• Tidak ada hasil yang ditemukan

การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทัศนียภาพของเมืองบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทัศนียภาพของเมืองบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์"

Copied!
224
0
0

Teks penuh

(1)

รายงานการวิจัย เรื่อง

การศึกษาแนวทางการอนุรักษทัศนียภาพของเมือง บริเวณเกาะรัตนโกสินทร

A STUDY OF THE CONSERVATION OF URBAN VISTA IN

“KOH RATTANAKOSIN” AREA

ธราดล เสารชัย

งานวิจัยนี้ ไดรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากทบวงมหาวิทยาลัย

ปงบประมาณ ๒๕๔๕

(2)

คํานํา

จากการที่ผูวิจัยไดรวบรวมภาพถายสถาปตยกรรมในอดีตบริเวณเกาะรัตนโกสินทร เพื่อใช

ประกอบการศึกษาในประเด็นอื่นๆกอนหนานี้ เมื่อนําภาพกลับมาพิจารณาโดยละเอียด ทําใหเกิด ความสนใจในเนื้อหาสาระที่ไดรับจากภาพเกาเหลานี้ ภาพถายบางภาพถูกบันทึกมานานกวารอยป

หลายภาพมีความงดงามทางศิลปะ สถาปตยกรรม และภูมิทัศนของเมือง แสดงถึงวิถีชีวิต สภาพ- -สังคม เศรษฐกิจ และความสามารถในการสรางสรรคบานเมืองของผูคนในยุคสมัยนั้นๆ ที่สําคัญ ที่สุดคือ ภาพจํานวนมากไดแสดงใหเห็นความแตกตางจากสิ่งที่ปรากฏอยูในปจจุบัน และบางภาพ ไมปรากฏเคาโครงเดิมเหลืออยู

การวิจัยนี้ไดรับการสนับสนุนจากทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย และทุนสนับสนุนงานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อทําการศึกษาทัศนียภาพของ เมืองในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร จากหลักฐานทางประวัติศาสตรตางๆ อันไดแก ภาพถาย ภาพเขียน แผนที่ เอกสารในอดีตตางๆ เปรียบเทียบกับภาพถายและขอมูลทางกายภาพในปจจุบัน วิเคราะห

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนคาดการณแนวโนมในอนาคต เพื่อนําไปสูการเสนอแนะแนวทาง ในการอนุรักษสําหรับผูเกี่ยวของเพื่อใหทัศนียภาพเมืองที่มีคุณคายังคงปรากฏอยูตลอดไป

จากผลการวิจัยนี้นาจะเปนประโยชนกับผูเกี่ยวของทุกฝายทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ในแงมุมของการศึกษาทัศนียภาพเมืองจากมุมมองในอดีต รวมทั้งการนําเทคโนโลยีมาใชในการศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ ทัศนียภาพของเมือง นอกจากนี้ในระหวางการรวบรวม และวิเคราะหขอมูลยังพบ ประเด็นอื่นๆที่มีคุณคา นาสนใจมากมาย เชน ประวัติศาสตรศิลปะ สถาปตยกรรม ผังเมือง วัฒนธรรม และการทองเที่ยว อันนาจะเปนประโยชนตอผูที่สนใจ หรืออยางนอยที่สุดก็คือการไดบันทึกทัศนียภาพ ของเมือง ณ ปจจุบันนี้ไวเพื่อเปนหลักฐานทางประวัติศาสตรใหคนรุนหลังไดศึกษาหาความรูตอไป

ธราดล เสารชัย

(3)

กิตติกรรมประกาศ

ผูวิจัยขอขอบคุณทบวงมหาวิทยาลัย ที่ไดจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยสําหรับดําเนินการวิจัย เรื่อง “การศึกษาแนวทางการอนุรักษทัศนียภาพเมืองบริเวณเกาะรัตนโกสินทร” และขอบคุณ คณาจารย เจาหนาที่สํานักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาจารยธีรบูลย ฉลองมณีรัตน ผูอํานวยการ สํานักงานวิจัยชั้นสูงทางสถาปตยกรรม ในการประสานงาน และใหขอเสนอแนะที่เปนประโยชน

ในการสํารวจ บันทึกขอมูลภาคสนาม ผูวิจัยตองขอบคุณคณะผูชวยวิจัยอันประกอบไปดวย นักศึกษา และศิษยเกา คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุมซึ่งมีรายนามดังตอไปนี้

นายสุรสิทธิ์ นาคสินธุ

นายสุทธิพงษ เอี่ยมละออ นายนพดล พิทักษกุลศิริ

นายอรรถพล อรามพงศ

นายศรายุทธ ปญญา นายณัฎฐชัย ฉวีนาค นายภาณุวัตร เลือดไทย นายทยุติ โสตถิสุพร นายประจักษ ศรีพิบูลย

งานวิจัยฉบับนี้ ตองใชเวลาสวนใหญในการ เก็บรวบรวมขอมูลจํานวนมาก ซึ่งผูวิจัยตอง ขอขอบคุณผูบริหาร เจาหนาที่จากหนวยงานตางๆที่ใหความอนุเคราะหขอมูลเหลานี้ อันไดแก

กองจดหมายเหตุแหงชาติ

สํานักผังเมือง กรุงเทพมหานคร สํานักงานเขตพระนคร

คณาจารย คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

พรอมทานผูทรงคุณวุฒิ ผูรวบรวมเอกสาร ภาพถาย แผนที่ในอดีต นักเขียนเรื่องราวทาง ประวัติศาสตรและหนวยงานตางๆที่ไดรวบรวมขอมูลเหลานี้ไวอันปรากฏนามไวแลวจากการอางอิงใน เอกสารการวิจัย

ในภาคเนื้อหาและงานผลิตเอกสารไดรับความอนุเคราะหตรวจสอบ ปรับปรุงจากคณาจารย

มหาวิทยาลัยศรีปทุมดังมีรายนามตอไปนี้

รองศาสตราจารย ดร.สุทธิพันธ สุจริตตานนท

(4)

