• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ ๒

ในภาพประกอบ ๒.๕. แสดงใหเห็นการกําหนดมาตรการในการอนุรักษ

๑.๔. คุณคาตอคุณภาพชีวิต

ซึ่งการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมทางดานสุนทรียภาพ ไดถูกกําหนดไวใน องคประกอบที่ ๔ คุณคาตอคุณภาพชีวิต แตปญหาของการปฏิบัติจริงก็คือ ประเด็นที่

มีการโตแยงอยูเสมอในเรื่องคําจํากัดความ วิธีวิเคราะห และความคิดเห็นของผูไดรับ ผลกระทบ เนื่องจากสาระสําคัญของสุนทรียภาพนั้นไมสามารถใช

๓๕

เครื่องมือตรวจสอบและใหผลการวิเคราะหเชิงปริมาณไดแตกตางจากน้ําเสีย เสียงดัง หรือมลพิษในอากาศ

๓๖

ภาพประกอบ ๒.๕. แสดงตัวอยางการอนุรักษทัศนียภาพเมือง บริเวณเมืองลพบุรี

๓๗

ภาพประกอบ ๒.๖. แสดงตัวอยางการอนุรักษทัศนียภาพเมือง ในตางประเทศ

รองศาสตราจารย ดร.บัณฑิต จุลาสัย ไดทําการวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห

ผลกระทบสิ่งแวดลอมดานสุนทรียภาพ” โดยมีวัตถุประสงคเพื่อศึกษารายละเอียด ตั้งแตคําจํากัดความ แนวคิด ตัวอยาง การศึกษา ขั้นตอน และวิธีการที่ใชกันอยูทั้งใน และตางประเทศเพื่อหาขอสรุปที่เหมาะสม (บัณฑิต จุลาสัย ๒๕๔๒: ๒๐๔) ซึ่ง อธิบายไวดังนี้

การวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมทางดานสุนทรียภาพ หมายถึง การศึกษา ผลกระทบของกิจกรรมใด ๆ ที่จะสงผลตอทัศนาการ Visual Impact โดยการ คาดการณการเปลี่ยนแปลงทัศนภาพที่จะเกิดขึ้น เพื่อเสนอมาตรการปองกัน หรือแกไข มีวิธีการศึกษาดังนี้ การศึกษารายละเอียดโครงการ ไดแก ที่ตั้ง ขนาด รูปแบบ ฯลฯ สภาพพื้นที่โดยรอบ ๆไดแก ภูมิประเทศ ภูมิทัศน สถานที่สวยงาม หรือสําคัญทางดานศิลปกรรม ธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี ประวัติศาสตร

ฯลฯ สอง การประเมินผลกระทบในดานทัศนาการ ไดแก การปดบังความ ชัดเจน โอกาสและตําแหนงของทัศนาการ ไดแก ความสัมพันธระหวางโครงการ กับสภาพพื้นที่ ไดแก ความขัดแยงขององคประกอบพื้นฐานศิลปะ ไดแก

รูปทรง เสน สี และผิวสัมผัส การทําลายคุณคาของทัศนียภาพ ฯลฯ สาม การ เสนอแนวทางแกไขและปองกันปญหามลทัศน Visual Pollution

จากแนวความคิดนี้ ทําใหตระหนักถึงปญหาความชัดเจนทางกฎหมายที่

เกี่ยวกับทัศนียภาพของเมือง และแสดงใหเห็นวาการใชกฎหมายฉบับนี้ สามารถ นํามาประยุกตใชเปนมาตรการหลักดานหนึ่งในการอนุรักษทัศนียภาพของเมืองได

แตจําเปนตองมีการแกไข เพิ่มเติมในดานความชัดเจนมากขึ้น

๓. มาตรการในการอนุรักษแหลงสิ่งแวดลอมทางวัฒนธรรม

เนื้อหาที่อางอิงนี้เปนบทความจากเอกสารประกอบสารสัมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกําหนดแนวทางการสรางมาตรการและแรงจูงใจในการอนุรักษวัดอรุณรา- -ชวราราม” โดยกองทุนสิ่งแวดลอม มูลนิธิสิ่งแวดลอมไทย ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

(กองทุนสิ่งแวดลอม ม.ป.ป.)

๓๘

เครื่องมือและกลยุทธในการดูแลรักษาอาคารและบริเวณที่ควรคาแกการ อนุรักษ แบงไดเปน ๒ ประเภทคือการใชกลไกควบคุม (Control

Mechanism) และการสรางแรงจูงใจ (Incentives Building) ๑. การใชกลไกควบคุม (Control Mechanism)

เปนการใชมาตรการในการอนุรักษโดยการสรางหลักเกณฑขอบังคับ แนวปฏิบัติ และควบคุมแหลงวัฒนธรรมและบริเวณโดยรอบ โดยมีวิธีการ ตาง ๆ ดังนี้

๑.๑. การขึ้นทะเบียน (Listing)

๑.๒. การแบงเขตที่ดินตามประโยชนใชสอย (Zoning) ๒. การสรางแรงจูงใจ (Incentives Building)

เปนการใชมาตรการโดยวิธีที่แตกตางจากการควบคุมสั่งการ โดยเปลี่ยนเปน การสรางแรงจูงใจ ใหผลตอบแทนแลกเปลี่ยน สําหรับกิจกรรมอนุรักษรวมทั้ง การสรางความมีสวนรวมของคนในชุมชน เพื่อใหเกิดจิตสํานึกในการอนุรักษ

ในทองถิ่นของตนเอง ซึ่งประกอบดวยวิธีการตาง ๆ ดังนี้

๒.๑. มาตรการทางการเงิน (Financial Instruments) ๒.๑.๑. ระบบภาษี (Taxation)

๒.๑.๒. การโอนสิทธิ์ในการพัฒนาที่ดินและอาคาร (Transfer of Development Rights)

๒.๒. การยกยองและการใหรางวัล (Recognition and Awards) ๒.๓. การมีสวนรวมของประชาชน (Public Participation) (ดูภาพประกอบ ๒.๑๔.)

๒.๓.๑. การปรึกษาสาธารณะ (Public Consultation) ๒.๓.๒. กลไกระดับรากหญา (Grassroots Mechanisms) ๒.๔. การฝกอบรม (Training Programmes)

๒.๕. การสงเสริมกิจกรรมการอนุรักษและใหการศึกษาแกชุมชน (Promotion and Public Education)

๒.๕.๑. การทําปายอนุสรณ (Commemoration)

๒.๕.๒. การนําเสนอและแปลความหมาย (Presentation and Interpretation)

๒.๕.๓. การใหการศึกษาแกชุมชน (Public Education)”

ในภาพประกอบ ๒.๗. - ๒.๑๔. แสดงตัวอยางจากตางประเทศที่ใช

๓๙

แนวความคิดในการอนุรักษโดยมาตรการและวิธีการตางๆ แนวความคิด เหลานี้เปนวิธีที่นํามาใชกับการอนุรักษพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะทางวัฒน- -ธรรม การเลือกใชมาตรการที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะและบริบทของ ชุมชน จึงจะทําใหการอนุรักษเปนผลสําเร็จ วิธีการเหลานี้สวนใหญไดนํา มาใชในประเทศไทยแลวหลายพื้นที่ ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทรเองก็ใช

มาตรการบางสวนนี้ในการอนุรักษ แตก็ยังประสบปญหาอยูซึ่งอาจเปน เพราะการเลือกรูปแบบที่ไมเหมาะสม

๒.๔. นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวของ ๒.๔.๑. โครงการกรุงรัตนโกสินทร