• Tidak ada hasil yang ditemukan

ประวัติกรมชลประทาน

Dalam dokumen Values Practice (Halaman 185-188)

งานชลประทานเริ่มขึ นอย่างจริงจังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการขุดลอกคลองและขุดคลองขึ นใหม่ในบริเวณทุ่งราบภาคกลางจ้านวนมาก ด้าเนินการโดย เอกชน คือ บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม (Siam Canals, Lands and Irrigation Company) ได้รับพระ บรมราชานุญาต เมื่อ พ.ศ. 2431 เริ่มขุดคลองเมื่อ พ.ศ. 2433 มีระยะเวลาด้าเนินการตามสัมปทาน 25 ปี โครงการประกอบด้วยการก่อสร้างระบบคลองในบริเวณพื นที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น ้า เจ้าพระยา เขตจังหวัดปทุมธานี ที่เรียกว่าทุ่งรังสิต โดยขุดคลองสายใหญ่เชื่อมระหว่างแม่น ้า เจ้าพระยาตรงไปยังแม่น ้านครนายก พร้อมกับการสร้างประตูระบายน ้า ส้าหรับควบคุมการเก็บกัก น ้าเพื่อการเพาะปลูก และสร้างประตูเรือสัญจรเพื่อการคมนาคมขนส่งทางน ้าตลอดทั งปี

หลังจากที่บริษัทดังกล่าวได้ด้าเนินการมาประมาณ 10 ปี เจ้าพระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์

เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ไปตรวจราชการที่ทุ่งรังสิต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2442 พบว่า ทุ่งรังสิตจ้าเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านการชลประทานเป็นการด่วน จึงน้าความขึ นกราบ บังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จ้างนาย ช่างชลประทานชาวต่างประเทศ มาศึกษาพิจารณาและแก้ไขเรื่องการจัดหาน ้าในบริเวณทุ่งรังสิตให้

ดีขึ น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

จัดหาวิศวกรผู้ช้านาญงานด้านการชลประทาน

ต่อมาในพ.ศ. 2445 ได้ว่าจ้าง นายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดา มาด้าเนินงานชลประทานในประเทศไทย และทรงแต่งตั งให้ นายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด เข้ารับ ราชการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2445 พร้อมทั งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั ง "กรมคลอง" และ ทรงแต่งตั ง นาย เย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด เป็นเจ้ากรมคลองคนแรก เพื่อท้าหน้าที่ดูแลท้านุบ้ารุงคลอง ต่าง ๆ ไม่ให้ตื นเขิน

นาย เย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด ได้ท้ารายงานเสนอเห็นควรให้สร้างเขื่อนทดน ้าปิดกั นแม่น ้า เจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั ง "กรมทดน ้า" ขึ นแทนกรมคลอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2459 และทรงแต่งตั ง นายอาร์ ซี อาร์ วิล สัน เป็นเจ้ากรมทดน ้า รวมทั งจัดสร้างโครงการชลประทานป่าสักใต้

โครงการสร้างเขื่อนทดน ้าขนาดใหญ่ คือ เขื่อนพระราม 6 ขึ นที่ต้าบลท่าหลวง อ้าเภอท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สามารถช่วยเหลือพื นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 680,000 ไร่ ซึ่งเป็นโครงการชลประทาน ขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย

เขื่อนพระรามหก ก่อสร้างด้วยหลักวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัยตามหลักเทคโนโลยีการ พัฒนาแหล่งน ้าสมัยใหม่อย่างแท้จริง และนับจากนั นเป็นต้นมาได้เริ่มก่อสร้างโครงการชลประทาน กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ทั งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น การจัดการหาน ้าเพื่อการเกษตร และเพื่อการอุปโภค บริโภค งานก่อสร้างโครงการชลประทานได้

ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อรองรับการขยายตัวทางการผลิต และความต้องการอุปโภค บริโภค ภายในประเทศ

จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชด้าริว่า หน้าที่ของกรมทดน ้า มิได้ปฏิบัติงานอยู่เฉพาะแต่การทดน ้าเพียงอย่างเดียว งานที่กรมทดน ้าปฏิบัติอยู่จริงในขณะนั นมีทั ง การขุดคลอง การทดน ้า รวมทั งการส่งน ้าตามคลองต่าง ๆ อีกทั งการสูบน ้าเพื่อช่วยเหลือการ เพาะปลูก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจากกรมทดน ้า เป็นกรมชลประทาน เมื่อวันที่

21 มีนาคม พ.ศ. 2476 โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน ้า การส่งน ้า และการสูบน ้า ช่วยเหลือพื นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง

ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัย ในการศึกษาและพระราชทานแนวพระราชด้าริอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการพัฒนาแหล่งน ้ามา ตลอด เช่น โครงการอ่างเก็บน ้าเขาเต่า ที่อ้าเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อันเป็นโครงการ พัฒนาแหล่งน ้า อันเนื่องมาจากพระราชด้าริแห่งแรก ที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ นเมื่อ พ.ศ. 2506 ซึ่งในรัชกาลของพระองค์ได้ทรงมีพระราชด้าริให้กรมชลประทานด้าเนินงานพัฒนาแหล่งน ้า ทั่วประเทศมาแล้วประมาณ 2,000 โครงการ

ตลอดระยะเวลากว่า 1 ศตวรรษ กรมชลประทาน เป็นการด้าเนินงานด้านการพัฒนาแหล่งน ้า โดยมีการก่อสร้างโครงการชลประทานเพื่อเก็บกักรักษา ควบคุมและจัดสรรน ้า ไปใช้ในกิจกรรมทุก ประเภทอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมทั งเกษตรกรรม อุปโภคบริโภค การพลังงาน สาธารณูปโภค อุตสาหกรรม รวมทั งการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย นอกเหนือจากงานก่อสร้าง งานส่งน ้าและ บ้ารุงรักษา งานวิชาการและงานช่างกล ซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวข้องกับด้านการชลประทาน โดยตรงเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุผลส้าเร็จตามเป้าหมาย งานบริหารก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มี

ส่วนส้าคัญในการสนับสนุนให้การบริหารและด้าเนินงานโดยรวมของกรมชลประทานเป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและมีคุณภาพประสิทธิภาพ ซึ่งขอบเขตและความรับผิดชอบของงานด้านการบริหาร ครอบคลุมในเรื่องบุคลากร การเงิน กฎหมาย พัสดุและสวัสดิการต่าง ๆ นอกจากนี ยังมีหน่วยงานพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา คือ วิทยาลัยการชลประทานและสวัสดิการในเรื่อง การดูแลรักษาด้านสุขภาพ คือโรงพยาบาลชลประทาน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของงานบริหารด้วย

ซึ่งก่อนที่จะมีการปฏิรูประบบราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรม ชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2540 ได้ก้าหนดให้กรมชลประทานมีอ้านาจหน้าที่

ในการ (1) ด้าเนินการจัดให้ได้มาซึ่งน ้า หรือกัก เก็บ รักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือแบ่งน ้า เพื่อ

เกษตรกรรม การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม (2) ด้าเนินการเกี่ยวกับการ ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน ้า ความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบกับการคมนาคม ทางน ้า ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานตลอดจนด้าเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็น แผนงานประจ้าปีของกรมชลประทาน และ (3) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายก้าหนดให้เป็น อ้านาจหน้าที่ของกรมชลประทานหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ส้าหรับการ แบ่งส่วนราชการกรมชลประทานแบ่งได้ดังนี ส้านักงานเลขานุการกรม กองการเงินและบัญชี กอง กฎหมายและที่ดิน กองบริหารโครงการเงินกู้และเงินช่วยเหลือ กองพัสดุ กองยานพาหนะและ ขนส่งกองโรงงาน กองสื่อสาร โรงพยาบาลชลประทาน ศูนย์สารสนเทศ ส้านักเครื่องจักรกล ส้านัก ชลประทานที่ 1-12 ส้านักแผนงานและโครงการ ส้านักพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารงาน บุคคล ส้านักพัฒนาแหล่งน ้า 1-5 ส้านักวิจัยและพัฒนา ส้านักส้ารวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา ส้านักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ส้านักอุทกวิทยาและบริหารน ้า

ต่อมาภายหลังการปฏิรูประบบราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2545 ได้ก้าหนดให้มีการจัดโครงสร้างส่วนราชการจาก 14 กระทรวง ออกเป็น 20 กระทรวง โดยใช้

กฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่

3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ซึ่งสาระส้าคัญที่เป็นมาตรา หลักที่ระบบราชการจะต้องอ้างถึงอยู่เสมอได้แก่ มาตรา 3/1 ซึ่งบัญญัติไว้ว่าการบริหารราชการตาม พระราชบัญญัตินี ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐอย่าง มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและ ยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จ้าเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอ้านาจ ตัดสินใจ การอ้านวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั งนี จะต้องมี

ผู้รับผิดชอบผลของงาน การจัดสรรงบประมาณและการบรรจุและแต่งตั งบุคคลเข้าด้ารงต้าแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ต้องค้านึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ค้านึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ปฏิบัติงานการมี

ส่วนร่วมของประชาชนในการเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและการประเมินผลการ ปฏิบัติงาน ทั งนี ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการด้าเนินการตามมาตรานี

จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ขึ นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีผล บังคับใช้ตั งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และมีผลให้ยกเลิก พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม รวมทั งสิ น 23 ฉบับให้มีกฎกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงรวม 20 กระทรวง และมาตรา 19 (3) ได้ปรากฏชื่อกรมชลประทานและโครงสร้างของกรมชลประทาน

Dalam dokumen Values Practice (Halaman 185-188)

Garis besar

Dokumen terkait