อาจารยจรรยา ผลประเสริฐ อาจารยรังสีเทพ สวรรดิสิงห

อาจารยฐิติวัฒน นงนุช อาจารยสละ แยมมีกลิ่น Mr. John K.D’Amato

ขอบพระคุณ ศาสตราจารย พล.ร.ต.สมภพ ภิรมย ศิลปนแหงชาติ ปูชนียบุคคลดาน

สถาปตยกรรมไทย อดีตคณบดี คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุมและผูเชี่ยวชาญเรื่อง เมืองบางกอก ที่ไดใหขอคิดเห็นที่เปนประโยชน และผลักดันใหผูวิจัยเริ่มงานเขียนเชิงวิชาการมา โดยตลอด

ทายที่สุดขอบคุณ ผูชวยศาสตราจารย ศิริวรรณ และ ด.ญ.ปุณยากร เสารชัย สําหรับงานภาค เอกสาร ไว ณ โอกาสนี้

ธราดล เสารชัย

(5)

หัวขอวิจัย : การศึกษาแนวทางการอนุรักษทัศนียภาพของเมือง บริเวณเกาะรัตนโกสินทร

ผูวิจัย : นายธราดล เสารชัย หนวยงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปที่พิมพ : พ.ศ. ๒๕๔๖

บทคัดยอ

ทัศนียภาพของเมือง เปนองคประกอบสําคัญที่ทําใหภาพลักษณของเมืองมีความสงางาม แสดงใหผูคนที่ไดพบเห็นเกิดความประทับใจ ไดรับรูถึง ประวัติศาสตร ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของ ชาวเมืองอันแตกตางจากเมืองอื่นๆ เกาะรัตนโกสินทรเปนพื้นที่ๆมีทัศนียภาพเมืองที่มีคุณคา และเปน ภาพลักษณของประเทศปรากฏอยูมากมาย แตในปจจุบันมีความเปลี่ยนแปลง และถูกรบกวนจาก ปจจัยแวดลอมตางๆ

การวิจัยนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษา วิเคราะหทัศนียภาพของเมือง ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร

จากภาพถายในอดีตเปรียบเทียบกับภาพถายปจจุบัน และคาดการณแนวโนมของทัศนียภาพเมืองที่

จะเกิดขึ้นในอนาคตดวยระบบคอมพิวเตอร ภายใตกรอบทางเศรษฐกิจ สังคม นโยบาย และกฎหมาย ในปจจุบัน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปองกัน รักษาทัศนียภาพเมืองที่มีคุณคาไวใหยั่งยืนตลอดไป

จากการศึกษาทัศนียภาพเมือง ณ สถานที่สําคัญ ๕๓ แหงพบวาการเปลี่ยนแปลงของ ทัศนียภาพเมืองในในบริเวณเกาะรัตนโกสินทรเกิดจากสาเหตุหลักสองประการคือ สาเหตุภายใน ที่เกิดจากเจาของสถานที่ และสาเหตุภายนอกจากที่เกิดจากเจาของสถานที่อื่นๆซึ่งอยูในขอบเขตของ การมองเห็น รวมทั้งสาธารณูปโภค สาธารณูปการของรัฐ และปจจัยธรรมชาติ โดยลักษณะการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไดแก การปรับปรุง ดัดแปลง ตอเติม การสูญหาย รื้อถอน การปรากฏอยู

เบื้องหลัง การแทรกอยูในระยะเดียวกัน การบดบัง และไมสามารถพบจุดถายภาพเดิม ตามลําดับ และจากการวิเคราะหแนวโนมในอนาคตโดยการสรางหุนจําลองดวยระบบคอมพิวเตอรพบวา มี

โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รบกวนทัศนียภาพของเมืองได

แนวความคิดหลักที่จะยุติการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทัศนียภาพเมืองของเกาะรัตนโกสินทร

ไดแก การสรางความเขาใจ และตระหนักในความสําคัญของทัศนียภาพเมืองใหกับผูเกี่ยวของทุกฝาย แลวจึงปรับปรุงกระบวนการ วิธีการ กลไก และมาตรการตางๆในการรักษาทัศนียภาพเมืองอยางเปน ระบบ

คําสําคัญ : ๑. การออกแบบชุมชนเมือง ๒. การอนุรักษเมือง ๓. ทัศนียภาพเมือง ๔. รัตนโกสินทร

(6)

Research Title : A Study of the Conservation of Urban Vista in “Koh Rattanakosin”

Area

Name of Researcher : Tharadol Sourachai Name of Institution : Sripatum University Year of Publication : B.E. 2546

ABSTRACT

The urban vista is the major element which creates the elegant images of the city, so that those who observe it feel appreciative, and have the perception of the history, culture, and life-style of its inhabitants, setting it apart from any other city. Koh Rattanakosin consists of valuable vistas and unique images of the country, but a variety of factors have rapidly changed the scenery.

The objective of this research was to study and analyze the urban vistas within the Koh Rattanakosin area by comparing past and present photographs, forecasting through the use of trends and tendencies look of the future vistas by using computer simulation systems within the scope of socio-economic, current policies, regulations and to propose guidelines to preserve these valuable urban vistas.

The result of the urban vista study of 53 important places shows that changes occur due to two main reasons: those alterations within and outside the important site. Most of those changes arise from the conversion and demolition of buildings, overlapping,

background insertion, hidden views, and loss of former photographic locations. The results of computer analysis predict that there could be more emerging damage done to the urban vistas.

The study offers solutions that may help discontinue trends of change to the urban vistas of Koh Rattanakosin. The solutions are to confer knowledge on and increase

awareness of all concerned parties, and involving the people in conservation effort.

Afterwards, the study recommends, there should be improvements in the processes,

mechanisms, and measurements for a systematic conservation of the valuable urban vistas.

