• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

6. ซับส่วนเกินออกด้วยสาลี

7. งดการเคี้ยวหรือสัมผัสอาหารบริเวณดังกล่าวประมาณ 1-2 ชั่วโมง (Mei, et. al, 2013)

3. การป้องกันเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

มาตรการส าคัญในการป้องกันโรคปริทันต์ คือ การปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อภาวะเหงือก อักเสบและปริทันต์อักเสบ ได้แก่ การท าความสะอาดช่องปากที่ไม่มีประสิทธิผล การสูบบุหรี่ และ การรักษาโรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) ดังนี้ (กรมอนามัย, 2564)

3.1 แนะน าท าความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันร่วมกับอุปกรณ์เสริมท าความสะอาด ซอกฟัน ได้แก่ แปรงซอกฟัน ไหมขัดฟัน เพื่อช่วยในการท าความสะอาดช่องปากบริเวณที่เข้าถึงได้

ยาก รวมถึงการใช้น ้ายาบ้วนปาก หากมีการอักเสบของเหงือก ควรให้ความรู้และแนะน าผู้สูงอายุให้

ท าความสะอาดช่องปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและก่อนนอน

3.2 การขูดหินน ้าลายและท าความสะอาดช่องปากโดยทันตบุคลากร เพื่อรักษาโรค เหงือกอักเสบ

3.3 ประเมินผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาทักษะในการท าความสะอาดช่องปาก ให้มี

ประสิทธิภาพ

3.4 ในผู้ที่สูบบุหรี่ควรแนะนาและช่วยให้เลิกบุหรี่ รวมทั้งให้กา ลังใจในการเลิกบุหรี่

4. การป้องกันการเป็นแผลในปาก รอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งช่องปาก

การเฝ้าระวังในผู้สูงอายุควรตรวจเนื้อเยื่อในช่องปากทุก 6 เดือน โดยใช้เครื่องมือตรวจ ช่องปาก ตรวจด้วยตา (Visual Examination) ร่วมกับการคล า การเช็ดเนื้อเยื่อให้แห้ง เพื่อจะท าให้

เห็นรอยโรคชัดเจนขึ้น แบ่งบริเวณที่ตรวจเป็น 9 บริเวณ ได้แก่ 1. ริมฝีปากบนและล่าง (Lip) 2. กระพุ้งแก้มด้านขวาและด้านซ้าย (Buccal Mucosa) 3. Gingiva (เหงือกบนและล่าง) 4. เหงือก ด้านหลังฟันกรามล่าง (Retromolar Area) 5. เพดานแข็ง (Hard Palate) 6. เพดานอ่อน (Soft Palate) 7. ลิ้นด้านบนและด้านข้าง (Dorsal And Lateral Tongue) 8. ใต้ลิ้น (Ventral Tongue) และ 9. พื้น ปาก(Floor Of Mouth) ตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งช่องปาก ปีละ1 ครั้ง (กรมการแพทย์, 2564) โดยมีรายละเอียดดังนี้

4.1 แผลแดงบริเวณมุมปาก (Angular Chelitis) อาจมีสาเหตุจากเชื้อรา ซึ่งการรักษา คือให้ยาแก้เชื้อราชนิดกินหรือทา เช่น fluconazole

4.2 แผลที่เนื้อเยื่อในปาก ให้มองหาหรือซักถามสาเหตุ เช่น แผลจากการกัด ฟันบิ่น คม จากฟันเทียม แก้ไขสาเหตุเบื้องต้น และติดตามผล 2 สัปดาห์ ถ้าแผลหายหรือขนาดเล็กลง ให้

ค าแนะน าในการดูแลสุขภาพช่องปาก และนัดติดตามจนกว่าแผลจะหาย

4.3 แผลในปากที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น หลังการติดตามผล 2 สัปดาห์ รอยฝ้าขาว ฝ้าแดง หรือรอยโรคก่อนมะเร็ง ให้ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย โดยแพทย์ ทันตแพทย์

ตามแนวทางการส่งต่อรักษารอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก

4.4 รอยโรคก่อนมะเร็ง ให้ส่งตรวจยืนยันกับแพทย์หรือทันตแพทย์อีกครั้ง 5. การป้องกันสภาวะปากแห้งหรือน ้าลายน้อย และภาวะกลืนล าบาก

ผู้สูงอายุจะมีอาการเคี้ยวไม่ถนัด กลืนล าบาก มีอาหารตกค้างในช่องปาก โดยเฉพาะ สภาวะน ้าลายแห้งที่พบจากการที่ต่อมน ้าลายผลิตน้อยลง และจากการรับยารักษาโรคประจ าตัวบาง ประเภท ซึ่งแนะน าการดูแลเบื้องต้น ดังนี้ (สุปราณี ดาโลดม และวรวุฒิ กุลแก้ว, 2557)

