการเงิน และปัญหาการขาดงานที่มีสาเหตุ

มาจากสุขภาพช่องปาก และผลกระทบเชิงบวกคือ รู้สึกว่าสุขภาพช่องปากที่ดีช่วยส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตให้ดีขึ้น เช่น เสริมภาพลักษณ์ เสริมบุคลิกภาพ สร้างความรู้สึกที่ดี มีผลต่อความสุขในชีวิต โดยรวม การศึกษาในผู้สูงอายุที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอิทธิพลของเพศต่อคุณภาพชีวิตในมิติ

สุขภาพช่องปาก ได้แก่ ผู้สูงอายุเพศชายและหญิงมีสภาวะช่องปากที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งการมีสัน เหงือกว่าง จ านวนฟันที่สูญเสียไป โรคปริทันต์อักเสบ นอกจากนั้นเพศชายยังมีฟันผุที่ตัวฟัน มากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตาม เพศหญิงกลับรายงานถึงปัญหาในช่องปากมากกว่าเพศชาย ทั้งใน

รูปแบบของความเจ็บปวด การไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ความกังวล และความเครียด เกี่ยวกับช่องปาก ซึ่งมีการศึกษาในผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดในช่องปาก เพศชายคาดการณ์ถึง ความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นมากกว่าเพศหญิง แต่หลังจากได้รับการรักษา เพศหญิงรายงานถึงความ เจ็บปวดที่เกิดขึ้นมากกว่า มีคุณภาพชีวิตที่ต ่ากว่า และใช้ระยะเวลาฟื้นตัวจนรู้สึกหายเป็นปกตินาน กว่าเพศชาย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในระดับชีววิทยาที่พบว่า ระหว่างการผ่าตัดในช่องปาก เพศ หญิงมีปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และการหลั่งสารเคมีที่มีผลต่อความกังวลและความเครียด มากกว่าเพศชาย

ในภาพรวมเพศหญิงมักจะมีการรับรู้และตอบสนองทางสุขภาพมากกว่าเพศชายใน ด้านบวกคือความใส่ใจดูแล มีพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่ดีกว่า ในด้านลบคือความกังวล ความรู้สึกถึงปัญหาที่ต้องการเข้ารับบริการทางสุขภาพช่องปากมากกว่าเพศชาย ซึ่งสอดคล้องกับ การวิจัยทางการแพทย์จ านวนมากที่พบเช่นเดียวกันว่า เพศหญิงมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพที่ดีกว่า เข้า รับบริการทางการแพทย์มากกว่า แต่มีความพอใจต่อการรักษาน้อยกว่า และมีคุณภาพชีวิตด้าน สุขภาพที่ต ่ากว่าเพศชาย ความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิงสะท้อนถึงบุคลิกภาพและนิสัยที่

แตกต่างกันระหว่างเพศ ซึ่งงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า เพศหญิงมีความใส่ใจ ความรู้สึกที่ไว ความ ละเอียดอ่อน การให้ความส าคัญต่อสังคม มีกิจกรรมทางสังคม สนใจผู้อื่นและคาดหวังความสนใจ จากผู้อื่นมากกว่าเพศชาย ซึ่งเป็นนิสัยที่สอดคล้องกับบทบาทตามธรรมชาติที่ได้รับจากการเลี้ยงดู

ตั้งแต่เด็ก และอธิบายได้ในระดับชีววิทยาจากระดับของสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกายและในสมอง นอกจากความแตกต่างในการรับรู้และตอบสนองทางสุขภาพแล้ว โรคบางประเภทยัง มีอุบัติการณ์ที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและหญิง ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างระหว่างเพศใน ระดับชีววิทยา นิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และลักษณะการใช้ชีวิตในสังคม โรคในช่องปาก บางชนิดมีอุบัติการณ์ และความรุนแรงที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง เช่น เพศชายมักมี

การผุที่รากฟัน เหงือกร่น และโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่เพศหญิงมักมีฟันผุที่

ตัวฟัน ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ความผิดปกติของต่อมน ้าลาย และความผิดปกติของการ รับรสมากกว่าเพศชาย โดยทั่วไปเพศจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากทั้ง ทางตรงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกและการให้ความส าคัญของบุคคล และทางอ้อมโดยผ่าน ทางความสัมพันธ์ของปัจจัยและผลลัพธ์ทางสุขภาพ ได้แก่ โรค พฤติกรรมสุขภาพ ไปจนถึงปัจจัย ในระดับชีววิทยา (สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, 2557)