Keywords: 1. Urban design 2. Urban conservation 3. Urban vista 4. Rattanakosin

(7)

สารบัญ

บทที่ หนา

๑. บทนํา ………. ๑

๑.๑ . ความสําคัญและที่มาของปญหา ………..………. ๑

๑.๒. วัตถุประสงคของการวิจัย ………..……… ๒

๑.๓. ขอบเขตของงานวิจัย ………. ๒

๑.๔. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับจากการวิจัย ……….. ๒

๑.๕. วิธีดําเนินการวิจัย ……….. ๒

๑.๖. นิยามศัพท ……… ๔

๒. แนวความคิด ทฤษฎี และนโยบายที่เกี่ยวของ ……….. ๕ ๒.๑. ประวัติศาสตรกรุงรัตนโกสินทร ……….. ๕

๒.๒. ทัศนียภาพของเมือง ……….. ๒๗

๒.๓. การอนุรักษทัศนียภาพ ……….. ๒๘

๒.๔. นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวของ ……… ๔๘

๓. การศึกษาลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ……… ๕๔ ๓.๑. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพกรุงรัตนโกสินทร ………. ๕๔

๓.๒. การใชที่ดิน ……… ๖๓

๓.๓. เสนทางสัญจร ……… ๗๐

๓.๔. สถานที่สําคัญและโบราณสถาน ……… ๗๗

๓.๕. โครงการของรัฐและเอกชนที่มีผลกระทบตอทัศนียภาพในพื้นที่ ……….. ๑๑๒

๔. การวิเคราะหทัศนียภาพของพื้นที่ ……… ๑๑๖ ๔.๑. การวิเคราะหเพื่อกําหนดสถานที่ซึ่งมีศักยภาพเพื่อการอนุรักษ ……… ๑๑๖ ๔.๒. การวิเคราะหทัศนียภาพสําคัญในสถานที่ ……….. ๑๒๑

(8)

สารบัญ (ตอ)

บทที่ หนา

๔.๓. การวิเคราะหมุมมองดวยการสรางหุนจําลองโดยคอมพิวเตอร ……… ๑๒๗

๔.๔. ปญหาผลกระทบตอทัศนียภาพ ………๑๒๘

๕. บทสรุปและขอเสนอแนะในการอนุรักษทัศนียภาพ………. ๑๓๑

๕.๑. สรุปผลการศึกษา ………. ๑๓๑

๕.๒. ขอเสนอแนะแนวความคิดตัวอยางๆในการ อนุรักษทัศนียภาพ ……….. ๑๓๑

บรรณานุกรม ……… ๑๔๑

ภาคผนวก ………. ๑๔๗

ภาคผนวก ก. สรุปสาระสําคัญจากกฎหมายที่เกี่ยวของ ……….. ๑๔๘ ภาคผนวก ข. การวิเคราะหความเปลี่ยนแปลงของทัศนียภาพเมืองจากภาพถาย ….. ๑๖๐ ประวัติยอผูวิจัย ………๒๑๕

(9)

สารบัญตาราง

ตาราง หนา

๓.๑. การใชที่ดินประเภทกิจกรรม / การใชงาน ………. ๖๓ ๔.๑. การประเมินศักยภาพของสถานที่ ………. ๑๑๘

(10)

สารบัญภาพประกอบ

ภาพประกอบ หนา

๑.๑. แสดงขอบเขตของงานวิจัย ………..……….. ๓ ๒.๑. แผนที่ประเทศไทยบริเวณเมืองบางกอก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ……… ๘ ๒.๒. แผนที่ประเทศไทยแสดงการเดินทางของ เชอวาลิเอร เดอ โช มองต

ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช ………. ๙ ๒.๓. แผนที่ปอมเมืองธนบุรีครั้งรบกับฝรั่งเศส ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา โดย

มองซิเออรวอลลันด เดสเวอรเกนส นายทหารรักษาปอมชาวฝรั่งเศสได

จัดทําไว ……….. ๑๑

๒.๔. แผนผังบางกอกสมัยกรุงธนบุรีเปนราชธานี ……… ๑๕ ๒.๕. แสดงตัวอยางการอนุรักษทัศนียภาพเมือง บริเวณเมืองลพบุรี ……… ๓๕ ๒.๖. แสดงตัวอยางการอนุรักษทัศนียภาพเมือง ในตางประเทศ ……… ๓๖ ๒.๗. แสดงตัวอยางแนวทางในการปรับปรุงรูปดานอาคารในยานประวัติศาสตร ……. ๔๐ ๒.๘. แสดงตัวอยางแนวทางในการออกแบบอาคารในยานประวัติศาสตร ……… ๔๑ ๒.๙. แสดงตัวอยางแนวทางในการปรับปรุงการใชอาคารในยานประวัติศาสตร …….. ๔๒ ๒.๑๐. แสดงตัวอยางแนวทางในการรักษาทัศนียภาพในชองมอง(Visual Corridor) …... ๔๓ ๒.๑๑. แสดงตัวอยางการใชแผนงาน โครงการ และกฎหมายในการควบคุม ………….. ๔๔ ๒.๑๒. แสดงการอนุรักษทัศนียภาพของเมืองดวยการกําหนดกระบวนการใน

การพัฒนาและการควบคุมเสนขอบฟา (Skyline) ……….. ๔๕ ๒.๑๓. แสดงการควบคุมอาคารภายใตกรอบที่กําหนดไว ……….. ๔๖ ๒.๑๔. แสดงการใชวิธีประชาสัมพันธเพื่อสรางแรงจูงใจและการมีสวนรวม ……… ๔๗ ๒.๑๕. แสดงตัวอยางบางสวนจากโครงการกรุงรัตนโกสินทร ………. ๕๑ ๒.๑๖. แสดงตัวอยางบางสวนจากโครงการกรุงรัตนโกสินทร ………. ๕๒ ๓.๑. แผนที่เกาะรัตนโกสินทร ในรัชกาลที่๒ พ.ศ.๒๓๖๗ ……… ๕๔ ๓.๒. แผนที่เกาะรัตนโกสินทร ในปพ.ศ.๒๔๓๙ ……….. ๕๕ ๓.๓. แผนที่เกาะรัตนโกสินทร ในปพ.ศ.๒๔๔๐ ……….. ๕๖

