• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความหมายของคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นฐาน

สารบัญภาพประกอบ

ภาพประกอบ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ

1. ความหมายของคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นฐาน

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในการบริหารและการจัดการการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปอย่างมี

ประสิทธิภาพสอดคล้องกับการจัดการศึกษาแบบชุมชน เอกชน เข้ามามีส่วนร่วม

กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ก าหนดเป็นระเบียบเรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543” เพื่อให้ชุมชน เอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้

43 กรรมการ หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษา หมายความว่า โรงเรียนของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ไม่

หมายรวมถึงสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเฉพาะทาง

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง ผู้ที่ได้รับรับคัดเลือกให้เป็น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543

2. ความส าคัญของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาโรงเรียน สาคร คุณชื่น (2543) ได้กล่าวถึง ความส าคัญไว้ว่า ชุมชนของไทยในอดีต ส่วนมากจะเป็นชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมขนาดเล็ก ใช้ชีวิตอยู่แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รักใคร่สนิทสนมปรองดองกันเสมือนญาติ มีงานก็ร่วมแรงร่วมใจกันท างานด้วยความเสียสละสามัคคี

แต่ในปัจจุบันสังคมและชุมชนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเข้าแทนที่วิถีชีวิตของสังคมไทย ส่วนหนึ่งต้องออกไปประกอบอาชีพในเมือง ในโรงงานอุตสาหกรรมและส่วนใหญ่ของการท างานเพื่อ ประกอบอาชีพมีความจ าเป็นต้องอาศัยความรู้ ความสามารถตามหลักวิชาการมากขึ้น และนับวันจะ เพิ่มความส าคัญให้กับการศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ โดยพยายามส่งลูกหลานไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นจึง ถึงปริญญาให้มากที่สุด โรงเรียนประถมศึกษาซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลักของชุมชน มีความ

จ าเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของ สังคมและสามารถช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการชุมชนได้ และมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน ดังกล่าวแล้วนั้น จ าเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชนหรือผู้แทนของชุมชน ซึ่งได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา องค์การท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียนอย่างจริงจังและ ต่อเนื่องตลอดไป

กระทรวงศึกษาธิการ (2544) ได้กล่าวถึง ความส าคัญของคณะกรรมการสถานศึกษาว่า การบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการเป็นแนวความคิดพื้นฐานว่า การบริหารโดยองค์คณะบุคคล นั้น ก็เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างรอบคอบ มีเหตุผล และยุติธรรมมากกว่าการบริหารงานโดย ให้อ านาจอยู่กับบุคคลคนเดียว ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลการใช้คณะกรรมการในการบริหาร ดังนี้

1. เพื่อให้การบริหารหรือการพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหามีความหลากหลาย เป็นไปอย่างถี่ถ้วน รอบคอบ

2. เพื่อให้มีการถ่วงดุลอ านาจซึ่งกันและกัน โดยมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอ านาจ มากเกินไป ซึ่งอาจน าไปสู่การใช้อ านาจในทางที่ไม่ถูกต้องอันจะเกิดผลเสียหายแก่องค์กรได้

44 3. การให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการเพื่อมิให้ด าเนินนโยบายใด ๆ มีผลต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดความยุติธรรมในการด าเนินการต่อทุกฝ่ายได้

4. เพื่อก่อให้เกิดการประสานงานที่ดีทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน ซึ่งจะท าให้การบริหารเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5. การรวมตัวกันของบุคคลเป็นคณะกรรมการจะก่อให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง สามารถอ านวยการให้งานด าเนินไปด้วยดี

6. ผู้เป็นประธานคณะกรรมการที่มีทักษะในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่มจะสามารถโน้มน้าวให้ผู้ที่มีส่วนร่วมต่างๆ เกิดการยอมรับในแนวทางหรือวิธีการกับ ทั้งยังอาจกระตุ้นให้ก าลังใจให้พวกเขาสามารถน าไปปฏิบัติให้บรรลุผลต่อไป

7. เพื่อให้เกิดการใช้และแพร่กระจายข้อมูล ข่าวสารได้ดีให้ใช้คณะกรรมการ อาจกระท าไปเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปฏิบัติหรือถ่วงเวลาต่อกรณีปัญหาที่ไม่พึงประสงค์

ของผู้บริหาร ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นฝ่ายของตนขั้นและให้มีการพิจารณาเลื่อนการ ตัดสินใจออกไป หรือให้มีการท าการศึกษาในเรื่องนั้นๆ ก่อนเป็นการยืดเวลาออกไป

ดังนั้นความหลากหลายของบุคคลที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ จึงเอื้อต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ บุคคลที่ได้รับ การคัดเลือกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจึงมีความส าคัญต่อการจัดการศึกษา ดังนี้

1. ผู้แทนผู้ปกครอง เป็นผู้สะท้อนปัญหาและความต้องการด้านคุณภาพทาง การศึกษาและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนทั้งในส่วนที่คาดหวังและสภาพความเป็นจริง เกิดขึ้นและร่วมมือกับครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน

2. ผู้แทนครู เป็นผู้ที่มีความช านาญในสายวิชาชีพครูมีความส าคัญต่อการน าเสนอ ข้อมูลด้านกระบวนการเรียนรู้ ปัญหา และความต้องการการสนับสนุน ช่วยเหลือ รวมทั้งรายงานผล การจัดการศึกษา

