• Tidak ada hasil yang ditemukan

รูปแบบของการจัดกิจกรรมแบบผสมผสาน

สารบัญตาราง

4. รูปแบบของการจัดกิจกรรมแบบผสมผสาน

Valiathan (2002) แบ่งรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน ดังนี้

1. การผสมผสานเพื่อการเรียนทักษะ (Skill-driven Learning) เป็นการรวมกัน ของการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการสนับสนุนจากผู้สอน หรือผู้อ านวยความสะดวกเพื่อพัฒนาความรู้

หรือทักษะเฉพาะ ซึ่งการพัฒนานี้จ าเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์ สื่อสาร ให้ข้อมูลย้อนกลับ และ การสนับสนุนอย่างสม่ าเสมอจากผู้ฝึก ผู้อ านวยความสะดวกหรือกลุ่มเพื่อนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

23 อีเมล กลุ่มอภิปราย การประชุมแบบเผชิญหน้า ร่วมกับผู้เรียนมีการเรียนรู้ตามจังหวะตนเอง เช่น การเรียนบนเว็บ และเอกสารต าราเรียน เป็นต้น

2. การผสมผสานเพื่อสร้างทัศนคติ (Attitude-driven Learning) เป็นการ ผสมผสานกันของสถานการณ์ต่าง ๆ กับสื่อที่มุ่งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มี

การทดลองฝึกในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยร่วมกัน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เช่น การจัดประชุมผ่านเว็บแบบประสานเวลา การมอบหมายงานเป็นกลุ่มที่สามารถด าเนินการได้แบบ ออฟไลน์ การใช้สถานการณ์บทบาทจ าลอง เน้นการผสมผสานของเรียนในห้องเรียนกับการเรียนแบบ ร่วมมือทั้งในลักษณะแบบออฟไลน์ และใช้เทคโนโลยีสนับสนุน

3. การผสมผสานเพื่อพัฒนาความสามารถ (Competency-drive Learning) เป็นการผสมผสานเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานเข้ากับทรัพยากรในการจัดการความรู้ และ การเป็นพี่เลี้ยง เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการท างาน ซึ่งการที่ผู้เรียนจะสามารถเข้าถึงและถ่ายโอน ความรู้นั้นจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ และการสังเกตผู้เชี่ยวชาญ และการมีผู้ชี้แนะในการท างาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจระหว่างปฏิบัติงานได้

ตาราง 2 องค์ประกอบและวิธีการที่ใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานในการ พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะ เจตคติ และความสามารถ

องค์ประกอบ เทคนิคที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เทคนิคที่ไม่ใช้

เทคโนโลยีเป็นฐาน การพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะ (Skill-driven Learning)

การประกาศ (announcement)

- ระบบบริหารจัดการเรียนรู้

- การแจ้งเตือนผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- จดหมาย - โทรศัพท์

การน าเสนอภาพรวม (overview session)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- การสัมมนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

- การเรียนในห้องเรียน แบบดั้งเดิม

การเรียนด้วยตนเอง (Self-paced learning)

- การเรียนบนเว็บ - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

- ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการเรียน - สถานการณ์จ าลอง

- บทความ - หนังสือ - การสอนงาน - การฝึกอบรมระหว่าง ปฏิบัติงาน

24 ตาราง 2 (ต่อ)

องค์ประกอบ เทคนิคที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เทคนิคที่ไม่ใช้เทคโนโลยี

เป็นฐาน การตอบข้อซักถาม

(query resolution)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- ค าถามที่ถามบ่อย

- โปรแกรมสนทนาแบบประสานเวลา

- การประชุมแบบ เผชิญหน้า การสาธิต

(demonstration)

- การประชุมผ่านเว็บ - สถานการณ์จ าลอง

- การเรียนในห้องเรียน แบบดั้งเดิม

การฝึกปฏิบัติ (practice) - สถานการณ์จ าลอง - การมอบหมายงานใน สมุดฝึกหัด

การให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - การประชุมแบบ เผชิญหน้า

- ใบรายงานผลการเรียน การจบบทเรียน

(closing session)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- การสัมมนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

- การเรียนในห้องเรียน แบบดั้งเดิม

การรับรองผลการเรียน (certification)

- การทดสอบผ่านเว็บ - แบบทดสอบ

การพัฒนาการเรียนรู้ด้านเจตคติ (Attitude-driven Learning) การประกาศ

(announcement)

- ระบบบริหารจัดการเรียน - การแจ้งเตือนอีเมล์

- จดหมาย การแจ้งภาพรวมในการเรียน

(overview session)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- การสัมมนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

- การเรียนในห้องเรียน แบบดั้งเดิม

การเรียนด้วยตนเอง (Self-paced learning)

- การเรียนบนเว็บ - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

- ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการเรียน - สถานการณ์จ าลอง

- บทความ - หนังสือ - สมุดฝึกหัด การตอบข้อซักถาม

(query resolution)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- ค าถามที่ถามบ่อย

- โปรแกรมสนทนาแบบประสานเวลา

- การประชุมแบบ เผชิญหน้าร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญ การประเมินผล

(assessment)

- สถานการณ์จ าลอง - แบบทดสอบ

25 ตาราง 2 (ต่อ)