อายุ อายุมีผลต่อความรู้สึกของบุคคลที่แตกต่างกันระหว่างโรคหรือลักษณะของ ปัญหาในช่องปาก เช่นการให้ความส าคัญกับการบดเคี้ยวหรือความสวยงาม ท าให้อายุมี

ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก วัยสูงอายุจึงได้รับผลกระทบเชิงลบจากช่อง

ปากมากที่สุด เพราะมีโรคในช่องปากที่ลุกลามมากที่สุดตามวัย นอกจากนี้ความคาดหวังต่อสุขภาพ ช่องปากมีแนวโน้มลดลงตามวัย สุขภาพช่องปากจึงเป็นประเด็นที่ผู้สูงอายุให้ความสนใจลดลงและ ไม่มีอิทธิพลมากนักต่อคุณภาพชีวิตเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะให้ความส าคัญกับ ประเด็นอื่นเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ สุขภาพร่างกาย และเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในชีวิตที่

กระทบกระเทือนใจ ผู้สูงอายุมักให้ความส าคัญกับผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับความสวยงามลดลงตาม วัยที่เพิ่มขึ้น พบว่า ผู้สูงอายุมักรายงานปัญหาเกี่ยวกับลักษณะที่ปรากฏของช่องปาก เช่น ความกังวล ความไม่มั่นใจเกี่ยวกับช่องปากน้อยกว่ากลุ่มวัยท างานที่อายุน้อยกว่า (ส านักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2561)

ระดับการศึกษา กลุ่มคนที่มีระดับการศึกษาสูงกว่ามักจะมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ ช่องปากที่ดีกว่า หรือได้รับผลกระทบจากช่องปากน้อยกว่ากลุ่มคนที่มีระดับการศึกษาต ่ากว่า พบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน รู้สึกว่าตนเองมีสุขภาพช่องปากดีกว่าผู้ที่มี

การศึกษาน้อยกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับการศึกษาสะท้อนถึงสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งส่งผลต่อการมีงานท าและมีรายได้ที่มั่นคง จึงท าให้อิทธิพลของการศึกษาคล้ายกับอิทธิพล ของรายได้ นอกจากนั้นระดับการศึกษายังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ ช่องปากที่ดี ระดับการศึกษาที่สูงท าให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่

ถูกต้อง มีความสนใจที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม เข้าถึงบริการทันตกรรม และปฏิบัติตาม ค าแนะน าของทันตแพทย์ (สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, 2557)

สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รายได้เป็นปัจจัยในขณะปัจจุบันที่เก็บข้อมูล และมี

ความแตกต่างไปในแต่ละช่วงชีวิต ความเหลื่อมล ้าทางสุขภาพช่องปากมีสาเหตุมาจากสถานะทาง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล ้าดังกล่าวเป็นเป้าหมายหลักของงานทันต สาธารณสุขในปัจจุบัน ในขณะที่มีการขยายบริการทันตกรรมภาครัฐให้ครอบคลุมประชากรมาก ขึ้น แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากยังคงรุนแรงในกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางสังคมหรือมีสถานะทาง เศรษฐกิจและสังคมต ่า มีการศึกษาจ านวนหนึ่งที่พบว่า สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม

(Socioeconomic Status: SES) มีความสัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะใช้ตัวชี้วัด ทางสุขภาพช่องปากประเภทใด เช่น พฤติกรรมสุขภาพช่องปาก สถานะหรือโรคทางช่องปาก ความรู้สึกของตัวบุคคลเกี่ยวกับช่องปาก และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก การประเมิน คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากด้วยดัชนีแบบหลายข้อค าถาม มีข้อค้นพบในทุกกลุ่มอายุคือ กลุ่ม คนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต ่ากว่า มีปัญหาในช่องปากด้านต่าง ๆ มากกว่า มีความล าบาก ในการเคี้ยวอาหารมากกว่า ปวดฟันมากกว่า รู้สึกพึงพอใจต่อสภาวะช่องปากน้อยกว่า ประเมินช่อง ปากตนเองโดยรวมว่ามีสภาพที่เลวร้ายกว่า มีโรคทางช่องปากมากกว่า ตลอดจนมีพฤติกรรมการ