3. ผู้แทนองค์กรชุมชน เป็นผู้สะท้อนสภาพของปัญหาและความต้องการใน การพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของชุมชน และให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาทั้งในด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้

4. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้สะท้อนสภาพปัญหาและความต้องการที่

ครอบคลุมทั้งเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษาและมีความส าคัญต่อสถานศึกษาอย่างยิ่งในเรื่องการ

45 ขอรับการสนับสนุนงบประมาณทรัพยากรทางการศึกษา และเชื่อมโยงแผนพัฒนาการศึกษากับ แผนพัฒนาท้องถิ่น

5. ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษาเป็นผู้ที่สะท้อนภาพของความรัก ความศรัทธา ความภาคภูมิใจต่อสถาบันการศึกษาช่วยจรรโลงคุณค่าของสถาบันไปสู่ศิษย์รุ่นหลังให้ประสบ ความส าเร็จในการศึกษาเช่นกัน

6. ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ เป็นผู้น าเสนอและ เติมเต็มข้อมูลด้านคุณธรรมจริยธรรมตามหลักธรรมของศาสนาซึ่งเป็นส่วนส าคัญในการจัดการเรียนรู้

เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคม

7. ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการศึกษาได้ครอบคลุมในทุกๆ ด้านอย่างมีคุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ท าให้สถานศึกษามีความเข็มแข็งและมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

8. ผู้บริหารสถานศึกษา ในฐานะกรรมการและเลขานุการซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ สถานศึกษา เป็นบุคคลส าคัญที่สะท้อนภาพการบริหารจัดการ ผู้ช่วยเหลือให้ค าปรึกษา สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นการท างาน ทบทวนรายงาน สะท้อนความคิด เปิดโอกาสให้ผู้แทนแต่ละกลุ่มได้แสดงบทบาท อย่างเต็มที่ จัดเตรียมการประชุม รายงานผลการประชุมและสนับสนุนด้านอุปกรณ์ วัสดุใช้สอย รวมทั้งการพิจารณาน ามติ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากที่ประชุมไปสู่การปฏิบัติ

สน สุวรรณ (2553) ได้สรุปว่า ความส าคัญของคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมทางการศึกษากับโรงเรียน โดยหลักการน าเอา กิจกรรมของชุมชนเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนแบบบูรณาการ ด้วยการประสานความรู้สึกที่ดี

ต่อกัน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนหรือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามามี

ส่วนร่วมบริหารงานทางการศึกษาของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่วมวิเคราะห์ความต้องการของ โรงเรียน ร่วมก าหนดวิสัยทัศน์และแผนพัฒนาโรงเรียน ร่วมน าเสนอกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ โรงเรียน ร่วมพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ร่วมพัฒนาคุณภาพแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ร่วมพัฒนาศักยภาพของโรงเรียน และร่วมติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน

สรุปได้ว่า คณะกรรมการสถานศึกษามีความส าคัญต่อการพัฒนาโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง เป็น การบริหารในรูปของคณะกรรมการ เป็นการบริหารโดยองค์คณะบุคคล ก็เพื่อให้การบริหาร เป็นไปอย่างรอบคอบ มีเหตุผล และยุติธรรมมากว่าการบริหารงานโดยให้อ านาจอยู่กับบุคคลคนเดียว สามารถใช้อ านาจถ่วงดุลในการพิจารณา การแก้ปัญหา การเสนอแนะอย่างหลากหลาย ก่อให้เกิด องค์กรที่เข้มแข็งมีพลังในการขับเคลื่อนงาน ท าให้การจัดการศึกษาบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างดี

มีคุณภาพ

46 3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) หมวด 5 การบริหารและจัดการศึกษา ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของ รัฐ กล่าวว่า ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ ากว่า ปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษา เพื่อท าหน้าที่ก ากับและส่งเสริม สนับสนุน กิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น ในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธาน กรรมการและกรรมการ วาระการด ารงต าแหน่ง และการพ้นจากต าแหน่ง ให้เป็นไปตามที่ก าหนดใน กฎกระทรวง

จากสาระดังกล่าว การก าหนดจ านวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการด ารงต าแหน่ง และการพ้นสภาพจากต าแหน่งของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎกระทรวงที่ปรากฏใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 129 ก ดังนี้

ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้

“ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อ านาจ ปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของนักเรียน และให้หมายความ รวมถึงบุคคลที่นักเรียนอยู่ด้วยเป็นประจ าหรือที่นักเรียนอยู่รับใช้การงาน

“ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งท าหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของรัฐ

“สถานศึกษา” หมายความว่า โรงเรียน วิทยาลัย หรือหน่วยงานการศึกษาที่

เรียกชื่ออย่างอื่น ของรัฐที่มีอ านาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับ งบประมาณจากรัฐ แต่ละแห่ง ยกเว้นสถานพัฒนาเด็กปฐมรัยและศูนย์การเรียน

“สถานศึกษาขนาดเล็ก” หมายความว่า สถานศึกษาที่มีนักเรียนไม่เกิน สามร้อยคน

“สถานศึกษาขนาดใหญ่” หมายความว่า สถานศึกษาที่มีนักเรียนเกินกว่า สามร้อยคนขึ้นไป

“องค์กรชุมชน” หมายความว่า ชุมชนหรือองค์กรที่มีประชาชนรวมตัวกัน ไม่น้อยกว่า สิบห้าคน เพื่อด าเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนโดยส่วนรวมอย่าง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มีผลงานที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือส านักงานเขตพื้นที่