5.1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน ้าและรับประทานอาหาร การจิบน ้าระหว่างวัน หรือการดื่มน ้าระหว่างมื้ออาหารจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในช่องปาก และช่วยให้ง่ายต่อการกลืน อาหาร เสริมด้วยการจัดอาหารที่มีส่วนผสมเป็นน ้ามากขึ้น เช่น แกงจืด หรืออาหารอ่อนง่ายต่อการ กลืน

5.2 ดูแลสุขภาพในช่องปาก เป็นวิธีการที่ส าคัญในการช่วยลดภาวะน้าลายน้อย ได้แก่ การบ้วนปากบ่อย ๆ จะช่วยก าจัดเศษอาหารและให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุในช่องปาก โดยใช้

น ้าเปล่า หรือน ้าเกลือ

5.3 ลดปัจจัยส่งเสริมที่ท าให้เกิดภาวะน ้าลายแห้ง ได้แก่ การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรส เผ็ดและเค็ม งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม งดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

5.4 ใช้สารกระตุ้นและทดแทนน ้าลาย ได้แก่ น ้าลายเทียม ซึ่งมีส่วนประกอบของมิว ซิน (Mucin) และคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (Carboxymethyl Cellulose) เหมือนน ้าลายธรรมชาติ

แต่มีข้อเสียคือออกฤทธิ์สั้น รสชาติไม่พึงประสงค์ และมีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังอาจใช้วิธีการอม ลูกกวาด หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยกระตุ้นต่อมน ้าลายที่ยังสามารถท างานได้ รวมทั้งการใช้ “วุ้น ชุ่มปาก” เป็นน ้าลายเทียมชนิดเจล (Oral Moisturizing Jelly) ช่วยให้เนื้อเยื่อในปากชุ่มชื้น บรรเทา อาการในผู้ที่ปากแห้ง หรือมีอาการน ้าลายน้อยรุนแรง หรือในผู้ที่รักษามะเร็งด้วยการฉายรังสี

บริเวณล าคอและใบหน้า

5.5 ฝึกนวดต่อมน ้าลาย บริหารกล้ามเนื้อใบหน้าและลิ้น (กรมอนามัย, 2564) เพื่อให้

กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ช่วยในกระบวนการบดเคี้ยวและการกลืน ป้องกันการส าลักอาหารและน ้า ควรให้ผู้สูงอายุฝึกท า อย่างสม ่าเสมอ

5.5.1 การนวดกระตุ้นต่อมน ้าลาย วิธีการนวดต่อมน ้าลาย ได้แก่ 1. วางนิ้วก้อยถึง นิ้วชี้บริเวณแก้ม 2. นวดบริเวณฟันกรามบน วนจากหลังไปหน้า 10 ครั้ง 3. วางนิ้วโป้งใต้

ขากรรไกรล่าง กดจากใต้หูถึงใต้คาง 5 ต าแหน่ง ท า 5 ครั้ง และ 4. กดนิ้วโป้งทั้ง 2 ข้าง ที่คาง บริเวณใต้ลิ้น 10 ครั้ง

5.5.2 บริหารกล้ามเนื้อใบหน้า วิธีการบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ได้แก่ 1. สูดลม หายใจเข้าเต็มปอด 2. ยกแก้มขึ้นพร้อมกับหลับตา ท า 10 ครั้ง 3. ท าตาโตและปากป่อง ท า 10 ครั้ง และ 4. ใช้ลมดันกระพุ้งแก้มไปซ้ายและขวา ท า 10 ครั้ง

5.5.3 บริหารกล้ามเนื้อลิ้น วิธีการบริหารกล้ามเนื้อลิ้น ได้แก่ 1. แลบลิ้นออกและ เข้า ท า 10 ครั้ง 2. แลบลิ้นขึ้นและลง ท า 10 ครั้ง 3. แลบลิ้นแตะมุมปากซ้ายและขวา ท า 10 ครั้ง 4. ปิดปาก แล้วดันลิ้นไปที่ริมฝีปากบนและล่าง ท า 10 ครั้ง และ 5. ปิดปาก แล้วดันลิ้นไปที่กระพุ้ง แก้มซ้ายและขวา ท า 10 ครั้ง (กรมอนามัย, 2564)

แบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

เป้าหมายหลักของงานทันตสาธารณสุขคือ การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรที่

เกี่ยวข้องกับสภาพช่องปาก คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากหมายถึง ผลกระทบของรอยโรค

หรือความผิดปกติในช่องปากที่มีต่อชีวิตประจ าวัน โดยรอยโรคนั้น ๆ มีความถี่ ความรุนแรงหรือ ระยะเวลาที่เป็นโรคยาวนาน จนส่งผลเสียต่อการด าเนินชีวิตประจ าวัน การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี

นั้นต้องอาศัยการส่งเสริมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก แต่