(11)

สารบัญภาพประกอบ (ตอ)

ภาพประกอบ หนา

๓.๔. แผนที่เกาะรัตนโกสินทร ในปพ.ศ.๒๔๔๖ ……….. ๕๗ ๓.๕. แผนที่เกาะรัตนโกสินทร ในปพ.ศ.๒๔๕๓ ……….. ๕๘ ๓.๖. แผนที่เกาะรัตนโกสินทร ในปพ.ศ.๒๔๖๘ ……….. ๕๙ ๓.๗. แผนที่เกาะรัตนโกสินทร ในปพ.ศ.๒๕๑๗ ……….. ๖๐ ๓.๘. การขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ………. ๖๑ ๓.๙. การใชประโยชนที่ดินในกรุงเทพมหานคร ……….. ๖๒ ๓.๑๐. ผังการใชที่ดินในเกาะรัตนโกสินทร ……… ๖๔ ๓.๑๑. เรือสินคาในแมน้ําเจาพระยา บริเวณปากคลองตลาดไปจรดถนนตก

สมัยรัชกาลที่ ๔ ……….. ๖๘

๓.๑๒. ยานอุตสาหกรรม โกดังสินคาที่รกราง ……… ๖๘ ๓.๑๓. แผนที่ตําแหนงถนนสายสําคัญ ………. ๗๔ ๓.๑๔. แผนที่แสดงตําแหนงสะพานสําคัญ ……….. ๗๕ ๓.๑๕. แผนที่แสดงตําแหนงคลองสายสําคัญ ………... ๗๖ ๓.๑๖. แผนที่แสดงตําแหนงศาสนสถานสําคัญ ………. ๑๐๙ ๓.๑๗. แผนที่แสดงตําแหนงวัง ปอม กําแพง ประตูเมือง และอนุสาวรียสําคัญ ………… ๑๑๐ ๓.๑๘. แผนที่แสดงตําแหนงสวนสาธารณะและสถานที่สําคัญ ……….. ๑๑๑ ๓.๑๙. อาคารสูงที่บริเวณ สะพานสมเด็จพระปนเกลา ………. ๑๑๓ ๓.๒๐. อาคารสูงยานประตูน้ํา ………..……… ๑๑๓ ๓.๒๑. อาคารสูงยานสี่พระยาคลองสาน ………. ๑๑๓ ๓.๒๒. โครงการของรัฐ และเอกชนที่มีผลกระทบตอทัศนียภาพเมืองในพื้นที่ ………….. ๑๑๔ ๓.๒๓. แสดงการใชประโยชนที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๑๔

(ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร) ……… ๑๑๕

(12)

สารบัญภาพประกอบ (ตอ)

ภาพประกอบ หนา

๔.๑. แสดงแผนที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งสํารวจและเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ชําระโดยสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ และแสดงแผนที่

กรุงเทพมหานครจากระบบ GIS ……….. ๑๒๔ ๔.๒. แสดงการเปรียบเทียบภาพถายในอดีตและปจจุบัน มุมมองที่๑ ………. ๑๒๕ ๔.๓. แสดงการเปรียบเทียบภาพถายในอดีตและปจจุบัน มุมมองที่๒ ………. ๑๒๖ ๔.๔. การสรางหุนจําลองดวยระบบคอมพิวเตอร ……… ๑๒๙ ๔.๕. การวิเคราะหการเปลี่ยนแปลงทัศนียภาพเมืองจากหุนจําลองคอมพิวเตอร ……. ๑๓๐ ๕.๑. แสดงแผนภูมิการปรับปรุงกระบวนการในการควบคุมทัศนียภาพเมือง ………… ๑๓๕ ๕.๒. แนวความคิดในการปรับปรุงกระบวนการ ปลูกสราง ดัดแปลงอาคาร ………… ๑๓๖ ๕.๓. แสดงแนวทางในการออกแบบอาคารหรือสิ่งกอสราง ………..………. ๑๓๗ ๕.๔. แสดงแนวความคิดในการควบคุมความสูงอาคาร ………. ๑๓๘ ๕.๕. แสดงแนวควบคุมมุมมองและชองมอง ……….. ๑๓๙ ๕.๖. แสดงการปรับปรุงพื้นที่เปดโลงเพื่อมุมมอง ……… ๑๔๐

(13)

บทที่ ๑ บทนํา

๑.๑. ความสําคัญและที่มาของปญหา

ทัศนียภาพของเมืองเปนองคประกอบสําคัญที่แสดงใหเห็นถึงลักษณะเดน และ ลักษณะเฉพาะของเมืองนั้นๆหรือที่เรียกโดยรวมวา ภาพลักษณ หรือ จินตภาพของเมือง (The Image of the City)

เมืองที่สวยงามในโลกลวนมีจินตภาพที่สวยงาม มีลักษณะเฉพาะอันชัดเจน แตกตางจาก เมืองอื่นๆ อันชวนใหระลึกถึงและจดจําไดงาย ซึ่งลวนเกิดจากทัศนียภาพที่สวยงามของเมืองนั้นเอง แตทัศนียภาพของเมืองที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตรในประเทศไทยหลายแหงกําลังถูกทําลายไป จากบันทึกของหมอมหลวงปน มาลากุล เมื่อครั้งตามเสด็จพระราชดําเนินประพาสอยุธยาเมื่อ ป พ.ศ.๒๕๐๖ ไดทอดพระเนตรเห็นอาคารสมัยใหมหลังหนึ่งสรางขึ้นบนที่ซึ่งเคยเปนซากโบราณสถาน มีพระราชดํารัสวาการกอสรางอาคารสมัยนี้ คงจะเปนเกียรติสําหรับผูสรางคนเดียว แตเรื่องโบราณ- -สถานนั้นเปนเกียรติของชาติ อิฐเกาๆแผนเดียวก็มีคา ควรจะชวยกันรักษาไว ถาขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพแลว ประเทศไทยก็ไมมีความหมาย(พิสิฐ เจริญวงศ ๒๕๔๒: ๒)

จากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการขยายตัวของเมือง สงผลกระทบตอ ทัศนียภาพของเมืองในหลายบริเวณ ภาพงดงามที่ผูคนในเมืองเรียกกันวาวิว ทิวทัศน มีการ

เปลี่ยนแปลง มีแนวโนมที่สูญหายไปตามกาลเวลา ภาพรมรื่นสบายตาของธรรมชาติ ภาพที่ทําใหเกิด ความศรัทธาจากอาคารทางศาสนา โบราณสถาน และภาพที่คุนเคยของวิถีชีวิตแบบทองถิ่น ถูกบดบัง โอบลอม และถูกทําลายโดยโครงการกอสรางตางๆทั้งจากภาครัฐ และเอกชน หรือจากกลไกทางสังคม อื่นๆ

ทัศนียภาพของเมืองที่มีความสวยงามในประเทศนั้นมีอยูมากมายแตภาพสําคัญที่กลาวไดวา เปนภาพลักษณ (Images) ของประเทศที่ทําใหคนไทยและชาวตางชาติระลึกถึงนั้นสวนใหญตั้งอยูใน บริเวณที่เรียกวา เกาะรัตนโกสินทร และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งลวนเปนภาพที่เกิดจากสถาปตยกรรมที่

เกิดขึ้นในสถานที่ตางๆอาทิเชน วัดวาอาราม วัง ถนน สะพาน คลอง รานคาตึกแถว ที่อยูอาศัย และ ชุมชนในอดีต

การวิจัยนี้มุงศึกษาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตรเพื่อวิเคราะหการเปลี่ยนแปลง ทดสอบ

มาตรการในการอนุรักษทัศนียภาพเดิม และเสนอแนะวิธีการเพื่อรักษาทัศนียภาพที่มีคาของเมืองใหคง ความงาม และคุณคาอยูตลอดไป

(14)

๑.๒. วัตถุประสงคของการวิจัย

๑.๒.๑. เพื่อกําหนดบริเวณที่ปรากฏทัศนียภาพที่มีศักยภาพ เพื่อการอนุรักษในขอบเขตพื้นที่ๆ ศึกษาบริเวณกรุงรัตนโกสินทร

๑.๒.๒. เพื่อแสดงแนวโนมในการเปลี่ยนแปลงของเมือง สถาปตยกรรม และปจจัยอื่นๆที่มี

ผลกระทบตอทัศนียภาพของเมืองในขอบเขตพื้นที่ๆศึกษา

๑.๒.๓. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงมาตรการตางๆที่เกี่ยวของ เพื่อการอนุรักษ

ทัศนียภาพสําคัญในขอบเขตพื้นที่ๆศึกษา ๑.๓. ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยนี้เปนการศึกษาเพื่อการอนุรักษทัศนียภาพเมืองในขอบเขตบริเวณเกาะรัตนโกสินทร

และฝงธนบุรีที่มีหลักฐานเชื่อวาเปนเขตเมืองบางกอกเดิม ประกอบการพิจารณาจากขอบเขตพื้นที่เพื่อ การอนุรักษในแผนงานของโครงการกรุงรัตนโกสินทร และคํานึงจากพื้นที่ซึ่งมีทัศนียภาพเมืองที่สําคัญ ปรากฏอยู การวิจัยนี้จึงกําหนดขอบเขตที่ศึกษาเพื่อการอนุรักษทัศนียภาพเมืองในบริเวณกรุงรัตนโก- -สินทรชั้นใน ชั้นนอกจรดแนวคลองรอบกรุง และพื้นที่กรุงธนบุรีเดิมจรดแนวคลองคูเมืองเดิม ดัง ภาพประกอบ ๑.๑.

๑.๔. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับจากการวิจัย

๑.๔.๑. หนวยงานที่เกี่ยวของทั้งภาครัฐบาล และเอกชนไดตระหนักถึงปญหาการเปลี่ยนแปลงและ การสูญเสียทัศนียภาพที่มีคุณคา

๑.๔.๒. เปนประโยชนตอสถาปนิก นักออกแบบชุมชนเมือง นักผังเมือง และผูมีสวนรวมใน การพัฒนาเมือง ในการนําผลการวิจัยไปพิจารณาประกอบการดําเนินงานออกแบบ วางผัง และ จัดทําโครงการ แผนงานตางๆที่เกี่ยวของ

๑.๔.๓. แสดงกระบวนการตัวอยางในการทดลองเกี่ยวกับมุมมองที่มีผลกระทบกับงาน สถาปตย- -กรรมและทัศนียภาพของเมือง

๑.๔.๔. เปนแนวทางแกหนวยงานที่เกี่ยวของในการกําหนดมาตรการในการอนุรักษทัศนียภาพที่

มีคาของเมือง

๑.๕. วิธีดําเนินการวิจัย

๑.๕.๑. รวบรวมขอมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวของกับทัศนียภาพของเมือง และตัวแปรที่มีผลกระทบตอ ทัศนียภาพของเมืองในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร อันไดแก ประวัติศาสตร ทัศนียภาพ ภาพถาย แนวความคิดในการอนุรักษ นโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวของ

(15)

ภาพประอบ ๑.๑. แสดงขอบเขตของงานวิจัย

(16)

๑.๕.๒. ศึกษา สํารวจลักษณะทางกายภาพโดยรวมของพื้นที่ศึกษาในปจจุบัน การเปลี่ยนแปลง ทั้งจากอดีตและแนวโนมในอนาคต

๑.๕.๓. ศึกษาสํารวจสถานที่ซึ่งมีทัศนียภาพสําคัญ และกําหนดบริเวณที่จะนํามาวิเคราะหเปน กรณีศึกษาตัวอยาง และสรางหุนจําลองเมืองบริเวณพื้นที่ศึกษาดวยคอมพิวเตอร เพื่อใชใน การวิเคราะห