องค์ประกอบ เทคนิคที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เทคนิคที่ไม่ใช้เทคโนโลยี

เป็นฐาน การเรียนรู้แบบร่วมมือ

(collaborative session)

- การสัมมนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต - การสนทนา

- บทบาทสมมุติกับเพื่อน ผลป้อนกลับและการจบ

บทเรียน (feedback and closing session)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- การสัมมนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

- การเรียนในห้องเรียน แบบดั้งเดิม

การฝึกปฏิบัติ (practice) - สถานการณ์จ าลอง - บทบาทสมมุติกับเพื่อน ในชั้นเรียน

การพัฒนาการเรียนรู้ด้านความสามารถ (Competency-driven Learning) การชี้แนะหรือเป็นพี่เลี้ยง

(assign guides or mentors)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - โทรศัพท์

การฝึกปฏิบัติ (practice) - ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- การอภิปราย - สถานการณ์จ าลอง

- การประชุมแบบ เผชิญหน้า

- การฝึกปฏิบัติการ - โทรศัพท์

การอภิปราย (hold discussion)

- การอภิปราย - การสนทนา

- การประชุมแบบ เผชิญหน้า

- การฝึกปฏิบัติการ - โทรศัพท์

การตัดสินใจในปัญหา (resolve queries)

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

- โปรแกรมสนทนาแบบประสานเวลา

- การประชุม การเข้าถึงการเรียนรู้

(capture learning)

- เก็บรวบรวมข้อมูลในการเรียนโดยใช้

ระบบบริหารการจัดการเรียนรู้

- เอกสารสรุป

26 5. องค์ประกอบของการจัดกิจกรรมแบบผสมผสาน

องค์ประกอบส าคัญ 4 ประการของการเรียนแบบผสมผสาน (จินตวีร์ คล้ายสังข์, 2553)

1. เนื้อหาบทเรียน (Courseware) ในรูปของสื่อมัลติมีเดีย หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ต่าง ๆ ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน เนื้อหาที่น าเสนอในรูปแบบนี้ควรมีความกระชับ เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ผ่านการศึกษาบทเรียน

การค้นคว้าเพิ่มเติม และการวิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผล

2. ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System) ท าหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ก าหนดล าดับของเนื้อหา น าส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยัง ผู้เรียน ประเมินผล ติดตาม และบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรม และผลการเรียนรู้

ในทุกหน่วยการเรียน ตั้งแต่ต้นจนจบหลักสูตร อีกทั้งระบบได้รวบรวมเครื่องมือต่าง ๆ เพื่ออ านวย ความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

3. การติดต่อสื่อสาร (Communication) การติดต่อสื่อสารปฏิสัมพันธ์

เพื่อการเรียนการสอน และเพื่อเพิ่มความกระตือรือร้นในการเรียนรู้กับบทเรียนออนไลน์ และ เป็นเครื่องมือช่วยผู้เรียนในการติดต่อ ปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยเครื่องมือสื่อสารแบบประสานเวลา (Synchronous, Real Time) และแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous)

4. การประเมินผล (Evaluation) การเรียนแบบผสมผสานอาจมีการประเมิน ความรู้ก่อนเรียน (Pre-test) เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียนหรือหลักสูตรที่มีความเหมาะสม กับระดับความรู้ และเมื่อเข้าสู่บทเรียนจะมีการสอบย่อยท้ายบท (Quiz) และประเมินผลด้วยการสอบ เมื่อจบหลักสูตร (Final Examination)

องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน (Schmidt, 2002 อ้างอิงมาจาก ปณิตา วรรณพิรุณ, 2551)

1. สื่อมัลติมีเดียแบบผสมผสานและทรัพยากรอินเทอร์เน็ตเสมือน (Blended Multimedia and Virtual Internet Resources) ประกอบด้วย วีดิทัศน์ หรือดีวีดี ทัศนศึกษาเสมือน เว็บไซต์แบบปฏิสัมพันธ์ ซอฟต์แวร์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์

2. เว็บไซต์สนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียน (Classroom Websites) เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน เช่น ประกาศงานมอบหมาย รับส่งการบ้าน จัดการทดสอบ ประกาศผลการเรียนและนโยบายของชั้นเรียน โดยผู้สอนอาจสร้าง เว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนด้วยตนเองหรืออาจจะท าการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

27 3. ระบบบริหารจัดการหลักสูตร (Course Management Systems/Learning Management Systems : LMS) ใช้สนับสนุนการติดต่อสื่อสารและการบริหารจัดการกิจกรรม การเรียนการสอนในห้องเรียน และการเรียนออนไลน์ เช่น การแจกเอกสารประกอบการสอน การก าหนดวันสุดท้ายของการส่งงานที่มอบหมาย การรวบรวมงานที่มอบหมาย การแจ้งงานที่

มอบหมายล่วงหน้า การแจ้งประกาศต่าง ๆ การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคล การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการสอน และนโยบายในการให้ระดับผลการเรียน รวมถึง การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เรียน เช่น ข้อมูลส่วนตัว เว็บบล็อก ข้อมูลพฤติกรรมการเรียน และ รายงานความก้าวหน้าในการเรียน เป็นต้น

Dokumen terkait