ปัจจุบันองค์ความรู้ในเรื่องปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตยังไม่สมบูรณ์ส าหรับสังคมไทย รวมทั้ง ไม่ครอบคลุมปัจจัยการก่อโรค ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมตามหลักการทางระบาด วิทยา ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงท าการทบทวนปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ ช่องปากอย่างเป็นองค์รวม (สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, 2557)

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเป็นการให้ความหมายของสุขภาพช่องปาก ที่เคลื่อน ออกจากฐานแนวคิดการแพทย์เชิงชีววิทยาไปสู่หลักการทันตสังคม ท าให้ตัวชี้วัดช่องปากทาง คลินิก (Clinical oral measure) ซึ่งใช้วัดโรคทางช่องปากไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอที่จะสะท้อน

“สุขภาพช่องปาก” ออกมาได้ การวัดสุขภาพช่องปาก (Oral health) จึงจ าเป็นต้องขยายมุมมองต่อ สภาวะช่องปากให้กว้างขึ้นกว่าการวัดสภาวะช่องปาก (Oral status) จึงเกิดการพัฒนาวิธีการวัด สุขภาพช่องปากให้เหมาะสมมากขึ้น และในขณะเดียวกันได้ผลลัพธ์ที่สามารถสื่อความหมายอัน เป็นนามธรรมของสุขภาพช่องปากออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมที่เข้าใจได้ง่าย ท าให้เกิดการพัฒนา

“ตัวชี้วัดทันตสังคม” (Socio-dental measure) ขึ้น ตั้งแต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ซึ่งต่อมารู้จักกัน ในชื่อ “ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก” (Oral Health-related Quality of Life:

OHRQoL) (สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, 2564)

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก เป็นการวัดหรือประเมินสุขภาพช่องปากตามรูปแบบ การแพทย์เชิงสังคม (Bio-psychosocial model) เป็นการประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากที่มี

ต่อคุณภาพชีวิตทั้งมิติทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การศึกษาคุณภาพชีวิตที่ดีควร ประกอบด้วยองค์ประกอบที่บ่งชี้คุณภาพชีวิตที่ครอบคลุมทั้งด้านวัตถุวิสัยและจิตพิสัย วัตถุวิสัย ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ โรคประจ าตัว ปัจจัยทางด้านสังคม เช่น การศึกษา อาชีพปัจจุบัน อาชีพเดิม และการเป็นสมาชิกของชมรมต่าง ๆ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้

เงินออม กรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และหนี้สิน ส่วนคุณภาพชีวิตด้านจิตวิสัย เป็นเรื่องของการรับรู้

ความรู้สึก ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อสุขภาพตนเองและต่อสภาพแวดล้อม การพึ่งพาตนเอง และการรับรู้ที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของ ผู้สูงอายุ ต้องค านึงถึงสภาวะช่องปากและความรู้สึกด้านจิตใจ (ส านักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2561) ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้จะใช้ดัชนีประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากชนิด The Oral Health Impacts Profile (OHIP) ที่เหมาะส าหรับวัยสูงอายุและการประเมินผลด้วยตนเอง

แบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากชนิด OHIP (The Oral Health Impacts Profile)

ที่มาและกรอบแนวคิดทางทฤษฎีของแบบประเมินชนิด OHIP

แบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากชนิด OHIP พัฒนาโดย Slade และ Spencer ใน ค.ศ. 1944 ด้วยความต้องการสร้างดัชนีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างเป็น ระบบ ที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อย่างครบถ้วนตามกรอบแนวคิดทางทฤษฎีสุขภาพช่องปากที่

พัฒนาขึ้นและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เพื่อช่วยเติมเต็มการวัดผลกระทบสุขภาพช่องปากแบบ ดั้งเดิมที่ใช้เพียงดัชนีทางคลินิก

การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของแบบประเมินชนิด OHIP เริ่มต้นจากกลุ่ม ตัวอย่างผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรมในประเทศออสเตรเลีย โดยมีเป้าหมายเริ่มแรกคือการน าไปใช้ใน ผู้สูงอายุเช่นเดียวกับแบบประเมินชนิด GOHAI การพัฒนาแบบประเมินชนิด OHIP ใช้วิธีการอย่าง เป็นระบบตามแบบแผนการพัฒนาดัชนีการแพทย์เชิงสังคมหรือคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ (Socio- medical / health-related quality of life index) ที่เป็นที่ยอมรับในสมัยนั้น โดยใช้กรอบแนวคิด ทฤษฎีเรื่องสุขภาพช่องปากของ Locker เป็นพื้นฐาน ซึ่งจ าแนกผลที่เกิดตามมาจากโรคทางช่องปาก (Oral disease consequences) ออกเป็น 7 มิติ (สุดาดวง กฤษฎาพงษ์, 2557) ได้แก่