๑.๕.๔. วิเคราะหทัศนียภาพของเมืองในบริเวณกรณีศึกษาตัวอยางดวยคอมพิวเตอร

๑.๕.๕. เสนอแนะแนวทางในการอนุรักษทัศนียภาพเมืองในพื้นที่ศึกษา ๑.๖. นิยามศัพท

ทัศนียภาพเมือง” ในการวิจัยเรื่องนี้หมายถึง สิ่งที่มองเห็นจากผูคนทั่วไปตอองคประกอบ ทางกายภาพของเมืองที่ทําใหเกิดความรูสึกพึงพอใจ ประทับใจ กับการรับรูจากการที่ไดมองเห็นสิ่งนั้น หรือมีความหมายสั้นๆวา ภาพของเมืองที่มีสุนทรียภาพแหงเมืองนั้นๆ

นอกจากนี้เพื่อทําใหเกิดความเขาใจมากขึ้น จึงนําคํานิยามและแนวความคิดที่มีการขยาย- -ความไวแลวมาอธิบายประกอบดังนี้

สุนทรียภาพ” (Aesthetic) หมายถึง “ความงามในธรรมชาติ หรืองานศิลปะที่แตละบุคคล สามารถเขาใจและรูสึกได, ความเขาใจและรูสึกของแตละบุคคลที่มีตอความงามในธรรมชาติหรือ งานศิลปะ” (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๓๙: ๘๔๕)

Aesthetic means “Relating to the Appreciation of Beauty or Art…” (Collins Birmingham University 1992: 23)

จากคํากลาวขางตน สุนทรียภาพ จึงเปนคําอธิบายที่ดี ที่ใชอธิบายถึงความรูสึกที่ดีตอสิ่งที่

มองเห็น ทัศนียภาพของเมือง (Urban Vista) แตกตางจากความหมายของคําวา วิว ทิวทัศน (View) ของเมือง เนื่องจากทัศนียภาพของเมืองแสดงใหเกิดความสุนทรียภาพ (Aesthetic) ไดมากกวา โดยมี

ผูอธิบายคําจํากัดความไววา “ภาพที่มองเห็น-ทัศนภาพ เปนสิ่งที่ทําใหการรับรูของผูมองเห็นภาพ Viewer หรือ ทัศนากร หากเกิดการรับรู หรือเกิดความพอใจอาจเรียกไดวา Vista ภาพประทับใจ ภาพ สวยงาม หรือทัศนียภาพ” (บัณฑิต จุลาสัย ๒๕๔๒: ๒๑๐)

(17)

บทที่ ๒

แนวความคิด ทฤษฎี และนโยบายที่เกี่ยวของ

๒.๑. ประวัติศาสตร และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ กรุงรัตนโกสินทร

ที่ตั้งกรุงรัตนโกส ินทรแตเดิมเปนชุมชนและเมืองเกามาแตครั้งกรุงศรีอยุธยา เรียกกันวา

บางกอก” ซึ่งปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่มีมากอน พ.ศ. ๒๐๙๑ ตอมาในภายหลังไดมีการ ขุดคลองลัดแมน้ําเจาพระยา พื้นที่นี้จึงเริ่มมีความสําคัญขึ้นทั้งในดานยุทธศาสตร การคา และพัฒนา เปนเมืองตอมา ในสมัยอยุธยาเรียกชื่อวา “ธนบุรีศรีมหาสมุทร” ครั้นสิ้นกรุงศรีอยุธยาในป พ.ศ.๒๓๑๐ จึงสถาปนาเปนกรุงธนบุรี โดยสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี(สิน)

ตอมาในปพ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาท พระพุทธยอดฟาจุฬา- -โลกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแลวจึงยายพระนครมายังพื้นที่ผั่งตะวันออกของแมน้ําเจาพระยา สถาปนาพระนครขึ้นแลวพระราชทานนามวา “กรุงรัตนโกสินทรอินทอโยธยา” ซึ่งตอมามีการเปลี่ยน นามพระนครหลายครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏพระจอมเกลาเจาอยูหัวจึง ทรงเปลี่ยนนามเปน “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราช- -ธานีบูรีรมย อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์” โดยมี

นามที่เรียกกันทั่วไปวา “กรุงรัตนโกสินทร

ลักษณะทางสังคม และกายภาพของ กรุงรัตนโกสินทรมีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแตกอน พ.ศ.

๒๐๙๑ เปนตนมา การจัดแบงชวงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ จําแนกจากความ แตกตางที่ชัดเจนจะทําใหเกิดความเขาใจภาพรวมของกรุงรัตนโกสินทรมากขึ้น กอนนําเขาสูเนื้อหา ของการวิจัยในบทตอไป ซึ่งสามารถสรุปสาระสําคัญออกเปนชวงระยะเวลาตางๆ ดังนี้

๑. สมัยบางกอก (กอน พ.ศ. ๒๐๙๑)

๒. สมัยเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร (พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๓๑๐) ๓. สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕)

๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ปจจุบัน)

๒.๑.๑. สมัยบางกอก ( กอน พ.ศ. ๒๐๙๑)

ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทรนั้น แตเดิมเปนที่ตั้งของยานชุมชน ซึ่งคนในสมัยอยุธยาเรียกกัน วา “บางกอก” เปนเมืองดานสําคัญของกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยูในบริเวณ โคงแมน้ําเจาพระยา ระหวางปากอาวไทยกอนเขาสูกรุงศรีอยุธยา

(18)

จากหลักฐานเอกสารแผนที่ของชาวตางประเทศในสมัยอยุธยา มีการเขียนชื่อที่

แตกตางกัน เชน Bangkok Bancoc Bancock หรือ Bancok ในจดหมายเหตุการอนุรักษ

กรุงรัตนโกสินทร (กรมศิลปากร ๒๕๒๕: ๑๓) ไดอางถึงที่มาของคําวา “บางกอก” ตามขอทรง สันนิษฐานของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศและสมเด็จพระ เจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ กลาวไวในสาสนสมเด็จ วา

คําวา บาง คือ คลองตัน ทําขึ้นเพื่อนําน้ําในแมน้ําไปใชในที่ทํากิน บางกอกก็คงมี

ตนมะกอกอยูที่ปากบาง เดิมคงจะอยูปากคลองบางกอกนอย สวนปากคลอง

บางกอกใหญทางใตนั้นเดิมคงจะเปนบางหลวง ที่บริเวณนั้นจึงตั้งชื่อเปนตําบลบางกอก ไปดวยกันทั้งสิ้น

ลักษณะทางกายภาพของชุมชุนบางกอก แตเดิมมีลักษณะ รูปรางมิไดเปนอยางที่

เห็นในปจจุบัน การเดินทางในแมน้ําเจาพระยาจากทิศเหนือลงสูทิศใตตองอออมผาน คลองบางกอกนอยมาสูปากคลองบางกอกใหญ ตอมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี และ เปนศูนยกลางการคาสําคัญระหวาง เอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง การเดินทางจากทะเล ปากอาวไทยมายังอยุธยา ตองใชเสนทางแมน้ําเจาพระยาซึ่งแตเดิมมีความคดเคี้ยวมาก กษัตริยอยุธยาหลายพระองค จึงทรงโปรดฯใหขุดคลองลัดขึ้นหลายเสนทาง สวนคลองลัด บริเวณชุมชนบางกอกนั้น โปรดใหขุดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๓๗- ๒๐๘๙) ดังขอความที่ปรากฏในจดหมายเหตุการอนุรักษกรุงรัตนโกสินทร (กรมศิลปากร ๒๕๒๕: ๑) บรรยายไววา

ลําน้ําเดิมซึ่งไหลจากสามเสนเขาคลองบางกอกนอย ตลิ่งชัน บางระมาดเลี้ยวออก คลองบางกอกใหญซึ่งเปนทางออมโคง หากไปดวยเรือแจวจะกินเวลาตั้งแตเชาจรดเย็น เมื่อมีคลองลัดขุดพาสายน้ําไปทางอื่นก็แคบลงและตื้นเขินจนกลายเปนคลองไป คือ เรียกวา คลองบางกอกนอย คลองตลิ่งชัน คลองบางระมาด และคลองบางกอกใหญใน ปจจุบัน สําหรับตําบลบางกอกซึ่งเคยอยูฝงตะวันออกของลําน้ําเจาพระยาเดิม ก็

กลายเปนพื้นที่ซึ่งมีแมน้ําไหลผานกลาง แตทั้งฝงตะวันตก และฝงตะวันออกก็ยังคงใชชื่อ รวมกันวา ‘บางกอก’ เชนเดิม

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร พบวาชุมชนบางกอกในชวงกอน ป พ.ศ. ๒๐๙๑ เปนลักษณะที่ราบลุม ทําสวนทํานาไดดี ดังขอความในบันทึกประวัติศาสตรราชวงศหยวน ใหม เลมที่ ๒๕๒ ซึ่งเรียบเรียงในราชวงศหมิง (กรมศิลปากร ๒๕๒๕: ๑๘) กลาววา

หลอหู (อาณาจักรอยุธยา) อยูใตประเทศเซียน (อาณาจักรสุโขทัย) ลงมาอาณาเขตติด ริมทะเล คือทางทิศใตเปนอาวใหญ มีแมน้ําใหญสายหนึ่งไหลผานจากเซียนมาหลอหู

(19)

แลวไหลออกทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใตของประเทศ ประเทศนี้ในฤดูรอนมีน้ําไหลทน จากอาวขุนเปนสีโคลน น้ําจะไหลเขาคลองเล็กคลองนอยทั่วพื้นที่จึงทํานาไดผลดีมาก ขาวราคาถูก

นอกจากนี้จากหนังสือ ซิงเฉาเซิ่งเหลั่น (ทองดินแดนนานาชาติ) ซึ่งเปนหนังสือที่เขียน โดย ผูรวมขบวนมากับทูตจีน ในระหวางป พ.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๕๒ ไดบรรยายถึงลักษณะ บรรยากาศการทํามาหากินบริเวณอาณาจักรสยามสวนใน ซึ่งนาจะรวมถึงบางกอกไววา

อาณาจักรแหงสยาม มีเนื้อที่โดยรอบหนึ่งพันลี้ ชั้นนอกเปนภูเขาสูง ๆ ต่ํา ๆ ลดหลั่นกัน ไป สวนชั้นในเปนแผนดินลึกกวางใหญ เรือกสวน ไรนาเปนที่ราบลุม และอุดมสมบูรณ

ดวยพืชพันธุธัญญาหาร ดินฟาอากาศมักจะรอนเปนสวนใหญ ชาวพื้นเมืองมีนิสัยแกรง กลา บึกบึน ... เกลาผมมวยทั้งหญิงทั้งชาย ใชผาบางโพกหัว ใสเสื้อแขนยาว คาดเอว ดวยผาขาวมาลาย” (ตวน ลี เซิง ๒๕๒๑: ๑๘๔)

ทัศนียภาพของบางกอกกอนยุคสมัยชวงนี้ยังไมปรากฏในประวัติศาสตรของ ชาวตะวันตก จากประวัติศาสตรทูตตะวันตกคนแรกที่เขามาถึงสยาม เมื่อป ค.ศ. ๑๕๑๑ (พ.ศ. ๒๐๕๔) และชื่อของสยามก็ยังไมปรากฏในแผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใตที่ทําโดย ชาวตะวันตก จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๕๕๔ (พ.ศ. ๒๑๙๗) จากการตีพิมพของ Giovanni Ramusio และแผนที่โดย Van Linschoten ในป ค.ศ.๑๕๙๕ (พ.ศ.๒๑๙๘) (ธิดา สาระยา ๒๕๓๗:

๓๕๒-๓๕๓)

ดังนั้นจึงมีแตบันทึกทางประวัติศาสตรจากชาวจีน ดังกลาวมาแลวขางตน ที่ทําให

สามารถจินตนาการถึงภาพบรรยากาศในสมัยนั้นได

ทัศนียภาพ ในดานลักษณะทางภูมิทัศน และสถาปตยกรรมก็ไมปรากฏหลักฐานใด นอกจากเรื่องของศาลเจาซําปอกงซึ่งจากหนังสือ สําเภาสยาม ไดกลาวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว

ดังนี้

ในหนังสือ สํารวจยานทะเลตะวันออก และตะวันตกโดยจางเซี่ย เขียนในปลายราชวงศ

หมิง ซึ่งไดลมสลายไปกอนกรุงศรีอยุธยาแตกประมาณ ๑๒๐ ป แปลโดยตวนสี่เซิงระบุ

วา “ดานตรวจที่สองของประเทศสยามไดปลูกศาลเจาขึ้นศาลเจาหนึ่งใหชื่อวา ศาลเจา ซําปอกง ใชเปนที่สําหรับทําพิธีเซนไหวดวงวิญญาณขันทีแตฮั้ว(เปนไปไดไหมวาศาลนี้จะ อยูริมน้ําบริเวณกุฎีจีน)” (พิมพประไพ พิศาลบุตร ๒๕๔๔: ๔๖)

ราชวงศหมิง ในระหวางป พ.. ๑๙๕๐-๑๙๕๒มีการจัดสงคณะทูตไปมาระหวางกัน คณะทูตจีนนําโดย แตฮั้วหรือที่คนไทยรูจักในนาม วา ซําปอกง เปนขันทีประจําราชสํานักในแผนดินพระเจาจักรพรรดิ์หมิงเฉิ่งจู แตฮั้วมีชื่อเสียงในดานการเดินเรือทะเล เพื่อเจริญ

สัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ แตฮั้วเดินทางมาเยือนสยามถึง ๒ครั้ง ซึ่งยังมีรองรอยทางประวัติศาสตรใหพบเห็นอยู

(20)

จากบันทึกดังกลาวจะทําใหเห็นถึงลักษณะของบางกอกในยุคแรกมีลักษณะเดน สําคัญ คือ การทําสวน ไรนา ปอม คาย และ อาคารราชการ ที่ใชเปนดานเก็บภาษีมากอน ยุคกรุงศรีอยุธยารวมถึงนาจะมีแหลงชุมชน วัด ศาสนสถานตางๆ ที่ทําใหมีการสรางศาลเจา ขึ้นเพื่อคนในชุมชนบางกอก ไดรําลึกถึงความทรงจําในอดีตบางประการ

๒.๑.๒. สมัยเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร (พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๓๑๐)

หลังจากการขุดคลองลัดแมน้ําเจาพระยาบริเวณชุมชนบางกอกแลว บางกอกจึงเริ่ม ทวีความสําคัญมากขึ้นทั้งในดานการคาและยุทธศาสตร จนไดรับการจัดตั้งเปนเมืองดาน เรียกวา “เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร” ปรากฏชื่อเปนครั้งแรกในพระราชพงศาวดาร รัชกาล สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๑๑๑) เปนที่ตั้งของดานภาษีแหงแรกเรียกวา

ขนอนบางกอก” ซึ่งเรือทุกลําไมวาจะมาจากชาติใดก็ตามตองหยุดทอดสมอเพื่อตรวจสอบ จุดประสงคและสินคาที่บรรทุกมา เมื่อตรวจสอบจุดแรกนี้แลวอีก ๑ ไมล ก็จะถึงดานศุลกากร ที่สอง ซึ่งเรียกวา บานตะนาว (กรมศิลปากร ๒๕๒๒: ๑๖)

ภาพประกอบ ๒.๑. แผนที่ประเทศไทยบริเวณเมืองบางกอก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจาก Les Indes Orientales, où Sont Distingués Les Empires et Royaumes Quélles Contiennent, Tirées du Neptune Oriental Par Le’s Robert Géographe Ordinaire du Roy. Avec Privilege 1751 ที่มา: กรมศิลปากร ๒๕๒๒: ๑๐-๑๑

(21)

ลักษณะภูมิประเทศของธนบุรีศรีมหาสมุทร ในระยะนี้เอกสารประวัติศาสตรฝายไทย มิไดกลาวถึงมากนัก แตบันทึกทางประวัติศาสตรของชาวตางประเทศ ไดกลาวถึงเรื่องของ ธนบุรีศรีมหาสมุทรไวหลายประเด็น

ตําแหนงที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร เริ่มปรากฏใหเห็นหลายครั้งจากนักเดิน- -ทางชาวตะวันตก (ดูภาพประกอบ ๒.๑.) แตยังคงใชชื่อเรียกวา “บางกอก

นายเชอวาลิเอร เดอโชมองต (Chevalier de Chaumont ) ซึ่งเขามาเจริญพระราช- -ไมตรีใน พ.ศ. ๒๒๒๘ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช บันทึกจดหมายเหตุไววา

เมืองบางกอกเปนหัวเมืองหนึ่งของแผนดินสยาม ตั้งอยูริมแมน้ําหางจากทะเล ๒๔ ไมล

เดินทางจากอยุธยามาบางกอก ทางเรือใชเวลาประมาณ ๑๒ ชั่วโมง….” (กรมศิลปากร ๒๕๒๒:๑๖)

ภาพประกอบ ๒.๒. แผนที่ประเทศไทยแสดงการเดินทางของ เชอวาลิเอร เดอ โช มองต ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช ที่มา:กรมศิลปากร ๒๕๒๒: ๑๗

Referensi

Dokumen terkait

วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : ปที่ 8 ฉบับที่ 1 เมษายน 2556 – กันยายน 2556 ช บทความวิจัย

การปองกันภาระความรอนจาก Condensing Unit จากการสํารวจอาคารในเบื้องตน ปจจัยที่คาดวาจะมี อิทธิพลตอภาระการทําความเย็นของเครื่องปรับอากาศ